ตาม The Cloud ไปเยี่ยมชมบ้านไม้สีขาวอายุ 100 กว่าปี ในสวนเขียวขนาด 22 ไร่ ใจกลางถนนวิทยุ ที่ตั้งของทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผ่านคำบอกเล่าของ ท่านทูตกลิน ที. เดวีส์ เจ้าบ้านผู้กำลังจะอำลาประเทศไทยกลับสู่สหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายน

พร้อมรับฟังเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี จาก ผศ. ดร.พีรศรี โพวาทอง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสถาปัตยกรรมโบราณ

ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังท่านทูตเล่าเรื่องราวเก่าแก่ให้ฟังกันเถอะ

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

  1. ปีนี้ครบรอบความสัมพันธ์ 200 ปี ไทย-สหรัฐอเมริกา โดยความสัมพันธ์เริ่มต้นขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 4 จากสนธิสัญญาเบาว์ริง เพื่อส่งเสริมการค้าและความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ใน พ.ศ. 2398 ต่อมาได้มีการตั้งสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยขึ้น เพื่อดูแลผลประโยชน์ของนักธุรกิจและพลเมืองอเมริกัน ในยุคแรก สหรัฐอเมริกามอบหมายให้มิชชันนารีที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วดำรงตำแหน่งกงสุล ที่คนไทยเรียก ‘หมอมัตตูน’
  2. ทำเนียบหลังนี้สร้างขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 หรือ 103 ปีก่อน เป็นอาคารยกพื้นสูง มีใต้ถุน หลังคาปั้นหยาใหญ่ มีห้องอยู่ตรงกลาง และมีระเบียงล้อมรอบ บ้านแบบนี้เรียกว่า ‘บังกะโล’ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่คนยุโรปสร้างในเขตร้อนชื้น เช่น แอฟริกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกแบบมาอย่างรอบคอบให้ไม่มีแดดส่อง แต่มีลมพัดผ่าน เพื่อให้ชาวยุโรปรอดปลอดภัยต่อโรคและความชื้นทางสภาพอากาศ

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

3. ผู้สร้างบ้านหลังนี้ที่ต่อมาถูกใช้เป็นทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย คือ นายโฮเรชีโอ เบลีย์ วิศวกรชาวอังกฤษผู้เกิดในช่วงกลางรัชกาลที่ 5  ผู้เป็นนักเผชิญโชค เขาย้ายข้ามน้ำข้ามทะเลมาทำงานที่บริษัท Bangkok Dock Company ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทอเมริกันแรกๆ ที่ดำเนินกิจการในสยาม จากนั้นย้ายมาทำงานที่โรงกษาปณ์ และสุดท้ายเปิดบริษัทชื่อ Siam Import นำเข้าสินค้าที่ผลิตในยุโรปและอเมริกาเข้าสู่พระนคร นอกจากนั้นยังรับราชกาลกรมมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานราชทินนามจากรัชกาลที่ 6 ว่า ‘พระปฏิบัติราชประสงค์’

4.สมัยแรกก่อสร้าง บ้านหลังนี้ถือว่าอยู่บ้านนอก เนื่องจากไกลจากย่านการค้าเจริญกรุง และเป็นบ้านหลังแรกๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในบริเวณนี้ ที่ถูกจัดสรรเป็นที่ดินสำหรับสร้างบ้านผู้มีอันจะกินและวังเจ้านายแต่ละพระองค์ เมื่อข้ามคลองขนาดเล็กที่ถูกขุดรอบรั้ว จะพบความอลังการของถนนที่ทอดยาวเข้าสู่ตัวบ้าน เป็นลักษณะการออกแบบพื้นที่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งความเป็นวังและความเป็นบ้านเริ่มผนวกเข้าหากัน

ปัจจุบันทำเนียบหลังนี้ทำหน้าที่บ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกามา 71 ปี ได้รางวัลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2527

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

5. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ยึดบ้านหลังนี้ แต่ไม่มีหลักฐานบันทึกว่าญี่ปุ่นใช้บ้านหลังนี้ทำอะไร นอกจากเป็นที่พักของทหาร ในปัจจุบันยังมีคราบน้ำมันที่เปื้อนกระเบื้องปูนอกชานและรอยไหม้จางๆ จากเตาถ่าน 1 – 2 รอยบนพื้นไม้สักอยู่

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายเอ็ดวิน สแตนตัน เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนแรก คือผู้เข้ามารื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และท่านทูตสแตนตันคือผู้มาเลือกบ้านหลังนี้เป็นทำเนียบ ที่ดินผืนนี้ปัจจุบันเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ และสถานทูตสหรัฐอเมริกาเช่าอีกทีหนึ่ง

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

6. ท่านทูตกลิน ที. เดวีส์ ชี้ให้ดูบานประตูด้านหลังห้องรับประทานอาหารบนชั้นสองของบ้าน มีการขูดสีออกให้เห็นสีเนื้อไม้ดั้งเดิมบางส่วน และยังร่องรอยสีฟ้าที่นางโจเซฟิน สแตนตัน ภริยาของนายเอ็ดวิน สแตนตัน เป็นผู้ผสมสีเพื่อทาลงบนบานไม้

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

ภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่ที่เห็นในบ้านเป็นของสะสมของภริยาท่านทูตกลิน ที. เดวีส์ เช่น ภาพสีชอล์กของแมรี เคแซต (Mary Stevenson Cassatt) ศิลปินหญิงชาวอเมริกัน นอกจากนี้ยังมีของสะสมอื่นๆ ที่น่าสนใจของท่านทูต เช่น หนังสือพิมพ์เก่าของ Chicago Daily Tribune ที่ลงพาดหัวผิดว่า Dewey Defeats Truman ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

7. มีความเป็นไทยซุกซ่อนอยู่ตามมุมต่างๆ ของตัวบ้าน เช่น บันไดขึ้นชั้นสองที่สร้างในลักษณะเหมือนเจาะพื้นแล้วเอาบันไดพาดเอาดื้อๆ แบบบ้านคนไทยสมัยก่อนเปี๊ยบ บ้านหลังนี้จึงถือเป็นบ้านฝรั่งที่มีความเป็นไทยอยู่ นายโฮเรชีโอ เบลีย์ เจ้าของบ้านคนแรก เป็นคนมีอารมณ์ขัน เขาจึงใส่อารมณ์ขันเข้ามาในบ้าน สังเกตได้จากงานปั้นหน้าคนอยู่ตรงโค้งเหนือหน้าต่าง ทุกหน้ามีจมูกแบบฝรั่งแต่มีตาแบบไทย แล้วก็มีใบหน้าที่แตกต่างกันหมด

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

8. ความโดดเด่นในแง่สถาปัตยกรรมของบ้านหลังนี้อีกอย่างหนึ่งคือความโปร่ง หน้าต่างทุกบานสามารถเปิดได้จนจรดพื้นเพื่อรับลม แต่ต่อมามีการติดกระจกรอบบ้าน และกั้นห้องใหม่ทั้งหมดเพื่อติดเครื่องปรับอากาศใน พ.ศ. 2516 โครงสร้างพื้นฐานของบ้านหลังนี้เป็นแบบเรือนไม้เขตร้อนดั้งเดิม ใช้ระบบเสาโครงค้ำยัน หนุนหลังคาและพื้นทั้งหมดด้วยโครงและเสา พอเวลาผ่านมา 1 ศตวรรษพื้นจึงเริ่มไม่ค่อยตรงเท่าไหร่

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

9. Guest House หลังเล็กที่ตั้งอยู่ในรั้วเดียวกันได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีเช่นเดียวกับทำเนียบหลังใหญ่ ออกแบบโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง สร้างโดยกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงต้นรัชกาลที่ 9 ใช้เป็นที่รับรองเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาเมื่อเดินทางมาเยือนประเทศไทย

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

10. ที่ดินทั้งแปลงนี้มีคูน้ำล้อมรอบ ศาลาหลังนี้เดิมเป็นศาลาสำหรับว่ายน้ำ และจัดงานปาร์ตี้ของนายโฮเรชีโอ เบลีย์ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่สีเขียวในรั้วทำเนียบทูตสหรัฐอเมริกา ทำให้มีสัตว์อาศัยอยู่มากมายตามธรรมชาติ ทั้งนก เต่า ปลา และงูเหลือม ซึ่งเลื้อยข้ามไปมาระหว่างที่นี่และสถานทูตดัตช์เพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

ส่วนสัตว์เลี้ยงประจำสถานทูตคือแมวขาวดำอายุประมาณ 13 ปี ชื่ออิซาเบล หรือเบลเบล ซึ่งภริยาท่านทูตรับมาเลี้ยงไว้นั่นเอง

ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกา, กลิน ที. เดวีส์, walk with the cloud,US Embassy

Writers

Avatar

มิ่งขวัญ รัตนคช

อดีต Urban Designer ผู้รักการเดินทางสำรวจโลกกว้าง สนใจงานออกแบบเชิงพฤติกรรมมนุษย์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากน้ำหยดเล็กที่ไหลมารวมกัน

ภัทรียา พัวพงศกร

ภัทรียา พัวพงศกร

บรรณาธิการ นักเขียน ที่สนใจตึกเก่า เสื้อผ้า งานคราฟต์ กลิ่น และละครเวที พอๆ กับการเดินทาง

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล