นอกจากพาสาน ลานสาธารณะดีไซน์สุดเท่ผสานแม่น้ำสองสีจะกลายเป็นหมุดหมายใหม่เมื่อนึกถึงจังหวัดนครสวรรค์แล้ว ตอนนี้มีแลนมาร์กใหม่ยิ่งกว่าเป็นเหตุผลให้แวะเมืองที่ใครต่างมองเป็นทางผ่าน นั่นคือ ‘คลองญวนชวนรักษ์’ หรือ เกาะญวน พื้นที่สาธารณะกว่า 300 ไร่ ระยะทางโดยรอบ 2.4 กิโลเมตร ที่ชวนให้คิดถึงกลิ่นอายแบบคลองเกาหลีนิดๆ 

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

ชื่อน่ารักของคลองญวนชวนรักษ์นี้มาจากการประกวดตั้งชื่อคลองเกาะญวนให้กิ๊บเก๋ของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ หมายถึง คลองและพื้นที่บริเวณเกาะ (ญวน) เป็นพื้นที่และลำน้ำไว้รับน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยทางเทศบาลนครนครสวรรค์สร้างขึ้นเพื่ออยากเชิญ (ชวน) ให้ประชาชนร่วมกันเห็นถึงความสำคัญ และร่วมกันอนุ (รักษ์) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ไม่รอช้า เรารีบเดินทางสู่เมืองปากน้ำโพ ชวน คุณจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครสวรรค์ มาพูดคุยถึงแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ปล่อยร้างสู่พื้นที่สาธารณะกลางเมือง กล้าเลี้ยงปลาคาร์ฟพิสูจน์ศักยภาพการบำบัดน้ำ ผูกโยงเรื่องสิ่งแวดล้อม และคิดไกลไปถึงการเป็น Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนนครสวรรค์อย่างแท้จริง

คุณจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครสวรรค์

เกาะญวนชวนคุย

ขออธิบายที่มาที่ไปของเกาะญวนแบบย่นย่อ เกาะญวนคือบริเวณที่อยู่อาศัยของก๊กกลุ่มชาวญวนที่ถูกแม่น้ำตัดขาด จนกลายเป็นเกาะแถบบริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งผสานแม่น้ำสองสายทั้งปิงและน่านเอาไว้

ถ้าจะเท้าความต่อไป คนญวนอพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยความเป็นเมืองปากน้ำ มีการเดินทางหลั่งไหลของผู้อพยพมากเชื้อชาติ ทำให้จังหวัดนครสวรรค์รวบรวมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้งญวน มอญ ลาว และจีน ถึงขนาดมีคนจีนมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ

ย้อนกลับมาที่ต้นเรื่อง เมื่อน้ำเซาะตลิ่งมากเข้า ชาวญวนก็ย้ายหนีหายไป จนพื้นที่ตรงเกาะนี้รกร้างว่างเปล่า และหากชาวบ้านต้องการสัญจรเดินเท้าไปที่อีกฟากหนึ่ง สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือพาดสะพานไม้เล็กๆ ระหว่างเกาะญวนเพื่อข้ามไป แค่คิดภาพตามก็เสียวสันหลัง เพราะคอยลุ้นว่าจะรอดหรือร่วง ส่วนรถที่สัญจรไปมาก็ต้องขับอ้อมเกาะกันไปไกลกว่าจะข้ามมาอีกฟากเกาะได้

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

โครงการตั้งต้นจึงเกิดขึ้นจากการคิดสร้างถนนให้ทั้งรถและคนสัญจรไปมาได้สะดวกขึ้นของทางเทศบาลนครนครสวรรค์ จากนั้นการพัฒนาพื้นที่ร่องน้ำด้านในเกาะญวนจึงถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2549 โดยจัดตั้งโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำต้นแม่น้ำเจ้าพระยา เทศบาลนครนครสวรรค์ เพื่อเริ่มโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำและเสร็จสิ้นในเวลา 4 ปี จากนั้น เมื่อ พ.ศ. 2553 โครงการสร้างถนนเพื่อเป็นกำแพงกันน้ำท่วมและกันน้ำเซาะตลิ่งก็เกิดขึ้นตามมา

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว
คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

“โรงบำบัดน้ำแห่งนี้บำบัดน้ำเสียเป็นน้ำใสได้วันละสามหมื่นหกพันคิวต่อวัน น้ำที่บำบัดแล้ว เราก็ทดสอบอย่างดีก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำไปเรื่อยๆ เราเริ่มคิดว่าจะนำน้ำที่รีไซเคิลแล้วไปใช้ยังไงต่อได้บ้าง และเราก็อยากโชว์จุดเด่นเรื่องการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนนี้ เลยคิดพัฒนาเกาะญวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยเลย

“ปกติที่อุทยานสวรรค์ สวนสาธารณะที่อยู่ใจกลางเมือง ต้องสูบน้ำจากแม่น้ำเข้าไปใช้ตลอด แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้ว เรานำน้ำที่บำบัดแล้วไปใช้ในอุทยานด้วย” คุณจิตตเกษมณ์อธิบายที่มาที่ไปของโครงการพัฒนาพื้นที่ร่องน้ำเกาะญวน

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

บำบัดน้ำชวนดู

อย่างที่ทราบกันดีว่าการบำบัดน้ำเสียไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะน้ำที่ปนเปื้อนมากับสิ่งปฏิกูลและขยะน้อยใหญ่นานาชนิด

“มีเป็นร้อยโครงการที่เขาทำแล้วล้มเหลว ใช้ได้จริงแค่สามสิบถึงสี่สิบโครงการ และใช้ได้แค่บางครั้งบางคราวเท่านั้น ถ้าจะใช้ได้ตลอดทุกวันอย่างเรามีแค่ห้าแห่งเท่านั้นในประเทศ” นายกเทศมนตรีว่าก่อนพาเราเข้าโรงบำบัดน้ำฝั่งตรงข้ามคลอง เพื่อไปดูกระบวนการการบำบัดน้ำ

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

เล่าแบบง่ายๆ เหมือนเล่นเกม 5 ด่าน เริ่มจากด่านแรกการคัดแยกขยะทั้งชิ้นใหญ่และเล็ก ขอบอกเลยว่าเห็นทั้งรองเท้าลอยน้ำมา และอีกสารพัดที่นับว่าเป็นสิ่งอันไม่พึงประสงค์ 

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

ด่านที่ 2 คือการคัดแยกกรวดทราย คล้ายการกวนให้ตกตะกอนนอนก้น ปล่อยให้น้ำดีลอยไป 

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

ด่านที่ 3 บ่อบำบัดทางชีวภาพ เราจะเห็นน้ำผุดจากการเติมออกซิเจนและจุลินทรีย์ลงไปกินเหล่าสารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดน้ำเสีย เมื่อจุลินทรีย์อิ่มหนำแล้วจะตัวหนักดำดิ่งสู่เบื้องล่าง เหลือออกมาแต่น้ำใสสะอาด 

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

ด่านที่ 4 เมื่อน้ำใสก็ต้องไม่ลืมเติมคลอรีนฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ยังเหลือ ปล่อยน้ำให้ไหลไปตามทางซิกแซก ทดลองเลี้ยงปลาก็พบว่าปลาคาร์ฟอยู่ได้ รู้เลยว่าน้ำสะอาดขึ้นแล้วจริงๆ 

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

และด่านท้ายที่สุด น้ำที่ได้ออกมาจะไม่ใสแจ๋วเหมือนน้ำในสระ แต่ก็เป็นไปตามลักษณะตามธรรมชาติของน้ำที่ดี 

ทั้งค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) อยู่ที่ 9.0 ซึ่งต้องมีค่าน้อยกว่า 20 ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าฟอสฟอรัสทั้งหมด ค่า COD (Chemical Oxegen Demand) และอีกหลายเกณฑ์วัดล้วนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีทีมวิจัยน้ำคอยปรับปรุงคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว
คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

น้ำดีหลังผ่านกระบวนการทั้งหมดจะถูกส่งไปยังแปลงผักสวนครัวในโรงบำบัดที่ขึ้นอยู่เขียวชอุ่ม และลำเลียงส่วนอื่นไปใช้รดน้ำต้นไม้ทั่วทั้งเมือง ทั้งในอุทยานสวรรค์ เกาะกลาง ล้างทำความสะอาดถนน และไปถึงคลองญวน ส่วนของปุ๋ยอินทรีย์จากจุลินทรีย์ถูกนำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน แปลว่าทุกส่วนจากการบำบัดน้ำเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น 

โรงบำบัดน้ำที่นี่ยังเปิดให้เด็กๆ เข้ามาเรียนรู้ได้อีกด้วย เสมือนเป็นการสอนวิชารักษาสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน ว่าเด็กๆ ไม่ควรทิ้งขยะลงไปในแหล่งน้ำ แม่น้ำก็ดี ท่อระบายน้ำก็ดี เพื่อให้เขากลับบ้านไปบอกคุณพ่อคุณแม่ พี่ป้าน้าอา อีกต่อถึงสิ่งที่พวกได้เรียนรู้นี้ นับว่าเป็นกระบวนการที่คิดมาอย่างเป็นระบบ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างครบถ้วน

สิ่งที่น่าสนใจคือ เทศบาลนครสวรรค์ผลิตน้ำประปาใช้เองได้วันละ 40,000 – 50,000 คิวต่อวัน ทำให้มีน้ำประปาใช้ในราคาถูกที่สุดในประเทศ รวมถึงกระจายไปยังเขตอื่นๆ ได้ด้วย และหลังจากดื่มใช้กัน ก็นำมาบำบัดเพื่อรีไซเคิลต่อ ทำให้น้ำไม่เหลือทิ้งและใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งหมด

คลองญวนชวนชม

ด้วยกลยุทธ์การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียให้อยู่ใจกลางเมือง ทำให้เป็นต่อเรื่องการนำน้ำกลับมาใช้

เมื่อน้ำดีแล้ว ขั้นต่อไปจึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ชาวนครสวรรค์ได้เห็นศักยภาพของน้ำ และสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะด้วย จึงเกิดเป็นแนวคิดโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบเกาะญวนให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีลานจัดกิจกรรมเล็กๆ ให้นั่งชมดนตรีได้ มาปั่นจักรยานหรือเดินออกกำลังกายได้ และอีกนัยหนึ่ง พื้นที่แห่งนี้จะช่วยสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนโดยรอบ

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

หลังการนำเสนอความคิดต่อประชาชนผ่านผู้นำชุมชน ก็ทำให้รู้ว่าประชาชนเองก็อยากให้เกาะญวนเป็นพื้นที่สาธารณะของเมืองเช่นกัน

และไฮไลต์ของที่นี่ คือการเลี้ยงปลาคาร์ฟ

“ปลาคาร์ฟมันจะอยู่ในน้ำสกปรกยาก การทำให้คนเชื่อว่าน้ำคุณภาพดีจนสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก็ต้องเลี้ยงปลา ซึ่งนี่แสดงให้เห็นศักยภาพของน้ำที่ปล่อยลงในคลองญวนชวนรักษ์ว่าสะอาดขนาดไหนได้

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

“ถ้าไม่มี COVID-19 ช่วงสุดสัปดาห์คนจะเต็มเลย คนมาให้อาหารปลา ร้านค้าแถวนี้ก็มีรายได้ โดยเฉพาะช่วงเย็นคนจะมาออกกำลังกาย มาถ่ายรูปกันมันก็ยิ่งคึกคัก ผมเห็นหลายคนมาจากต่างจังหวัด ตั้งใจว่าจะมาดูที่นี่และพาสาน เพราะเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่พื้นที่สาธาณะอยู่ต้นแม่น้ำสายหลักของประเทศ และมีสวนสาธาณะคลองจากโรงบำบัดน้ำเสีย” คุณจิตตเกษมณ์เล่าต่อ

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

นอกจากปลาคาร์ฟ ยังมีปลาไทยอีกหลายสายพันธุ์ทั้งปลาบึก ปลาสวาย ตะเพียน ตะเพียนทอง ยี่สกไทย ปลาแก้มช้ำ ปลาโพง นับรวมๆ กว่า 20,000 ตัวที่คัดมาแล้วว่าจะอยู่ด้วยกันอย่างเป็นมิตร รวมถึงมีการทดลองเลี้ยงในน้ำจากศูนย์บำบัดกว่า 1 ปี จนมั่นใจแล้วว่าปลาอาศัยอยู่ได้จริงจึงนำมาปล่อย

อีกข้อสงสัยเรื่องการจัดการน้ำเพื่อการรับมือน้ำท่วมในฤดูฝน นายกเทศมนตรีอธิบายว่า 

“ลักษณะของคลองญวนชวนรักษ์แบ่งออกเป็นช่วงหัวเกาะที่มีน้ำตกและส่วนท้ายเกาะที่มีน้ำพุ ซึ่งออกแบบเพื่อรับมือเวลาหน้าน้ำไว้แล้ว เราให้หัวเกาะและท้ายเกาะบล็อกน้ำเอาไว้ ระหว่างทางมีหินกั้นเพื่อความสวยงามและใช้ชะลอน้ำได้ด้วย ส่วนริมฝั่งคลองที่เห็นเป็นผนังคอนกรีตป้องกันการกัดเซาะ แต่ด้านล่างเป็นทรายธรรมชาติทั้งหมด เวลาน้ำมาจะซึมเข้าออกแม่น้ำได้ และเรามีทำระบบสูบระบายน้ำไว้ช่วยอีกทาง”

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

มากไปกว่าการเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและทำกิจกรรม อีกสิ่งหนึ่งที่ทางเทศบาลนครนครสวรรค์อยากสื่อสารคือการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยพลังงานที่ใช้ภายในคลองญวนชวนรักษ์ทั้งหมดมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้รอบๆ คุณจิตตเกษมบอกว่า ทุกโครงการที่เทศบาลฯ ทำเน้นเรื่องพลังงานสะอาดมาตลอดหลายสิบปี และที่ผ่านมาเทศบาลนครนครสวรรค์ ได้รับรางวัลรางวัลที่ 1 ระดับอาเซียน โครงการรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน ด้านน้ำ (ASEAN ESC AWARD 2014), รางวัลแนวคิดต้นแบบเมืองนิเวศ (Ecological City Eco-City) พ.ศ. 2561 โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวคิดต้นแบบเมืองนิเวศ (Eco-City) เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, รางวัลชนะเลิศ เทศบาลด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืนยอดเยี่ยมระดับประเทศ ประจำ พ.ศ. 2562 จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืนยอดเยี่ยมระดับประเทศ ประจำ พ.ศ. 2562 

ส่วนการออกแบบให้กลายเป็นพื้นที่ที่ใครก็มาใช้งานได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องรอง เห็นได้จากทางลาดลงคู่กับบันได

“Universal Design เป็นอีกเรื่องที่เราให้ความสำคัญ เพราะอยากให้เป็นสถานที่เพื่อทุกคน ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ควรลงมาที่นี่ได้” นายกเทศมนตรีย้ำ

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

คลองญวนชวนคิด

แม้คลองญวนชวนรักษ์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี อาจไม่ถึงครึ่งของแผนที่เทศบาลวางไว้และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2564 แต่ศักยภาพของคลองแห่งนี้ก็พาเมืองก้าวมาอีกขั้น มีทางเดินทอดสองฝั่งคลองให้คนได้สัญจรง่ายขึ้นและเป็นพื้นที่เพื่อส่วนรวม ไม่แน่ว่าในอนาคตข้างหน้าอันใกล้ เราอาจได้เห็นเลนจักรยานให้ได้ออกกำลังกายกันวันละ 2 รอบแบบไม่ต้องกังวล อาจมีแผงโซลาร์เซลล์เพื่อนำไฟฟ้าไปใช้ในโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ รวมถึงการทำทางเชื่อมไปยังพาสานบริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาได้ด้วย

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

“ตอนนี้อาจยังไม่ถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์เลยด้วยซ้ำ แต่เพราะเราเห็นคนเริ่มมาถ่ายรูปแล้วเขาก็ชอบ เลยเปิดให้เข้ามาใช้งานกัน จะเห็นว่ากำแพงก็ยังไม่มีอะไร 

“ฉะนั้น แผนในอนาคตเรามีหลายอย่างมาก คิดขนาดว่าอาจทำท่าเรือไหม ควรมีแพด้วยหรือเปล่า แต่เรือต้องเป็นพลังงานไฟฟ้านะ อาจจะจัดกิจกรรมทุกวันเสาร์หรืออาทิตย์ แต่ก็ยังต้องคอยดูเรื่องการรักษาความสะอาดด้วย”

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

ในการพัฒนาต่อไป พวกเขาก็ตั้งใจใส่ความเป็นจังหวัดนครสวรรค์ไปยังคลองญวนแห่งนี้ตามคำขวัญประจำจังหวัด 

เมืองสี่แคว พักผ่อนบึงบอระเพ็ด แห่มังกร ปลารสเด็ดปากน้ำโพ

“เราจะใช้ศิลปะบอกเล่าความเป็นนครสวรรค์ผ่านกำแพงที่ยังว่าง กำลังทำเรื่อยๆ วางแผนไว้ว่าอยากให้มีภาพปลาเสือตอ ปลาที่ผมเคยเห็นแล้วเลี้ยงในตู้ตอนเด็กๆ น่าเสียดายที่ทางประมงเพาะขึ้นมาไม่ได้ เดี๋ยวนี้มันก็หายไปหมด เลยอยากฟื้นคืนชีวิตของดีที่ขึ้นชื่อให้คนนครสวรรค์ได้รู้จัก รวมถึงสร้างศูนย์วัฒนธรรมเพื่อให้คนมาศึกษาเอกลักษณ์ที่นี่” 

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

การเห็นความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครนครสวรรค์จากการพัฒนาคลองญวนทั้งเรื่องการบำบัดน้ำและพลังงานสะอาด นำร่องไปสู่การจัดการขยะต่อ

“ล่าสุด ผมเซ็นสัญญาเรื่องนำขยะไปทำเชื้อเพลิง หรือ RDF (Refuse Derived Fuel) เพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าในอนาคตข้างหน้า จากกองขยะที่เราฝังกลบเป็นล้านตัน เราคิดว่าต้องเอาไปรีไซเคิลเป็นพลังงานได้”

ซึ่งการทำเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรทั้งน้ำ ไฟฟ้า และขยะ นั้นมีเหตุผล เพื่อเป็นสารตั้งต้นของการเป็น Smart City ในอนาคต

“เริ่มทำเรื่องนี้มาสองปีแล้ว ซึ่งเราได้รับใบประกาศรับรองจาก depa หรือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับเตรียมความพร้อมเป็น Smart City โดยต้องเริ่มต้นจากสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ก่อน เราเลยเข้ามาทำตรงนี้ ส่วนเรื่อง Smart อื่นๆ เช่น การติดกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ของเทศบาลทั่วเมือง การขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เราก็ทำอยู่ตลอด” คุณจิตตเกษมณ์ทิ้งท้าย

ไม่น่าเชื่อว่าคลองบนเกาะแห่งหนึ่งจะกลายเป็นต้นแบบของเมืองใหม่ในอนาคต มากกว่าเป็นแค่เรื่องพื้นที่สาธารณะ และเป็นตัวอย่างของการยึดเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนนครสวรรค์ให้ครบทุกมิติของชีวิต

คลองญวนชวนรักษ์ พื้นที่สาธาณะกลางนครสวรรค์ที่บำบัดน้ำเสียมาเลี้ยงปลาคาร์ฟ 2 หมื่นตัว

Writer

ฉัตรชนก ชโลธรพิเศษ

ฉัตรชนก ชโลธรพิเศษ

ชาวนนทบุเรี่ยน ชอบเขียน และกำลังฝึกเขียนอย่างพากเพียร มีความหวังจะได้เป็นเซียน ในเรื่องขีดๆ เขียนๆ สักวันหนึ่ง

Photographer

Avatar

ปฏิพล รัชตอาภา

ช่างภาพอิสระที่สนใจอาหาร วัฒนธรรมและศิลปะร่วมสมัย มีความฝันว่าอยากทำงานศิลปะเล็กๆ ไปเรื่อยๆ