ปรัชญาการทำธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนควรมี 

มันเป็นเหมือนเข็มทิศ บอกทิศทางที่ควรมุ่งไป ทั้งในยามวิกฤต มืดมนไร้ทางออก และในยามแบ่งบาน เติบโตในทุกด้าน จนอาจมองไม่เห็นภาพกว้างอย่างชัดเจน 

ใครมี ใครได้ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไร ในแวดวงที่ดูเหมือนไกลตัวคนแค่ไหน

บริษัท เวสเทิร์น เดคอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WDC คือธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายกระเบื้องชั้นนำ ถือเป็น 1 ใน 3 บริษัทกระเบื้องดีที่สุดของไทย

ในวงการกระเบื้องและวัสดุตกแต่งไทยมีผู้เล่นในตลาดน้อย ในรอบ 40 – 50 ปีมีแค่ไม่กี่บริษัทที่ขายสินค้าชนิดนี้ ทุกแห่งเป็นบริษัทใหญ่ มีเงินลงทุนมาก ผู้เล่นรายเล็กจึงไม่กล้าเข้ามาหรือไม่มีกำลังทรัพย์มากพอจะแข่งขันได้ 

ด้วยสถานการณ์นี้ส่งผลให้ผู้บริโภคเผชิญปัญหา 2 ข้อใหญ่ หนึ่ง กระเบื้องที่ขายในไทยราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคใกล้เคียงกัน สอง มีกระเบื้องให้เลือกไม่เยอะ ลายมีอยู่ไม่กี่แบบ

แบงค์-บัณฑิต หิรัญญนิธิวัฒนา CEO ของ WDC มีปรัชญาการทำธุรกิจคือ มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคน ผ่านวัสดุตกแต่งพื้นผนังจากทั่วทุกมุมโลก

WDC ธุรกิจกระเบื้องไทยที่อยากเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยวัสดุตกแต่งพื้นผิวจากทั่วทุกมุมโลก

จุดแข็งของแบงค์ คือเขามีประสบการณ์การทำงานด้านการค้าระหว่างประเทศในบริษัทชั้นนำ ก่อนจะมารับช่วงต่อกิจการของครอบครัวเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ซีอีโอคนนี้เจรจาเก่ง มองไกล เขาจึงมองเห็นโอกาสที่คนอื่นมองไม่เห็น พุ่งทะยานไปฉกฉวยโอกาสนั้นได้เร็วกว่าเจ้าอื่น

“วันนี้เราพยายามสร้างและคัดสรรสินค้าที่ดีที่สุด สวยที่สุด ในราคาสมเหตุสมผลที่สุด แน่นอนสินค้ามีหลายราคามาก ทั้งระดับ 500 – 600 บาทต่อตารางเมตร ไปจนถึง 20,000 บาทต่อแผ่น แต่เราพยายามทำให้กระเบื้องทุกกลุ่มดีที่สุด บางคนอาจบอกว่า ทำไมกระเบื้องคุณแพงจัง ผมเห็นคนอื่นขาย 400 บาท คุณขาย 800 แต่เขาอาจไม่รู้ว่าประเทศอื่นย่านนี้ขายอยู่ 1,600 ยุโรปขายอยู่ 2,000 บาท” แบงค์เล่า

ในตลาดกระเบื้องไทยมูลค่ารวมราว ๆ 30,000 ล้านบาท ลูกค้า 70% เป็นกลุ่ม ‘กลางล่าง’ ซึ่งเป็นคนที่มีกำลังซื้อไม่สูงนัก อีก 30% เป็นกลุ่ม ‘กลางบน’ ที่กำลังซื้อยังสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 

WDC ทำสินค้าเจาะกลุ่มกลางบนเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งสินค้าสำหรับลูกค้ากลุ่มกลางล่าง ปัจจุบันบริษัททั้งนำเข้ากระเบื้องจากต่างประเทศและผลิตกระเบื้องเองในลักษณะจ้างโรงงานผลิต หรือร่วมถือหุ้นกับบริษัทต่างชาติเพื่อพัฒนาสินค้าด้วยตัวเอง

WDC ธุรกิจกระเบื้องไทยที่อยากเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยวัสดุตกแต่งพื้นผิวจากทั่วทุกมุมโลก
WDC ธุรกิจกระเบื้องไทยที่อยากเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยวัสดุตกแต่งพื้นผิวจากทั่วทุกมุมโลก

แบงค์เล่าว่า Brand DNA ของ WDC มี 3 ข้อ คือดีไซน์ นวัตกรรม และความคุ้มค่า ทั้งในแง่สินค้าและบริการที่คุณจะได้รับ

เขายกตัวอย่างข้อ 2 ก่อน คนส่วนใหญ่ซื้อกระเบื้องไปใช้ในห้องน้ำ หัวใจสำคัญคือโดนน้ำแล้วต้องไม่ลื่น โดยเฉพาะกับบ้านที่มีผู้สูงอายุ

กระเบื้องของ WDC มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า ‘MICROTEC Technology’ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ทำให้กระเบื้องกันลื่นมีผิวที่นุ่ม โดยปกติแล้วกระเบื้องจะมีค่า R Rating เพื่อบ่งบอกถึงคุณสมบัติของการกันลื่น ซึ่งค่ากันลื่นที่นิยมใช้จะอยู่ที่ R10 แม้จะปลอดภัย แต่ก็แลกมาด้วยผิวที่หยาบ ทำให้เดินไม่สบายเท้า แต่กระเบื้องของ WDC ผิวหน้ากระเบื้องจะนุ่ม เดินแล้วไม่บาดเท้า แต่เมื่อโดนน้ำ ผิวหน้าของกระเบื้องจะมีค่าความหนืดสูงขึ้น ลดโอกาสเกิดการลื่นล้ม ซึ่ง WDC เป็นบริษัทแรกที่นำกระเบื้องแบบนี้เข้ามาขายในประเทศไทย

ในด้านการออกแบบ ด้วยความเป็นคนรู้กว้าง แบงค์และทีมเลือกนำเข้าสินค้าที่สะท้อนเทรนด์โลกในการตกแต่งบ้าน ส่วนสินค้าที่ผลิตเอง เขานำข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้ามาทำเป็นสถิติ และผลิตกระเบื้องโดยอิงจากข้อมูลเหล่านี้ 

WDC ธุรกิจกระเบื้องไทยที่อยากเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยวัสดุตกแต่งพื้นผิวจากทั่วทุกมุมโลก
WDC ธุรกิจกระเบื้องไทยที่อยากเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยวัสดุตกแต่งพื้นผิวจากทั่วทุกมุมโลก

ตอนนี้เทรนด์โลกนิยมกระเบื้องและวัสดุตกแต่งผิวที่มีความเป็นธรรมชาติ จำลองลวดลาย สี และผิวสัมผัสจากต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่คุณพบเห็นและสัมผัสเมื่ออยู่ในโลกกลางแจ้ง เช่นเดียวกับวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Eco-friendly โรงงานผลิตกระเบื้องชั้นนำเปลี่ยนมาใช้วัสดุทดแทนการทำกระเบื้องแบบดั้งเดิม นับวันประเด็นนี้ยิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

อีกเรื่องที่น่าสนุกดี คือเทรนด์ตอนนี้นิยมกระเบื้องขนาดใหญ่มาก ใหญ่สุดคือ 1.60 x 3.20 เมตร สาเหตุเพราะคนสร้างบ้านยุคนี้นิยมใช้กระเบื้องที่ไร้รอยเชื่อมต่อมากที่สุด กระเบื้องแบบที่ว่ามีในโชว์รูมของ WDC ซึ่งมีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้แก่ บางนา Crystal Design Center ถนนนิมิตใหม่ พัทยา เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ ภูเก็ต ล่าสุดแบงค์กำลังพัฒนาสาขาพระราม 9 ให้มีขนาดระดับ Flagship 

ปกติโชว์รูมกระเบื้องจะเปลี่ยนสินค้าหน้าร้านไม่บ่อย เฉลี่ยอยู่ที่ 2 – 3 ปี หรือ 3 – 4 ปี ที่ WDC เปลี่ยนทุกปี เพื่อให้คนมาโชว์รูมได้เห็นกระเบื้องแบบใหม่ที่สะท้อนเทรนด์การแต่งบ้านของโลก อีกส่วนหนึ่งเป็นความขี้เบื่อของผู้บริหารและทีม สร้างสีสันในการทำงานด้วย

WDC ธุรกิจกระเบื้องไทยที่อยากเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยวัสดุตกแต่งพื้นผิวจากทั่วทุกมุมโลก

WDC มีอายุครบ 20 ปีพอดี แม้เขาจะไม่เดือดร้อนถ้าบริษัทจะไม่เป็นที่รู้จักนักนอกวงการก่อสร้าง แต่แบงค์ก็ไม่ปิดโอกาสในการสร้างงานใหม่ ๆ วันที่เราเยี่ยมเขาที่โชว์รูม ซีอีโอโชว์ผลงานกระเบื้อง Exclusive ที่เขาร่วมออกแบบกับ ด้วง-ดวงฤทธิ์ บุนนาค และสถาปนิกชั้นนำอีกหลายคนเพื่อสร้างกระเบื้องแบบพิเศษ ในอนาคตเขากำลังพัฒนาสินค้าใหม่หลาย ๆ ประเภท เช่น สุขภัณฑ์ที่จะเข้ากันกับกระเบื้องและวัสดุตกแต่งผิวของ WDC อย่างกลมกลืน

นอกจากนี้บริษัทยังพึ่งได้รับรางวัล SUPERBRANDS Thailand 2023 ถือเป็นบริษัทกระเบื้องไทยหนึ่งเดียวที่ได้รางวัลนี้ จากการโหวตของผู้บริโภคใน 15,000 คนทั่วประเทศถึง 2 ปีติดต่อกัน (ปี 2022 – 2023)

ตอนนี้ WDC มุ่งมั่นอยากเป็นที่ 1 ในระดับอาเซียน หลายประเทศน่าจับตา เช่น อินโดนีเซีย มี GDP ล่าสุด 7 – 8% นี่คือโอกาสทางธุรกิจชั้นดี เมื่อบรรลุเป้าหมายในอาเซียน เขาอยากทำบริษัทกระเบื้องไทยให้ไปสู่ระดับโลกให้ได้

แบงค์เล่าว่าลูกค้าของบริษัทมีหลากหลายมาก ตั้งแต่คนธรรมดาที่อยากสร้างบ้านเดี่ยว โรงแรม โรงงาน หรือสโมสรกองทัพเรือ ไม่ว่าจะเป็นใคร เขาทำสินค้าโดยกลับไปที่ปรัชญาหนึ่งเดียวของบริษัท 

ความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการทำธุรกิจกระเบื้อง ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย

“เราอยากเป็นผู้นำทางด้านการปูพื้นและผนังในอาเซียน อยากพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนจริง ๆ ที่ผ่านมาผมเห็นกระเบื้องในไทยแพงตลอดเวลา เห็นประเทศอื่นขายแล้วหงุดหงิด รู้สึกว่าทำไมคนไทยต้องซื้อของแพง มันไม่มีความจำเป็น บางครั้งสินค้าใกล้เคียงกัน ผลิตที่ยุโรปขายเท่านี้ แต่ในเอเชียบางประเทศเขาผลิตได้แล้วขายเท่านี้เอง ทำไมเราไม่ทำให้คนไทยซื้อของที่สวยงาม คุณภาพดี และเงินที่จ่ายไปสมเหตุสมผล” 

ที่มาของปรัชญานี้ แบงค์เล่าว่ามันไม่ใช่คำคมที่พูดอย่างไร้ความหมาย แต่มาจากแรงขับเคลื่อนทางธุรกิจ เขาเชื่อว่าหากธุรกิจดี ชีวิตคนที่อยู่รอบข้าง ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต ก็จะดีขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

“เราเห็นโอกาสว่าจะโตยังไง มียอดขายที่เติบโตขึ้นอย่างไร เห็นโอกาสของตลาดที่เราจะก้าวเข้าไปชนะมันได้ เราเห็น ทีมงานก็เห็นอยู่ ชีวิตผมไม่ได้ติดเรื่องการเงิน แต่ผมอยากให้ทีมงานและพันธมิตรที่ร่วมงานกันมามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเช่นกัน อยากให้เขามีสถานะที่ดีขึ้น รายได้ที่ดีขึ้น และมีชีวิตที่ดีขึ้น” 

ซีอีโอเล่าปรัชญาธุรกิจด้วยรอยยิ้ม เรานึกถึงสโลแกนของบริษัทที่ว่า Others see floor, We see MORE

บางที สิ่งที่แบงค์เห็นมากกว่าในคำว่า ‘MORE’ ไม่ใช่แค่เรื่องเทรนด์ ลวดลาย หรือตัวเลขยอดขาย

แต่เป็นชีวิตคนที่เขาอยากพัฒนาให้ดีขึ้น ด้วยธุรกิจกระเบื้องและวัสดุปิดผิวที่เขามุ่งมั่นทำมาทั้งชีวิต

Writer

ศิวะภาค เจียรวนาลี

ศิวะภาค เจียรวนาลี

บรรณาธิการที่ปั่นจักรยานเป็นงานหลัก เขียนหนังสือเป็นงานอดิเรก

Photographer

Avatar

ปฏิพล รัชตอาภา

ช่างภาพอิสระที่สนใจอาหาร วัฒนธรรมและศิลปะร่วมสมัย มีความฝันว่าอยากทำงานศิลปะเล็กๆ ไปเรื่อยๆ