10 กรกฎาคม 2018
4 K
1

ระหว่างเดินเล่นเรื่อยเปื่อยดูบรรดาต้นไม้และดอกไม้ที่เปิดให้เข้าชมฟรีในสวนพฤษศาสตร์ (Jardin des Plantes) ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขนาด 280,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในเขตที่ 5 บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแซน ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน Gare d’Austerlitz สายตาฉันก็ไปสะดุดกับตึกที่สร้างจากอิฐ ด้านหน้าดูทึบตัน น่าเกรงขาม แต่ด้านข้างเป็นกระจกที่ทำให้เห็นความลับภายใน คือโครงกระดูกขนาดยักษ์ ขนาดของมันใหญ่พอจะทำให้ฉันตื่นเต้น ฉันคิดว่ามันคงเป็นไดโนเสาร์ชนิดหนึ่ง ถือเป็นโอกาสดีที่มาปารีสคราวนี้จะได้ดูอย่างอื่นนอกจากศิลปะ วัตถุ และสถาปัตยกรรมโบราณบ้าง และเมื่อได้เข้าไปในตึกนั้น ฉันก็พบว่าตัวเองเจอกับสถานที่มหัศจรรย์เข้าเสียแล้ว

 

2

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

พิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยาและกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (Galeries de Paléontologie et d’Anatomie Comparée) แห่งนี้เกิดขึ้น เนื่องจากบรรดากระดูกและซากเพื่อการศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนอาคารหลังเดิมไม่มีพื้นที่เพียงพอ ศาสตราจารย์สองคนจากสองวงการ คือ อัลแบร์ โกดรี (Albert Gaudry) ศาสตร์จารย์ด้านบรรพชีวินวิทยา และ จอร์จ ปูเชต์ (Georges Pouchet) ศาสตราจารย์ด้านกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ จึงร่วมกันผลักดันให้มีสถานที่แห่งใหม่ สำหรับจัดแสดงกระดูกและซากเหล่านี้เพื่อให้ความรู้กับประชาชนทั่วไป ประจวบเหมาะกับในขณะนั้นกำลังจะมีการแสดงนิทรรศการนานาชาติที่ปารีส (Exposition universelle de Paris) เป็นครั้งแรกในปี 1900 พิพิธภัณฑ์นี้จึงถูกผลักดันจนสำเร็จและเปิดแสดงเป็นส่วนหนึ่งในงานครั้งนั้น

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

ผู้ออกแบบตึกนี้คือสถาปนิก แฟร์ดินอง ดูแตร์ (Ferdinand Dutert) ที่ออกแบบให้พิพิธภัณฑ์นี้เป็นโถงกว้าง นอกจากพื้นที่จัดแสดงหลักที่ชั้นล่าง ยังมีชั้นสองซึ่งเหมือนชั้นลอยที่เป็นระเบียง สำหรับมองดูมาที่ด้านล่างและจัดแสดงคอลเลกชันด้านบรรพชีวินวิทยาของมิวเซียมได้บางส่วน เพดานสูงและกระจกที่รายรอบอาคารให้ความรู้สึกโปร่ง และแม้ที่นี่จะไม่เปิดแอร์ก็ไม่รู้สึกร้อน บรรยากาศภายในยังคงรักษาความขลังของยุคศตวรรษที่ 19 เอาไว้ได้อย่างครบถ้วน ทั้งของจัดแสดงที่ตกทอดมาจากยุคก่อน ตู้กระจกจัดแสดงที่ทำจากไม้และคำอธิบายบนกระดาษเก่าที่เขียนด้วยมืออย่างสวยงาม น่าเสียดายที่วันที่ฉันไปนั้น ชั้นสองมีการจัดแสงสำหรับกิจกรรมพิเศษทำให้สามารถเดินชมได้เพียงชั้นล่างซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงหลักเท่านั้น

 

3

ฉันไม่มีความผูกพันกับแขนงใดในวิทยาศาสตร์เลย แม้รู้ว่าวิทยาศาสตร์อยู่ในชีวิตและไม่ใช่เรื่องไกลตัวก็ตาม คำว่า ‘บรรพชีวินวิทยา’ และ ‘กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ’ ไม่อยู่ในจักรวาลของฉัน ผู้เคยผ่าตับหมู 1 ครั้งและรู้เพียงแต่ว่าเซลล์ของพืชมีผนังแต่ของคนและสัตว์ไม่มี ถึงอย่างนั้นฉันกลับสนุกกับการเดินดูนู่น นี่และนั่นในโถงกว้างแห่งนี้อย่างมาก ที่โถงด้านล่างนี้เป็นการจัดแสดงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบแทบทั้งหมด ฉันใช้ความรู้วิชาฝรั่งเศสสมัยมัธยมปลายทำความเข้าใจป้ายคำอธิบายเล็กๆ เหล่านั้นเนื่องจากไม่มีภาษาอังกฤษเลยแม้แต่น้อย

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์ พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

ฉันเริ่มเดินจากซ้ายมือของตัวเอง แต่ละตู้เป็นการนำกระดูกของสัตว์ บ้างเป็นส่วนศีรษะ ขา แขน หรือแม้แต่ทั้งร่างของสัตว์ประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง สัตว์ที่ปกติ สัตว์ที่เป็นโรค และให้เห็นวิวัฒนาการของสัตว์เมื่อวันเวลาผ่านไป ไข่ของนกต่างๆ ถูกนำมาเปรียบเทียบขนาดและสีสัน ทั้งหมดนี้เป็นของจริงและปลอมผสมกันอย่างที่ฉันก็แยกออกบ้างแยกไม่ออกบ้าง

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์ พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

และเมื่อหันไปทางขวาจะพบกับโครงกระดูกสัตว์ต่างๆ ที่ถูกจัดแสดงให้เห็นทั้งตัวโดยไม่ได้อยู่ในตู้ ทั้งสัตว์ที่ยังเหลือให้เห็นในปัจจุบันและรวมถึงสัตว์น้ำในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ที่สูงใหญ่จนโผล่ทักทายคนที่ผ่านไปมานอกกระจกและดึงดูดฉันให้เข้ามาที่นี่ในตอนแรก

 

4

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์ พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

เมื่อเดินจนสุดโถงจะพบกับตู้บรรจุแฝดสยามหรือแฝดที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายติดกัน ทั้งแฝดที่เป็นสัตว์ชนิดต่างๆ แบบดองน้ำยาและแฝดมนุษย์แบบจำลอง ถือว่าเป็นบทเกริ่นนำเล็กๆ ก่อนเข้าสู่โซนของมนุษย์ ในตู้ที่เรียงรายเต็มไปด้วยอวัยวะภายในของมนุษย์ หัวใจแบบต่างๆ ปอดแบบต่างๆ สมองแบบต่างๆ ระหว่างเดินดูทีละอย่างอย่างตั้งใจ ฉันก็พบกับนักเรียนศิลปะที่มารอศึกษากายวิภาคจากของจริงและคู่รักที่มาใช้เวลาดูวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตไปด้วยกัน

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์ พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

 

5

สำหรับฉันแล้ว ด้วยบรรยากาศของสถาปัตยกรรมและของที่จัดแสดงทำให้ฉันรู้สึกเหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปเพราะที่นี่เหมือนถูกสตัฟฟ์ไว้ในปี 1900

แทนที่จะรู้สึกกลัวหรือคลื่นไส้ ฉันจึงรู้สึกเหมือนตัวเองได้ดูของเก่าแก่ล้ำค่าที่อยู่ในรูปเนื้อหนังดองในน้ำยาหรือกระดูกที่ตั้งตระหง่านเสียมากกว่า และแม้ฉันจะไม่รู้ข้อมูลใดๆ เลยด้วยอุปสรรคทางภาษา การอธิบายที่จำกัดและความรู้พื้นฐานที่แทบไม่มี แต่ฉันก็สนุกกับการเดินอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นชั่วโมง ฉันมองสิ่งเหล่านี้เหมือนผลงานศิลปะที่พระเจ้า จักรวาล หรือสิ่งที่เราไม่อาจเข้าถึงสร้างสรรค์จนเกิดเป็นอวัยวะภายในลักษณะนี้ กระดูกรูปร่างแบบนี้ ความงามมาพร้อมกับคุณสมบัติในการใช้งานและเอกลักษณ์ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดแตกต่างกัน

 พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์  พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

ฉันกลับออกไปด้วยความรู้สึกว่า แม้ไม่ได้คาดหวังอะไรไว้ แต่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งนี้ได้ให้อะไรมากกว่าที่ฉันคิด ขนาดฉันที่แทบไม่รู้อะไรเลยยังเอนจอย ถ้ามีความรู้พื้นฐานน่าจะยิ่งสนุก และลองดูนึกเล่นๆ ว่า  ถ้าตกกลางคืนแล้วทุกสิ่งมีชีวิตในมิวเซียมนี้เกิดขยับขึ้นมาได้เหมือนในภาพยนตร์ก็คงจะวุ่นวายน่าดูเลย

พิพิธภัณฑ์, โครงกระดูก, ไดโนเสาร์, ปารีส, ซากสัตว์

ถ้าคุณมีประสบการณ์เดินทางแปลกใหม่จากการไปใช้ชีวิตในทั่วทุกมุมโลก เชิญส่งเรื่องราวของคุณพร้อมภาพถ่ายประกอบบทความ รูปถ่ายผู้เขียน ประวัติส่วนตัวผู้เขียน ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ และชื่อ Facebook มาที่อีเมล [email protected] ระบุหัวข้อว่า ‘ส่งต้นฉบับสำหรับคอลัมน์ Travelogue’

ถ้าผลงานของคุณได้ตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ เราจะมีสมุดบันทึกปกหนังเทียมเล่มสวยส่งให้เป็นที่ระลึกด้วยนะ

Writer & Photographer

Avatar

ปอ เปรมสำราญ

นักแปลอาชีพ นักเขียนสมัครเล่น และนักท่องเที่ยวที่มีแกนกลางของทุกทริปเป็นศิลปะ