10 พฤศจิกายน 2020
9 K

‘La Dolce Vita’ เป็นภาษาอิตาเลียนแปลว่าชีวิตอันหอมหวาน

นี่เป็นสโลแกนแรกๆ ของ Vespa แบรนด์สกูตเตอร์จากประเทศอิตาลีที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1946 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

ตั้งแต่นั้นมา เวสป้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอิตาเลียน เป็นยานพาหนะคู่ใจหลบหนีการจราจรที่ติดขัด เป็นเพื่อนเดินทางไกลไปยังเมืองที่ไม่คุ้นชื่อ เป็นช่วงเวลาให้คู่รักได้อยู่ด้วยกัน เป็นการหลบหนีของหญิงสาวในสมัยอนุรักษ์นิยม เป็นการออกจากบ้านคนเดียวครั้งแรก เป็นตัวแทนของปู่ เป็นตัวแทนของพ่อ เป็นความพยายาม เป็นความสำเร็จ

เวสป้าเป็นอะไรหลายๆ อย่างให้คนทั่วโลกตลอด 74 ปีที่ผ่านมา

จนเมื่อ ค.ศ. 2010 เวสป้า ประเทศไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งภายใต้บริษัท Vespiario Thailand จากสกูตเตอร์ที่มีคนใช้งานแค่เฉพาะกลุ่ม กลายเป็นแบรนด์ที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ ด้วยยอดขายกว่า 120,000 คัน กับรถ 120 โมเดลใน 65 สีในเวลาเพียง 10 ปี

เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเวสป้า ประเทศไทย เราจึงขอนำ 10 เรื่องราวของแบรนด์ที่เชื่อในอิสรภาพ ความแตกต่าง และการแสดงออกถึงตัวตน ที่หล่อเลี้ยงความหอมหวานในชีวิตมาเล่าให้คุณฟัง

10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

1. บริษัทของเวสป้าเคยผลิตเครื่องบินรบและรถยนต์มาก่อน

เวสป้า เริ่มต้นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย Piaggio บริษัทผลิตเครื่องบินรบ เมื่ออิตาลีอยู่ฝั่งประเทศที่แพ้สงคราม รัฐบาลจึงบีบบังคับให้ธุรกิจประเภทนี้ปิดตัวลงแล้วไปทำธุรกิจอย่างอื่น เนื่องจากสินค้าประเภทนี้ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป Piaggio จึงต้องคิดค้นสินค้าใหม่เพื่อรักษาธุรกิจเอาไว้ เริ่มด้วยการเปลี่ยนไปทำรถยนต์ เพราะมีอะไหล่และชิ้นส่วนเหล็กจากการผลิตเครื่องบินอยู่แล้ว แต่ในตอนนั้นรถยนต์ก็ไม่ตอบโจทย์การเดินทางในอิตาลีที่การจราจรติดขัด และคนต้องการความรวดเร็วในการสัญจร 

2. นักออกแบบคนแรกของเวสป้าไม่ชอบมอเตอร์ไซค์

คอร์ราดิโน ดาสคานิโอ (Corradino D’Ascanio) คือนักออกแบบเวสป้าคนแรกที่ออกแบบเฮลิคอปเตอร์ของอิตาลีผู้ไม่ชอบมอเตอร์ไซค์เลยแม้แต่น้อย เขาจึงคิดคอนเซปต์ Car on Two Wheels พาหนะที่สะดวกสบายเหมือนรถยนต์ คนขี่นั่งขาคู่ เวสป้าจึงไม่ใช่มอเตอร์ไซค์ แต่เป็นสกูตเตอร์ มอเตอร์ไซค์มีเครื่องยนต์แรงกว่า ขับเคลื่อนด้วยโซ่ รูปลักษณ์พัฒนามาจากจักรยาน ขณะที่สกูตเตอร์ขับเคลื่อนด้วยสายพาน 

10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ในต่างประเทศ ผู้บริโภคสามารถแยกรถ 2 ประเภทได้ชัดเจน แต่ในประเทศไทย เวสป้าถูกรวมไปกับมอเตอร์ไซค์ตามรูปแบบการใช้งาน และเป็นโจทย์ใหญ่ในการทำงานของทีมการสื่อสารของแบรนด์ เพราะจริงๆ แล้วการดูแลรถ 2 ประเภทนี้ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ถ้าย้อนกลับไปในช่วงแรก สาเหตุที่เวสป้าเป็นเช่นนี้เพราะสกูตเตอร์ใช้สายพาน ซึ่งไม่มีน้ำมันเหมือนมอเตอร์ไซค์ และมีตัวถังเหล็กที่ครอบเครื่องยนต์ จึงไม่เลอะกระโปรงผู้หญิงขณะขับขี่ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้หญิงโดยเฉพาะยุค 60 และ 70 

3. Vespa แปลว่า ตัวต่อ

ในภาษาอิตาเลียน Vespa แปลว่า Wasp หรือตัวต่อ ชื่อนี้ได้มาจาก เอนริโก เพียโจ (Enrico Piaggio) ลูกชายของบริษัท Piaggio ที่เป็นเจ้าของแบรนด์เวสป้า หลังจากเห็นโปรโตไทป์ของสกูตเตอร์รุ่นแรกที่มีด้านหน้าแคบและด้านหลังกว้าง ลักษณะคล้ายตัวต่อไม่มีผิดเพี้ยน

4. เวสป้าเชื่อในความอิสระและการขบถต่อความธรรมดา

เวสป้าเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เรียกว่า ‘ไม่ตาย’ แม้รูปลักษณ์บางอย่างจะปรับไปตามยุคสมัย แต่จริงๆ หัวใจสำคัญยังคงอยู่ อาทิ ตัวถังเป็นเหล็ก การนั่งเป็นสกูตเตอร์ และมีความคล่องตัวในการใช้งาน เช่นเดียวกับปรัชญาของแบรนด์ก็ไม่เคยเปลี่ยนเช่นกัน เวสป้าจะพูดถึงความอิสระ พูดถึงการขบถต่อบางสิ่งบางอย่างเสมอ เริ่มจากช่วงหลังสงครามที่ตั้งใจออกแบบรถสกูตเตอร์ที่ไม่เหมือนแบรนด์ในท้องตลาด มาถึงยุคที่เป็นพาหนะให้ผู้หญิงเดินทางไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง หรือสมัยที่อิตาลีมีความอนุรักษ์นิยมมากๆ ก็เป็นเครื่องมือที่ทำให้ชายหญิงได้ใกล้ชิดกันผ่านการซ้อนเวสป้า 

5. สินค้าของเวสป้าไม่ใช่ยานยนต์

เวสป้าไม่ได้ขายแค่ยานยนต์ แต่ขายไลฟ์สไตล์ คอมมูนิตี้ และความแตกต่าง มาตั้งแต่ ค.ศ. 1946 จน ค.ศ. 2020 ก็ยังไม่เคยเปลี่ยน จึงกลายเป็น Cult Brand หรือแบรนด์ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภค ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างและเงินไม่สามารถซื้อได้ ด้วยความที่มีคาแรกเตอร์ชัดเจน เวสป้าจึงเป็นหนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่นักการตลาดเล่าเรื่องใหม่ๆ ได้ทุกปี โดยไม่ต้องรอให้มีรถรุ่นใหม่ออกวางจำหน่าย ยกตัวอย่างเช่น เวสป้า ประเทศไทย เคยจัดคาราวานเพื่อฉลองครบรอบ 65 และ 68 ปีของแบรนด์ โดยมีแฟนๆ รถยี่ห้อนี้มารวมพลกว่าหมื่นคน กลายเป็นคอมมูนิตี้ขนาดย่อมรวมคนที่เชื่อและรักในสิ่งเดียวกันไว้ด้วยกัน

ส่วนในอิตาลี เวสป้าถือเป็นแบรนด์และความภูมิใจแห่งชาติที่ต้องสืบทอดและส่งต่อต่อไปเรื่อยๆ

6. แบรนด์ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Pop Culture มาตลอด 74 ปี

10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
ภาพ : www.imdb.com

เวสป้าอยู่ใน Pop Culture มาโดยตลอด อย่างการปรากฏตัวช่วงเวลาสั้นๆ ในภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง Roman Holiday นำแสดงโดย ออดรีย์ เฮปเบิร์น (Audrey Hepburn) และ เกรกอรี เพก (Gregory Peck) ทั้งยังได้อยู่บนโปสเตอร์หนังเรื่องเดียวกันซึ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถล่มทลาย หรือแม้กระทั่งโฆษณาทางการตลาดก็เป็นที่น่าจดจำและเรียกได้ว่าทันสมัยมาตลอด เช่น ภาพโฆษณาที่มีคนขี่เวสป้าแต่ไม่มีรถให้เห็นเลย หรือสัญลักษณ์แอปเปิ้ลแหว่ง เปรียบเทียบคนขี่เวสป้าเป็นอดัมและอีฟที่กล้าหยิบแอปเปิ้ลขึ้นมาทาน เป็นตัวแทนของความกล้าที่จะลองสิ่งใหม่ๆ จนกราฟิกแอปเปิ้ลนั้นกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใครเห็นก็รู้เลยว่าเป็นเวสป้า เป็นต้น 

10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ส่วนในไทยมี House of La Dolce Vita in Scooter ที่จัดแสดงเมื่อปีก่อน เพื่อเล่าเรื่องราวของเวสป้าผ่านนิทรรศการศิลปะ จนถึงการร่วมงานกับผู้กำกับ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ทำหนังสั้น และแรปเปอร์ Maiyarap ทำเพลงแรป ซึ่งทั้งแคมเปญและโฆษณาเหล่านี้แสดงถึงความเป็น Cult Brand ที่มีอิทธิพลสูงจนสามารถโปรโมตแบรนด์โดยไม่ต้องโชว์สินค้าหรือโลโก้

7. เวสป้าเหมาะสำหรับทุกคน

10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

แบรนด์ในระดับ Global มองว่าเวสป้าเป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ร้านเสริมสวยบางร้านในต่างประเทศนำเวสป้าสีชมพูมาเป็นสัญลักษณ์ของร้าน หรือในคลับเท่ๆ ก็มีการใช้รถเวสป้าสีเข้มๆ มาเป็นสัญลักษณ์ ส่วนในไทยมองเวสป้าเป็นผู้ชายมากกว่า ด้วยความเท่ สมรรถภาพที่แข็งแรงของรถ และวัฒนธรรมการใช้ของกลุ่มลูกค้าในประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวสป้าจะไม่มีความเป็นผู้หญิงเลย ตลอด 10 ปีของเวสป้า ประเทศไทย พบว่ามีลูกค้าผู้หญิงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะรุ่นไฟกลม หรือรุ่นที่มีสีอ่อนๆ หวานๆ สีพาสเทล

8. ยอดขายปีแรกในไทยคือ 1,600 คัน แต่ปัจจุบันมียอดขายเป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของโลก

เวสป้าเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อน สมัยนั้นแบรนด์รถประเภทเดียวกันมีไม่กี่เจ้า สร้างความฮือฮาให้กลุ่มคนที่ชื่นชอบแบรนด์อยู่แล้วอย่างกลุ่มเด็กเรียนศิลปะ กับกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคยกับแบรนด์เท่าไหร่ แต่ตกใจในราคาที่แพงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ยอดขายปีแรกขายคือ 1,600 คัน คิดเป็น 0.1 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณเมื่อเทียบกับตลาดจักรยานยนต์ในประเทศ จนปัจจุบัน ดีลเลอร์ของเวสป้าในไทยมีอยู่ 83 เจ้า ครอบคลุม 66 จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนยอดจดทะเบียนตั้งแต่มกราคมถึงตุลาคมปีนี้คือประมาณ 23,000 คัน

อิตาลีคือประเทศที่ขายเวสป้าได้มากที่สุด ส่วนประเทศไทยติด 5 อันดับแรก

9. หนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่ไม่นำรถไปขายที่มอเตอร์โชว์ช่วง COVID-19

เวสป้า ประเทศไทย มีนโยบายปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่กระจายของโรค COVID-19 อย่างการเปิดจองรถผ่านระบบออนไลน์หรือการประมูลเลขสวยผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น รถรุ่น Primavera Sean Wotherspoon ที่ทำร่วมกับ ฌอน วอทเธอร์สปูน (Sean Wotherspoon) ดีไซเนอร์ที่อยู่ในวงการสตรีทแฟชั่นมายาวนาน และเคยร่วมงานกับหลายแบรนด์ดังอย่าง Nike, Adidas และ Louis Vuitton เปิดจองออนไลน์ในประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคมก่อน 50 คัน 3 คันแรกหมดใน 1 นาที และจองเต็มทั้งหมดภายในเวลาเพียง 29 นาที

เช่นเดียวกับงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่แบรนด์ไม่ได้นำรถไปขายอย่างปกติ สิ่งที่ทำคือนำรถเวสป้าคันใหญ่มหึมาไปตั้งไว้ที่บูทเพื่อให้คนไปถ่ายรูป พร้อมมี QR Code สำหรับผู้ที่อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม จนกลายเป็น Talk of the Town ไปโดยอัตโนมัติ 

10. เวสป้าเป็นทั้งเพื่อน ภรรยา รางวัล ความฝัน และของขวัญ

10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เวสป้า ประเทศไทย มีเรื่องราวความประทับใจของลูกค้ามากมาย เคยมีลูกค้าที่สร้างฐานะจากการขี่เวสป้าขนผ้าจนมีเงินเก็บสร้างกิจการใหญ่โตกลับมาซื้อรถคันใหม่ มีครอบครัวที่ซื้อทั้งรุ่นปู่ รุ่นพ่อ รุ่นลูก และรุ่นหลาน เวสป้าเป็นรถที่คนขี่มักตั้งชื่อให้ เช่น น้องมะลิ น้องส้มจุก และมีลูกค้าผู้ชายหลายคนเล่าว่า เวสป้าเป็นรถที่แฟนอนุญาตให้ซื้อเพราะหน้าตาน่ารัก หรือช่วงแรกๆ มีคุณลุงเห็นข่าวมอเตอร์โชว์ในหน้าหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เลยขับรถมาจากอยุธยาพร้อมเงินสด 1 แสนบาทที่ได้จากการทำนาเพื่อซื้อเวสป้า ซึ่งเป็นรถในฝันของเขา 

รวมไปถึงเรื่องราวของเจ้าไวกับ เยเมนส์-ศิววุฒิ เสวตานนท์ Production Manager ของ 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว ภาพยนตร์สารคดีเล่าเรื่องโครงการก้าวคนละก้าวของตูน Bodyslam ที่เวสป้าเคยเป็นสปอนเซอร์ให้นำรถไปใช้ในกองถ่าย เขาขี่เวสป้าคันนี้ตั้งแต่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จนถึงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังปิดกล้อง เขาขอซื้อรถต่อจากเวสป้าเพราะความผูกพันตลอด 55 วันที่ถ่ายทำ

10 เรื่องราว 10 ปีของ Vespa ประเทศไทย สกูตเตอร์ที่สนับสนุนการมีอิสระมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
VESPA THAILAND 10th-anniversary THE JOURNEY OF US

ความพิเศษของการครบรอบ 10 ปีของเวสป้าประเทศไทยมีให้ทั้งสำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิม นับเป็นแคมเปญที่ยาวที่สุดที่บริษัทเคยทำมาตั้งแต่ก่อตั้งขึ้น โดยมีรถรุ่นพิเศษ 4 รุ่นวางจำหน่ายเนื่องในโอกาสนี้ 2 รุ่นแรกคือ Vespa LX 10th ANNI กับ 3 สี Red Corallo, Blue Capri และ Yellow Lime ที่วางจำหน่ายเป็นรุ่นแรกเมื่อ 10 ปีก่อน กับอีกรุ่นพิเศษ SPRINT 150 i-Get ABS 10TH Anniversary Thailand Limited Edition จำนวน 1,010 คัน กับสีเงินคลาสสิกที่ได้แรงบันดาลใจมากจากเวสป้าในโปสเตอร์ที่ 1 เวสป้า พร้อมดีไซน์รายละเอียดต่างๆ ที่ออกแบบเพื่อโอกาสนี้เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมถ่ายรูปกับเวสป้าคู่ใจพร้อมติดแฮชแท็ก #VespaTH10Anni บนอินสตาแกรมแล้วรูปถ่ายของคุณจะขึ้นไปอยู่บนเว็บไซต์ Vespa Thailand ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

ภาพ : เวสป้า ประเทศไทย 

Writer

พิมพ์อร นทกุล

พิมพ์อร นทกุล

บัญชีบัณฑิตที่พบว่าตัวเองรักหมามากกว่าคน

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล