‘ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์’ คงไม่ใช่ภาพแรกในความคิดเมื่อเรากล่าวถึงโบสถ์คาทอลิกของผู้นับถือคริสต์ศาสนา ดูเหมือนว่าลายไทยหรือลายกนกแบบที่คุ้นชินนั้นเชื่อมโยงเราไปถึงศาสนสถานแบบพุทธเสียมากกว่า

อันดับแรก ลองมาดูความเป็นมาของ ‘เครื่องบน’ อันหมายถึงเครื่องประดับบนหลังคาอย่างไทย ๆ กันก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

เครื่องบนที่กล่าวถึงนี้คือชิ้นส่วนที่อยู่ปลายหลังคา เพื่อปิดหน้าจั่วให้เรียบร้อย ประโยชน์หลักคือเพื่อป้องกันน้ำฝนไหลเข้าไปในหลังคา หรือกันนกและสัตว์ต่าง ๆ ที่อาจมุดเข้าไปในหลังคาได้ ถือเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมชิ้นหนึ่งที่ทำให้อาคารนั้นงดงามยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่ สังเกตได้ง่าย สร้างภาพจำให้อาคารนั้นได้เป็นอย่างดี

นอกจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว ครูช่างทางสถาปัตยกรรมมักอธิบายคติและความหมายที่ซ่อนไว้ในลวดลายศิลปะที่เกิดขึ้นว่า ที่เขาแกะสลักให้เป็นรูปคล้ายพญานาค คล้ายครุฑ มีรวยระกาหรือส่วนที่คล้ายลำตัวของนาค ส่วนเกล็ดหลังคาที่คล้ายปีกของนก สอดคล้องกับตามตำนานเรื่อง ครุฑยุดนาค ในความเชื่อฝั่งตะวันออก จนกลายเป็นประเพณีนิยมที่เราคุ้นเคยเมื่อนึกถึงโบสถ์พุทธหรือวัดไทย ก็มักจะนึกถึงช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นอันดับแรก

แต่เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้ถูกหยิบยืมใช้ในงานสถาปัตยกรรมของคริสต์ศาสนา ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย ครั้งนี้เลยออกเดินทางค้นหาโบสถ์คาทอลิกที่ออกแบบให้ผสมผสานและเติมแต่งลวดลายไทยเข้าไป พบว่ามีหลายแห่งที่ประยุกต์ลวดลายไทยได้อย่างกลมกลืน เช่น เปลี่ยนช่อฟ้าเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน การใช้บัวหัวเสาที่ลดทอนรายละเอียดให้เรียบง่ายขึ้น หรือประดับตกแต่งภายในแบบไทยประเพณีให้สัมพันธ์กับรูปลักษณ์ภายนอก

โดยรวม ๆ แล้ว การแลกเปลี่ยนรูปแบบศิลปกรรมแบบนี้เกิดขึ้นได้ทั่วไป สันนิษฐานว่าอาจต้องการสร้างอาคารให้กลมกลืนกับบริบทของสังคมเดิม หรือเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบที่หยิบจับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมมาตีความใหม่ ไม่เพียงแต่โบสถ์คาทอลิกทรงไทยเท่านั้น โบสถ์พุทธอย่างวัดนิเวศธรรมประวัติ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผสมผสานศิลปะแบบประเพณีนิยมกับศิลปะแบบตะวันตกเข้าด้วยกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

โบสถ์พระมหาไถ่ ก่อสร้างราวต้น พ.ศ. 2497 ภายใต้การควบคุมงานของสถาปนิกชาวอิตาเลียน อาชิเนลลี ต่อมา เมื่อมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ทำให้เครื่องบนหลังคาและค้ำยัน (คันทวย) เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

วัดคาทอลิก นักบุญยาโกเบ จ.สมุทรสงคราม เป็นโบสถ์คาทอลิกผสมผสานศิลปะไทย-จีน-ฝรั่ง อยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง สร้างขึ้นโดย คุณพ่ออันเดร เช็กกาเรลลี เมื่อ พ.ศ. 2499

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง
พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

วัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง จ.สมุทรสงคราม วัดเล็ก ๆ ระหว่างสมุทรสงครามและเพชรบุรี มีองค์ประกอบลวดลายที่แสดงออกอย่างซื่อตรงและเรียบง่าย เดิมเคยเป็นสีขาว เพิ่งมาทาสีน้ำเงินสดใสแบบนี้เมื่อไม่นาน

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง
พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

วัดนักบุญปีโอที่ 10 (พังขว้างเหนือ) จ.สกลนคร วัดนี้มีการลดชั้นหลังคา 3 ชั้น หลังคาผืนใหญ่สุดแบ่งเป็น 4 – 3 – 2 ตับตามลำดับ คล้ายวัดพระมหาไถ่ แต่ลดขนาดลงมามาก 

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง
พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

วัดนักบุญอันนา กุมภวาปี จ.อุดรธานี วัดนี้ก่อสร้างเรียบง่าย หลังคาทำคล้ายศาลาไทยซ้อนกัน 2 ชั้น 

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง
พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง จ.จันทบุรี ตั้งอยู่ในชุมชนชาวไทยเชื้อสายญวน ผังอาคารเป็นรูปไม้กางเขนขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นที่โครงสร้างหลังคาที่เป็น Truss ไม้เพื่อคลุมพื้นที่กว้าง ๆ โดยไม่มีเสาภายในให้เกะกะ

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง
พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง กรุงเทพฯ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมค่อนข้างหนักแน่น เป็นแบบคอนกรีตที่ลดทอนรายละเอียดให้ดูแข็งแรงยิ่งขึ้น

พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง
พิธีบวชพระของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วยวิธีแบบไทยๆ, บวชบาทหลวง

วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ จ.ชลบุรี อาคารนี้เป็นโบสถ์หลังที่ 3 ของวัด ก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2503 – 2507 โดย บาทหลวงเอวเยน บุญชู ระงับพิศม์ อาคารค่อนข้างใหญ่ แสดงให้เห็นถึงชุมชนชาวคาทอลิกที่มีจำนวนหลายหลังคาเรือน ผังพื้นเป็นรูปไม้กางเขน ประดับตกแต่งด้วยคอนกรีตลายไทยที่ลดทอนรายละเอียดเช่นกัน ภายในเคยมีซุ้มชิโบเรียม (Ciborium) ทรงไทยหลังคาจตุรมุข มีช่อฟ้าเป็นกางเขน ผนังด้านหลังของพระแท่นบูชาเป็นลายฉลุสีรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ ปัจจุบันนี้กำลังรื้อถอนเพื่อเตรียมสร้างโบสถ์หลังใหม่

Writer & Photographer

Avatar

วีระพล สิงห์น้อย

ช่างภาพสถาปัตยกรรม และเจ้าของเพจภาพถ่ายอาคารเปี่ยมเสน่ห์ชื่อ FOTO_MOMO