18 มิถุนายน 2018
4 K

“โลกไม่มีวันเดินทางถึงวันนี้ถ้าไม่มีไปรษณีย์”

กฤชทิพย์ ศิริรัตนธำรงค์ สถาปนิกและนักสะสมประวัติศาสตร์ไปรษณีย์ (Postal History) เอ่ยขึ้น หากเราเงยหน้ามองโปสการ์ด จดหมาย และซองเก่าคร่ำคร่า ที่ประดับผนังนิทรรศการ ‘ฝากไว้ในแผ่นดิน 140 ปี บี.กริม’ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะเห็นว่าทุกชิ้นเต็มไปด้วยลายมือหวัดๆ และรอยประทับซีดจางบนกระดาษ

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

นักสะสมอาวุโสใช้เวลาราว 20 ปีรวมรวมหลักฐานประวัติศาสตร์เหล่านี้จากอเมริกาและยุโรป เขาพบกระดาษแห่งความทรงจำ 232 ชิ้นเกี่ยวกับห้างฝรั่งเก่าแก่ในไทยและความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับเยอรมนีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 9 และคัดเลือกหลักฐาน 50 ชิ้นที่โดดเด่นที่สุดมาจัดแสดง เช่น ไปรษณียบัตรจากสมาคมชาวเยอรมนีในบางกอก ไปรษณียบัตรจากเบอร์ลินถึงนายห้างอดอล์ฟ ลิงค์ เจ้าของห้างบี.กริม ที่ไม่มีผู้รับปลายทาง เพราะสยามประกาศสงครามกับเยอรมนี จดหมายจากนายห้างลิงค์ที่ส่งไปโกเบ แต่ใช้เวลา 7 ปีกว่าจะถึงมือผู้รับเพราะสงครามโลก ไปจนถึงจดหมายจากสถานกงสุลเยอรมนีถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

“ไปรษณีย์เชื่อมคนทั้งโลกเข้าหากัน สมัยก่อนการติดต่อค้าขายทุกอย่าง ถ้าส่งจดหมายไปต้องมีส่งกลับ ถ้าไม่ส่งกลับมันก็จบ ยุคนั้นไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีอีเมล ไม่มีไฟฟ้า ปากกาหมึกซึมยังไม่มีเลยครับ คนต้องจุดเทียนเขียนจดหมาย ใช้ปากกาคอแร้งจุ่มหมึกหนึ่งที เขียนสองสามคำในแสงเทียนแล้วจุ่มใหม่ โรแมนติกมาก เพราะสิ่งเดียวที่ช่วยให้เขาติดต่อหาโลกอื่นคือการเขียนจดหมายอย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่น

“แต่สมัยก่อนไม่มีเครื่องบิน จดหมายใช้เวลาเป็นเดือน สองเดือน สามเดือน จากวันที่คุณนั่งเขียนไปถึงมือคนรับ ขณะที่อีเมลอาจใช้เวลาแค่ 2 วินาที คุณคิดดูสิว่ามันโหดร้ายมั้ย โหดร้ายมากนะครับ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อ 160 – 170 ปีก่อนคือคุณต้องเขียนจดหมายทุกวัน หยุดไม่ได้ เพราะถ้าคุณหยุด การติดต่อทุกอย่างจะหยุดหมด”

ไปรษณีย์ไทยเริ่มเปิดให้บริการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตรงกับช่วงเวลาพัฒนาเปลี่ยนแปลงประเทศที่นักธุรกิจจากทั่วโลกเดินทางมาติดต่อค้าขายกับสยาม ในปี 1878 (140 ปีที่แล้ว) ตำนานของบี.กริม ห้างขายยาบนถนนเจริญกรุงที่กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้น

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

เภสัชกรชาวเยอรมนีชื่อ แบร์นฮาร์ด กริม และหุ้นส่วนชาวออสเตรีย แอร์วิน มุลเลอร์ เปิดธุรกิจร้านขายยาสมัยใหม่แห่งแรกในสยามที่ถนนเจริญกรุง ‘ร้าน Siam Dispensary’ หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า ‘ร้านยาสยาม’ จําหน่ายยาคุณภาพดีจากเยอรมนี โดยมี ‘หมอกริม’ เภสัชกรเจ้าของร้านคอยให้บริการ สยามดิสเป็นซารี่ประสบความสำเร็จมากจนได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นร้านยาหลวงในราชสํานัก

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

ในวาระครบรอบ 100 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระบรมมหาราชวังและหมู่ปราสาท เจ้าของห้างขายยาทั้งสองจึงเปิด ‘B.Grimm and Co.’ เป็นห้างสรรพสินค้าเยอรมันแห่งแรกในสยามที่นำเข้าสินค้าก่อสร้างต่างๆ และยังเป็นห้างหลวงที่มีสิทธิ์ค้าขายส่งสินค้าให้แก่ราชสํานัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อาวุธ ไปจนถึงเหรียญตรา กิจการที่เฟื่องฟูนี้ทำให้เกิดห้างที่ 3 คือ ‘รัตนโกสินทรสัชการบริษัท’ (The Bangkok Outfitting Company) ตามมา

ภายหลังหมอกริมและนายมุลเลอร์เดินทางกลับไปพำนักที่ยุโรป กิจการของพวกเขาถูกขายต่อ อดอล์ฟ ลิงค์ เภสัชกรในบริษัทได้ก้าวเข้ามาเป็นหุ้นส่วนหลัก และตระกูลลิงค์ก็ดำเนินธุรกิจบี.กริมต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ต้องผ่านสงครามโลก 2 ครั้งในฐานะสมาชิกประเทศผู้แพ้สงคราม ต้องปิดห้างไปถึง 2 ครั้งเพราะเป็นกิจการของชาติศัตรู และประสบปัญหาค้าขายเพราะเศรษฐกิจโลกตกต่ำหลังสงครามทั้งคู่ แต่ครอบครัวชาวเยอรมนีนี้ก็ประคับประคองกิจการและขยายอาณาจักรมาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน กิจการของบี.กริมเติบโตระดับหมื่นล้าน ครอบคลุมตั้งแต่พลังงานไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ เครื่องปรับอากาศ ระบบรถไฟฟ้า อุปกรณ์การแพทย์ ไปจนถึงเสื้อผ้าและศิลปะ โดยประธานกลุ่มบริษัท บี.กริมคือ ฮาราลด์ ลิงค์ หลานปู่ของอดอล์ฟ ลิงค์ เภสัชกรเจ้าของห้างบี.กริม นั่นเอง

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

กฤชทิพย์พบร่องรอยจดหมายของบริษัทบี.กริมโดยบังเอิญ เนื่องจากงานอดิเรกของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการซ่อมแซมอาคารเก่าคือการสะสมแสตมป์ โปสการ์ด และจดหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย เขากว้านซื้อของเก่าเหล่านี้มามากมายจากในอเมริกาและยุโรป ส่วนใหญ่แล้วเป็นโปสการ์ดและจดหมายเก่าแก่เป็นภาษาต่างชาติที่ราชวงศ์ ขุนนาง และชาวต่างชาติ ใช้ติดต่อกับโลกภายนอก เนื่องจากชาวสยามทั่วไปเพิ่งได้เรียนหนังสืออย่างแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 6

20 ปีที่แล้ว เมื่อบี.กริมอายุครบ 120 ปี นักสะสมได้เคยนำเสนอคอลเลกชันที่เกี่ยวข้องกับบี.กริมมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนั้นสิ่งจัดแสดงยังไม่สมบูรณ์เท่าครั้งนี้

“เขาดีใจมากที่เรามีของเกี่ยวกับครอบครัวเขา เลยขอให้ช่วยหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบี.กริมและชาวเยอรมนีในไทยให้ในวาระครบรอบ 140 ปี”

กฤชทิพย์เคยใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกากว่า 30 ปี มีเครือข่ายสมาชิกสมาคมสะสมของเก่าสยามในอเมริกาและลอนดอน ในวันหยุดส่วนใหญ่เขาเดินทางไปตามเมืองใหญ่ในยุโรปเพื่อตามล่าสิ่งสะสมกระดาษที่เกี่ยวกับประเทศสยาม ตั้งแสตมป์ดวงเล็กๆ โปสการ์ดจดหมายเก่า หนังสือเก่า แผนที่เก่า และธนบัตรโบราณ

ระหว่างนั้นเขาได้แผ่นความทรงจำชิ้นแล้วชิ้นเล่าเกี่ยวกับบี.กริมมาประกอบกัน ทั้งหลักฐานการสื่อสารของผู้ก่อตั้งบี.กริม หลักฐานการสื่อสารระหว่างสมาชิกตระกูลลิงค์ หลักฐานการสื่อสารทางการทูตระหว่างกงสุลเยอรมนีและสยาม หลักฐานการสื่อสารทางธุรกิจของบี.กริม หลักฐานการสื่อสารของบริษัทเยอรมันที่เข้ามาทำธุรกิจในสยาม และชุดไปรษณียบัตรที่ส่งโดยสมาคมชาวเยอรมนีในบางกอก

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

งานนี้เราจึงได้เห็นตั้งแต่จดหมายและไปรษณียบัตรที่แบร์นฮาร์ด กริม และ แอร์วิน มุลเลอร์ เขียนจดหมายสั่งของจากเยอรมนี โปสการ์ดรูปภาพที่มุลเลอร์ส่งถึงภรรยาและลูกชายที่เวียนนา โปสการ์ดเชิญร่วมดูหนังฟังเพลงหรือเก็บต้นคริสต์มาสของสมาคมชาวเยอรมนีในบางกอก ไปรษณียบัตรติดตามขอแคตตาล็อกสินค้าบี.กริมจากสุราษฎร์ธานี ไปจนถึงจดหมายยุคหลังๆ ที่กลายเป็น Air Mail ไปรษณีย์ที่ส่งทางเครื่องบินแทนเรือ

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

สิ่งที่อยู่บนหน้าซองหรือหลังไปรษณียบัตรคือสิ่งบ่งบอกยุคสมัยและประเทศ แสตมป์บอกรัชสมัยและช่วงเวลา ตราประทับบนบ่งบอกว่ามีการเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่ไหนบ้าง บางครั้งวันที่บนจดหมายใช้หลักปีแบบรัตนโกสินทรศกและคริสตศักราชควบคู่กัน หรือใช้ชื่อสยามและประเทศไทยคู่กันหลังเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่ๆ แถมยังมีซองจดหมาย German Telegram Service ที่มีตราประทับว่า 1 att stamps run short,
postage paid. ซึ่งเป็นตราประทับชั่วคราวแทนช่วงที่แสตมป์ 1 อัฐขาดแคลน เป็นเหตุการณ์พิเศษในประวัติศาสตร์ทางไปรษณีย์ของสยาม

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

“กระดาษพวกนี้ต้องเก็บให้ดีกว่าลูก เพราะลูกดูแลตัวเองได้ แต่กระดาษช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สิ่งที่เขาชอบคือความเย็นและความแห้ง แต่บ้านเราร้อนและชื้น เปรียบเทียบเมืองนอก กระดาษบ้านเขาจึงดูใหม่ อยู่ได้นานกว่าเราเยอะ แสตมป์รุ่นร้อยปีเขาขาวจั๊วะเลย แต่สิ่งพิมพ์บ้านเราดูแลยาก ถ้าดูแลไม่ดีไม่มีทางอยู่ถึงร้อยปี ดังนั้นพออยู่ที่นี่ก็ต้องดูแลให้ดีกว่าที่เมืองนอก”
เมื่อได้ของมาแล้ว กฤชทิพย์จะเก็บเอกสารทุกอย่างใส่ซองพลาสติกกันความชื้น แล้วรีบเก็บเข้าตู้กันชื้นในห้องรักษาอุณหภูมิ ถ้าจะจับกระดาษต้องใส่ถุงมือเท่านั้น และการถ่ายภาพต้องไม่ยิงแฟลชตรงๆ ใส่วัตถุเป็นอันขาด

สถาปนิกชาวเชียงใหม่เล่าว่าเขาเริ่มต้นจากการสะสมแสตมป์เมื่ออายุ 8 ขวบ กระดาษแผ่นเล็กๆ แต่ละดวงสอนให้เขารู้ว่ายังมีโลกภายนอกที่กว้างไกลกว่าเชียงใหม่ ยิ่งตามเก็บมากกว่า 60 ปี ประเภทของสะสมก็ขยายมากขึ้นเรื่อยๆ

“สุดท้ายมันไม่ใช่แค่กระดาษใบเล็กๆ แต่แสตมป์พาเราไปสู่โลกทั้งโลก จดหมายฉบับเดียวบอกเราได้หมดว่าอะไรเกิดขึ้นบ้างในตอนนั้น สิ่งที่สะสมทำให้เรารู้ ทำให้เราเข้าใจ ทำให้เรามีความสุข ทำให้เราไม่เหนื่อย ไม่พอ เพราะมันเป็นความรู้ทั้งนั้นครับ”

นักสะสมอาวุโสกล่าวตบท้าย

แม้ข้อความที่ซีดจางบนจดหมายเก่าจะแกะอ่านได้ยาก แต่ก็คุ้มค่าที่จะลองมาชมนิทรรศการด้วยตาตัวเองสักครั้ง เพราะโลกเก่าทั้งใบบรรจุอยู่ในนั้น

แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม แกะรอยจดหมายเก่าห้างบี.กริม ห้างเยอรมันแห่งแรกของสยาม

นิทรรศการ ‘ฝากไว้ในแผ่นดิน 140 ปี บี.กริม’

ยังจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินร่วมสมัย 15 คน ที่ตีความและได้รับแรงบันดาลใจจากความโอบอ้อมอารี อันเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินธุรกิจของบี.กริม

วันที่ : 10 มิถุนายน – 20 มิถุนายน 2561
สถานที่ : ห้องนิทรรศการชั้น 8 และ ผนังโค้งชั้น 7-8, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Website : www.bacc.or.th

Writer

ภัทรียา พัวพงศกร

ภัทรียา พัวพงศกร

บรรณาธิการ นักเขียน ที่สนใจตึกเก่า เสื้อผ้า งานคราฟต์ กลิ่น และละครเวที พอๆ กับการเดินทาง

Photographer

Avatar

ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข

ช่างภาพ นักออกแบบกราฟิก นัก(หัด)เขียน โปรดิวเซอร์และผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์ และอื่นๆอีกมากมายแล้วแต่ว่าไปเจออะไรน่าทำ IG : cteerapan