ธุรกิจครอบครัวหลายแห่งกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ถ่ายเลือดผู้บริหารไปสู่รุ่นใหม่
หากใครรักษาสิ่งดี ๆ ของคนรุ่นก่อน และหาทางต่อยอดให้ไปไกลกว่าเดิมย่อมได้เปรียบ
หนึ่งในครอบครัวที่ทำสิ่งนี้ได้ และเราอยากแนะนำให้รู้จักคือครอบครัวพะเนียงเวทย์ ผู้บริหารบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ขายดีที่สุดในประเทศ ในนาม บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต ‘มาม่า’ ที่เรารู้จักกันดี
น้อยครั้งที่ครอบครัวนี้จะเล่าเคล็ดลับการส่งต่อความสำเร็จภายในครอบครัว ทั้งในแง่การทำงานและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจล้วนปรารถนาให้เกิดขึ้น
การรักษาสิ่งดี บวกกับการจัดการที่เป็นระบบ จะทำให้ทุกครอบครัวสานต่อได้สำเร็จ
ปัจจุบันไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ส่งบะหมี่ออกไปกว่า 68 ประเทศ มีโรงงานในประเทศไทย 5 โรงงานและโรงงานในต่างประเทศอีก 4 ประเทศ
พจนา พะเนียงเวทย์ ได้รับความไว้วางใจจากคุณพ่อ พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ให้พจนามาดูแลการส่งออกบะหมี่ไปยังต่างประเทศ เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ
ด้วยความสามารถในการสื่อสาร พิพัฒจึงให้พจนามาดูแลการส่งออกบะหมี่ในทุกประเทศ พจนาเล่าว่า วัยเด็กคุณพ่อดูแลลูกอย่างเข้มงวด แบ่งเวลาให้ลูกเรียนและฝึกทักษะด้านต่าง ๆ เช่น กีฬา ดนตรี โดยทำเป็นตารางเวลากิจกรรมกำแพงที่บ้านอย่างชัดเจน
ฟังดูคร่ำเครียด แต่พจนาเล่าว่าวิธีนี้ทำให้เธอรู้จักการแบ่งเวลา ฝึกฝนการลงมือทำจริง ซึ่งสิ่งนี้ต่อยอดมาสู่ลูกของเธอด้วย
การทำงานด้านส่งออก ต้องพบปะคนหลากหลายแบบ สิ่งสำคัญที่เธอยึดถือ คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ประหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
“ความเป็นครอบครัวมีค่า” พจนาเล่า “การสร้างความไว้วางใจ เชื่อใจสร้างยาก แต่ถูกทำลายง่ายมาก”
พิพัฒสอนพจนาเสมอว่า ลูกค้าและพนักงานทุกคนคือครอบครัวเรา ต้องดูแลเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเจอปัญหาแบบใด หากทำงานด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ไว้เนื้อเชื่อใจ ย่อมเอาชนะอุปสรรคไปได้ด้วยดี
การที่พจนามองลูกค้าเหมือนคนในครอบครัว ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยังช่วยให้เธอเข้าใจบริบทของการทำธุรกิจมาม่าต่างประเทศยิ่งขึ้น นำไปสู่การสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ
หากจะส่งต่อความสำเร็จให้ทายาท
เจ้าของธุรกิจครอบครัวก็ควรเข้าใจว่าแก่นของธุรกิจนั้นคืออะไร
พจนาเริ่มเข้ามาทำงานกับมาม่าตอนอายุ 25 ปี แต่ลูกของเธอ กมลพรรณ เลิศประภาพงศ์ ทำงานขายบะหมี่เร็วกว่านั้นอีก
สมัยเรียนมัธยมต้นในต่างประเทศ กมลพรรณสังเกตว่าในโรงอาหารโรงเรียนมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้ออื่นขายอยู่
เธอติดต่อไปหาแม่ ขอเอามาม่ามาขายในโรงเรียนบ้าง ทำโปสเตอร์ขายด้วยตัวเอง เอาไปแปะในโรงอาหาร นั่นคือการขายบะหมี่ส่งออกครั้งแรกสำหรับทายาทรุ่นสาม
ปัจจุบันกมลพรรณเข้ามาเริ่มทำงานคนละแผนกกับแม่ คือดูด้านการลงทุนใหม่ ๆ แต่ยังไม่ละงานฝั่งการส่งออกที่เธอขอมาดูบางประเทศในเอเชีย สิ่งหนึ่งที่เธอทำต่างจากรุ่นสองคือการริเริ่มลงทุนในสตาร์ทอัพโดยไม่จำกัดแค่ในด้านอาหาร และการทำโปรเจกต์กับบริษัทระดับสากล
ในช่วงเริ่มต้น กมลพรรณลงทุนกับกองทุนที่เกี่ยวกับนวัตกรรม (Innovation) ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากนั้นต่อยอดมาใช้บริการ KRUNGSRI PRIVATE BAKING ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคลซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญทางการเงินเข้ามาดูแล
หากจะมองภาพรวมธุรกิจครอบครัววันนี้ให้แจ่มชัด สถาบันการเงินคือองค์กรที่สะสมความรู้และข้อมูลที่น่าสนใจเยอะมาก
วิน พรหมแพทย์, CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธของธนาคารกรุงศรีเล่าว่า พจนาและกมลพรรณคือตัวอย่างลูกค้าที่กำลังสะท้อนเทรนด์โลกวันนี้
เทรนด์ที่ว่า คือหนึ่ง การมีลูกค้าไทยอยู่ต่างประเทศมากขึ้น กล้าลงทุนต่างประเทศมากขึ้น
สอง ลูกค้าไทยและทั่วโลกที่เป็นบุคคลทั่วไป กล้าลงทุนในสินทรัพย์แบบ Private มากขึ้น
และสาม เกิดการส่งต่อความมั่งคั่งระหว่างรุ่น Baby Boomer และ Gen X สู่ Gen Y และ Gen Z มากขึ้น
“สังเกตว่าเวลาจัดกิจกรรมหรือเสวนาของ KRUNGSRI PRIVATE BANKING รุ่นพ่อจะเริ่มพารุ่นลูกและหลานมาฟังเอาความรู้ หลายท่านพูดตรง ๆ เลยว่าอยากให้ลูกมาเรียนรู้ เพื่อให้เตรียมตัวที่จะดูแลความมั่งคั่งต่อจากรุ่นพ่อแม่” วินเล่า
คำถามคือจากเทรนด์นี้ KRUNGSRI PRIVATE BANKING ต่อยอดอย่างไร เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่สนใจการรักษาความมั่งคั่ง และสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจคู่ค้า
จุดแข็งของ KRUNGSRI PRIVATE BANKING คือการที่มีบริษัทแม่อย่าง MUFG ซึ่งมีเรตติ้ง Triple A จึงสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังมีทีม Krungsri Investment Intelligence คอยรวบรวมข้อมูลและมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญทั้งระดับประเทศและระดับโลกใน Krungsri Group
ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้เปรียบเสมือน Avengers ด้านการลงทุน ประกอบไปด้วยทีมวิจัยกรุงศรี เชี่ยวชาญเศรษฐกิจมหภาคและภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทีมงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ มีฐานข้อมูลและเข้าใจความเคลื่อนไหวของค่าเงิน อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยอย่างลึกซึ้ง ทีมงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนและบริษัทหลักทรัพย์ในเครือกรุงศรี เชี่ยวชาญการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ สุดท้ายคือมีพันธมิตรอย่าง BlackRock บริษัทจัดการกองทุนชั้นนำระดับโลกที่มีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คลังข้อมูลเหล่านี้ทำให้บริษัทกลั่นออกมาเป็นคำแนะนำด้านการลงทุน ช่วยปรับพอร์ตการลงทุนของลูกค้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาด ที่สำคัญคือกระจายข้อมูล ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ไปในทิศทางเดียวกันได้แบบเป็น Single Message เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
ด้วยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ด้านการลงทุนดังกล่าว ทำให้ KRUNGSRI PRIVATE BANKING ออกแบบคำแนะนำและคัดสรรผลิตภัณฑ์ลงทุนครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ตอบโจทย์พฤติกรรมการลงทุนของลูกค้าในยุคปัจจุบัน ทั้งการลงทุนต่างประเทศ หุ้นต่างประเทศ สินทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Products) หรือบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ รวมไปถึงสินทรัพย์แบบ Private ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 – 3 กอง และจะยังพัฒนาต่อไปในอนาคต
ในแง่ของการบริการ KRUNGSRI PRIVATE BANKING เริ่มคำนึงถึงการลงทุนในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ในรุ่นสองและสามมากขึ้น
คนกลุ่มนี้จะสนใจการลงทุนมากกว่าคนรุ่นก่อน ทำการซื้อขายได้ด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่เพียงอยากได้ความสะดวกในการซื้อขาย ทีมผู้จัดการการเงินส่วนบุคคล (RM) จะต้องให้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
การรักษาสิ่งดี ๆ ของคนรุ่นก่อน และหาทางต่อยอดให้ไปไกลกว่าเดิม ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในวงการธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงไปอีกหลายศาสตร์
โลกปัจจุบัน หลายครอบครัวกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านรุ่น หากใครส่งต่อปณิธานและแนวคิดของคนรุ่นก่อนได้ดีย่อมได้เปรียบ โตต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ปี 2024 มีหลายปัจจัยผันผวนต่อเศรษฐกิจโลก ไม่แปลกถ้าคนทำธุรกิจจะเผชิญช่วงเวลายากลำบาก
หากคุณทำธุรกิจแนวนี้ รู้สึกว่างานตัวเองถึงทางตันและอยากหาทางออกด้วยการไปต่างประเทศ
มีอยู่ 2 ข้อที่คุณควรคิด คือจะสานต่อความรู้จากธุรกิจครอบครัวอย่างไร และควรหาใครเป็นที่ปรึกษาเพื่อฝ่าคลื่นลมนี้ให้รอดพ้นไปได้ด้วยดี
จะทำอย่างไรถึงจะสานต่อความรู้ ปณิธาน และปัญญาของคนรุ่นก่อนสู่รุ่นใหม่
นี่จะเป็นจุดหักเหสำคัญในการวัดว่าธุรกิจครอบครัวใดจะรักษาจิตวิญญาณให้เข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของโลกไปได้