4 มิถุนายน 2018
3 K

เมื่อผลักประตูสู่ชั้น 10 บนดาดฟ้าของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ในโรงพยาบาลรามาธิบดี แทนที่จะพบลานปูนแข็งร้อนระอุ สิ่งที่ปะทะสายตาฉันกลับเป็นสีเขียวเย็นตาของต้นไม้นานาชนิดจากริมทางเดินคดโค้งและซุ้มไม้เลื้อย ไกลออกไปอีกหน่อยมีสีเขียวสดของสนามหญ้าโล่งกว้างรอทักทายอยู่

เหมือนไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล ฉันคิดอย่างนั้นขณะเงยหน้ารับสายลมเย็นที่โชยผ่านต้นไม้ใบหญ้า

นี่คือสวนแห่งล่าสุดของโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่กำลังจะเปิดใช้งานภายในปี พ.ศ. 2561 เป็นสวนบำบัดลอยฟ้าซึ่งทางโรงพยาบาลกลางเมืองแห่งนี้ร่วมสร้างสรรค์กับภูมิสถาปนิก LANDPROCESS เจ้าของผลงานอย่างอุทยานป๋วย 100 ปีที่ธรรมศาสตร์รังสิต 

แค่มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นก็น่าชื่นใจแล้ว แต่สวนขนาด 1,500 ตารางเมตรนี้ยังไม่ใช่แค่สวนหย่อมหรือสวนสาธารณะทั่วไป หากเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่ที่สุดในไทย ซึ่งมีคอนเซปต์คือ ‘สวนบำบัดคน สวนบำบัดเมือง’

สวนแห่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร มันเยียวยาเราและกรุงเทพฯ ได้ด้วยวิธีไหน ฉันมีโอกาสไปสนทนาเพื่อหาคำตอบกับศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ และอาจารย์กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกแห่ง LANDPROCESS ผู้มีอีกมิติของชีวิตเป็นนักศิลปะบำบัด

และนี่คือเรื่องราวพิเศษที่ซ่อนอยู่ในหมู่ไม้ของสวนดาดฟ้าแห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

ทางออกจากความเครียดในโรงพยาบาล

ในแง่หนึ่ง โรงพยาบาลคือศูนย์รวมความหวังผู้คน เพราะคนไข้ที่ก้าวเข้ามาล้วนหวังจะหายจากความเจ็บป่วย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าโรงพยาบาลยังเป็นศูนย์รวมความเคร่งเครียด ทั้งจากตัวผู้ป่วย คนใกล้ชิด รวมถึงบุคลากรในโรงพยาบาลที่เจองานหนักหน่วงอยู่ไม่ขาด

คุณหมอปิยะมิตร คณบดีโรงพยาบาลรามาธิบดีบอกฉันว่า ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งมีผู้ป่วยมาใช้บริการถึง 5,500 คนต่อวัน ทั้งที่พื้นที่เหมาะจะรองรับแค่ 3,500 คน เข้าใจปัญหานี้เป็นอย่างดี และตั้งใจจะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่ม ‘พื้นที่สีเขียว’ ซึ่งรู้กันดีว่ามีสรรพคุณช่วยคลายความเครียดให้ผู้คนได้

แต่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลรัฐอีกหลายแห่ง โรงพยาบาลรามาธิบดีประสบปัญหาไม่มีพื้นที่ให้ขยับขยาย เพราะตั้งอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างเล็กและมีสิ่งปลูกสร้างอยู่เต็มพื้นที่ ในที่สุด ทางโรงพยาบาลจึงเกิดไอเดียเปลี่ยนพื้นที่ซึ่งหลายคนอาจคิดไม่ถึงอย่าง ‘ดาดฟ้า’ ให้กลายเป็นสวน

นี่คือจุดกำเนิดของสวนบนดาดฟ้าขนาด 1,500 ตารางเมตรของอาคารใหม่ในโรงพยาบาลอย่างศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์

สวนที่เริ่มต้นด้วยหน้าที่พื้นที่สีเขียวสำหรับหย่อนใจทั่วไป แต่ต่อมาพัฒนาไปมากกว่านั้น

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

สวนบำบัดคน  

สวนบำบัดลอยฟ้าของโรงพยาบาลรามาธิบดีต่างจากสวนทั่วไป ตรงที่ตั้งอยู่ในบริบทของโรงพยาบาล พูดอีกอย่าง มันเป็นสวนที่ ‘ผู้ใช้’ มีคุณลักษณะพิเศษ นั่นคือประสบปัญหาความทุกข์ด้านร่างกายและจิตใจ

เพราะอย่างนั้นจะสร้างสวนเพื่อความรื่นรมย์ตามปกติก็ได้ แต่จะดีกว่าไหมถ้าพื้นที่สีเขียวแห่งนี้ไปได้ไกลกว่านั้น

นั่นคือที่มาของไอเดีย ‘สวนบำบัด’ หรือ healing garden สิ่งนี้อาจฟังดูเป็นศัพท์แปลกหูในเมืองไทย แต่ถ้าหันไปมองเทรนด์โลก การสร้างสวนบำบัดคือกระแสที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ เพราะโลกมองโรงพยาบาลด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป จากสถานที่เพื่อการรักษาทางการแพทย์สู่สถานที่เยียวยาแบบองค์รวมทั้งมิติกายและใจ

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

สวนบำบัดลอยฟ้าของโรงพยาบาลรามาธิบดีตั้งใจจะเป็นต้นแบบของการรักษาแบบองค์รวมในสถานพยาบาล เราจึงเห็นการออกแบบพื้นที่สีเขียวที่ตอบรับต่อ ‘การบำบัด’ ในหลากหลายแง่มุม

สวนแห่งนี้เน้นแนวคิดการใช้พลังธรรมชาติบำบัดผู้คนหรือ ecotherapy เราจึงเห็นพืชพรรณทั้งต้นไม้และดอกไม้ละลานตา โดยทั้งหมดเป็นต้นไม้ที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ไม่มีหนาม ไม่มีพิษ รวมถึงมีกลิ่นหอมและมีผิวสัมผัสหลากหลายเพื่อกระตุ้นการรับรู้ นอกจากนั้น ต้นไม้จะถูกยกขึ้นจากพื้นเพื่อให้ผู้ใช้อย่างคนชราไม่ต้องออกแรงก้มลงเพื่อสัมผัสธรรมชาติ   

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

ในส่วนหน้าตาของสวน สวนบำบัดลอยฟ้าตั้งอยู่บนพื้นที่รูปทรงกลม เส้นสายโค้งมน ช่วยให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวลอ่อนโยน ไม่แข็งกระด้างเหมือนรูปทรงที่มีเหลี่ยมมุม มีการใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น กำแพงดินที่มีการเพนต์ลายรูปดอกไม้ในสไตล์สีน้ำแสนอ่อนโยน

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

มากไปกว่านั้น สีสันหลักของสวนยังใช้สีม่วงหลายเฉด ซึ่งนอกจากเป็นสีประจำพระองค์ของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สีม่วงยังเป็นสีที่ใช้เพื่อสร้างบรรยากาศอบอุ่นผ่อนคลาย

จากองค์ประกอบในภาพรวม สวนบำบัดลอยฟ้าแบ่งลงลึกเป็นโซนสำหรับกิจกรรมต่างๆ เริ่มจากโซน ‘สวนไม้หอมและอักษรคนตาบอด’ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินกายภาพบำบัดที่โรยพื้นด้วยกรวดหลายขนาด เพื่อเป็นการกดจุดใต้ฝ่าเท้าขณะเดิน ริมทางเดินมีราวจับสำหรับพยุงตัว ซึ่งมีความพิเศษซ่อนอยู่คือมีผิวสัมผัสเป็นอักษรเบรลล์ เนื้อหาคือบทเพลง ‘รัก’ ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีเนื้อหาและท่วงทำนองรื่นรมย์

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

ต่อจากนั้นคือโซน ‘ซุ้มไม้เลื้อยม่วง’ ซึ่งเป็นโซนทางเดินที่โอบล้อมเป็นอุโมงค์ และซุ้มบังแดดที่มีไม้เลื้อยดอกสีม่วงสวยคอยให้ร่มเงา ทางเดินนี้นำเราไปสู่ลานกิจกรรมขนาดใหญ่ตรงกลางสวน ที่เป็นสนามหญ้าเขียวขจี รองรับการใช้งานของคนได้ถึง 200 คน

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

ถัดมาคือ ‘สวนเกษตรลอยฟ้า’ ที่ชวนให้ผู้ใช้ของโรงพยาบาลมาปลูกผักบำบัด สัมผัสดิน สัมผัสต้นไม้ แนวพื้นที่ปลูกผักถูกยกสูงในระดับที่ผู้ใช้รถเข็นร่วมกิจกรรมได้สะดวก และนอกจากช่วยบำบัดกายใจ สวนเกษตรนี้ยังเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย รวมถึงห้องเรียนรู้เรื่องสมุนไพรด้วย

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

ยังไม่หมดเท่านั้น พื้นที่ของสวนยังถูกแบ่งเป็นโซนกิจกรรมแยกย่อย เช่น โซนเล่นหมากรุกสำหรับคนไข้ผู้สูงอายุไว้ฝึกสมอง โซนกระบะทรายสำหรับเด็กๆ โซนลานรูปวงกลมที่มีพื้นผิวเป็นหินกรวดไว้สำหรับบำบัดใจด้วยการเดินเนิบช้าทำสมาธิ โซน ‘อัฒจันทร์วงกลมกลางแจ้ง’ ไว้สำหรับจัดกิจกรรมการแสดง โดยผู้ใช้รถเข็นก็สามารถเข็นผ่านทางเดินที่ออกแบบอย่างดีไปร่วมชมได้ รวมถึงโซน ‘ห้องไม้ดอก’ ห้องอเนกประสงค์ที่ตกแต่งด้วยภาพพรรณไม้ 9 ชนิด ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ ‘ดอกกันภัยมหิดล’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

ด้วยเหตุนี้ สวนบำบัดลอยฟ้าของโรงพยาบาลรามาธิบดีจึงเป็นมากกว่าแค่สวนในความหมายทั่วไป แต่เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพเต็มเปี่ยมในการฟื้นฟูกายใจผู้ใช้บริการและบุคลากรโรงพยาบาล

และที่พิเศษกว่านั้นคือ สวนแห่งนี้ไม่เพียงบำบัดคน แต่ยังตั้งใจ ‘บำบัดเมือง’ ไปพร้อมกัน

สวนบำบัดเมือง

โรงพยาบาลรามาธิบดีมีนโยบายที่จะสร้าง ‘โรงพยาบาลสีเขียว’ หรือ green hospital อย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือเหตุผลที่พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่นี้ทำหน้าที่มากกว่าแค่บำบัดผู้คน

อย่างแรกสุด สวนบำบัดลอยฟ้าถือเป็น ‘หลังคาสีเขียว’ ที่ช่วยลดอุณหภูมิของอาคารและยืดอายุการใช้งานให้หลังคาของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

นอกจากนั้น สวนแห่งนี้ยังช่วยดูดซับน้ำฝนไม่ให้ไหลสู่เมืองโดยตรง เปรียบเหมือนแก้มลิงเล็กๆ ที่ช่วยซับน้ำให้เมืองใหญ่ ขณะที่พืชพรรณนานาชนิดในสวนช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและฟอกอากาศของกรุงเทพฯ

บนดาดฟ้าที่กลายเป็นหลังคาสีเขียวนี้ยังมีลาน Solar Cell ทำให้ที่นี่ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อประหยัดพลังงานให้แก่โรงพยาบาลได้

อีกส่วนที่โดดเด่น คือการนำขยะจากโรงพยาบาลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ขยะอินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ในสวนงอกงาม ส่วนขยะอนินทรีย์อย่าง ‘ถุงน้ำเกลือ’ ซึ่งถือเป็นขยะสะอาดนั้นแปลงร่างกลายเป็นโซน ‘ผนังถุงน้ำเกลือ’ ซึ่งเป็นผนังต้นไม้ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากถุงน้ำเกลือใช้แล้วกว่า 700 ถุง

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

เมื่อดาดฟ้าโรงพยาบาลรามาฯ กลายเป็น ‘สวนบำบัดลอยฟ้า’ ใหญ่สุดในไทยที่ช่วยบำบัดทั้งคนและเมือง

ทั้งหมดนี้ทำให้เมื่อเดินสู่สวนบำบัดลอยฟ้าของโรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากสัมผัสได้ถึงพลังแห่งการบำบัดที่ชวนให้กายและใจสบาย เราจึงยังได้พบต้นแบบไอเดียการเยียวยาสิ่งแวดล้อมเมือง ที่น่าหยิบไปประยุกต์ใช้ทั้งในโรงพยาบาลอื่นและพื้นที่สาธารณะใกล้บ้าน

นับเป็นสวนซึ่งทำหน้าที่ ‘บำบัด’ เต็มความหมาย และช่วยให้เราเห็นว่า ‘สวน’ หนึ่งแห่งมีความเป็นไปได้ซ่อนอยู่มากมายเหลือเกิน

หากมองในภาพรวม จะเห็นได้ว่าสุขภาพที่ดีนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทุกคนมีส่วนในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้ด้วยการร่วมบริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ที่ยังขาดแคลนและจำเป็นอีกจำนวนมาก

มูลนิธิรามาธิบดีฯ ขอเชิญชวนบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ผ่านบัญชีมูลนิธิรามาธิบดีฯ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่ 026-3-05216-3 ธ.กรุงเทพ สาขาศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (รพ.รามาธิบดี) เลขที่ 090-3-50015-5 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0 2201 1111  และ www.ramafoundation.or.th

Writer

ธารริน อดุลยานนท์

ธารริน อดุลยานนท์

สาวอักษรฯ ผู้หลงรักการเขียนเสมอมา และฝันอยากสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ด้วยสิ่งที่มี ณ จุดที่ยืนอยู่ รวมผลงานการมองโลกผ่านตัวอักษรไว้ที่เพจ RINN

Photographer

Avatar

ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข

ช่างภาพ นักออกแบบกราฟิก นัก(หัด)เขียน โปรดิวเซอร์และผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์ และอื่นๆอีกมากมายแล้วแต่ว่าไปเจออะไรน่าทำ IG : cteerapan