นักเดินทางทั้งหลาย คุณเคยตั้งคำถามกันไหมว่าในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง นอกจากรอยเท้าที่ได้เหยียบย่ำไปบนดินแดนแสนสวยและความสุขสดชื่นในช่วงเวลาดีๆ ที่ได้ไปสัมผัสกันแล้ว เราทิ้งอะไรไว้เบื้องหลังบ้าง

จากคำถาม นำมาสู่การค้นหาคำตอบ ในทริป Earth Appreciation 04 : มาหาเสม็ด ที่ตั้งใจจัดขึ้นโดย The Cloud และ โคคา-โคล่า

เพื่อพา 12 เพื่อนใหม่นักเดินทาง และสองนักแสดงผู้ขับเคลื่อนเรื่อง Eco มานานนับสิบปีอย่าง ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา ไปทำความเข้าใจเรื่องธรรมชาติและปัญหาขยะพลาสติก ผ่านประสบการณ์ตรงในพื้นที่จริง ณ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 24 – 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

นอกจากทุกคนจะได้สัมผัสความงดงามของธรรมชาติ ทำกิจกรรมบนหาดทรายและในท้องทะเลอย่างรื่นรมย์แล้ว ตลอดเวลา 3 วัน 2 คืน เราพยายามสร้างขยะให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และเรามั่นใจว่าขยะทุกชิ้นในทริปนี้มีเส้นทางไปต่ออย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

มาหาเสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

นอกจากนี้ เรายังได้ไปเยี่ยมชมพร้อมพูดคุยกับชาวเกาะท้องถิ่น ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงและแรงกระเพื่อมเรื่องขยะพลาสติกและสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ ตั้งแต่องค์การบริหารส่วนตำบล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไปจนถึงผู้ประกอบการและภาคประชาชน

เราหวังว่าบทเรียนบนหน้าจอต่อไปนี้ จะช่วยสร้าง ‘แรงบันดาลใจ’ ให้ทุกคนอย่างที่พวกเราได้สัมผัสมาแล้วบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ 

01 The Journey Begins

With No Single Use Plastic

ก่อนออกเดินทาง เราส่งข้อความแจ้งผู้ร่วมทริปให้พกถุงผ้าและกระติกพร้อมเติมน้ำให้เต็มมาจากบ้าน การพกกระติกแบบนี้ นอกจากจะลดการใช้ขวดน้ำที่เป็นพลาสติกแล้ว ยังช่วยประหยัดเงินระหว่างการท่องเที่ยวด้วย ทุกวันนี้ตามสถานที่ท่องเที่ยว สนามบิน และโรงแรมทั่วโลก ล้วนมีจุดบริการน้ำดื่มฟรีให้คนมาสามารถมาเติมน้ำได้

ที่เกาะเสม็ด เราได้พบกับ พี่สมถวิล จันทร์พราหมณ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ผู้มารับหน้าที่วิทยากรบอกเล่าเรื่องราวของเกาะเสม็ดให้พวกเราฟัง

มาหาเสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

พี่สมถวิลอธิบายว่า อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลลำดับที่ 3 ของประเทศไทย และเป็นอุทยานแห่งชาติไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่เปิดทำการตลอดทั้งปีไม่มีวันหยุด มีธรรมชาติที่งดงาม อาหารอร่อย และมิตรภาพของชุมชน ผู้ประกอบการในพื้นที่

ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน เสม็ดคือเกาะสวรรค์ที่เงียบสงบและอุดมสมบูรณ์ ขยะที่เกิดขึ้นจากชุมชมบนเกาะเป็นขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้และมีปริมาณน้อย เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังไม่มาก จนเมื่อความเจริญค่อยๆ เข้ามาสู่เกาะ ร้านรวงและรีสอร์ตจำนวนมากถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ขยายตัว ในขณะเดียวกันพลาสติกก็เริ่มถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น

มาหาเสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

เดิมบนเกาะเสม็ดมีโรงเผาขยะ แต่จำเป็นต้องปิดทำการไป เนื่องจากกระบวนการเผาปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำลายชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน จากการเผาจึงเปลี่ยนมาเป็นฝังกลบขยะแทน แต่ก็ประสบปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ ขยะจำนวนมากจึงตกค้างอยู่บนเกาะ 

หลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานส่วนท้องถิ่นหลายภาคส่วนพยายามเร่งหาหนทางแก้ไข จนในที่สุดโรงคัดแยกขยะบนเกาะเสม็ดก็ถูกก่อสร้างจนเสร็จและเปิดทำการมาแล้วระยะหนึ่ง ขยะตกค้างที่เคยมีตอนนี้ถูกจัดการไป

ทั้งนี้ ด้วยประสิทธิภาพของโรงคัดแยกขยะที่สร้างขึ้นใหม่ ทำให้สามารถดูแลขยะที่เกิดใหม่ในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี มีการคัดแยกขยะตามประเภท และขณะเดียวกันทางอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ก็เร่งดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลด ละ เลิก การใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง

โดยพี่ประยูร พงศ์พันธุ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด อธิบายว่า พี่ๆ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ จะคอยไปตรวจเช็กสัมภาระของนักท่องเที่ยวบริเวณท่าเรือ เพื่อลดการนำโฟมและถุงพลาสติกขึ้นมาบนเกาะ

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

ผู้ร่วมทริปหันมาสบตากันและอมยิ้มดีใจ ที่เราสามารถช่วยลดภาระให้พี่ๆ เจ้าหน้าที่ได้ จากการนำกระติกน้ำและถุงผ้ามาจากที่บ้าน

02 Eat Responsibly

Finding Another Use For Food Waste

อาหารมื้อแรกที่เราได้ลิ้มรส เป็นอาหารเสม็ดสไตล์แท้ๆ อย่างข้าวเหนียว ไก่ย่าง ส้มตำที่ทุกคนต้องเดินไปสั่งจากแม่ค้าหาบเร่ริมหาด เพราะเดินทางอย่างเหน็ดเหนื่อยกันมาตั้งแต่เช้าตรู่ ทุกคนจึงสั่งอาหารมากินดื่มกันไม่ยั้ง จนจบมื้ออาหาร มีเศษอาหารจำนวนมากวางเหลืออยู่บนโต๊ะ

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

เมื่อนำเศษอาหารที่ผู้ร่วมทริปกินเหลือมาชั่งน้ำหนักรวมกัน ปรากฏว่ามีน้ำหนักถึง 14 กิโลกรัม แค่อาหารเพียงมื้อเดียวจากคนไม่กี่สิบคนเท่านั้น สถิติน่าตกใจที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ คือขยะอาหารที่คนไทยทิ้งต่อวันมีปริมาณสูงถึง 300 – 500 ตัน และคนมักจะเข้าใจผิดว่าขยะอาหารย่อยสลายได้ แล้วจะไม่เป็นปัญหา

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

 การทับถมของขยะอาหาร หรือ Food Waste ทำให้เกิดแก๊สมีเทนที่ส่งผลเสียกว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า นอกจากนี้กองขยะอาหารยังนำมาซึ่งพาหะนำโรค และการนำขยะเปียกหรือขยะอาหารเข้าเตาเผาร่วมกับขยะอื่นๆ จะทำให้เตาเผามีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิพื้นฐาน กระบวนการเผาไหม้เกิดได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดสารเคมีตกค้าง

ดังนั้นวิธีการที่ถูกต้องและง่ายที่สุดเมื่ออยู่ระหว่างการท่องเที่ยวแบบนี้ คือคิดก่อนกิน กินเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มีเศษอาหารเหลือทิ้งน้อยที่สุด และถ้ายังมีเศษอาหารเหลืออยู่ก็แยกมันออกจากขยะประเภทอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

ในทริปมาหาเสม็ด เราคัดแยกขยะออกเป็น 3 ประเภทคือ เศษอาหาร (ขยะอินทรีย์) ขยะรีไซเคิล (ขวดพลาสติก กระป๋อง กระดาษ แก้ว) และขยะทั่วไป โดยเศษอาหารของทุกมื้อและขยะรีไซเคิลที่ผู้ร่วมทริปคัดแยกตลอด 3 วัน 2 คืนนี้ จะถูกส่งต่อให้ White Sand Beach รีสอร์ตเล็กๆ บนเกาะเสม็ดที่ตั้งใจหมุนเวียนขยะทุกประเภทให้นำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง 

พี่หนู-จันทร์จิรา สังข์สุวรรณ ผู้จัดการ White Sand Resort พาพวกเราเยี่ยมชมพื้นที่ส่วนต่างๆ 

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล
มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

อย่างแรกคือปุ๋ยอินทรีย์ วิธีทำแสนง่าย เทเศษอาหารเทลงไปในภาชนะ จากนั้นกลบด้วยดินหรือปุ๋ยคอก และใบไม้แห้ง สลับชั้นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือต้องกลบดิน ปิดฝาให้มิดชิด เพื่อป้องกันแมลงวันและกลิ่นรบกวน เพียงไม่กี่เดือนเศษอาหารจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยสีเข้ม ที่จะช่วยบำรุงให้พืชพรรณงอกงามสมบูรณ์

อย่างต่อมาคือน้ำหมักชีวภาพ นำเศษผักผลไม้ตั้งแต่เปลือก ใบ ผล และเมล็ดที่ยังไม่ผ่านกระบวนการทำอาหาร หมักเข้ากับกากน้ำตาลทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จะได้น้ำจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นปุ๋ยน้ำ ส่วนตะกอน นำไปตากแดดทำเป็นปุ๋ยแห้ง

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

พี่หนูอธิบายว่าปุ๋ยหมักชีวภาพนี้มีธาตุอาหารช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน และสามารถนำไปบำบัดน้ำเสีย กำจัดคราบไขมันอุดตันได้ เพียงแค่ผสมเข้ากับน้ำ เทใส่ในท่อน้ำทิ้งหรือบ่อบำบัดไขมัน ทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วราดน้ำ 

พื้นที่รีสอร์ตถูกแบ่งไว้อย่างเป็นสัดส่วน แทรกไปด้วยต้นไม้มากมาย กระถางต้นไม้หลายสีสันรีไซเคิลจากถังน้ำยาซักล้างวางอยู่หน้าบ้านพักแต่ละหลัง พี่หนูพาเราไปดูแปลงผักสวนครัวชอุ่มสมบูรณ์ด้านหลังรีสอร์ต พร้อมบอกอย่างภาคภูมิใจว่า หลายเมนูที่เสิร์ฟนักท่องเที่ยว ปรุงด้วยผักออร์แกนิกที่บำรุงด้วยปุ๋ยจากเศษอาหารอีกที นับเป็นวัฏจักรอาหารที่หมุนเวียนไม่รู้จบ

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

03 Beach Hopping

Where Your Trash Ends Up

เราท่องเกาะจากเหนือจรดใต้ สัมผัสบรรยากาศดีต่อใจ ฟ้าใสและหาดทรายขาวสะอาด เริ่มจากอ่าวน้อยหน่า ทางทิศเหนือของเกาะเสม็ดที่เราได้พบกรรมวิธี ‘ร่อนทราย’ ด้วยแหตาถี่ เพื่อแยกขยะชิ้นเล็กอย่างเศษพลาสติกหรือเศษแก้วออกจากเม็ดทราย โดยพี่ๆ สตาฟของ Mooban Talay Resort ต้องทำเป็นประจำทุกวันช่วงน้ำลง 

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

ปัจจุบัน ‘ขยะ’ คือหนึ่งในปัญหาสำคัญของอุทยานแห่งชาติทั้งทางทะเลและบนบก อุทยานแห่งชาติคือพื้นที่ธรรมชาติผืนใหญ่ ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติ

แล้วขยะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมาจากไหน คำตอบคือมาจากนักท่องเที่ยวอย่างพวกเรานี่เอง

เรากินดื่ม พักผ่อนอย่างรื่นรมย์และสร้างขยะจากการท่องเที่ยว ที่หากไม่ได้ถูกคัดแยกอย่างถูกประเภท จะทำให้ยากต่อการนำไปจัดการต่อ โดยเฉพาะในอุทยานที่เป็นที่นิยม ปริมาณของขยะก็มีมากตามไปด้วย จนบางครั้งเกินศักยภาพที่พื้นที่อุทยานจะรองรับได้ ทำให้ไม่สามารถจัดการได้หมด 

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

สาเหตุทั้งหมดนี้ นำไปสู่ขยะที่ตกค้างในธรรมชาติและรั่วไหลลงสู่ทะเล เมื่อขยะพลาสติกแตกตัวเล็กลงเรื่อยๆ มันจะค่อยๆ สลายตัวเปลี่ยนเป็นไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรจนถึงขนาดที่สายตามองไม่เห็น และยังคงคุณสมบัติความเป็นพลาสติกอยู่ครบถ้วนทุกประการ

ขยะพลาสติกเหล่านั้น บ้างจมลงสู่ก้นทะเล บ้างถูกซัดกลับขึ้นมาบนฝั่งอย่างที่เห็นที่อ่าวน้อยหน่า และอีกไม่น้อยที่ล่องลอยอยู่ในท้องทะเล สิ่งที่น่ากังวลคือเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าปลาที่เรากินทุกวันนี้ พวกมันกลืนกินไมโครพลาสติกเข้าไปหรือเปล่า สุดท้ายผลกระทบเหล่านั้นก็จะวนกลับมาสู่มนุษย์ในวันหนึ่ง

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล
มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

จากนั้นนั่งรถสองแถวไปตะลุยกันต่อที่อ่าวหวาย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นอ่าวที่สวยที่สุดของเกาะเสม็ด มีผืนทรายละเอียดเหมือนแป้ง แต่ก็มีขยะทะเลมากมายเกยตื้นอยู่บนฝั่ง เพื่อนๆ รวมทริปมาหาเสม็ดได้ช่วยกันเก็บขยะตรงหน้าจนช่วงแสงสุดท้ายของวัน จากนั้นจึงมุ่งหน้าไปดูพระอาทิตย์ลับเส้นขอบฟ้าที่แหลมเตย ปลายสุดของเกาะเสม็ด

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

04 Sea The World

Ocean Tales

วันต่อมา เรามีนัดกับ พี่อู๊ดดี้-ธนเดช เสตะจันทน์ เจ้าของโรงเรียนสอนดำน้ำ UDI Scuba Driving ตั้งแต่เช้าเพื่อขึ้นเรือไปดำน้ำ Snorkeling

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

นอกจากจะได้เห็นความสวยงามของปะการังและสัตว์น้ำใต้ทะเลแล้ว เรายังได้เห็นขยะพลาสติกลอยผ่านเรือไป พี่ๆ สตาฟประจำเรือเล่าว่า ช่วงฤดูมรสุมที่คลื่นลมปั่นป่วน ขยะทะเลจะปรากฏขึ้นมากกว่าปกติ เพราะมีขยะรั่วไหลลงสู่ท้องทะเลมากในช่วงฝนตกนั่นเอง

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล
มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

หลังดำน้ำ เราแล่นเรือมุ่งหน้าสู่ท้ายเกาะบริเวณร่องน้ำที่ทำให้เราได้เห็นว่า บางครั้งก็มีขยะลอยมากับกระแสน้ำ พี่อู๊ดดี้อธิบายว่าชาวเรือจะมีขอและตาข่ายเอาไว้เกี่ยวขยะลอยทะเลเหล่านั้น เพื่อนำไปทิ้งบนฝั่ง เราช่วยกันเกี่ยวขยะเปื่อยยุ่ยพวกนั้นขึ้นมาเท่าที่ทำได้ และพบว่าหลายชิ้นล่องลอยมาไกลแสนไกลจากประเทศอื่น

ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา

เรือเทียบฝั่งที่ชุมชนประมงพื้นบ้านแห่งสุดท้ายบนเกาะเสม็ด บริเวณท่าเสด็จ พี่ๆ ชุมชนทำอาหารพื้นบ้านชาวเลภาคตะวันออก ทั้งหมูต้มใบชะมวง ปลาหมึกน้ำดำ และอีกหลายเมนูอร่อย ปรุงด้วยวัตถุดิบที่จับแบบประมงพื้นบ้าน คือไม่จับสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ขนาดยังไม่โตเต็มที่ ไม่ใช้อวนลากหรืออวนรุนที่ทำลายระบบนิเวศใต้ท้องทะเล เพราะสัตว์ทะเลทุกตัวถูกจับมาด้วยความใส่ใจรับผิดชอบ

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล
มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

โดยประมงพื้นบ้านจะใช้เรือขนาดเล็กและอุปกรณ์หนึ่งชนิดต่อการจับสัตว์น้ำแต่ละประเภท เพื่อไม่ให้การจับสัตว์แต่ละครั้งกระทบปริมาณสัตว์น้ำมากจนเกินไป เช่น การใช้แหหว่านลงไปในทะเล หรือการใช้เบ็ดสำหรับตกสัตว์น้ำ

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

05 Talking Trash

Everyday Heroes

หลังอิ่มหนำกันแล้ว เรานั่งล้อมวงริมหาดพูดคุยกับแขกรับเชิญคนแรก Daniela Scandella-Chanchote เจ้าของ SoLUTion Refill@Station ร้านขายน้ำยาที่ลดการใช้ Single Use Plastic ด้วยการนำบรรจุภัณฑ์จากบ้านมาเติมแห่งแรกและแห่งเดียวบนเกาะเสม็ด 

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

เธอฝากข้อคิดเรื่องขยะพลาสติกไว้ว่า เวลาซื้อสินค้าเข้าบ้าน พยายามลด ละ รับถุงพลาสติกจากข้างนอก หรือหลีกเลี่ยงการสั่งให้มาส่งที่บ้านโดยไม่จำเป็น เพราะนอกจากจะได้สินค้าที่สั่งแล้ว เรายังจะได้ขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งมาล้นมือ

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

ถึงจะเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้า แต่ถ้ายังใช้แบบ Single Use ก็ไม่ต่างอะไรจากการใช้พลาสติก มิหนำซ้ำยังเป็นภัยร้ายยิ่งกว่า เพราะเบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ แถมย่อยสลายยาก การแก้ปัญหาให้ตรงจุดที่แท้จริงไม่เกี่ยวกับวัสดุของบรรจุภัณฑ์ แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณความถี่และความคุ้มค่าในการใช้งานต่างหาก

แขกรับเชิญคนต่อมา พี่ไพบูลย์ คุ้มคำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยไพบูลย์ ระยอง จำกัด ผู้มารับช่วงดำเนินการระบบจัดการขยะและโรงคัดแยกขยะบนเกาะเสม็ดที่เพิ่งเปิดทำการไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

พี่ไพบูลย์อธิบายถึงเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราต้องแยกขยะ ขยะที่ถูกทิ้งรวมกันเป็นถุงๆ เมื่อถูกส่งไปที่บ่อขยะ (Landfill) ขยะแต่ละถูกจะถูกเปิดออก จากนั้นคัดแยกประเภทด้วยแรงงานคน เป็นขั้นตอนการทำงานที่เสียเวลามาก ขยะที่ใส่รวมกันมาทุกประเภทในถุงเดียว มีอัตราปนเปื้อนสูง แม้จะเป็นประเภทที่สามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล หลอมออกมาใช้ใหม่ได้ แต่ถ้าปนเปื้อน ก็นับว่าสูญเปล่า 

พี่ไพบูลย์บอกว่า ทุกวันนี้ขยะบนเกาะเสม็ดที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์จากปริมาณขยะทั้งหมดเท่านั้น แต่ถ้าทุกคนช่วยกันคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ขยะที่นำไปรีไซเคิลได้จะมีมากขึ้น ส่วนขยะที่ใช้ต่อไม่ได้ต้องเอาไปฝังกลบหรือเผาก็จะมีจำนวนลดลง ส่งผลให้มลพิษทางสิ่งแวดล้อมลดลง คุณภาพชีวิตของระบบนิเวศก็ดีขึ้นเป็นวัฏจักร

ขยะมูลฝอยจากทุกพื้นที่บนเกาะเสม็ด เมื่อนำมาเข้ากระบวนการที่โรงคัดแยกขยะเสร็จเรียบร้อย จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือขยะรีไซเคิล ส่งกลับขึ้นฝั่งเพื่อนำไปขายต่อให้โรงงานรีไซเคิลตามประเภทวัสดุ ขยะทั่วไป ส่งกลับขึ้นฝั่งเช่นกัน เพื่อนำไปขายต่อให้โรงงานผลิตไฟฟ้าสำหรับเผาเป็นเชื้อเพลิง 

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

และสุดท้ายขยะอินทรีย์ ที่พี่ไพบูลย์และทีมงานจัดการเอง ทั้งหมักเป็นแก๊สชีวภาพ หมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และทำน้ำหมักชีวภาพ รอบๆ บ่อขยะที่แต่ก่อนแทบไม่มีพื้นที่เหลือจากของเน่าเสีย ทุกวันนี้มีพืชผักสวนครัวและพืชพรรณร่มเย็นสบายตา

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

06 Chef’s Table

Eating With Purpose

ค่ำคืนสุดท้ายบนเกาะเสม็ด เรานั่งริมหาดทรายดื่มด่ำรสชาติอาหาร 8 จานพิเศษโดยเชฟแบล็ก-ภานุภน บุลสุวรรณ แห่งร้าน Blackitch Artisan Kitchen ผู้เดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมาบอกเล่าเรื่องทะเลและทรัพยากรธรรมชาติผ่าน ‘ความรู้กินได้’ ในสไตล์ Chef’s Table ให้พวกเราได้ลิ้มลอง

เชฟแบล็ก-ภานุภน บุลสุวรรณ แห่งร้าน Blackitch Artisan Kitchen

เชฟแบล็กเป็นคนจังหวัดระยองโดยกำเนิด เติบโตมากับวัตถุดิบพื้นบ้านจากท้องทะเล และรับรู้ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น อาหารค่ำมื้อนี้ เชฟแบล็กตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตคนระยองและท้องทะเลที่เปลี่ยนไป

อย่างเมนูแมงกะพรุนดองไม้ฝาง น้ำจิ้มถั่วตัดกับสโคบี้ ที่หากินได้เฉพาะฤดูกาลนี้ เนื่องจากเป็นหน้าแมงกะพรุน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มซีฟู้ดสูตรพิเศษของคนระยองที่กินคู่ถั่วตัดกับสโคบี้

สัตว์ทะเลทุกชนิดในทุกเมนู ทั้งกุ้งลายเสือกับมันกุ้งผัดน้ำมันหอย ต้มโจน้ำข้นกับน้ำมันงาดำ ปลานึ่ง ผักกาดดอง และข้าวห่อปลาเสียบไม้ย่าง เพสโต้โหระพา เชฟแบล็กไปหาซื้อด้วยตัวเองกับกลุ่มประมงเรือเล็ก หรือกลุ่มประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดระยอง

มาหาเสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล
มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

เมนูที่เราประทับใจมากคือ หรุ่มทะเลที่ตั้งใจเล่าเรื่องเชิงสัญลักษณ์ของการจับปลาเชิงพาณิชย์ ที่ใช้อวนตาถี่กวาดต้อนสัตว์ทะเลตัวเล็กขึ้นมาด้วย ทำให้พวกมันไม่มีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ ทำลายระบบนิเวศท้องทะเล และเมนูหมี่ยำปูพริกแกงป่า ที่เชฟแบล็กไปซื้อปูมาจากธนาคารปู เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งใจเพาะพันธุ์ปูทะเลไทยให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง 

มาหาเสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

เชฟแบล็กอธิบายระหว่างเสิร์ฟอาหารอร่อยจานแล้วจานเล่า ว่าอาหารทะเลไม่ใช่ของดีภาคตะวันออกเพียงอย่างเดียว อาหารป่าก็ถือว่าขึ้นชื่อไม่แพ้กัน ถ้าใครไปเที่ยวทะเลแล้วเบื่อกินสัตว์มีกระดอง ลองเปลี่ยนมากินอาหารป่าดูบ้าง รสชาติเด็ดไม่แพ้กัน

หลังอาคารค่ำ เรานั่งล้อมวงใต้แสงดาวเล่นดนตรีอะคูสติกริมหาดทราย เสียงคลื่นกระทบฝั่งสลับไปกับเสียงดีดกีตาร์ร้องเพลงอย่างสนุกสนาน คลายความเหนื่อยล้าจากการตะลุยเกาะกันมาตลอด 2 วันที่ผ่านมา

มาหาเสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

07 Lessons From The Journey

Keep Thailand Beautiful

วันสุดท้าย พี่ประยูร หัวหน้าอุทยานฯ และพวกเราได้ล้อมวงแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทริป ‘มาหาเสม็ด’ ทุกคนมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่นักศึกษา นักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อม คุณครู จนถึงทีมงานร้านน้ำยาแบ่งขายแบบไม่ใช้ Single Use Plastic ทุกคนมีความเชี่ยวชาญและเรื่องราวเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม ซึ่งน่าสนใจและช่วยมอบแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ จากสองมือตัวเองให้แก่กันตลอดบทสนทนา

มาหาเสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

หนึ่งในผู้ร่วมทริปอย่าง ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร เล่าว่า “ผมเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมจากความเห็นแก่ตัว เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งแวดล้อมคือเรื่องใหญ่ของพวกเรา คิดง่ายๆ ว่าถ้าเราทำอะไรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนแรกที่ได้ผลประโยชน์คือคุณ

“ผมอาจจะใช้ชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าหลายคน แต่ผมทำเรื่อยๆ ผมไม่ได้ทำมากไปกว่าใคร แต่ผมไม่หยุด อะไรที่ผมทำได้ ผมก็ทำต่อไป ผมเป็นมนุษย์ Eco แบบมีกิเลส เพราะการเป็นคนดีตลอดร้อยเปอร์เซ็นต์คงยาก ตึง และอึดอัดเกินไป ผมรู้สึกว่าถ้างั้นผมทำอะไรที่ดีต่อตัวเรา อย่างการพกกระบอกน้ำไปทุกที่ เพราะช่วยเราประหยัดเงินด้วย

“หลายคนถามผมว่าจะสื่อสารให้คนทำตามได้อย่างไร วิธีการสื่อสารที่ดีที่สุดสำหรับผมคือการทำ ทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน ไม่ต้องไปบอกไปบังคับ เพราะถ้าเราทำ คนอื่นเห็น เขาก็จะทำตาม” ทุกคนพยักหน้าเห็นด้วยกับสิ่งที่ท็อปพูด เราต้องเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา ด้วยสองมือเล็กๆ ของเราเอง

ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา

ตอนนี้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเองก็กำลังเร่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเช่นกัน โครงการที่พาพวกเรามาหาเสม็ดในทริปนี้คือ Keep Thailand Beautiful หรือ “เก็บ” ไทยให้สวยงาม โดยมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย

ที่จับมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน กำหนด จัดทำแผนการดำเนินโครงการการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง

คืออุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติตะรุเตา อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

มาหา เสม็ด เรียนรู้คุณค่าทะเลผ่านการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบสิ่งรอบตัวเพื่ออนาคตของทะเล

เพื่อให้อุทยานแห่งชาติทั้ง 10 แห่ง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบที่ดีในการจัดการขยะมูลฝอย

โดยโครงการนี้เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งชุมชน ผู้ประกอบการบนเกาะ นักท่องเที่ยว ตลอดจนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยกันสร้างการรับรู้และให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาขยะในเขตอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีความตระหนักในผลกระทบ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อไป

พี่เอ็ด-นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายให้ฟังว่า “การเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยว นำมาซึ่งผลกระทบโดยเฉพาะเรื่องของขยะ ในแต่ละปีอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 1 ล้านคน

พี่เอ็ด-นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด

“มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทยจึงทำงานร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยว ซึ่งมีกลไกในการจัดการขยะที่ยั่งยืน ผ่านโครงการ “เก็บ” ไทยให้สวยงาม

“จากเดิมเกาะเสม็ดเคยมีปัญหาค่อนข้างเยอะ แต่ปัจจุบันหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างลุกขึ้นมาจับมือกันแก้ปัญหา และสร้างการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ จึงคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสดีที่จะพาผู้ร่วมทริปร่วมถึงผู้อ่านมาทำความเข้าใจความร่วมมือตรงนี้

“ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวอย่างพวกเราหันมาเดินทางท่องเที่ยวด้วยวิถีใหม่ เพื่อทำให้เกิดขยะจากการท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด”

สิ่งที่เราเห็นในทริปนี้ เป็นเพียงการขยับเดินก้าวแรกเท่านั้น ยังมีหนทางอีกยาวไกลที่พวกเราจะต้องร่วมกันเดินไปให้ถึง 

เกาะเสม็ดและประเทศไทยกำลังเกิดความเปลี่ยนแปลง และเราในฐานะนักท่องเที่ยวก็คือส่วนสำคัญในการช่วยผลักดันความเปลี่ยนแปลงนั้นเช่นกัน แล้วคุณพร้อมไหม ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน

ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา

Writers

Avatar

มิ่งขวัญ รัตนคช

อดีต Urban Designer ผู้รักการเดินทางสำรวจโลกกว้าง สนใจงานออกแบบเชิงพฤติกรรมมนุษย์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากน้ำหยดเล็กที่ไหลมารวมกัน

Avatar

ชนัญชิดา วัฒนศิลป์

นักศึกษานอกห้องเรียน ผู้ชอบฟัง กับนั่งปั่นความคิด ชอบแลกเปลี่ยนทัศนคติ สนใจใคร่รู้ความรู้สึกนึกคิด กำลังสะกิดโลกคับแคบของตัวเอง

Photographer

Avatar

ปวรุตม์ งามเอกอุดมพงศ์

นักศึกษาถ่ายภาพที่กำลังตามหาแนวทางของตัวเอง ผ่านมุมมอง ผ่านการคิด และ ดู