11 กุมภาพันธ์ 2020
54 K

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เชิญท่านผู้หญิงสิริกิติยา และทีม The Cloud ไปชมอัลบั้มภาพ ‘รูปทรงถ่าย เดือนหนึ่งในนอร์เวย์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๖’ เล่มจริงที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาและทีม The Cloud เดินทางไปตามสถานที่ในภาพ รวมถึงได้ใช้บริการบริษัททัวร์บริษัทเดียวกับที่จัดให้รัชกาลที่ 5 เมื่อ 113 ปีก่อน ท่านผู้หญิงจึงเกิดความคิดว่า การเดินทางครั้งนี้น่าจะเล่าเรื่องผ่านภาพถ่าย

รวมจดหมายจากปี 2563 ที่ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเขียนตอบพระราชหัตถเลขาจากยุโรปของ ร.5 เมื่อร้อยกว่าปี

เดือนกุมภาพันธ์ เมื่อวันที่ 1 – 9 ที่ผ่านมา ท่านผู้หญิงสิริกิติยาจึงรวบรวมภาพถ่ายจากนอร์เวย์เพื่อเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ที่ห่างกันร้อยกว่าปีมาบรรจบกันที่นิทรรศการ Hundred Years Between ณ โรงภาษีร้อยชักสาม ในเทศกาล Bangkok Design Week 2020 มากไปกว่าภาพถ่ายและการถ่ายภาพ ท่านผู้หญิงยังได้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ของการดั้นด้นไปยังจุดเหนือสุดแห่งทวีปยุโรปของทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตัวท่านผู้หญิงเองด้วยจดหมาย 4 ฉบับ ที่เขียนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเสด็จฯ ถึงยังสถานที่เดียวกัน หากแต่คั่นด้วยเวลา 113 ปี

รวมจดหมายจากปี 2563 ที่ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเขียนตอบพระราชหัตถเลขาจากยุโรปของ ร.5 เมื่อร้อยกว่าปี

เดือนกุมภาพันธ์ วันที่ 11 หากใครที่พลาดนิทรรศการ Hundred Years Between หรือใครที่ไม่พลาดแต่ยังอ่านไม่อิ่มใจ เชิญเปิดเว็บไซต์ readthecloud.co แล้วเลื่อน Scrollbar ดื่มด่ำทุกตัวหนังสือ เรานำจดหมายทั้งสี่ฉบับ ทั้งสองภาษา มาหย่อนใส่ตู้ไปรษณีย์ออนไลน์หน้าจอคุณแล้ว 

Level 1

Introduction Letter; Nature as Paramount

รวมจดหมายจากปี 2563 ที่ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเขียนตอบพระราชหัตถเลขาจากยุโรปของ ร.5 เมื่อร้อยกว่าปี

Great, Great Grandfather;

We have neither met nor spoken; in fact, we have more than a hundred years between us. Yet, your present is my past, and it has brought me to where I stand today. I am to follow the footsteps of you, King Chulalongkorn, on your historic trip to Norway in 1907. Yet, we grew up in different cultures, separated by different lifetimes. And although we may have traveled the same path, we both do so through a different lens of time, space and perspectives.

On the way to Europe’s most northern point in 1907, you had visited the island of Torghatten and had been struck by the quality of light, likening it to the land, the sky, and water in ‘those paintings of Norway that they tend to paint, and which one does not find realistic.’ The vastness of the Norwegian landscape—and its powerful, mythological quality—possesses an extraordinary ability to show us as much beauty and as it can cruelty. In its extremes, nature humanizes us. And it is this thematic link that would bind us both. 

Here, in Norway, I have felt both dwarfed and exposed in this vast expanse of nature. I have grown to see it as something much larger than myself, and at the mercy of the elements, I am humbled. 

Through these letters and photographs, I am striving to find a connection between our respective experiences in a foreign land so far from our own. Not as a historian or photographer, but as one of your descendants.

ชั้น ๑

จดหมายฉบับที่หนึ่ง ความยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ 

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้าไม่เคยมีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพราะเวลาล่วงไปแล้วกว่าศตวรรษ รัชสมัยของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลายเป็นภาพอดีตให้ข้าพระพุทธเจ้าศึกษาค้นคว้า และนำพาข้าพระพุทธเจ้าให้มายืนอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เดินทางตามรอยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามเส้นทางเสด็จประพาสราชอาณาจักรนอร์เวย์ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ (รัตนโกศินทร์ศก ๑๒๖) ข้าพระพุทธเจ้าเติบโตในกรอบวัฒนธรรมและห้วงยามประวัติศาสตร์อันต่างจากที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเจริญวัยขึ้น ดังนั้น แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะเดินทางตามเส้นทางเดียวกับที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเคยเสด็จพระราชดำเนิน ทว่าบริบทระหว่างการเดินทาง ทั้งกาลเวลา ตำแหน่งแห่งที่ และมุมมองของผู้มาเยือน ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเคยทรงพานพบ ย่อมต่างจากที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ประสบมา

ในปีพุทธศักราช  ๒๔๕๐ บนเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินสู่จุดเหนือสุดของทวีปยุโรป ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้เสด็จเยือนเกาะต๊อร์คแฮตเตน (Torghatten) และคงจะทรงตื่นเต้นและทรงพระเกษมสำราญกับแสงธรรมชาติที่สวยงามยิ่ง ดังที่ทรงเปรียบเปรยผืนดินผืนฟ้าและลำน้ำของอาณาจักรนอร์เวย์ไว้ว่า ดินฟ้าอากาศแลน้ำ เหมือนรูปเขียนเมืองนอรเวที่เขาเขียน ซึ่งเราไม่เห็นจริง มันใสแจ่มกว่าปรกติมาก  

ภูมิทัศน์อันกว้างใหญ่ของนอร์เวย์นั้นน่าเกรงขามยิ่ง บรรยากาศเปี่ยมมนต์ขลังเช่นนี้ ดูราวกับว่าแม่พระธรณีอาจเผยให้เห็นความงดงามหรือความโหดร้ายของธรรมชาติก็ได้ทั้งสองอย่าง แต่ครั้นธรรมชาติแสดงแสนยานุภาพให้เป็นที่ประจักษ์ เราจึงได้ตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ แก่นสารนี้เองที่เชื่อมโยงระหว่างข้าพระพุทธเจ้าและใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ที่นอร์เวย์นี้ ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกราวกับตัวหดเหลือนิดเดียวเมื่ออยู่ท่ามกลางความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ที่ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่าช่างมีพลังอำนาจล้นเหลือ จนต้องยอมน้อมรับโดยดุษณี

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้จดหมายและภาพถ่ายเหล่านี้ เพื่อตามหาสายสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้จากเดินทางของข้าพระพุทธเจ้าและการเสด็จประพาสของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในราชอาณาจักรที่แสนห่างไกลดินแดนมาตุภูมิ ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มุ่งหมายจะทำการนี้ในฐานะนักประวัติศาสตร์หรือช่างภาพ แต่ในฐานะผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์จักรี หน่อเนื้อเชื้อไขในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท


Level 2

Memories Stored within Landscapes and Architecture

รวมจดหมายจากปี 2563 ที่ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเขียนตอบพระราชหัตถเลขาจากยุโรปของ ร.5 เมื่อร้อยกว่าปี

Great, Great Grandfather;

You visited a town called Gudvangen, and you were interested in the history behind the town’s name. What stirred your curiosity was a shimmer of the past in the form of a hotel called Vikingvang.  Before Gudvangen, the town was called Vikingvang, the word vang or vangen meaning the stream at the end of the fjord. It turns out that a powerful Viking leader used to live in the end of this fjord, but when the area was Christianized the town’s name was changed to Gudvangen, Gud meaning God. Therefore, the meaning changed to the God living at the end of the fjord. 

Most of my work explores the concept of memories, and of history as a multi-dimensional entity that is always in flux. History consists of memories of multiple individuals, with different perspectives and modes of expression. Over time, as the people change, the history or stories within spaces invariably change in response. As such, landscapes or architectural structures can possess different layers of memories if we take the time to look. Iver, our guide in the fjord-filled region of Western Norway, asked me if I wanted to see something special.  Iver said, ‘His Majesty didn’t stay in this hotel, but he took a photo in front of it. Look at it now, over a hundred years later, and while the structure has changed ownership several times and has not been in use, it still stands.” The hotel was covered in roots and flora. I was struck, of course, not only by the structure’s aesthetic beauty but also by the different layers of history documented. And what I found more powerful was that, to me, the overgrowth of roots and flora on the structure was evidence of life not death. 

The town you had visited was once called Vikingvang, and although it has now taken on a new form in the name of Gudvangen, the town itself is still alive. It is merely the exterior façade and name that have changed. 

ชั้น ๒

ความทรงจำที่ดำรงอยู่ในภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรม

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมือง กูดวานเกน (Gudvangen) ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงสนพระราชหฤทัยในประวัติชื่อเมืองนี้ สิ่งที่ทำให้ทรงสงสัยคือรอยอดีตที่หลงเหลืออยู่ในรูปแบบของโรงแรมที่ชื่อ วีกกิ้งวัง (Vikingvang) 

ก่อนหน้าจะเปลี่ยนชื่อเป็น Gudvangen เมืองนี้ชื่อว่า Vikingvang คำว่า vang หรือ vangen หมายถึงลำธารปลายอ่าวฟยอร์ด (Fjord) เรื่องราวที่เล่าขานกันมาคือ มีผู้นำไวกิ้งผู้ทรงอำนาจเคยพำนักอยู่ปลายสุดของอ่าวฟยอร์ดนี้ แต่เมื่ออิทธิพลของศาสนาคริสต์แผ่ขยายเข้ามาสู่นอร์เวย์ ชื่อเมืองจึงถูกเปลี่ยนเป็น Gudvangen คำว่า Gud หมายถึง God หรือพระเจ้า ความหมายของชื่อเมืองจึงกลายเป็น ‘พระเจ้าสถิตอยู่ที่ปลายอ่าวฟยอร์ด’

งานส่วนใหญ่ของข้าพระพุทธเจ้าศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำของมนุษย์ และปฏิบัติต่อประวัติศาสตร์เสมือนหนึ่งเป็นเรื่องราวที่ทับซ้อนกันหลายชั้นและไม่หยุดนิ่ง ประวัติศาสตร์ประกอบด้วยความทรงจำของหลากหลายบุคคล ต่างคนก็ต่างมุมมอง ต่างวิธีการในการนำเสนอชุดความทรงจำเหล่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป คนก็เปลี่ยนแปลง ประวัติศาสตร์ หรือก็คือ เรื่องราวในสถานที่หนึ่งๆ จึงเปลี่ยนตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราพินิจพิจารณาให้ดี ภูมิทัศน์ของประเทศหรือสถาปัตยกรรมของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จึงโอบอุ้มความทรงจำที่ทับซ้อนกันเหล่านั้นไว้

อีเวอร์ (Iver) มัคคุเทศก์ที่นำทางพวกข้าพระพุทธเจ้าในดินแดนตะวันตกของนอร์เวย์ที่อุดมไปด้วยอ่าวฟยอร์ดอันสวยงาม ถามข้าพระพุทธเจ้าว่า อยากเห็นอะไรบางอย่างที่แสนพิเศษหรือไม่

อีเวอร์กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ประทับที่โรงแรมแห่งนี้ แต่ทรงถ่ายรูปหน้าโรงแรมไว้ ลองดูมันตอนนี้สิ แม้เวลาจะผ่านไปแล้วกว่าร้อยปี มันเคยถูกทิ้งว่างไว้ เปลี่ยนเจ้าของไปก็หลายครั้ง แต่ตัวโรงแรมยังคงอยู่” โรงแรมนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางไม้ยืนต้นและไม้ดอกนานาพรรณ แน่นอนว่า ข้าพระพุทธเจ้าตื่นตาตื่นใจกับสถานที่แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะความงามของสถานที่เพียงอย่างเดียว แต่เพราะเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมายที่ซ้อนทับกันอยู่ด้วย 

สิ่งที่ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่าทรงพลังยิ่งกว่าตัวสถานที่ก็คือ พรรณไม้หนาทึบที่โอบล้อมโรงแรมอยู่นั้น เป็นประจักษ์พยานของความมีชีวิต มิใช่การสิ้นสุดของชีวิต

เมืองที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จพระราชดำเนินเยือนนั้นเคยถูกเรียกว่า Vikingvang แม้ปัจจุบันจะเป็นที่รู้จักในชื่อ Gudvangen แต่เมืองแสนสวยแห่งนี้ยังคงมีชีวิตและจิตวิญญาณของอดีต เพียงแค่โฉมหน้าและนามเรียกขานเท่านั้นที่เปลี่ยนไป


Level 3, Part 1

North Cape and Hans

รวมจดหมายจากปี 2563 ที่ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเขียนตอบพระราชหัตถเลขาจากยุโรปของ ร.5 เมื่อร้อยกว่าปี

Great, Great Grandfather;

On the day I visited what was considered the most northernmost point in Europe, North Cape, I woke up to rain. Following a boat ride from the small fishing town of Skarsvåg, our boat docked at same bay that you docked at over a 100 years ago. The ascent up the mountain to North Cape was cold, windy, and beautiful. And once we arrived at the top of the mountain, all was silent. The fog and the rain rendered the view at top of the mountain wholly white, devoid of a sense of time and place. Attempts to walk to the edge of the cliff were futile, as the strong winds pushed us back repeatedly.  

The next day I asked my new Norwegian friend, Hans, if it was difficult to live in such a beautiful but harsh environment. To which Hans responded, “I grew up here all my life. Everything is a balance. Hand-in-hand with beauty, comes hardship. It is what makes everything the way it is.” Hans then took us to a small island, off the coast from a small fishing village where he walked around the small island searching and searching. When he came back, he opened his hand, revealing a small berry: “when I was young, we used to come to this island so that we could pick cloudberries in the summer.”  

It was a simple moment that you did not experience in the exact same way; however, you recounted in your letters of the resilience of the Norwegian people, and of how they coexisted with nature in such a way that was meaningful. On the way to North Cape, you had visited the island of Torghatten where you asked a local woman almost the same question I asked Hans. To which she responded, “there is no comparable place, because there is grass, more than anywhere else, and one can feed six cows which produce plenty of milk and butter.” 

I wonder if this outlook is rooted in Norwegians’ Viking past with a belief in the interconnectivity of the Gods and nature. For when you and I hear thunder, it’s only thunder. But for Vikings in the past, it’s Thor beating his hammer.

ชั้น ๓ ส่วนที่ ๑

แหลมเหนือ และฮันส์

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

วันที่ข้าพระพุทธเจ้าไปเยือนแหลมเหนืออันถือได้ว่าเป็นจุดเหนือสุดของทวีปยุโรปนั้น ข้าพระพุทธเจ้าตื่นขึ้นท่ามกลางเสียงหยาดฝน แล้วนั่งเรือไปจากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ชื่อ สการ์สโวก (Skarsvåg) เรือเทียบที่ท่าเดียวกับที่ครั้งหนึ่งเรือพระที่นั่งของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเคยเทียบท่า ทางเดินขึ้นเขาไปสู่แหลมเหนือนั้นหนาวเหน็บ ลมแรง แต่ทิวทัศน์งามนัก เมื่อพวกข้าพระพุทธเจ้าขึ้นไปถึงยอดเขา ทุกสิ่งก็พลันเงียบสงัด สายหมอกและละอองฝนที่โปรยปรายทำให้บริเวณยอดเขาขาวโพลนไปหมดจนยากจะระบุเวลาและสถานที่ได้แจ่มชัด ข้าพระพุทธเจ้าพยายามเดินเลาะไปตามขอบผา แต่ความพยายามไม่เป็นผลเอาเสียเลย เพราะต้องขืนตัวต้านแรงลมที่ดึงรั้งพวกข้าพระพุทธเจ้าอยู่ตลอด

วันถัดมา ข้าพระพุทธเจ้าถามฮันส์ เพื่อนใหม่ชาวนอร์เวย์ ว่าการดำรงชีวิตในประเทศแสนงามที่สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโหดร้ายยิ่งนักนั้น เป็นปัญหาหรือไม่ เธอตอบว่า “ผมเติบโตที่นี่มาตลอดชีวิต ทุกอย่างมีดุลยภาพของมัน ความงามอันน่าทึ่งกับความโหดร้ายทารุณของธรรมชาติอยู่คู่กันเสมอ แต่สิ่งนี้เองกำหนดวิถีทางที่ทุกอย่างเป็นไป”

หลังจากนั้น ฮันส์พาพวกข้าพระพุทธเจ้าไปยังเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งจากหมู่บ้านชาวประมง ฮันส์เดินหาอะไรบางอย่างไปเสียทั่วเกาะ เขากลับมาพร้อมลูกเบอร์รีเล็กๆ ในมือ และกล่าวว่า “ตอนผมเด็กๆ เราเคยมาที่เกาะนี้เพื่อมาเก็บลูกเคลาด์เบอร์รีตอนหน้าร้อน”

ข้าพระพุทธเจ้าทราบว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงประสบสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าประทับใจเช่นนี้คล้ายกับที่ข้าพระพุทธเจ้าพบ แม้จะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เพราะในพระราชหัตถเลขา ทรงบันทึกถึงความทรหดอดทนและยืดหยุ่นของชาวนอร์เวย์ไว้ว่าพวกเขาใช้ชีวิตอันเปี่ยมความหมายร่วมกับแม่พระธรณีอย่างไร ก่อนถึงแหลมเหนือ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงแวะที่เกาะต๊อร์คแฮตเตน และตรัสถามหญิงชาวท้องถิ่นด้วยคำถามที่เกือบจะเป็นคำถามเดียวกับที่ข้าพระพุทธเจ้าเอ่ยถามฮันส์ หญิงผู้นั้นทูลตอบว่า “บรรดาเกาะเหล่านี้ไม่มีที่ไหนสู้ เพราะมีหญ้าบริบูรณ์กว่าที่อื่น เลี้ยงวัวได้ถึง ๖ ตัว สารพัดนมเนยอะไรใน ๖ ตัวนั้น พอเลี้ยงกัน” 

ข้าพระพุทธเจ้านึกสงสัยว่า ความคิดเช่นนี้หยั่งรากฝังลึกในจิตวิญญาณไวกิ้งของชาวนอร์เวย์หรือไร เพราะพวกเขาเชื่อในความเชื่อมโยงระหว่างทวยเทพและธรรมชาติ เมื่อฟ้าคำราม สำหรับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและข้าพระพุทธเจ้า นั่นก็เป็นเพียงเสียงฟ้าร้องฟ้าลั่นตามธรรมชาติ แต่สำหรับชาวไวกิ้งในอดีต เมื่อท้องฟ้าแผดเสียงกึกก้องกัมปนาท พวกเขาจะบอกว่า เทพเจ้าธอร์กำลังเกรี้ยวกราดฟาดค้อนศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์


Level 3, Part 2

King Chulalongkorn

รวมจดหมายจากปี 2563 ที่ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเขียนตอบพระราชหัตถเลขาจากยุโรปของ ร.5 เมื่อร้อยกว่าปี

Great, Great Grandfather, 

They say that one is a part of all that one has met. 

As a monarch, your travels through Norway inspired you greatly. Your admiration for the Norwegians as a people and for their innovative achievements is evident. You exhibited such progressive foresight in sending back home a ton of Norway’s intriguing new electrochemical fertilizer. And I think you’d be proud to know that Norsk Hydro, now known as Yara, opened up an office in Bangkok and is one of the main Norwegian investments in Thailand today. And in your meditations on Norwegian economy, you have our own country always in your mind. 

As I prepared to travel and as I contemplated the long relationship between Norway and Thailand—one that your visit strengthened—I also worried. How would I do justice to your journey and what benefit could my own travels bring? How could I ever replicate your experience? 

But as I followed in your footsteps, many of these concerns receded, and my own lens brought into focus the delicate threads – of time, of space, of ancestry, and of humanity—that serve to connect us, rather than to distance us. Through your writings and your photographs, I see how deeply personal this journey was for you: I am discovering in you a familiar humanity that reveals itself through the small trepidations you committed to paper.

In your ascent to North Cape, you were not simply on tour: you undertook a test of your physical ability and of human will. You exhibited both perseverance, determination, and experienced the liberation of wonder at your accomplishment. I often wondered how that affected your own reflections on the significance of your journey? And so, what I have come to realize is that your journey across Norway was also an inner journey full of inspiration in the humility and the humanity with which Norwegians accept their place in nature. 

Truth be told, in scaling my own fears, my journey was also deeply personal and impacting. I realized that it was not so much for me to bring your stories to life, as much as to interweave them into my own, and to isolate those connecting threads between you and I. Despite the 100 years between our parallel journeys, may these letters to you and these photographs of mine, add another layer of richness to our intertwined histories, for it is just as they say “I am a part of all that I have met.”

ชั้น ๓ ส่วนที่ ๒

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

กล่าวกันว่า ทุกประสบการณ์ที่พานพบ ล้วนหลอมรวมอยู่ในตัวตนมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม 

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การเสด็จประพาสราชอาณาจักรนอร์เวย์ในฐานะพระมหากษัตริย์ ก่อกำเนิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยแก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอย่างยิ่ง พระราชนิยมที่ทรงมีต่อชาวนอร์เวย์และความช่างคิดประดิษฐ์ทำของเขานั้นเด่นชัดนัก ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงมองการณ์ไกล ด้วยทรงจัดส่งปุ๋ยชนิดใหม่ล่าสุดของนอร์เวย์ที่ผลิตด้วยกระบวนการทางไฟฟ้าเคมีกลับมาทดลองใช้ในสยามถึงหนึ่งตัน ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า ใต้ฝ่าพระบาทคงจะทรงอิ่มเอิบพระราชหฤทัยยิ่ง หากทรงทราบว่า บริษัท นอร์สก์ไฮโดร หรือปัจจุบันนี้คนไทยรู้จักในชื่อ ยารา ได้จัดการดำเนินธุรกิจของเขาในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของนอร์เวย์บนแผ่นดินไทยในปัจจุบัน ระหว่างการเสด็จประพาส เมื่อทรงพินิจพิจารณาถึงภาคเศรษฐกิจของนอร์เวย์ ก็ทรงคำนึงถึงสิ่งที่อาจยังประโยชน์แก่สยามด้วยทุกครั้งไป

เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเตรียมตัวเดินทาง ได้ครุ่นคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสยามและนอร์เวย์ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน การเสด็จประพาสของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนั่นเองที่เชื่อมไมตรีระหว่างสองมิตรประเทศ แต่ข้าพระพุทธเจ้ายังรู้สึกกังวลใจ ทำเช่นไรจึงจะทำงานชิ้นนี้ได้สมพระเกียรติยศ การเดินทางครั้งใหม่นี้จะยังประโยชน์ในแง่ใด ที่สำคัญ ข้าพระพุทธเจ้าจะหวังได้รับประสบการณ์อย่างที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเคยประสบได้อย่างไรกันเล่า

ครั้นเมื่อข้าพระพุทธเจ้าออกเดินทางตามรอยพระราชดำเนิน ความกังวลเหล่านี้ค่อยคลายไป ความสนใจใคร่รู้ของข้าพระพุทธเจ้ามุ่งไปยังสิ่งอื่น ได้แก่ กาลเวลา ตำแหน่งแห่งที่ วิถีแห่งบรรพชน และจิตวิญญาณแห่งมนุษยชาติ สิ่งละอันพันละน้อยที่แสนละเอียดอ่อนเหล่านี้ ถักทอก่อเกิดเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างสองยุคสมัย และกลับทำให้ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ดียิ่งขึ้น การศึกษาพระราชหัตถเลขาและภาพทรงถ่ายทำให้ข้าพระพุทธเจ้าประจักษ์ว่า การเสด็จประพาสครั้งนี้มีความหมายลึกซึ้งเป็นการส่วนพระองค์เพียงใด ข้าพระพุทธเจ้าค้นพบแง่มุมของความเป็นมนุษย์ เพราะรู้สึกได้ถึงความกังวลพระราชหฤทัยเล็กๆ น้อยๆ ผ่านรอยน้ำหมึกบนแผ่นกระดาษที่ทรงบันทึก

บนเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินสู่แหลมเหนือ ใต้ฝ่าพระบาทมิได้ทรงทำเพื่อความเกษมสำราญ เพราะการเดินทางลำบากยิ่ง เป็นการทดสอบความแข็งแกร่งของทั้งพระวรกายและพระราชหฤทัย ดังที่ทรงบันทึกในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จหญิงพระองค์น้อยว่า ‘พ่อมีความวิตกกลัวจะขึ้นไปไม่ตลอด’ หากแต่ใต้ฝ่าพระบาททรงแสดงให้เห็นถึงพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงมุ่งมั่นจะไปให้ถึงจุดหมายให้ได้ และในที่สุดก็ทรงทำสำเร็จ

ข้าพระพุทธเจ้านึกสงสัยมาตลอดว่า สำหรับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อความสำคัญของการเสด็จประพาสคราวนั้นมากเพียงไร สิ่งที่ข้าพระพุทธเจ้าตระหนักในท้ายที่สุดก็คือ การเสด็จประพาสราชอาณาจักรนอร์เวย์ นอกจากเป็นการเดินทางทางกายภาพ ยังเป็นดังหนึ่งการเดินทางทางจิตวิญญาณ เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจจากการดำเนินชีวิตอย่างชนชาวนอร์เวย์ ตามครรลองที่สอดคล้องกับธรรมชาติ สะท้อนความนอบน้อมต่อแม่พระธรณีและวิถีแห่งความเป็นมนุษย์ 

ความจริงก็คือ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าก้าวข้ามความกังวลใจไปได้ การเดินทางครั้งนี้เปี่ยมความหมายและมอบพลังทางความคิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ข้าพระพุทธเจ้าตระหนักว่า การพยายามนำเรื่องราวการเสด็จประพาสกลับมานำเสนออีกครั้ง กลับกลายเป็นการถักร้อยรอยอดีตเข้ากับการเดินทางครั้งใหม่ และเชื่อมสายใยระหว่างข้าพระพุทธเจ้าและใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แม้กว่าศตวรรษได้ผันผ่าน แต่ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายจดหมายและภาพถ่ายเหล่านี้ของข้าพระพุทธเจ้า ด้วยหวังให้เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เล่าความเชื่อมโยงระหว่างสองยุคสมัย ดังคำกล่าวที่ว่า ทุกประสบการณ์ที่พานพบ ล้วนหลอมรวมอยู่ในตัวตนมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม 

แปล : กรณิศ รัตนามหัทธนะ

Writer & Photographer

Avatar

สิริกิติยา เจนเซน

นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ที่สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ชอบท่องเที่ยว ถ่ายรูป และคุยกับผู้คน