25 พฤศจิกายน 2023
5 K

‘ศยามะ’ เป็นภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า สีดำ สีคล้ำ สีน้ำเงินแก่ สีน้ำตาลแก่ หรือสีเขียวแก่ แต่คนไม่มากก็น้อยเชื่อว่าคำนี้พ้องเสียงและเกี่ยวข้องกับคำว่า ‘สยาม’ ซึ่งในคนไม่มากก็น้อยนั้นเองมี บิ๊บ-ม.ล.วราภินันท์ บริพัตร และคุณแม่ของเขารวมอยู่ด้วย 

เขาบอกกับเราว่า ถ้ามองในแง่ CI (Corporate Identity) หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ คำว่าศยามะทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เมื่อเขียนออกมาแล้วดูมีความสวยงามในภาษา ไม่รู้สึกโบราณจนเกินไป ขณะเดียวกันยังให้ความรู้สึกมินิมอล

ถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่โบราณ สิ่งนั้นคงหนีไม่พ้นตัวบ้านเรือนไทยอันเป็นที่ตั้งของชื่อศยามะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะด้วยอายุอานามก็ปาไปแล้วกว่า 150 ปี เอาเป็นว่าโฉนดที่ดินแผ่นโตสภาพเก่าเก็บนั้นเขียนเอาไว้ว่า วันที่สี่ เดือนกรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศกร้อยยี่สิบห้า

จากนั้นเรือนโบราณถูกส่งต่อผ่านการซื้อขายมาเรื่อย ๆ จนตกมาถึงคุณพ่อของบิ๊บที่ถูกชะตากับเรือนหลังนี้จนต้องการครอบครอง บิ๊บบอกกับเราว่าจนแล้วจนรอดบ้านหลังนี้ก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์สักเท่าไหร่ อีกทั้งยังถูกปล่อยทิ้งร้างไว้นานกว่า 20 ปี กระทั่งวันนี้ วันที่บิ๊บนำความเสียดายของตัวเองมาก่อร่าง แต่ไม่สร้างใหม่ กลับกัน เขาเลือกรีโนเวตบ้านเรือนไทยทั้ง 5 หลังให้กลายเป็นที่พัก พร้อม ๆ กับเป็นคาเฟ่ใต้ถุนเรือน โดยพยายามคงเสน่ห์ดั้งเดิมไว้ทั้งหมด เพิ่มความสะดวกสบาย พร้อมตั้งชื่อที่แห่งนี้ว่า ‘Syama Ayudhya’

แด่บ้านหลังนี้ในอีก 150 ปีข้างหน้า

“ตอนซื้อที่นี่ใหม่ ๆ ผมเพิ่งอายุ 10 กว่าขวบ พอมีโอกาสเข้ามาดูก็ชอบบ้านหลังนี้ตั้งแต่นั้น เป็นบ้านเรือนไทยที่สวยจริง ๆ โลเคชันติดแม่น้ำ ตรงข้ามเป็นวัดพุทไธศวรรย์ แต่ก็ต้องตอบตามตรงว่าเราไม่ได้เข้ามาที่นี่กันเลยครับ อย่างมากคือเข้ามาเดินเล่นเวลาครอบครัวมากินกุ้งเผาที่อยุธยา ซึ่งอาจจะปีละหนหรือน้อยกว่านั้น ปล่อยบ้านไว้ให้หนูและตุ๊กแกดูแลจริง ๆ พอเวลาผ่านไปก็มารู้สึกเสียดายที่ยังไม่มีโอกาสได้ใช้บ้านนี้ทำอะไรสักอย่าง” บิ๊บเล่าถึงจุดที่นึกเสียดาย ก่อนจะกลายมาเป็นศยามะในทุกวันนี้

บิ๊บเกริ่นให้ฟังว่าบ้านเรือนไทยที่มีอยู่แต่เดิม 5 หลังนี้มีอายุอานามกว่า 150 ปี ซึ่งคุณพ่อซื้อต่อมาจากชาวต่างชาติชื่อ เร็กซ์ มอร์แกน ก่อนจะครอบครองพร้อมปล่อยทิ้งไว้อีก 20 ปี และด้วยความเป็นบ้านเรือนไทยไม้เก่าริมน้ำ ย่อมผุพังตามกาลอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อ พ.ศ. 2554 อุทกภัยครั้งใหญ่ก็เล่นใหญ่ท่วมมาถึงชั้น 2 พานให้ต้องยกตัวบ้านสูงขึ้นหนีน้ำ แต่ข้อน่าตกใจคือวิธีการยกตัวบ้าน บิ๊บเล่าให้ฟังแบบไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เพราะเขาเองก็ไม่ได้เห็นกับตาหรืออยู่ดูกับตัว เพียงแต่รู้มาว่าการซ่อมแซมเมื่อครั้งนั้นใช้วิธีตามภูมิปัญญาไทยแบบดั้งเดิม นั่นคือใช้คนหมุนเสาบ้านพร้อม ๆ กันเพื่อดีดบ้านขึ้นให้สูงขึ้นอีก 3 เมตร

“บ้านหลังนี้ผ่านการซ่อมแซมมาเยอะมากครับ ปีที่แล้วมีการรีโนเวตครั้งใหญ่ เราเห็นว่าเป็นโอกาสดีในการนำบ้านมาทำอะไรสักอย่าง ทั้งเหตุผลเรื่องที่ตั้งและความสวยงามของตัวบ้าน เลยวางแผนว่าจะทำเป็นร้านกาแฟ ซึ่งอยู่ในโซนใต้ถุนบ้าน แล้วเปิดเป็นที่พักข้างบน 5 ห้องในเวลาต่อมา

“เราไม่อยากเรียกตัวเองว่าโรงแรม เพราะคงพูดได้ไม่เต็มปากว่าที่พักแห่งนี้จะ Full Service แต่แน่นอนว่าเราพร้อมอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าพักมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ”

ยึดโครงอดีต ต่อเติมอนาคต

เราถามต่อทันทีว่า ถ้าไม่ใช่โรงแรม แล้วควรให้นิยามสถานที่แห่งนี้ว่าอย่างไร

“Boutique Homestay ดีไหมครับ” บิ๊บครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่งก่อนตอบ

เราชวนบิ๊บกับคุณแม่คุยต่อด้วยความสงสัยว่า ทำไมพวกเขาถึงเลือกทำเป็นที่พัก มากกว่าจะรีโนเวตไว้อยู่เอง เพราะคงจะดีไม่น้อยถ้ามีบ้านริมน้ำไว้ผ่อนคลายในวันหยุด

“เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ นั่นแหละครับ” บิ๊บตอบทันที “ถ้าทำเพื่อตัวเอง ก็คงไม่ได้มีโอกาสเข้ามาหรืออยู่ที่นี่บ่อยนัก เราเลยอยากให้คนที่เข้ามาได้มีประสบการณ์และได้สัมผัสการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเรือนไทยติดริมแม่น้ำ ให้เขาพบกับความดั้งเดิม แต่ก็ร่วมสมัยและสะดวกสบายมากขึ้น”

ความตั้งใจอันเปรียบเสมือนโจทย์ตั้งต้นของบิ๊บและคุณแม่ คืออนุรักษ์บ้านไทยหลังนี้ให้ได้มากที่สุด เช่น พื้นไม้ที่เป็นไม้เดิมทั้งหมด เพียงแต่นำมาขัดสีใหม่ กระทั่งขื่อก็ยังเป็นอันเดิมที่อยู่มากว่าร้อยปี 

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

แต่สิ่งใดที่จำเป็นต้องเปลี่ยน พวกเขาก็พร้อมจะเปลี่ยน เช่น กระเบื้องมุงหลังคาที่เริ่มเก่าก็ถอดทิ้งออกทั้งหมด ถึงอย่างนั้นจะทิ้งเปล่าก็เสียดายของ พวกเขาจึงเลือกนำกระเบื้องเหล่านั้นมาสร้างเป็นกำแพงด้านหน้าที่พัก ถ้าใครแวะไปหรือผ่านตาจะมองเห็นได้ชัดเจนอยู่หน้าทางเข้า

กระบวนการก่อสร้างปรับโฉมบ้านแห่งนี้แสนจะยากเย็น จนคุณแม่ยังพูดเลยว่ารีโนเวตบ้านเก่ายากกว่าสร้างบ้านใหม่หลายขุม เธอเป็นคนคุมงานเองทั้งหมด ถ้าปีนหลังคาขึ้นไปปูกระเบื้องเองได้คงทำไปแล้ว

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

คุณแม่บอกว่า ความยากที่ 1 ในการรีโนเวตบ้านหลังนี้ คือการพยายามเก็บโครงสร้างเดิมของทุกห้อง ทุกเรือน เอาไว้ให้ได้มากที่สุด ตั้งแต่เสาทั้ง 121 เสา หรือขื่อที่คุณแม่นำความโมเดิร์นมาผสมผสานกับความโบราณ ใช้ผนังสีขาวมาตัดกับขื่อเก่าสีเข้ม ทะลุฝ้าเดิมขึ้นไปถึงจั่วเพื่อให้มีเพดานสูง ก่อให้เกิดเป็นความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย เสริมความสว่างด้วยไฟที่ส่องสะท้อนกับผนัง ตกแต่งภายในด้วยเฟอร์นิเจอร์หวายให้อารมณ์อบอุ่นนุ่มนวล พร้อมหมอนอิงและผ้าม่านที่เน้นใช้แบรนด์ไทย ขณะเดียวกัน ในความเป็นไทยยังแฝงไปด้วยความเป็นแหม่มที่ต้องลองไปสัมผัสดูด้วยตาและตัวในฐานะผู้เข้าพัก

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

ความยากที่ 2 คืออาการโยนตัวของบ้าน หรือพูดง่าย ๆ คือบ้านนั้นมีรากฐานไม่มั่นคง จึงต้องเริ่มตั้งแต่การดีดบ้านขึ้นให้ได้มาตรฐาน วางระบบน้ำไฟและระบบบำบัดใหม่ ทั้งนี้ บางส่วนของบ้านก็ยังต้องดำเนินตามวิถีเก่า เช่น องศาของหลังคา ในทีแรกนั้นคิดว่าฝนไม่รั่ว น้ำไม่เข้า แต่ไป ๆ มา ๆ ฝนสมัยนี้ดันเก่งกล้า สาดเข้ามาได้ทุกทิศทุกทาง ไหนจะหลังคาเอียง พื้นไม้เก่าที่หน้าร้อนบวม หน้าฝนผุ ยิ่งแล้วใหญ่กับการเป็นบ้านริมน้ำที่ถึงจะทากันสนิมเสร็จสรรพ ก็ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงสนิมที่มาจากลมแม่น้ำได้

“เราต้องดูแลเขาอยู่ตลอดเวลา ตอนนี้ดูแลยิ่งกว่าลูกอีกค่ะ” คุณแม่เล่าพร้อมเสียงหัวเราะ

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

มีที่มาจากอดีต

หลังจากพูดคุยถึงกระบวนการรีโนเวตใหม่กันอยู่พักหนึ่ง เราก็คิดว่าได้เวลาถามถึงตัวห้องพักแล้ว โดยทั้งสองนำเสนอว่าที่พักแห่งนี้ประกอบไปด้วย River View 3 ห้อง และ Garden View 2 ห้อง พร้อมกับเชิญ พลอย จริยะเวช มาเป็น Vibes Designer ในการสร้างเรื่องราวของแต่ละห้องให้มีชื่อแตกต่างกันไป ซึ่งทุกห้องเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของอยุธยา

เริ่มต้นจากห้องที่บิ๊บใช้เป็นสถานที่พูดคุย นั่นคือ ‘เภตรา’ มีความหมายว่า เรือสำเภา สื่อถึงสำเภาจีนที่เข้ามาค้าขายในสมัยอยุธยา ความพิเศษอย่างหนึ่งของห้องนี้คือรูปวาดของ ตะวัน วัตุยา แขวนประดับเข้ากับคอนเซปต์ของห้อง 

ถ้ามากันเป็นครอบครัวใหญ่ ห้องนี้ยังเป็น Connecting Room กับอีกห้อง ‘อาเกต’ หมายถึง โมรา ซึ่งเป็นอัญมณีขึ้นชื่อในยุคอยุธยา ทั้ง 2 ห้องเป็น River View ที่มีขนาดห้องเท่ากันแบบเป๊ะ ๆ

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์
รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

อีก 2 ห้องที่เป็น Garden View ห้องหนึ่งมีชื่อว่า ‘พอร์ซเลน’ หมายถึง กระเบื้องเครื่องเคลือบ จัดห้องให้มีความเป็นบ้านไทยด้วยการเลือกใช้ที่นอนแบบฟูก และนอกจากจะมีฝักบัว ยังมีตุ่มน้ำสำหรับคนที่อยากสัมผัสการอาบน้ำแบบดั้งเดิม หรืออาจไว้ใช้อาบในเวลาเร่งด่วนก็ย่อมได้

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์
รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

อีกห้องชื่อว่า ‘อินดิโก้’ หรือ สีคราม บิ๊บเล่าว่าบริเวณนี้เคยมีชุมชนชาวจีนอาศัยอยู่ และเปิดโรงย้อมสีครามเป็นอาชีพค่อนข้างเยอะ ห้องนี้ตกแต่งเรียบง่าย และมีภาพวาดของ ป๊อด Moderndog ประดับอยู่

“ห้องข้างล่างชื่อ ‘ธารา’ เป็น River View ที่ผมอยู่เองครับ” บิ๊บพูดถึงห้องสุดท้ายสั้น ๆ

เราสงสัยเล็กน้อย ด้วยสถานะของการเป็น ‘ห้องข้างล่าง’ เขากลัวน้ำท่วมน้ำซึมเข้าไปไหม

“กลัวครับ และท่วมไปแล้ว” บิ๊บตอบทันที “เมื่อปีที่แล้วที่เรายังไม่ได้เปิด น้ำท่วมหนักกว่าปกติจนเข้ามาถึงในตัวห้องนิดหนึ่ง พื้นพอง ไม้บริเวณระเบียงบางแผ่นก็ลอยหายไปกับแม่น้ำ ตอนนั้นเราเลยอยากให้มั่นใจว่าจะป้องกันได้ก่อนเปิด ตอนนี้มีการสร้างทางเดินน้ำ แต่ปีที่แล้วมีลูกค้าแซวเลยว่า ดีจัง คาเฟ่วิวอุทกภัย เก็บเก้าอี้กันทุกร้านเลยครับ” บิ๊บเล่าด้วยอารมณ์ขันมากกว่าความกังวลใจ

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

เครื่องดื่มชูยุคสมัย

คุณแม่แจ้งให้เราทราบก่อนว่าในตอนนี้ศยามะยังไม่มีอาหารคาวเป็นตัวเลือกในเมนู ถึงแม้ว่าคุณพ่อจะเคยเสนออยากให้ทำร้านอาหารในทีแรก แต่สองแม่ลูกก็คุยกันว่าช่วงแรกนี้เราทำเป็นคาเฟ่ มีเครื่องดื่มพร้อมขนมหวาน ส่วนอาหารคาวขอเอาไว้ก่อน เพื่อให้สะดวกต่อการการจัดการและการดูแล

“แม้ว่าเราจะไม่มีอาหารเลิศหรูระดับโรงแรม แต่เรามีอาหารท้องถิ่นที่มั่นใจว่าอร่อยมาให้ลูกค้าทานในตอนเช้า มีทั้งโจ๊ก ข้าวมันไก่ ต้มเลือดหมู และยังมีมุมกาแฟให้ผู้เข้าพักได้ดื่มแบบบุฟเฟต์อีกด้วย 

“แถมเรายังให้ความสำคัญกับกาแฟมาก ๆ พยายามปรับให้รสชาติกลมกล่อมถูกปากลูกค้าที่สุด มีคั่วเข้ม คั่วกลาง และมีคั่วอ่อนเป็นฟิลเตอร์ ทุกอย่างทำแก้วต่อแก้ว รวมถึงชาไทย ชาจีน ชาฝรั่ง เราตั้งใจคัดสรรสิ่งดีที่สุดเพื่อลูกค้า เรายอมจ่ายต้นทุนสูงขึ้นเพื่อให้ลูกค้าที่อุตส่าห์ขับรถมาไกลได้กินของดีที่สุด” คุณแม่พูดถึงเครื่องดื่มภายในร้านที่ประกอบไปด้วยซิกเนเจอร์เมนู 4 อย่าง ซึ่งตั้งชื่อตามชาติต่าง ๆ ที่เคยเข้ามาทำการค้าขายในสมัยอยุธยา

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

แก้วที่ 1 คือ Satori มาพร้อมกับความเป็นญี่ปุ่น ด้วยชาเขียวที่กินคู่กับยูซุเจลลี่ที่ศยามะใช้ส้มสดคั้นเองกับมือ

แก้วที่ 2 คือ Rosella’s Journey มาพร้อมกับความเป็นจีน ด้วยชาอู่หลงผสมกระเจี๊ยบเพียวเร

แก้วที่ 3 คือ Forbidden Flowers มาพร้อมกับรสชาติของฝรั่งเศส ด้วยกาแฟน้ำแอปเปิล มีส่วนผสมของกุหลาบและเอลเดอฟลาวเวอร์ ท็อปด้วยเอสเปรสโซ่ช็อต

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

แก้วที่ 4 คือตัวแทนของกรุงศรีอยุธยา นั่นคือ Krungsri Ballad ผสมผสานกันระหว่างครีมมะพร้าวกับเอสเปรสโซ่ช็อต

คุณแม่เสริมว่าที่คาเฟ่ยินดีต้อนรับสัตว์เลี้ยงซึ่งจัดโซนไว้ให้ในสวนด้านนอกด้วยนะ 

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

แด่บ้านหลังนี้เมื่อ 150 ปีก่อน

“อยุธยาเป็นเมืองที่ไม่เคยเงียบเหงาครับ” บิ๊บพูดถึงเสน่ห์ของอยุธยา 

ความไม่เคยเงียบเหงาของอยุธยาหมายถึงการเป็นจังหวัดที่มีคนเข้ามาท่องเที่ยวอยู่ตลอด แต่สิ่งหนึ่งที่บิ๊บมองว่านักท่องเที่ยวอาจจะยังไม่ค่อยได้สัมผัส คือเสน่ห์ของอยุธยายามค่ำคืน แสงไฟประดับที่เปิดเฉพาะเวลาฟ้ามืด วิวแม่น้ำที่สะท้อนแสงอย่างนุ่มนวล และบรรยากาศที่หาไม่ได้จากเมืองกรุง เขาอยากให้ผู้คนที่เข้าพักในศยามะได้เห็นถึงช่วงเวลาอันแสนวิเศษเหล่านี้ ช่วงเวลาที่พวกเขาอิ่มได้ทั้งอกทั้งใจจากทัศนะตรงหน้าที่ทอประกายอย่างสง่าตา

“เรามอบข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้ให้ผู้เข้าพัก นั่นคือความสงบในรูปแบบไทยดั้งเดิมที่ร่วมสมัยขึ้น” คุณแม่เสริม

แล้วศยามะใช้ประโยชน์จากเสน่ห์ของเมืองเก่าแก่นี้อย่างไรบ้าง – เราถาม

คุณแม่ตอบอย่างไม่ลังเลว่าพวกเขาใช้เสน่ห์ของอยุธยาอย่างมากมายในการดึงดูดให้คนยังอยู่กับจังหวัดนี้ต่ออีกสักคืน ทั้งวิวของวัดเก่าฝั่งตรงข้าม วัฒนธรรมของผู้คนโดยรอบ พระอาทิตย์ที่ขึ้นหลังเจดีย์วัดพุทไธศวรรย์ หรือจะเป็นการนั่งมองแม่น้ำเฉย ๆ ก็นับว่าเป็นเสน่ห์ของอยุธยาที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ มันคือเสน่ห์ของพื้นที่โดยรอบ กระทั่งภาพและเสียงของเรือที่แล่นผ่านไปตอนเรากำลังสัมภาษณ์กันอยู่นี้

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

“เสียงหมาหอนยังเป็นเสน่ห์เลย โชคดีที่หมาวัดใกล้ ๆ หอนตอนเช้าเลยไม่น่ากลัวเท่าไหร่” คุณแม่ปิดท้ายอย่างอารมณ์ขัน

ทั้งคู่รู้ดีว่าที่พักของพวกเขาอาจไม่ได้มีสระว่ายน้ำหรือฟิตเนสให้แขกได้ใช้บริการ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการมอบให้แขกที่สุด คือความสบาย แอร์เย็น ๆ แกะโรตีกิน นอนเอกเขนก นั่งชมวิวแม่น้ำหลังจากเพิ่งไปตะลุยอากาศร้อน ๆ ข้างนอก หรือแม้แต่บางคนพาผู้สูงอายุที่นั่งวีลแชร์ (ศยามะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้นั่งวีลแชร์) มานั่งชมแม่น้ำ และผู้สูงอายุเองก็มีความสุขที่ได้นั่งดูวิวนั้น พวกเขาในฐานะเจ้าของบ้าน ขอแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว 

ในอนาคต เราอาจได้เห็นการจัดเวิร์กช็อป Sunday Market เล็ก ๆ หรือมินิคอนเสิร์ตในสวนของศยามะ และสิ่งที่บิ๊บมุ่งหวังต่อไป คือการขยายสาขา ถ้าวันหนึ่งศยามะเติบโตถึงระดับหนึ่งแล้ว เขาอยากให้มีที่พักชื่อเดียวกันนี้ในพื้นที่อื่นด้วย และเราเองก็รอคอยที่จะเห็นวันนั้นเช่นกัน

รีโนเวตเรือนไทยอายุ 150 ปี เป็น ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya) คาเฟ่และที่พัก ให้แขกพักผ่อน พร้อมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา-วัดพุทไธศวรรย์

3 Things

you should do

at Syama Ayudhya

01

ดื่มด่ำกับบรรยากาศช่วงเวลากลางคืนของพระนครศรีอยุธยา

02

ชมเครื่องทองที่วัดราชบูรณะ และชมนิทรรศการที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

03

ชิมเครื่องดื่มซิกเนเจอร์ 4 เมนู ที่ศยามะ คาเฟ่

ศยามะ อยุธยา (Syama Ayudhaya)
  • 5 ถนนอู่ทอง ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แผนที่)
  • 09 0889 1111
  • คาเฟ่เปิดวันอังคาร-ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น., วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)
  • Syama Ayudhya

Writer

Avatar

พัทธนันท์ สวนมะลิ

เด็กกรุงเทพฯ ผู้เป็น Sneakerhead และ Cinephile ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบมาเรียนเชียงใหม่ แล้วสุดท้ายก็กลับไปตายรังที่กรุงเทพฯ

Photographer

Avatar

กษิดิศ พันธารีย์

ช่างภาพอิสระที่คลั่งไคล้ญี่ปุ่น ฟุตบอล หนังสือ คาเฟ่ และ ลาเต้เย็น