4 กุมภาพันธ์ 2020
16 K

การเดินทางไม่ว่าจะด้วยยานพาหนะชนิดไหนก็ตามที่เป็นขนส่งสาธารณะ สิ่งที่ทุกคนต้องมีคือ ‘ตั๋ว’

ผู้ให้บริการแต่ละรายก็มีตั๋วหน้าตาแตกต่างกันไป บ้างก็ดูเหมือนกระดาษธรรมดา บ้างก็ดูสวยงามน่าสะสม แต่ถ้าให้นึกถึงตั๋วที่น่าเก็บสะสมหลังจากการใช้ คงหนีไม่พ้นตั๋วรถไฟ

ไม่ใช่ตั๋วรถไฟของยุคนี้นะ แต่เป็นตั๋วรถไฟของยุคก่อนที่เป็นการ์ดเล็กๆ แข็งๆ มีสีสันลวดลายต่างๆ เราเชื่อว่าคนที่ครองชีวิตเกิน 30 ปีต้องคุ้นเคยกับมันอย่างแน่นอน ตั๋วรถไฟที่คลาสสิกนับเป็นของสะสมที่ทรงพลังมากในยุคนั้น ยิ่งใครมีตั๋วรถไฟกระดาษแข็งมากเท่าไหร่ ก็บ่งบอกได้ว่าคุณเป็นนักเดินทางมากแค่นั้น

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตอนเด็กๆ เมื่อ 20 ปีก่อนได้ เวลาที่เรานั่งรถไฟกับพ่อแม่จะต้องขอเก็บตั๋วไว้ทุกครั้ง ตอนนั้นไม่ได้สะสมนะ แค่รู้สึกว่ามันสวยดีแล้วเอาไปอวดเพื่อนได้ พอมีมากเข้าก็เล่นเป็นนายสถานีรถไฟเอาตั๋วมาขาย (แบบหลอกๆ) หรือเล่นเป็นการ์ดรถไฟเก็บตั๋ว

พอญาติพี่น้องรู้ว่าเราชอบเก็บตั๋วรถไฟ เวลาใครไปไหนมาไหนก็จะเอามาฝากอยู่เรื่อย จนกลายเป็นของสะสมที่หวงที่สุดของเราไปโดยปริยาย

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

น่าเสียดายมากที่หลังจาก พ.ศ. 2535 การรถไฟปรับระบบการขายตั๋วใหม่ให้ทันสมัย (ในยุคนั้น) มากกว่าเดิม รวมถึงปรับระบบการจองตั๋วที่ต้องจองล่วงหน้านานๆ ยุทธวิธีในการขายตั๋วก็ต้องเปลี่ยนจาก Manual เป็น Digital โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ตั๋วแบบเดิมจึงต้องเซย์กู๊ดบายกลายเป็นตั๋วกระดาษใบใหญ่บางๆ แต่มีรายละเอียดครบถ้วน

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วปัจจุบันใช้กระดาษชนิดบาง พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ รายละเอียดในตั๋วครบถ้วนกว่าตั๋วแบบเก่า

ตั๋วรถไฟแบบเก่ามีเสน่ห์จริงๆ นะ

เราจะเล่าเรื่องของมันให้ฟัง

ตั๋วแข็ง-ตั๋วหนา

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

เราเรียกตั๋วรถไฟรุ่นคลาสสิกอย่างเป็นทางการว่า ‘ตั๋วหนา’ แต่หลายคนนิยมเรียกว่า ‘ตั๋วแข็ง’

มันเป็นกระดาษการ์ดแข็งใบเล็ก กว้าง 30.5 มม. ยาว 57 มม. หนาราว 0.6 มม. เนื้อกระดาษพิมพ์ด้วยลายน้ำตัวเล็กๆ มีข้อความแน่นเอี้ยดเต็มพื้นที่ว่า THE STATE RAILWAY OF THAILAND เพื่อป้องกันการปลอมแปลง กระดาษต้องซับน้ำหมึกได้ดี พิมพ์แล้วไม่เลือนรางหรือน้ำหมึกไม่กระจาย

ตั๋วแบบนี้รุ่นแรกๆ สันนิษฐานว่านำเข้าจากเยอรมนี รูปแบบตั๋วคิดค้นโดย Dr.Thomas Edmondson ซึ่งตั๋วแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Edmondson Railway Ticket มีใช้โดยทั่วไปในยุโรปและเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วย

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วรถไฟของเมียนมา ใช้แบบ Edmondson Railway Ticket เช่นกัน แต่กระดาษของเขาจะไม่เคลือบแบบพิเศษเหมือนที่ไทยเคยใช้

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้
ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วรถไฟแบบ Edmondson Railway Ticket ภาพ : www.wikiwand.com/en/Hindlow_railway_station

สีสัน-ลวดลาย

สีสันของตั๋วหนามีหลากหลายมาก ขึ้นกับประเภทของตั๋วที่ใช้งาน แยกออกเป็นประเภทหลักๆ ได้เป็น 2 อย่าง คือ ตั๋วที่บ่งบอกราคา และตั๋วที่บ่งบอกการซื้อแบบพิเศษ

เอาแบบบ่งบอกราคาก่อน เพราะอันนี้สังเกตง่ายมากกกก ตั๋วมีสีเดียวพื้นๆ พิมพ์ด้วยตัวหนังสือสีดำ

ตั๋วสีเหลือง หมายถึง ตั๋วโดยสารชั้นหนึ่ง

ตั๋วสีเขียว หมายถึง ตั๋วโดยสารชั้นสอง

ตั๋วสีส้ม หมายถึง ตั๋วโดยสารชั้นสาม ซึ่งสีนี้เป็นที่รู้จักมักคุ้นสุดๆ เพราะมีปริมาณการถูกใช้งานมากเป็นอันดับต้นๆ

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วโดยสารชั้นสาม พื้นตั๋วสีส้ม มีลายน้ำคำว่า THE STATE RAILWAY OF THAILAND เต็มหน้ากระดาษ ระบุรายละเอียดเพียงแค่ต้นทาง-ปลายทาง ชั้นโดยสาร ราคา และรหัสตั๋ว

สำหรับตั๋วการซื้อพิเศษ อธิบายก่อนว่าการขึ้นรถไฟก็เหมือนกับการขึ้นเครื่องบิน Low Cost สมัยนี้ คือยืนพื้นด้วยค่าโดยสาร แต่หากต้องการความพิเศษเพิ่ม เช่น ไปรถเร็ว รถด่วน หรือไปตู้นอน หรือไปรถแอร์ ก็จะมีตั๋วต่างหากที่แสดง ‘สิทธิ์ในการโดยสาร’ เติมเข้าไป เช่น ตั๋วสีขาวมีแถบสีส้ม คือตั๋วค่าธรรมเนียมโดยสารรถเร็ว ตั๋วสีขาวมีแถบสีชมพู คือตั๋วค่าธรรมเนียมโดยสารรถแอร์ หรือถ้าเป็นตั๋วสีขาวคาดสีเทา คือตั๋วค่าธรรมเนียมโดยสารรถนอน

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็ว (คาดแดง) ตั๋วค่าธรรมเนียมรถด่วน (คาดส้ม) ผู้โดยสารรถเร็วและรถด่วนต้องถือตั๋วนี้ควบกับตั๋วค่าโดยสารปกติ ยิ่งซื้อบริการเสริมมากเท่าไหร่ก็ต้องถือตั๋วมากขึ้นเท่านั้น

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วชนิดไป-กลับ คาดสีเหลือง ระบุต้นทาง-ปลายทางทั้งสองเที่ยว และเมื่อตรวจตั๋วจะต้องตัดทั้งสองด้าน

นั่นหมายความว่าถ้าเราเดินทางจากกรุงเทพ-เชียงใหม่ด้วยรถด่วน ตู้โดยสารแบบชั้นสองนอนแอร์ เราต้องถือตั๋วทั้งหมด 4 ใบ ตั๋วค่าโดยสาร ตั๋วรถด่วน ตั๋วรถแอร์ และตั๋วรถนอน ชีวิตคนนั่งรถไฟในยุคนั้นดูลำบากมาก การรถไฟเลยมีนวัตกรรมใหม่ คือยุบตั๋วหลากใบนั้นให้กลายเป็นตั๋วใบเดียว แล้วมีลวดลายที่บ่งบอกไปเลยว่านี่คือตั๋วแบบไหน เป็นรถด่วนนั่งแอร์นะ เป็นรถนอนชั้นหนึ่งแอร์นะ หรือแม้แต่เป็นตั๋วแบบไป-กลับ โดยมีสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือข้อมูลที่มากขึ้น จนทำให้ตัวหนังสือในตั๋วแบบ All in one นั้น มีฟอนต์ที่เล็กลง บางชนิดก็พิมพ์ข้อมูลหมดทั้งด้านหน้าและด้านหลังเลยทีเดียว

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วปรับอากาศ (คาดชมพู) ซึ่งตั๋วใบนี้ถูกพิมพ์แบบ All in one แล้ว คือผู้โดยสารไม่ต้องถือตั๋วค่าโดยสารและตั๋วค่าธรรมเนียมปรับอากาศ โดยในตั๋วจะระบุข้อมูลครบทุกอย่าง

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วรถไฟนำเที่ยวชั้นสอง ปรับอากาศ ราคาเด็ก ระบุที่นั่งคันที่ 2 เลขที่นั่ง 35

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วรถไฟนำเที่ยว ระบุรายละเอียดทั้งด้านหน้าและหลังตั๋ว

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วโดยสารรถเร็วชั้นสาม กรุงเทพ-นครราชสีมา รวมค่าธรรมเนียมแล้ว เป็นตั๋วสีส้ม (ชั้นสาม) คาดสีแดง (รถเร็ว)

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วโดยสารรถเร็วกรุงเทพ-พิจิตร รวมค่าธรรมเนียมแล้ว แก้ไขราคาจาก 93 บาท เป็น 103 บาท จากการขึ้นราคาค่าธรรมเนียมรถเร็ว แต่ตั๋วถูกพิมพ์ไว้ก่อนการแก้ราคา จึงต้องประทับราคาใหม่ลงไปด้วยตรายาง

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วโดยสารครึ่งราคา (สีชมพู) หัวหิน-มักกะสัน ราคา 22 บาท ในตั๋วระบุว่าเป็นตั๋วเด็ก

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วโดยสารครึ่งราคา (สีส้ม ประทับตราครึ่งวงกลม) กาญจนบุรี-น้ำตก ราคา 9 บาท ในตั๋วระบุสิทธิ์ผู้ได้รับลดราคา

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

หลังจากที่มีตั๋วคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว ตั๋วหนาที่ยังไม่ได้ถูกพิมพ์จึงนำมาใช้งานกับรถไฟชั้นสามทั้งหมดและไม่แยกชั้นด้วยสี จึงทำให้ตั๋วมีสีสันที่หลากหลายมากขึ้น น่าเก็บสะสม

ใบแรก-ใบหลัง

นอกจากสีสันและลวดลายแล้ว ยังมีความพิเศษอีกนิดหน่อยสำหรับตั๋วหนา นั่นคือตั๋วใบแรกและใบสุดท้ายของล็อตจะเป็นตั๋วที่มีความพิเศษเพิ่มเติมไปอีก

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วที่ยังไม่ได้นำไปใช้งานจะถูกมัดไว้ และสถานีจะต้องมาเบิกเพื่อนำออกไปใช้

ตั๋วหนาไม่ได้พิมพ์ทันทีเมื่อมีการซื้อขาย แต่เป็นการพิมพ์เก็บไว้เป็นสต๊อกแล้วค่อยเบิกออกไปใช้ ในแต่ละล็อตนั้นมี 100 ใบ โดยมีตัวเลขกำกับเอาไว้บริเวณขอบของตั๋วทั้งสองด้าน ตัวเลขมี 5 หลัก 3 ตัวแรกคือรหัสของล็อต และ 2 ตัวหลังคือลำดับของตั๋วในล็อตนั้นเริ่มจาก 00 – 99 เช่นในมัดนี้มีตั๋วหมายเลข 12300 – 12399

ความพิเศษอยู่ที่ใบแรกสุดและใบหลังสุดของล็อต เมื่อตั๋ว 100 ใบพิมพ์เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่พิมพ์ตั๋วจะมัดเอาไว้ แล้วเอาด้ายผูกให้เป็นมัดเดียวกัน พร้อมวางกระดาษชิ้นเล็กๆ ไว้บนหน้าตั๋วใบแรกและหลังตั๋วใบสุดท้าย ก่อนมัดให้แน่นไม่ให้หลุดออกจากกัน ขั้นตอนสุดท้ายคือการใช้ตรายางปั๊มลายดอกจันลงบนใบหน้าสุดและใบหลังสุด ให้รูปดอกจันนั้นติดอยู่บนตั๋วครึ่งหนึ่งและกระดาษรองอีกครึ่งหนึ่ง

เมื่อตั๋วมัดนั้นถูกนำไปใช้งานและแก้มัดออก ตั๋วใบแรกสุดจะปรากฏรูปดอกจันสีน้ำเงินครึ่งหนึ่งบนหน้าตั๋ว และใบสุดท้ายก็เช่นกันที่มีรูปดอกจันครึ่งหนึ่งปรากฏอยู่ด้านหลังตั๋ว นี่จึงเป็นตั๋วแบบพิเศษที่ถือว่าเป็น ‘Rare Item’ พอๆ กับตั๋วเลขเรียง

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วใบแรกสุดของมัด มีตราดอกจันประทับหน้าตั๋ว โดยในล็อตนี้มีหมายเลข 91200 – 91299

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วใบสุดท้ายของมัด มีตราดอกจันประทับไว้หลังตั๋ว

ตีตั๋ว-ซื้อตั๋ว

เคยได้ยินใครสักคนพูดเวลาจะไปซื้อตั๋วรถไฟว่า ‘ตีตั๋ว’ ไหม

คำนี้มีที่มา

ตั๋วรถไฟที่แต่ละสถานีเบิกมานั้นถูกเก็บไว้ในตู้ขนาดใหญ่ที่แบ่งช่องเอาไว้พอดีกับตั๋ว ด้านบนสุดเป็นเคาน์เตอร์สูงระดับอก ให้คนขายส่งตั๋วและรับเงินจากผู้โดยสารได้โดยมีเพียงไม้ระแนงกั้นเอาไว้

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ช่องขายตั๋วของสถานีรถไฟ มีความสูงเท่าคนยืน ด้านล่างนั้นเป็นตู้เก็บตั๋วหนา เพื่อเสมียนขายตั๋วจะได้หยิบง่ายๆ

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

เครื่องแสตมป์ตั๋ว

ข้างเคาน์เตอร์มีอุปกรณ์หนึ่งทำจากเหล็กหนา หน้าตาประหลาด โยกได้ เรียกว่า ‘เครื่องแสตมป์ตั๋ว’ วิธีการทำงานของมัน คือเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น พนักงานขายจะดึงตั๋วที่ต้องถูกใช้งานเสียบเข้าไปในเจ้าเครื่องแสตมป์ตั๋วที่ว่า จากนั้นก็โยกมันไปด้านหน้าด้วยความเร็วและดันมันกลับมา จังหวะที่มันถูกดันกลับมานั้นจะเกิดเสียงกระแทก ‘ปั้ก’ ดังขึ้น ตั๋วที่ถูกสอดไปในเครื่องได้ถูกประทับตัวเลขไว้บนนั้นแล้วเป็นรอยพิมพ์ฝังไปในเนื้อตั๋ว โดยตัวเลขที่ปรากฏนั้นคือวันที่ เดือน ปี และเลขขบวน ซึ่งสิ่งที่จะถูก ‘ตีตรา’ ฝังลงไปจนใช้มั่วขบวนหรือมั่ววันเดินทางไม่ได้ นับเป็นอีกวิธีหนึ่งในการตรวจสอบของพนักงานห้ามล้อที่ทำหน้าที่ตรวจตั๋วบนขบวน

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วขบวน 234 หัวหิน-ฉะเชิงเทรา (เลขขบวนในปีนั้น) วันเดินทางไม่ชัดเจน

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ร่องรอยการประทับวันที่ เลขขบวน และเวลาลงในตั๋วหนา

เจ้าเสียงดัง ‘ปั้ก ปั้ก’ เป็นจังหวะรวดเร็วตามความชำนาญของคนขายนี่แหละ ที่ทำให้เกิดสำนวนว่า ‘ตีตั๋ว’ เกิดขึ้นมา

ในช่วงระยะหลัง พ.ศ. 2535 เมื่อระบบตั๋วคอมพิวเตอร์เริ่มใช้งาน การตีตั๋วด้วยเครื่องแสตมป์ตั๋วนั้นก็ลดการใช้งานลงเนื่องจากความไม่คล่องตัว การประทับวันที่ลงไปได้เปลี่ยนเป็นตรายาง ซึ่งง่ายกว่า เห็นได้ชัดกว่า

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

การใช้ตรายางประทับวันที่แทนเครื่องแสตมป์ตั๋ว

ตั๋วสะสม-ตั๋วที่ระลึก

ระบบตั๋วของรถไฟไทยเปลี่ยนจากตั๋วหนามาเป็นตั๋วคอมพิวเตอร์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แต่ก็ยังไม่ได้ยกเลิกเสียทีเดียว เพราะระบบขายไม่ได้ติดตั้งทุกสถานี ตั๋วหนาจึงถูกนำมาใช้กับประเภทที่ไม่ต้องสำรองที่ อันได้แก่รถไฟธรรมดา ชานเมือง ท้องถิ่น หรือที่เราคุ้นกันว่ารถหวานเย็นนั่นแหละ

เมื่อระบบเริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้ตั๋วคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานอย่างสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ตั๋วหนาจึงถูกยกเลิกในที่สุด และการรถไฟก็ได้ส่งตั๋วหนาทั่วประเทศที่ค้างสต๊อกในสถานีกลับเข้าคลังและตัดบัญชีทั้งหมด

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้
ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วรถไฟนำเที่ยวสายน้ำตกแบบเก่า และแบบปัจจุบัน

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ในปัจจุบันตั๋วหนาที่ถูกตัดบัญชีแล้วถูกนำมาพิมพ์เป็นของที่ระลึกในโอกาสต่างๆ เช่น การเปิดเดินรถไฟไทย-ลาว ที่ระลึกขบวนรถไฟพระที่นั่ง 

บางส่วนนำมาขายในรูปแบบของที่ระลึก ไม่ว่าจะเป็นตั๋วหน้าตาแบบเดิม ตั๋วที่ทำเป็นพวงกุญแจ ซึ่งนับว่าเป็นการนำของเก่าที่ถูกตัดบัญชีมาสร้างคุณค่าอีกครั้ง ทั้งในแง่ของรายได้และคุณค่าทางจิตใจ เรียกได้ว่าเมื่อมีงานใดๆ ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟไทยเอาตั๋วมาออกขาย ก็ต้องขึ้นแท่น Best Seller เล่นเอาเสียของที่ระลึกชิ้นอื่นๆ มีน้อยใจกันเลยทีเดียว

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วที่ระลึกการเปิดเดินรถไฟระหว่างไทย-ลาวเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วที่ระลึกพิธีเปิดเดินรถไฟระหว่างหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ตั๋วแข็ง ตั๋วรถไฟรุ่นแรกๆ ของการรถไฟยุคแมนวลที่กลายมาเป็นของสะสมและของที่ระลึกในยุคนี้

ตั๋วที่ระลึกขบวนรถพิเศษพระที่นั่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากสถานีจิตรลดา-สะพานแควใหญ่ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558


อีกนิดอีกหน่อย

  1. เราซื้อตั๋วหนาเป็นที่ระลึกได้ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย สถานีรถไฟกรุงเทพ เปิดทุกวันอังคาร-เสาร์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ราคาใบละ 20 บาทเท่านั้น
  2. มีคนเฒ่าคนแก่เคยเล่าให้ฟังว่า หากถูกตะขาบกัดให้เอาตั๋วรถไฟไปแช่น้ำแล้วพอกแผลไว้จะช่วยดูดพิษตะขาบ อันนี้เราไม่ขอลองด้วยคนนะ
  3. ตั๋วอีกแบบที่มีคุณค่ามากคือตั๋วที่พิมพ์ชื่อเดิมของสถานี เช่น สถานีหัวหมาก เดิมชื่อสถานีบ้านหัวหมาก ตั๋วแบบนี้หายากมาก หมายความว่ามันถูกพิมพ์ไว้นานแล้วก่อนที่สถานีจะถูกเปลี่ยนชื่อ

Writer & Photographer

Avatar

วันวิสข์ เนียมปาน

มนุษย์ผู้มีรถไฟไทยเป็นเพื่อนสนิท และอยากแนะนำเพื่อนให้ชาวบ้านสนิทด้วย รักการเดินทางและชอบเดินเป็นชีวิตจิตใจ