ในช่วงไม่นานมานี้ ถ้าใครได้ไถหน้าฟีดส์ Facebook อาจจะได้เห็นหนังสั้นตัวใหม่ในมู้ด Sci-fi ดูแปลกตาของธนาคารกสิกรไทย

เนื้อหาของหนังสั้นตัวนี้เป็นเรื่องของหนุ่มเนิร์ดนักพัฒนาโปรแกรมที่กำลังตกหลุมรักสาวแบงก์ซึ่งมาเป็นแบบให้กับโปรเจกต์ AI ที่ทีมของเขากำลังพัฒนาอยู่ และเปรียบเทียบตัวเองเป็นหมาไลก้าที่กำลังเห่ายานอะพอลโล 11

เมื่อดูจบเราก็สืบสาวราวเรื่องไปได้ว่าเป็นโปรเจกต์ที่เริ่มต้นมาจากการทาง KBTG หรือ Kasikorn Business – Technology Group อยากสื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านไอทีให้อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม จึงตั้งใจที่จะผลิตหนังสั้นเพื่อสื่อสารความเป็นองค์กรที่มีความทันสมัยและมีความคิดสร้างสรรค์ และเพื่อบอกว่า การทำงานกับธนาคารไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

สำหรับกระบวนการตีโจทย์และเบื้องหลังการทำงานที่น่าสนใจของโปรเจกต์นี้ เราได้นัดพูดคุยกับ บาสนัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับผู้อยู่เบื้องหลังหนังสั้นเรื่องนี้

เตรียมตัวปล่อยยาน คลิกดูหนังให้จบก่อน แล้วเรามาสนุกกับแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์นี้กันดีกว่า

เธอกับKult – How Laika Meets Apollo

เมื่อการทำงานในโลกใหม่ นำพา "หมาอวกาศไลก้า" กับ "ยานอะพอลโล่ 11" มาเจอกัน "เธอ กับ Kult" หนังเรื่องใหม่ จากผู้กำกับร้อยล้าน “บาส นัฐวุฒิ”#โลกใหม่ #เป็นไปได้ #kasikorncareer#KBTGCareer http://goo.gl/HwQiey

Posted by KBTG Live on Rabu, 18 Julai 2018

บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา

จุดประสงค์ของหนังคืออะไร

อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น หนังเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อชักชวนให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมงานกับทาง KBTG และให้เห็นว่าบริษัทเป็นองค์กรสมัยใหม่

เขาก็มองว่า ในอนาคต ทุกอย่างก็อยู่ในโลกโซเชียล ในออนไลน์ แล้วธนาคารก็กำลังปรับตัวไปทางด้านนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สำหรับคนที่มีความสามารถทางด้านการเขียนโค้ด เขียนโปรแกรม วาง Strategy บางทีอาจจะไม่นึกถึงงานธนาคารเป็นอย่างแรก ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วธนาคารต้องการพวกเขานะ ซึ่งหนังเรื่องนี้ทำออกมาเพื่อรองรับความตั้งใจนั้น

อยากให้คนดูรู้สึกอะไร

เมื่อถามบาสว่า จากผลงานหนังชิ้นนี้ เขามีความตั้งใจให้คนที่ดูรู้สึกอะไร เขาก็บอกเราว่า อย่างแรกคือ อยากให้คนดูรู้สึกว่าองค์กรนี้เป็นสถานที่ที่น่ามาทำงานหรือร่วมงานด้วย

ไม่ว่าเป็นทางด้านความสัมพันธ์ของคน ตัวละครที่เราเห็น หรือแม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ อย่างตัวออฟฟิศเอง ต้องถ่ายออกมาดูสวยงาม ดูไฮเทค โจทย์คือดูไฮเทคและอบอุ่นในเวลาเดียวกัน ต้องทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้นขึ้นให้ได้ นั่นคือจุดประสงค์ของหนังเรื่องนี้ แต่สิ่งที่เป็น Sub-text อีกอย่างก็คือ อยากให้คนรู้สึกว่าจริงๆ แล้วการเรียนจบมาแล้ว มันก็คือการจบ Chapter เก่า ขึ้น Chapter ใหม่เป็นชีวิตการทำงาน เพราะฉะนั้น การเกิดอะไรหลายๆ อย่างในชีวิตเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องแย่ แต่ถ้าเราผ่านมันมาได้มันจะกลายเป็นความทรงจำที่ดี ก็คือสิ่งเหล่านี้แหละ คือผู้คน เพื่อนร่วมงาน หรือแฟนในที่ทำงาน

บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา , เธอกับKult

บรรยากาศ บุคคลแวดล้อม และความสัมพันธ์ ในที่ทำงานเป็นเรื่องสำคัญ

เมื่อถามถึงจุดเชื่อมโยงว่า หนังเรื่องนี้จะสามารถกลับไปเชื่อมโยงกับคนที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในโลกไอทีได้อย่างไร บาสก็ได้อธิบายว่า ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศอะไรก็แล้วแต่ แต่เรื่องความรู้สึกหรือประสบการณ์ก็ยังมีจุดร่วมที่คล้ายกันอยู่

อาจจะต่างแค่ประเภทของงานในออฟฟิศนั้น แต่ว่าเรื่องคน ก็มีความรู้สึกบางอย่างที่เชื่อมโยงกันอยู่ เพราะ ตอนพัฒนาบท ต่อให้โลกในเรื่องมันคือโลกไอทีที่แบบที่เราไม่ค่อยรู้จักเลยก็ตาม แต่เราก็พยายามจะแบบนึกถึงตอนที่เราจบใหม่ๆ เราไปทำงานออฟฟิศช่วงแรก นึกถึงความตื่นเต้น นึกถึงความสนุกของการได้มีเพื่อนที่เราพูดเรื่องเดียวกัน แชร์ทุกอย่างกันได้

“เรานึกถึงความรู้สึกของการมีเด็กฝึกงานมาใหม่แล้วแบบ เชี่ย น้องน่ารักว่ะ เรานึกถึงการที่แบบเวลามีเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ เข้ามาแล้วเราแบบไปจีบเค้า บางทีเราเห็นเพื่อนเราจีบกัน มันเป็นความรู้สึกที่ทำให้ชีวิตการทำงานมันมีสีสัน ก็เลยพอสามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์ตรงตัวเองได้แล้วเนี่ย มันก็เลยค่อนข้างง่ายในการพัฒนา

ทำไมถึงเป็นไลก้ากับอะพอลโล

บาสเล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้วคอนเซปต์ของหนังเรื่องนี้ก็คือหมาเห่าเครื่องบิน แต่พอเมื่ออยู่ในโลกของ AI ที่ต้องพูดถึงอะไรที่เป็นเรื่องของเทคโนโลยี เขาก็เลยคิดว่าแทนที่จะพูดว่าหมาเห่าเครื่องบินธรรมดา ก็ดันให้มีลูกเล่นและพิเศษขึ้นมากว่านั้นนิดหนึ่ง ซึ่งทางคนเขียนบทก็เสนอหมาไลก้าเห่ายานอวกาศขึ้นมาพอดี

นักแสดงออกมาเป็นคนเหล่านี้ได้ยังไง

เราสนใจเรื่องวิธีการหานักแสดงมาเล่นในหนังสั้นของบาสอยู่เสมอ ซึ่งในกรณีนี้ การเลือกเอานักแสดงหน้าใหม่ที่เรียกได้ว่าไม่เคยเห็นมาก่อนจริงๆ ก็มีส่วนช่วยให้หนังออกมาอย่างที่มันควรจะเป็น

บางคาแรกเตอร์ก็มีในใจไว้อยู่แล้วว่าจะเอาใครมาเล่น อย่างพวกบรรดาแก๊งเพื่อน อย่างพี่เม้ง ก็เห็นเลยว่าชื่อเดียวกันกับคาแรกเตอร์เลย แต่ที่ยากน่าจะเป็นพระเอก นางเอก ตอนแรกเราก็ยังเห็นภาพไม่ชัดเจนเท่าไหร่ คร่าวๆ แค่หนุ่มเนิร์ดกับสาวมนุษยสัมพันธ์ดี เพียงแต่เป็นการทำแคสที่เราต้องการต้นทุนจากนักแสดงเยอะเหมือนกัน

“หมายถึงว่าผมจะไม่บังคับให้เขาเล่นเป็นแบบไหนยังไง แค่บรีฟคร่าวๆ แล้วดูว่าเขาจะให้อะไรเรากลับมา แล้วน้องเฟรมกับน้องมินนี่ก็ใหม่ทั้งคู่ ซึ่งความใหม่ ความหน้าไม่ช้ำของเขานี่แหละ ทำให้หนังเรื่องนี้มันมีความเฟรชบางอย่าง ทั้งทางด้านการแสดงแล้วก็ลุคที่ออกมา

บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา, เธอกับKult

บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา, เธอกับKult

เมื่อเพลงมีส่วนช่วยให้อารมณ์ของหนังออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

บาสบอกเราว่า ถ้าสังเกตหนังของเขา เกือบทุกเรื่องในช่วงหลังมานี้จะมีเพลงแปะมาด้วยอย่างน้อย 1 เพลง ซึ่งเพลงนี้แหละที่เป็นอีกส่วนประกอบสำคัญซึ่งมาช่วยเติมเต็มให้ Mood and Tone ของหนัง และอารมณ์ของภาพในหัวของเขาให้ชัดขึ้นด้วย

มันเริ่มมาจากการที่บางครั้งเวลาเราคิดเรื่องหรือพล็อตขายลูกค้าไปแล้ว จะรู้ว่าเนื้อเรื่องประมาณนี้แหละ แต่ในฐานะผู้กำกับ ส่วนมากจะยังไม่เจออารมณ์ของหนัง เสียงของมันจริง ว่ามันควรจะต้องเป็นมู้ดแอนด์โทนแบบไหน เราจะเจอมันตอนฟังเพลง โดยจะชอบฟังเพลงใน Music Streaming และปล่อยให้มันรันไปเรื่อย ก็เลยได้ฟังเพลงแปลก

“ซึ่งตอนแรกก็ไม่รู้จักวงนี้เลย (วง Safeplanet) คือเคยฟังบ้างแต่ก็ไม่ได้รู้จักขนาดนั้น แต่พอช่วงที่กำลังคิดเรื่องนี้ก็กลับมาฟัง ก็ได้ยินเพลงนี้ดังขึ้นมา แค่เมโลดี้แรกขึ้นก็รู้สึกว่าเพลงนี้มันสำหรับหนัง มันมีความ Sci-fi มีความอ้างว้าง มีความโรแมนติก ตีความได้หลากหลาย ยิ่งฟังก็ยิ่งรู้สึกว่าใช่ แล้วก็เลยรู้สึกว่านี่แหละนี่คือ Direction ของหนัง ความรู้สึกของหนังทั้งหมด

บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา

ความต่างของการขายโปรดักต์ที่ไม่ใช่สิ่งของ แต่เป็นแบรนด์เสียมากกว่า

บาสบอกเราว่า ความต่างของกระบวนการคิดงานชิ้นนี้คือ ปกติแล้วงานทั่วไปมักจะเป็นเชิงเน้นไปที่ตัวโปรดักต์มากกว่า แต่ด้วยสิ่งที่ต้องการจะนำเสนอในหนังเรื่องนี้เป็นแนวคิดเรื่องการสร้างทุกอย่างให้เป็นโอกาส และความเชื่อที่ว่าทุกคนในองค์กรคือความเป็นได้ในการคิดค้น พัฒนา สร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกัน เพราะด้วยความที่เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้เท่าไหร่ งานหนักก็คือทำยังไงให้เห็นภาพและออกมาน่าสนใจ

งานส่วนมากที่ทำโฆษณาในเชิงหนังสั้น เราต้องรู้ว่าสินค้าตัวนั้นขายอะไร มีคุณสมบัติอะไรบ้าง ต้องพูดเรื่องประโยชน์ของสินค้าในแง่ไหน แต่พอเป็นบริษัท IT ที่ทำงานเกี่ยวกับธนาคาร แล้วเราจะพูดมันยังไงให้มันน่าสนใจที่สุด กลายเป็นว่าสุดท้ายแล้วเราพูดเรื่องคน คนที่ทำงาน คนแบบ เราๆ ท่านๆ ที่เราพบเห็นทั่วไปในชีวิตการทำงานประจำวันนั่นแหละ

“เราจะทำยังไงให้ดึงคาแรกเตอร์และดึงเสน่ห์ของคนเหล่านั้นออกมาได้ ดึงความน่าสนใจในความสัมพันธ์ของคนในสถานที่ทำงาน แล้วทำให้การพูดเรื่องออฟฟิศไอทีมันสามารถเชื่อมโยงกับคนในทุกออฟฟิศได้จริง ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ยากแล้วก็ท้าทายดี

เมื่อคนแอนะล็อกต้องมากำกับหนังที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี

บาสยอมรับกับเราว่า ที่จริงแล้วเขาเป็นคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องเทคโนโลยีสักเท่าไหร่ แต่เมื่อถึงคราวที่ต้องมากำกับเรื่องที่ตัวเองไม่ถนัด ก็เป็นความท้าทายแบบหนึ่งของการเป็นผู้กำกับที่ต้องมีการทำการบ้านและทำความเข้าใจเยอะพอสมควร

สิ่งที่เราต้องทำการบ้านมากขึ้นและหนักขึ้นจริงๆ คือ สิ่งที่เขาทำในหนัง เรื่องเทคโนโลยี ภาษาที่เขา ใช้ซึ่งมันจะต้องค่อนข้างเป๊ะมาก และจริงๆ ก็ได้ความช่วยเหลือจากลูกค้าเยอะมากครับ ลูกค้าจากองค์กร KBTG เข้ามาให้คำแนะนำเรื่องเทคโนโลยี เรื่องภาษาพูด เรื่องแอ็กชั่น หลายๆ อย่างจากตัวละครก็มาจากเขา

การที่ต้องเจอโจทย์ที่หลากหลาย และในบางครั้งก็ไม่ได้อินไปกับมันด้วย ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่บาสรู้สึกว่าเป็นความท้าทายในฐานะผู้กำกับที่ดี ที่จะต้องถ่ายทอดออกมาให้ได้ในแบบที่งานควรจะเป็นและดีที่สุด

ยิ่งเราทำงานโฆษณา บางทีโจทย์ที่เราได้รับมันไม่ใช่ตามใจเราทุกอย่าง โจทย์บางโจทย์ สินค้าบางประเภท เราอาจจะไม่ได้นึกถึงมันมาก่อน ไม่เคยสนใจมันมาก่อน แต่พอเราต้องรับผิดชอบมันในฐานะของคนเล่าเรื่อง เราก็ต้องทำความรู้จักสิ่งเหล่านั้น โลกที่ลูกค้าอยู่ สิ่งที่ลูกค้าต้องการจะบอก ซึ่งผมว่าอันนี้เป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้กำกับโฆษณา

บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา

สิ่งที่สัมผัสได้จากการร่วมงานกับ KBTG  Kasikorn Business – Technology Group

ไม่ใช่ทุกครั้งที่การทำงานกับแบรนด์จะราบรื่น ยิ่งกับลูกค้าที่ไม่ค่อยเข้าใจขั้นตอนในการทำหนังและสนใจแค่เพียงผลลัพธ์ แต่กับการร่วมงานกับ KBTG ไม่เป็นอย่างนั้น

กับองค์กร KBTG พอเราเข้าไปรีเสิร์ชข้อมูล ได้รู้จักกับลูกค้าจริงๆ ก็รู้สึกว่าเขาก็เหมือนพวกเรา เหมือนคนทำงาน Production House ที่มีความชอบในหนัง เขาก็มีแพสชันในโลกของเขา ในสิ่งที่เขาทำมาก เหมือนกัน อย่างวันถ่ายก็มีลูกค้าคอยบอกเราว่าอะไรใช่ ไม่ใช่ ทั้ง ที่ไม่จำเป็น แต่เขาก็อยู่กับเราจนเช้า เขามาช่วยเราจัดพร็อพ ช่วยเราเขียนไดอะล็อกที่ใช้พูด

“ซึ่งพอเราสัมผัสได้ถึงแพสชันของเขา ทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่มันมีความยิ่งใหญ่มากเหมือนกัน แล้วเราต้องพยายามทำยังไงก็ได้ที่จะผลักดันความคาดหวังของเขาให้ออกมาดีที่สุด มันเลยการเป็นการส่งพลังงานการทำงานทางบวกซึ่งกันและกัน ก็เป็นสิ่งที่พยายามสื่อสารสิ่งนี้ลงไปในหนังด้วย” บาสพูดสรุป

บาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, หนังสั้น, ผู้กำกับ, ธนาคารกสิกรไทย, Kbank, หนังโฆษณา

สนใจเป็นเพื่อน / ร่วมงานกับกสิกรไทยได้ที่

Writer

Avatar

ณิชากร เอื้อสุนทรวัฒนา

อดีตนักเรียนโฆษณาที่มาเอาดีทางด้านอาหาร แต่หลงใหลการสัมภาษณ์และงานเขียน

Photographer

Avatar

ณัฎฐาจิตรา ชินารมย์รัตน์

ช่างภาพที่ชอบการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลงและหลงรักในความทรงจำ