บริษัทไทยหลายแห่งส่งคนออกไปทำงานในต่างประเทศ 

สิ่งหนึ่งที่หลายบริษัทเจอ คือการดูแลพนักงานไทยและคนท้องถิ่นให้เป็นหนึ่งเดียวกัน 

งานส่วนนี้ท้าทายสำหรับฝ่าย HR อย่างยิ่ง

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานในไทยมา 40 ปี ปัจจุบันเรามีพนักงาน 6,000 คน 90% เป็นชาวต่างชาติ และมีเพียง 10% เป็นคนไทย ความท้าทายในการส่งพนักงานไปทำงานต่างประเทศ คือการปรับตัวของพนักงาน เนื่องจากมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม

BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ
BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ

ชนากานต์ นุ่นอ่อน Project Geologist – บ้านปูมองโกเลีย และ วิภาวรรณ โลกนิมิตร์ Mineral Geologist & Geotechnology – บ้านปูมองโกเลีย สองนักธรณีวิทยาไทยที่ทำงานสำรวจหาแหล่งแร่ ซึ่งเป็นธุรกิจของบริษัทบ้านปูในประเทศมองโกเลียมาแล้ว 7 ปี และ 13 ปีตามลำดับ ร่วมกับ วีระศักดิ์ ลันวงษา Mining Business – บ้านปูมองโกเลีย ทีมงานบ้านปูซึ่งทำงานเกี่ยวกับการสำรวจหาแหล่งแร่ ประเมินโครงการพัฒนาทรัพยากรแร่ในหลายประเทศ มาเล่าเคล็ดลับการดูแลคนของบ้านปูให้เราฟัง

หัวใจของงานนักธรณีวิทยา คือการออกสำรวจแหล่งพลังงาน เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  

ก่อนหน้านี้ชนากานต์เคยทำงานที่ประเทศออสเตรเลียในบริษัทอื่นมาก่อน ส่วนวิภาวรรณตั้งแต่จบมาก็ทำงานที่บริษัทบ้านปู เคยไปทำงานในประเทศอินโดนีเซียช่วงสั้น ๆ ประมาณปีกว่า 

แต่นั่นก็ไม่เหมือนกับประเทศที่ชนากานต์และวิภาวรรณได้ไป นั่นคือมองโกเลีย

BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ
วิภาวรรณ โลกนิมิตร์ (Mineral Geologist & Geotechnology บ้านปูมองโกเลีย)
BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ
วีระศักดิ์ ลันวงษา (Geology – Mining Business บ้านปูมองโกเลีย)
BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ
ชนากานต์ นุ่นอ่อน (Project Geologist บ้านปูมองโกเลีย)

งานหลักของทั้ง 3 คนคือการออกสำรวจ พวกเขาต้องพักในกระโจมที่เรียกว่า ‘เกอร์’ ต้องเผชิญฤดูหนาวที่ยาวนานถึง 6 เดือน อุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงที่พัก ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ มีฮีตเตอร์หรือเครื่องทำความร้อนใช้ในห้องนอน ห้องครัว และสำนักงานเท่านั้น ทุกคนต้องมีเตาอั้งโล่แบบที่คนท้องถิ่นใช้ติดตัวคนละเตาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย 

อากาศที่หนาวเย็นไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ทำงานยากขึ้นอีกหลายเท่าตัว อย่างการล็อกหินซึ่งเป็นการวิเคราะห์ชนิดแร่ในชั้นหิน ต้องใช้น้ำชะล้างตัวอย่างหินที่สกัดขึ้นมา เพื่อดูว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีแร่อะไรบ้าง อากาศที่หนาวจนติดลบทำให้มือเย็นมาก น้ำที่ใช้ก็ต้องต้มจนเดือดเพื่อเทราดลงบนหิน ต้องทำแบบนี้ทั้งวันเพื่อวิเคราะห์ตัวอย่างหิน 

ทุกคนในทีมต้องช่วยกัน แม้แต่คนขับรถก็ต้องมาช่วย ต้องเร่งรีบทำงานให้ทันกับน้ำร้อนที่จะจับตัวเป็นน้ำแข็งบนแท่งหินในไม่กี่วินาที เป็นงานที่ต้องแข่งกับเวลา ต่อสู้กับความหนาวเย็น และต้องร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นทีม

ทั้ง 2 สาวยืนยันหนักแน่นว่าไม่ได้ถึงขนาดว่าอยู่ไม่ได้ เพราะการมีเพื่อนร่วมงานที่ดีช่วยให้รู้สึกอุ่นใจได้มาก ถึงการเดินทางจะลำบาก งานจะยาก แต่ก็ทำงานอย่างมีความสุข

คนบ้านปูไม่รู้สึกหนักใจหรือกังวลใจเมื่อต้องย้ายไปทำงานต่างประเทศ เพราะด้วยบรรยากาศและวัฒนธรรมการทำงานที่เรียกว่า ‘Banpu Heart’ 

ที่มองโกลเลีย เรามีมีวิธีการพิเศษที่ทำให้คนไทยและคนท้องถิ่นในต่างประเทศรู้สึกเป็นญาติและครอบครัวเดียวกัน 

จุดนี้อาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีผลกับความรู้สึก เช่น การเรียกเจ้านายด้วยสรรพนามว่า ‘เฮีย’ ซึ่งในที่นี่หมายถึง ดำรง ชันทอง Country Head ของบ้านปูมองโกเลีย

ดำรงเล่าว่าพนักงานหลายคนที่มาทำงานต่างประเทศ ต้องให้กำลังใจเยอะมากเป็นพิเศษ เขามักจะพูดให้พวกเขาเกิดแรงฮึดในการทำงานเสมอ “ไม่มีคำว่าเส้นชัยในประวัติศาสตร์บ้านปู เส้นชัยของบ้านปูขยับไปเรื่อย ๆ จากโอกาสใหม่ ๆ ที่เข้ามาเสมอ” ดำรงเล่า

พนักงานทุกคนผูกพันเหมือนญาติในบ้าน ชวนกินข้าวเย็นร่วมกันทุกวัน เวลาเดินทางจะคอยถามว่าถึงสนามบินแล้วหรือยัง

ไปเที่ยวผับต้องขออนุญาตเฮียก่อน เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในย่านอันตรายหรือเปล่า ถ้ามีคนไปส่งที่บ้าน รุ่นพี่จะถามว่ากลับถึงที่พักแล้วหรือยัง 

BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ
ดำรง ชันทอง (เฮียดำ) Country Head – บ้านปูมองโกเลีย

จะว่าไปก็เหมือนเอาวิธีการดูแลเพื่อนร่วมงานแบบไทย ๆ มาใช้ในต่างประเทศ ชนากานต์รู้สึกว่าการทำงานที่บ้านปูเหมือนได้มาอยู่ในสถาบันการเรียนรู้ เรียกว่าได้ทั้งทำงานและเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง หรือ On-the-job Training กับรุ่นพี่ที่ทำงานมาก่อน ได้เข้าหลักสูตรฝึกอบรมที่มีเยอะมาก แถมยังได้เงิน นอกจากนี้ยังได้รับโอกาสในการเปลี่ยนสายงานไปทำงานด้านอื่นอีกด้วย

“ไม่ใช่ว่าการทำงานที่นี่จะไม่มีความขัดแย้ง ทุกคนสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันตลอดเวลา ก็เหมือนที่อื่น ๆ ตอนทำงานมีการเถียงกัน โต้แย้งกัน เห็นไม่ตรงกัน แต่สุดท้ายเราจะหาทางลงได้ เหมือนครอบครัวเดียวกันที่พี่น้องกันตัดกันไม่ขาด ต่อให้โต้เถียงกันยังไงเราก็ยังเป็นครอบครัวเดียวกัน 

“ไม่ใช่เฉพาะกับคนไทยเท่านั้นที่รู้สึกแบบนี้ คนต่างชาติที่ทำงานที่บ้านปูก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้อยู่ด้วยกันตามหน้าที่ แต่เราอยู่กันเป็นครอบครัวจริง ๆ”

BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ

“วัฒนธรรมการทำงานที่บ้านปูจึงหลอมรวมคนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา เข้าด้วยกันได้ ในบรรยากาศของการทำงานที่มีความเป็นครอบครัว ผู้บริหารระดับสูงหรือแม้กระทั่ง CEO จดจำพนักงานได้แม้ว่าจะไม่ได้เจอกันนาน เมื่อเจอกันก็ทักทายเหมือนเจอรุ่นน้องที่ไม่ได้เจอกัน เรื่องการจดจำพนักงานก็ไม่ใช่ว่าจำได้เฉพาะพนักงานคนไทยเท่านั้น เวลาเดินทางไปทำงานต่างประเทศก็จำพนักงานท้องถิ่นในประเทศนั้นได้ด้วย จำได้ว่ามาจากเมืองไหน แม้กระทั่งมีลูกกี่คนก็ยังรู้ เรียกว่ามีความเอาใจใส่เพื่อนร่วมงานเหมือนเป็นคนในครอบครัว ซึ่งวัฒนธรรมการทำงานเหล่านี้ เราไม่ได้ท่องจำ แต่เราทำให้ดู ทำมาตั้งแต่ผู้บริหารรุ่นแรก น้อง ๆ เห็นก็ทำตาม” 

ธุรกิจที่ขยายไปต่างประเทศ องค์กรต้องมีความพร้อมหลายด้าน ธุรกิจจึงประสบความสำเร็จ สำหรับบ้านปู ที่นี่คิดว่าหัวใจสำคัญ คือคน 

ทุกคนมีตัวตน เปล่งประกายในแบบของตัวเองได้ องค์กรนี้เชื่อว่า ทุกคนจะเติบโตไปด้วยกัน

BANPU บริษัทที่ส่งนักธรณีวิทยาไทยทำงานไกลถึงมองโกเลีย ดูแลสาขาต่างชาติแบบใจ ๆ บ้าน ๆ

Writer

เพชร ทิพย์สุวรรณ

เพชร ทิพย์สุวรรณ

อดีต Corporate HR ที่ชอบอ่านหนังสือ ดื่มกาแฟกับเค้กอร่อยๆ พอๆ กับเล่า Tips and Techniques การทำงานผ่านงานเขียน ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant

Photographer

Avatar

นินทร์ นรินทรกุล ณ อยุธยา

นินทร์ชอบถ่ายรูปมาตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ซื้อฟิล์มให้ไม่ยั้ง ตื่นเต้นกับเสียงชัตเตอร์เสมอต้นเสมอปลาย เพื่อนชอบชวนไปทะเล ไม่ใช่เพราะนินทร์น่าคบเพียงอย่างเดียวแน่นอน :)