มนุษย์เป็นนักสร้างกิจกรรมที่ทำให้ตัวเองผ่อนคลายมาแต่ไหนแต่ไร แต่ละคนก็มีกิจกรรมเป็นของตัวเองที่แตกต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์ ยามว่างของเราปกติแล้วเราชอบเดินทางมาก อย่างน้อยหนึ่งเดือนต้องได้นั่งรถไฟไปไหนมาไหน แต่ถ้าช่วงไหนที่ไม่ได้ไปหรือร่างกายขาดรถไฟนั้น เราก็จะมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีใครเข้าใจในสิ่งที่พวกเราทำเลยนอกจากพวกเดียวกันเอง

มันอาจจะแปลกๆ หน่อยนะ 

มันคือการนั่งดูรถไฟ

ใช่ครับ นั่งดูเฉยๆ ที่สถานีรถไฟ หรือข้างทางรถไฟนี่แหละ

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวนรถไฟไทย, รถไฟไทย

มีคนไม่น้อยเลยเมื่อได้ฟังเราบอกว่า “เราชอบนั่งดูรถไฟ” ก็จะเกิดอาการงงๆ พร้อมเครื่องหมายคำถามผุดขึ้นเต็มหัว ก็ไม่แปลกใจเท่าไหร่ครับ เพราะมันเป็นกิจกรรมที่ดูไม่ค่อยน่าตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่สำหรับบรรดาคนชอบรถไฟแล้ว นี่คือกิจกรรมที่พลาดไม่ได้ ไม่ควรพลาด เพราะมันจรรโลงจิตใจของชาวเรายิ่งนัก เสมือนกับการได้นั่งดูการแข่งขันฟุตบอล ดูวงดนตรี ดูละคร ดูมหรสพ เพียงแค่สิ่งที่พวกเรานั่งดูมันคือรถไฟขบวนยาวที่วิ่งผ่านไปผ่านมานี่แหละ

มาๆ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

รถไฟมีอะไรให้ดู?

คนมันชอบรถไฟ ยังไงมันก็ต้องดูรถไฟนั่นแหละ และเชื่อว่าคนชอบรถไฟเกือบทุกคนมีประสบการณ์ร่วมกัน บางคนบ้านอยู่ไม่ไกลจากทางรถไฟและสถานีก็จะมีกิจกรรมยามแดดร่มลมตก นั่นก็คือการออกมารับลมช่วงเย็น ดูพระอาทิตย์ตกดินที่สถานีรถไฟหรือพื้นที่ใกล้ทางรถไฟ 

ทำไมต้องเป็นริมทางรถไฟ

ทางรถไฟมันเป็นทางเฉพาะให้รถไฟวิ่ง มีการเว้นสองข้างทางในระยะเขตที่ดินรถไฟ ซึ่งตรงนั้นไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ หากไม่ได้ทำสัญญาเช่าไว้ มันเลยเป็นพื้นที่ที่มีพืชธรรมชาติขึ้น หรือเป็นห้วยหนองคลองบึงอะไรก็ว่ากันไป บรรยากาศจึงสุนทรีย์เป็นอย่างมากในการผ่อนคลายอิริยาบถ 

การเห็นรถไฟวิ่งผ่านหน้าไปกับบรรยากาศที่ห้อมล้อมไปด้วยต้นไม้ ท้องฟ้าเริ่มเปลี่ยนสีจากฟ้าอ่อน เป็นส้ม เป็นชมพู เป็นฟ้าเข้ม จนเริ่มเป็นสีหมึก บวกกับอากาศเย็นเอื่อยๆ ยิ่งทำให้ดูมีความสุขกันไปใหญ่ 

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

แต่ถ้าหากเป็นสถานีรถไฟนั้นก็จะได้อารมณ์ที่แตกต่างกัน 

สถานีรถไฟของไทยไม่ใช่สถานีระบบปิด ใครต่อใครก็เข้าไปนั่งในชานชาลาได้ สำหรับสถานีรถไฟขนาดใหญ่นั้น หัวและท้ายชานชาลาบริเวณป้ายสถานีรถไฟเป็นพื้นที่นั่งดูรถไฟที่ดีที่สุดอย่างแท้จริง เพราะไม่ต้องเจอความวอแวของคนที่มาใช้บริการในสถานี ถ้ามีรถไฟเข้ามาจอด ก็อาจจะตรงตำแหน่งของหัวรถจักรที่เดินไปดูใกล้ๆ ได้ ทำให้หลายคนเริ่มเรียนรู้และสังเกตความเป็นรถไฟจากจุดนี้

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

ถ้าเราไปนั่งดูรถไฟที่สถานีเล็กๆ ก็จะมีความพิเศษขึ้นมาหน่อย ตรงที่เราอาจจะไม่ได้ชิดกับรถไฟมากนัก แต่จะได้เห็นงานด้านปฏิบัติการเดินรถชัดเจนขึ้น 

อาจเป็นเพราะบรรยากาศที่สถานีเล็กๆ ส่วนใหญ่อยู่ในชนบท ความเป็นธรรมชาติจึงมีสูงมาก และสถานีรถไฟก็กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจไปโดยปริยาย 

ความน่าตื่นเต้นอีกอย่างของการมาดูรถไฟในสถานีเล็กๆ คือการที่รถไฟมันไม่ได้จอดทุกขบวน มันเลยมีรถไฟบางขบวนวิ่งฉิวผ่านสถานีไปด้วยความเร็ว ลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ปะทะตัวอย่างแรงสร้างความตื่นเต้นได้ไม่น้อย เพียงเวลาไม่กี่วินาทีรถไฟขบวนยาวก็วิ่งผ่านสถานีไป พร้อมกับสายตาเราที่มองท้ายรถไฟจนลับสายตา 

อีกหนึ่งความพิเศษของสถานีเล็กๆ คือการได้สนทนาและถามเรื่องที่สงสัยกับพี่ๆ พนักงาน มันย่อมเอ็กซ์คลูซีฟกว่าสถานีใหญ่อยู่แล้ว เพราะเนื้องานของนายสถานีเล็กๆ ไม่ได้วุ่นวายเหมือนสถานีใหญ่ พี่ๆ นายสถานีจึงมีโอกาสมอบความรู้ให้เราได้อย่างเต็มที่ และเป็นโอกาสที่ดีมากที่ได้รู้จักกับรถไฟให้มากขึ้น

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

ห้องเรียนมีชีวิต

จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการ ‘แฟนคลับรถไฟ’ ของใครหลายๆ คนก็เริ่มมาจากพ่อแม่ กิจกรรมการไปนั่งดูรถไฟยามเย็นจึงเป็นสิ่งที่จุดประกายการเรียนรู้ต่างๆ ได้ ทำให้เราได้รู้จักรถไฟได้มากขึ้น

ทำไมน่ะหรือ

การได้เห็นภาพจริงของกระบวนการต่างๆ ในสถานี มันทำให้ยิ่งเข้าใจมากกว่าการอ่านผ่านตัวหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการตีระฆังที่จำนวนครั้งของเสียงบอกเราได้ว่ารถไฟจะมาจากทางไหน 

การโบกธงเขียวธงแดงที่มีความหมายในตัวของมัน 

การสับรางเพื่อให้รถไฟเปลี่ยนทางวิ่งนั้นทำยังไง

การสับเปลี่ยนทั้งตัดและต่อตู้รถไฟทำยังไงกันนะ 

เขารับส่งห่วงทางสะดวกไปเพื่ออะไร

และอีกหลากหลายภารกิจมากมายที่ถ้าไม่ได้มาใช้เวลาจดจ้องก็คงไม่เห็นเป็นแน่ การมาดูรถไฟที่สถานีแต่ละครั้ง ก็เหมือนเป็นวิชาภาคปฏิบัติที่เพิ่มเติมจากทฤษฎีที่พอรู้มาอยู่บ้างนั่นแหละ

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน

นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นแล้ว อีกคุณประโยชน์ที่การดูรถไฟในสถานีให้มากกว่าดูระหว่างทาง นั่นคือการได้รู้ว่ารถไฟที่ตารางเวลาไม่ชัดเจนอย่างขบวนรถสินค้าที่หาดูยากจะปรากฏตัวมาตอนไหน การรอรถไฟระหว่างทางนั้นคาดเดายากมาก เพราะว่าไม่มีใครให้ถาม ไม่ใครตอบคำถาม ชีวิตที่ดูเคว้งคว้างต้องคอยจับจ้องทางรถไฟและเงี่ยหูฟังเสียงเพียงอย่างเดียว บางครั้งก็พลาดไปได้ยินเสียงรถบรรทุกเป็นรถไฟบ้าง บางทีกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นเสียงรถไฟก็วิ่งผ่านหน้ามาซะแล้ว

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

นอกจากได้เรียนรู้เรื่องการเดินรถไฟแล้ว อีกหนึ่งทักษะที่แฟนๆ รถไฟได้รับจากการส่องรถไฟ นั่นคือการอ่านสัญญาณของรถไฟออก ไม่ว่าจะเป็นไฟเขียว ไฟแดง โคมไฟตรงจุดสับรางที่บอกเราได้ว่ารถไฟจะวิ่งไปทางไหน มันเป็นอะไรที่สนุกมากที่ได้รู้ก่อนใครว่ารถไฟกำลังจะมา หรือดูได้ว่ารถไฟจะวิ่งเข้ามารางไหนจะได้ตั้งหลักดูได้อย่างชัดๆ

สถานีรถไฟและกิจกรรมนั่งส่องรถไฟจึงกลายเป็นครูคนแรกที่เปิดโลกรถไฟให้เราไปโดยปริยาย

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

เก็บข้อมูล

อีกกิจกรรมหนึ่งที่สนุกไม่แพ้กัน นั่นคือการดูรถไฟแต่ละขบวนวิ่งมาแล้วนับจำนวนตู้ และลุ้นว่าวันนี้จะใช้หัวรถจักรยี่ห้ออะไร รุ่นอะไรลากรถไฟขบวนยาวมา

คุณอ่านไม่ผิดครับ พวกเราไปกันถึงขั้นนั้นจริงๆ

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

รถไฟแต่ละขบวนมีลักษณะการพ่วงรถไม่เหมือนกัน ใช้รถจักรหมุนเวียนกันไปไม่ได้ล็อกขบวน มันวิ่งไปทั่ว ความสามารถพิเศษของแฟนรถไฟจึงมีการจดจำสิ่งที่เรียกว่า ‘ริ้วขบวน’ เพิ่มเข้ามาอีกสกิลล์หนึ่ง ซึ่งรถไฟหนึ่งขบวนนั้นจะจัดวางตู้รถไฟที่ไม่เหมือนกัน เช่น ขบวนรถที่ออกจากกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เอาตู้นอนไว้ท้ายขบวน แต่รถเร็วยะลาเอาตู้นอนไว้ด้านหน้าขบวน รถด่วนพิเศษเชียงใหม่มีตู้นอนชั้นสองทั้งขบวน หรือรถด่วนนครมีตู้แอร์ต่อท้ายจากชั้น 1 ไปอีก 3 คันตัดทิ้งไว้สถานีสุราษฎร์ธานี 

เรียกได้ว่ารายละเอียดปลีกย่อยแบบนี้ ชาวรถไฟแฟนคลับก็จะจำกันยิ่งกว่าอ่านหนังสือสอบ ไม่รู้เหมือนกันว่าจำไปทำไม แต่รู้ว่าจำแล้วมีความสุข สนุก และรู้สึกตัวเองเก่งที่เห็นรถไฟวิ่งอยู่ไกลๆ แต่บอกได้ว่านั่นคือขบวนอะไร

กว่าจะรู้ได้ขนาดนี้มันก็ต้องผ่านการเก็บข้อมูลจากการไปนั่งดูรถไฟเนี่ยแหละ

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

พวกเรามักเลือกเวลามาดูรถไฟในช่วงที่มีรถไฟเข้าออกสถานีมากที่สุด เพื่อให้คุ้มค่ากับการมาในหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่แล้วเราชอบช่วงเวลาที่รถไฟมารอหลีกทางกันที่สถานี เพราะได้เห็นรถไฟมากกว่าหนึ่งขบวนในครั้งเดียว 

การจดจำเสียงเครื่องยนต์รถไฟก็เป็นอีกเรื่องที่สนุกไม่แพ้กัน 

หัวรถจักรแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ จะมีเสียงเครื่องที่แตกต่างกันไป รถจักรอัลสธอมก็เสียงหนึ่ง รถจักรฮิตาชิก็เสียงหนึ่ง และนอกจากเครื่องยนต์แล้ว เจ้าเสียงหวีดรถไฟที่ดังปู๊นๆ ก็ไม่เหมือนกันอีก นั่นทำให้เรายิ่งสนุกกับการทายว่า วันนี้ขบวนรถไฟแต่ละขบวนจะใช้หัวจักรอะไรลากมา มันก็ใช้เป็นข้อมูลได้อีกว่าถ้าเราอยากเห็นหัวรถจักรรุ่นนี้ เราต้องรอคอยดูกับรถไฟขบวนไหน

โอ้โห ลึกล้ำ

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

นอกจากการเก็บข้อมูลด้วยตาแล้ว การบันทึกภาพก็เป็นการเก็บข้อมูลที่ดีมากๆ ทีเดียว

หากคุณไปสถานีรถไฟหรือข้างทางรถไฟแล้วพบเจอคนถือกล้องถ่ายรูปสารพัดแบบยืนชะเง้อชะแง้อยู่แถวๆ นั้น ให้ตีความไปได้เลยว่านี่คือ ‘แก๊งดูรถไฟ’ อย่างแน่นอน เพราะพวกเรามีความโปรดปรานที่ถ่ายรูปรถไฟเก็บเอาไว้ มาดูรถไฟเมื่อไหร่ก็ถ่ายเมื่อนั้น ไม่ว่าจะกี่วันต่อสัปดาห์ จะมีขบวนรถไฟเหมือนๆ เดิม ก็จะถ่ายเก็บเอาไว้ดูและโพสต์ลงในโซเชียลมีเดียหรือกลุ่มต่างๆ ที่ตั้งกันขึ้นมาเสพภาพรถไฟโดยเฉพาะได้เชยชมกัน พอความเป็นรถไฟลิซึ่มมันหนักเข้าๆ ก็เริ่มออกไปถ่ายรูปรถไฟตามมุมแปลกๆ สวยๆ มาอวดกันจนกลายเป็นเรื่องปกติ

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

ความดีงามของการถ่ายภาพไว้คือการหวนระลึกถึงสิ่งเก่าๆ เมื่อวันเวลาผ่านไป 

หลายๆ สถานที่ หลายๆ เหตุการณ์ หรือรูปแบบของรถไฟมันก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ (ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เปลี่ยนแบบปุบปับก็เหอะ) เวลาที่หยิบภาพเก่าๆ มาดูก็จะแฟลชแบ็กเหตุการณ์เก่าๆ 

ขบวนนี้มันเคยยาว 16 ตู้นะ ตอนนี้เหลือแค่ 12 ตู้เอง

สะพานตรงนี้เมื่อก่อนมันเคยทาสีดำ ตอนนี้เปลี่ยนใหม่เป็นสีเงินแล้ว

รถจักรฮิตาชิเบอร์นี้เมื่อก่อนเป็นสีออริจินัล ตอนนี้เป็นสีรถนอนใหม่แล้ว

โค้งนี้เมื่อก่อนโล่งมาเลย ตอนนี้บ้านคนเต็มไปหมด

สถานีนี้ก่อนเป็นทางคู่หน้าตาแบบนี้นี่เอง พอสมัยสร้างทางคู่เสร็จเปลี่ยนไปคนละเรื่องเลยแฮะ

การสังเกต การจดจำ และภาพถ่าย มันคือการเก็บข้อมูลและความทรงจำได้ดีที่สุดของเหล่าแฟนพันธุ์แท้รถไฟ

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
สถานีหนองบัวลาย ก่อนทำทางคู่
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
สถานีหนองบัวลาย ตอนทำทางคู่ ในระยะเวลาที่ห่างกัน 5 ปี

Train Spotter

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

  หลายๆ คนอาจจะพอเข้าใจแล้วว่า กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้เวลาว่างของตัวเองไปนั่งอยู่ข้างทางรถไฟหรือสถานีรถไฟ เพื่อเพียงรอดูรถไฟขบวนแล้วขบวนเล่าผ่านไปในช่วงเวลาสั้นๆ หรือช่วงเวลาทั้งวัน เขาได้อะไรจากกิจกรรมนี้ และนอกจากการได้นั่งดูรถไฟแค่พื้นที่ใกล้บ้าน มันก็กระจายออกไปทุกหนทุกแห่งที่มีทางรถไฟหรือสถานีรถไฟ ที่มักจะอดไม่ได้ต้องหาเวลาย่องไปที่นั่นเสมอ เพื่อแค่ดูรถไฟจากพื้นที่ที่ไม่คุ้น หรือเพื่อได้เห็นอะไรที่มากขึ้นกว่าเดิม 

ตอนที่เราไปจีน เราก็ไปดูรถไฟที่ใกล้ๆ สถานีปักกิ่ง และยอมเสียเงินค่าเข้าโบราณสถานข้างๆ สถานีเพื่อขึ้นไปดูรถไฟบนนั้นชัดๆ และนั่งแช่อยู่ที่นั่น 2 – 3 ชั่วโมงแค่ดูรถไฟวิ่งผ่านไปผ่านมา 

แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่เรา แต่ยังมี Train Spotter ชาวจีนที่มาดูรถไฟเป็นเพื่อนเราอีกด้วย

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย
ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

จะว่าไปแล้ว กิจกรรมดูรถไฟจริงๆ ก็คือการเรียนรู้เรื่องรถไฟนอกห้องเรียนนั่นแหละ ที่นอกจากจะได้เข้าใจเรื่องของระบบรางที่อาจไม่ได้ใกล้ชิดมากนั้น มันยังได้ผ่อนคลายกับการดูรถไฟขบวนยาววิ่งผ่านหน้า การฟังเสียงล้อกระทบราง การฟังเสียงเครื่องยนต์ การโบกมือให้คนนั่งรถไฟ นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่วิเศษมากที่เราเคยทำ และไม่เสียดายเวลาที่ไปนั่งแช่ตามสถานีรถไฟเพื่อดูรถไฟเลย 

มันเป็นการเก็บชั่วโมงบินอีกอย่างหนึ่งเพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจให้สานฝันตัวเอง หรือบางคนอาจจะมีทักษะในการถ่ายภาพที่มากขึ้น บางคนอาจจะได้เป็นพนักงานรถไฟสมใจอยาก หรือบางคนอาจจะได้เรียนหรือทำงานด้านระบบรางตามที่ได้วาดฝันไว้

ถ้าคุณตั้งคำถามกับเหล่าคนรักรถไฟว่า “ทำไมถึงชอบรถไฟ” คุณก็จะได้คำตอบแทบจะเป็นเสียงเดียวกันเลยล่ะครับ

“ก็เริ่มมาจากไปนั่งดูรถไฟที่สถานีนี่แหละ” 

ห้องเรียนมีชีวิตเรื่องรถไฟของ 'คนรักรถไฟ' กับสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั่งสังเกตรถแต่ละขบวน, รถไฟไทย

ฝากไว้ท้ายขบวน

เว็บไซต์ www.railpictures.net คือแหล่งรวมภาพถ่ายจากบรรดาแฟนรถไฟทั่วโลกที่นิยมการ ‘ดูรถไฟ’ ที่เราเลือกดูภาพรถไฟได้จากทั่วโลก มีภาพสวยๆ เยอะแยะมากมาย ของไทยก็สวยๆ ไม่แพ้เมืองนอกเลยล่ะ

Writer & Photographer

Avatar

วันวิสข์ เนียมปาน

มนุษย์ผู้มีรถไฟไทยเป็นเพื่อนสนิท และอยากแนะนำเพื่อนให้ชาวบ้านสนิทด้วย รักการเดินทางและชอบเดินเป็นชีวิตจิตใจ