The Swedish Theory of Love เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ชวนผู้ชมไปเยี่ยมเยือนพื้นที่ตกสำรวจในประเด็นเกี่ยวกับความรัก ความสัมพันธ์ ความสุข และการให้คุณค่าของประชาชนชาวไวกิ้ง ผ่านมุมมองและการตั้งคำถามของ อีริก แกนดินี (Erik Gandini) ผู้กำกับลูกครึ่งสวีเดน-อิตาลี ที่เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า สถานะความเป็นลูกผสมสองประเทศที่อยู่ในยุโรปเหมือนกันก็จริง แต่กลับมีวัฒนธรรมต่างกันสุดขั้ว ช่วยให้เขามองวิถีชีวิตของผู้คนทั้งสองประเทศในฐานะคนนอกได้ และความรู้สึกของเขาที่มีต่อค่านิยมด้านความสัมพันธ์ของชาวสวีเดนก็คือ เป็นความรู้สึกทั้งชังทั้งชอบ ที่ไม่รู้จะอธิบายยังไง
หนังเล่าว่า เมื่อ ค.ศ. 1972 รัฐบาลสวีเดนประกาศนโยบาย The Family of the Future หรือครอบครัวแห่งอนาคต หลักใหญ่ใจความอยู่ที่การสร้างตาข่ายทางสังคมมารองรับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น มาตรการรักษาพยาบาลฟรี หรือการประกันรายได้เมื่อตกงาน เพื่อให้พลเมืองแต่ละคนสามารถเป็นอิสระจากภาระทางการเงิน โดยรัฐเชื่อว่าจะนำไปสู่โมเดลครอบครัวในอนาคต ที่ปัจเจกชนจะมารวมตัวกันสร้างครอบครัวเพราะความรัก ไม่ใช่เพราะต้องการพึ่งพากันในทางเศรษฐกิจหรือการแบ่งปันทรัพยากร
หลังจากที่หนังสารคดีเรื่องนี้เข้าฉายในประเทศสวีเดนและประเทศอื่นๆ ในยุโรป ก็ได้รับคำวิจารณ์ทั้งชังทั้งชอบเช่นเดียวกันกับความรู้สึกของผู้กำกับที่มีต่อประเด็นที่ต้องการสื่อสารในหนัง แต่ที่น่าสนใจก็คือ ตัวหนังเองได้รับการสนับสนุนโดย Swedish Film Institute ซึ่งดูเหมือนจะไม่ได้ค้างคาใจกับความจริงที่ว่า หนังกำลังวิจารณ์สังคมของตัวเองอยู่
James Cameron เผยว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิยายไซไฟทุกเล่มที่เคยอ่านมาตั้งแต่ยังเด็ก เช่น John Carter รวมไปถึงหนังหลายเรื่อง หนังที่เป็นแรงบันดาลใจหลัก ๆ คือ Dance with Wolves ที่ Kevin Coster แสดงนำ ในเรื่องของชายผู้ต้องต่อสู้กับฝั่งที่ตัวเองร่วมต่อสู้ด้วยมาตลอด รวมถึงอนิเมะ Princess Mononoke ของ Studio Ghibli ในเรื่องการสร้างระบบนิเวศดาว Pandora ส่วนแหล่งธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตหายากในโลกของเรา ก็ถูกใช้เป็นต้นแบบของหลายสิ่งหลายอย่างในหนังเรื่องนี้เช่นกันครับ
ในส่วนของคำศัพท์ ชื่อเรื่อง และไอเดียการย้ายจิตสิงร่าง เขาพบมาจากนิยาย Neuromancer แนวไซเบอร์พังก์ของ William Gibson และยังรับแรงบันดาลใจนี้มาจากมังงะไซเบอร์พังก์อีกเรื่องอย่าง Ghost in the Shell ว่าด้วยเรื่องของจิตและกาย กับตำนานที่เทพฮินดูลงมาสถิตอยู่ในร่างมนุษย์ตัวเป็น ๆ ส่วนแนวคิด ‘World Mind’ หรือการเชื่อมโยงจิตเข้ากับธรรมชาติ เขาได้รับมาจาก Solaris ของ Stanislaw Lem
James จึงอยากให้มองว่านี่ไม่ใช่หนังแอนิเมชัน แต่เป็นคนแสดงที่ใช้การเมคอัพแบบดิจิทัลมากกว่า ซึ่งระหว่างการถ่ายทำแกก็ได้เรียกผู้กำกับชื่อดังอย่าง Peter Jackson, Steven Spielberg และ George Lucas มาดูการทำงานถึงกองถ่ายเลยครับ และทุกคนตื่นเต้นมากที่ได้ยืนดูและลองใช้ (โอเค เราเรียกว่า James Cameron เป็นผู้กำกับชั้นครูก็คงไม่เกินไปแล้ว)
ผู้บริหาร 20th Century Fox สารภาพกับ James Cameron ตรง ๆ ว่า เขาไม่รู้ว่าตัวเองบ้าที่อนุญาตให้ James ทำ หรือ James เชื่อว่าจะทำมันได้จริง ๆ เริ่มแรกค่าย Fox ให้ทุนไป 10 ล้าน เพื่อให้ทดลองถ่ายหนังคอนเซ็ปต์ให้บอร์ดผู้บริหารดู ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งมันจะกลายเป็นหนังทุนสร้างหลักหลายร้อยล้านดอลลาร์ฯ ได้ เพราะขนาดก่อนฉาย นักวิจารณ์และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินรายได้ยังลงความเห็นล่วงหน้าว่าเจ๊งแน่นอน บ้างก็ล้อว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์แมวสีฟ้าตัวสูง ใครจะไปดูวะ ไปจนถึงล้อว่าเดี๋ยวก็ตามรอยซีจีของ Star Wars ไตรภาค Prequel เพราะจะทำได้แค่ไหนกันเชียว แต่ผลกลับกลายเป็นว่า แม้ภาคแรกจะสร้างขึ้นเมื่อ 13 ปีที่แล้ว แต่ซีจีนั้นก็ยังน่าทึ่งในปี 2022
แต่ความ James Cameron ก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เขาได้สั่งสร้างเทคโลยีใหม่เพื่อถ่ายทำโมชั่นแคปเจอร์ใต้น้ำโดยเฉพาะ ร่วมกับบริษัท Weta Digital ของ Peter Jackson เพราะการถ่ายทำภาคต่อต้องถ่ายใต้สระในสตูดิโอที่มีน้ำ 900,000 แกลลอนแทบทั้งเรื่อง (นักแสดงก็ต้องฝึก Freediving หรือการดำน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจเพื่อถ่ายทำในสระด้วยเช่นกัน)
เขายอมแม้กระทั่งทิ้ง ‘Avatar: The High Ground’ บทดราฟต์แรกที่เขียนจบแล้ว 130 หน้า แม้จะรักมันมากก็ตาม เพราะยังไม่ดีพอ (แต่ก็ไม่ได้สูญเปล่าซะทีเดียวครับ เพราะพล็อตเก่าจะกลายเป็นคอมมิกของค่าย Dark Horse และวางภายในช่วงสิ้นปีนี้แทน)
วิธีการเขียนบทของภาคต่อ Avatar ค่อนข้างน่าสนใจเลยครับ James Cameron วางให้แต่ละภาคเป็นเรื่องราวที่แยกหรือไม่เกี่ยวข้องกัน แต่มีจุดเชื่อมโยงคือสิ่งต่าง ๆ กับสตอรี่อาร์ตที่ปูไว้ในภาคแรก โดยแทนที่จะจบแบบค้างคา แต่ละภาคจะต้องจบเคลียร์และจบในตัว ซึ่ง James ไม่บอกว่าแต่ละคนได้เขียนบทภาคไหน เพื่อให้ทุกคนมีอิสระในการคิด เมื่อเขียนเสร็จจึงค่อยมาดูภาพรวมอีกทีว่าจะทำยังไงให้สอดคล้องและไปด้วยกันได้
James Cameron ตั้งโจทย์ของภาคต่อ Avatar โดยเริ่มต้นที่ The Way of Water เอาไว้ว่า เป็นการต่อยอดให้เห็นธรรมชาติของดวงจันทร์ Pandora (เรียกง่าย ๆ ว่าต้องเป็นหนังสำรวจ & พาทัวร์นั่นเอง) ส่วนตัวละครกับด้านจิตวิญญาณใต้กระแสคลื่นทะเล ซึ่งเขามั่นอกมั่นใจมากว่า หากคนดูดูภาคแรกแล้วชอบ ก็จะชอบภาคนี้เช่นกัน และยังเปรียบเทียบหนังภาคต่อกับไตรภาค The Godfather ว่า หนังจะยังคงเล่าเกี่ยวกับตัวละครเก่า ตัวละครเหล่านั้นมีลูก และลูก ๆ ของตัวละครท่ี่เรารู้จักจะเป็นคนรุ่นต่อไปที่มาเปลี่ยนเกม (เหมือนที่รุ่นลูกหลานจะรับช่วงต่อธรรมชาติ และเป็นผู้กำหนดชะตากรรมโลกต่อไป อันนี้เสริมเองนะครับ)
“เด็กทุกคนคือนักประวัติศาสตร์ธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และพวกเขาทิ้งชีวิตเหล่านั้นไว้ข้างหลัง พวกเราผ่านมันไปและกำลังอาศัยอยู่ในสภาวะขาดแคลนธรรมชาติ” James Cameron กล่าวกับทาง Cnet ถึงเป้าหมายในการสร้าง Avatar, Avatar: The Way of Water รวมไปถึงภาคต่อที่กำลังจะตามมา
เขาจึงเขียนเนื้อเรื่องให้เกิดขึ้นในอีก 100 กว่าปี ซึ่งเป็นอนาคตที่ James คาดว่ามนุษย์จะอาศัยอยู่บนโลกไม่ได้แล้ว จะแก้ก็สายเกิน สิ่งเดียวที่มองเห็นคือการหาดาวดวงใหม่ เริ่มต้นใหม่ และมีแนวโน้มว่าจะทำสิ่งซ้ำเดิมอีกรอบอย่างที่เราเห็นกันในหนัง ที่บริษัทโค่นเผา Hometree หรือต้นไม้ยักษ์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวนาวีเพื่อแร่ธาตุและทรัพยากร เรียกได้ว่าวันหนึ่งกระบวนการเดิมและนิสัยเดิม ๆ ของมนุษย์ จะนำชะตากรรมเดียวกันของดาวโลกมาสู่ดาวแพนดอร่า จากไอเดียช่วงชิงจึงนำมาสู่พล็อตยึดครองและความต้องการลงหลักปักฐานในภาค The Way of Water
และ The Way of Water ยังเป็นหนังที่นำคำพูดที่ว่า ‘ครอบครัวคือบ้าน; มาแสดงให้เห็นเป็นภาพได้ชัดเจน พร้อมกับนำเสนอแง่มุมใหม่ที่เรายังไม่เคยเห็นบนดาว Pandora ซึ่งทำให้อึ้งทึ่งได้แทบตลอดเวลา เราได้เห็นว่าตัวละครไม่ต้องการจากบ้าน แต่จำใจต้องจาก และสุดท้ายแล้วพวกเขาก็ได้พบคำตอบว่า อะไรกันแน่คือความหมายของนามสกุล Sully
ในทางปฏิบัติแล้ว Avatar: The Way of Water จึงเป็นทั้งหนัง Family-drama ในสเกลใหญ่ พร้อม ๆ กับ Sub Plot ที่มีความเป็น Coming-of Age ค้นหาตัวเองไปในตัว จากการให้เวลาผืนป่าราวครึ่งเรื่อง และผืนน้ำครึ่งเรื่อง กับครอบครัวครึ่งเรื่อง ชีวิตวัยรุ่นครึ่งเรื่อง ซึ่งเมื่อพูดถึงเรื่องเหล่านี้ ก็ทำให้เห็นชัดว่าหนังขับเน้นเรื่องความสัมพันธ์เช่นเดียวกันครับ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน ชาวเผ่า หรือสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ
ความน่าสนใจนอกเหนือจากนี้ คือการที่ตัวละคร Kiri เป็นผลผลิตของ Eywa (เอวา) หรือพระมารดา ราวกับเป็นร่างอวตารเจตจำนงแห่งธรรมชาติ ผสมผสานกับ DNA ของร่างนาวี Dr. Grace อีกที การคอนเนกจากธรรมชาตินี้จะนำไปสู่อะไร และอะไรคือความต้องการของดาวดวงนี้ เมื่อมันพูดได้และเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังปกป้องชีวิตและสรรพสิ่ง เป็นเรื่องที่เราคงได้รู้คำตอบในภาคต่อไป แต่ Message เดียวที่มีในตอนนี้คือ ธรรมชาติในหนังอยู่ข้างเรา หากเราเชื่อมโยงกับมันมากพอ และโลกของเราเองก็เช่นกัน หรือกล่าวได้ว่าเป็นการนำไอเดีย World Mind (โลกมีชีวิต เชื่อมต่อจิตได้) มาทำให้เป็นรูปธรมมากขึ้นกว่าการเชื่อมต่อด้วยหางเปียเดียวหรือการสัมผัส
ความสัมพันธ์ของอีกคู่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้พัน Quaritch กับ Spider ละแต่ละตัวละครเอง ว่า Quaritch จะมีหนทางอย่างไรต่อจากนี้ ในเมื่อตัวเองเป็นความทรงจำหรือร่างโคลนที่ได้รับมาเพียงเจตจำนงของ Quaritch ที่ตายไปแล้ว แต่อันที่จริงก็ไม่ได้มีความแค้นไปกับ Jake Sully ซะทีเดียว จึงมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวละครนี้เลือกเส้นทางแตกต่างออกไปจากเดิม ส่วน Spider เองก็เป็นตัวละครที่ต้องชั่งใจเช่นกันว่าจริง ๆ แล้วเขาคือใคร แต่ที่แน่ ๆ สายสัมพันธ์นี้ชวนให้นึกถึงการที่ James Cameron นำ Arnold Schwarzenegger ที่เล่นเป็นตัวร้ายในหนังคนเหล็กภาคแรก มาจับคู่อินเนอร์พ่อ-ลูกกับตัวละคร John Conner ในภาค Judgement Day หรือภาค 2 ไม่น้อยเลยครับ
ในภาพรวมแล้วเรื่องความตระการตา ถือว่ายิ่งกว่าคำว่าสอบผ่านครับ ในเมื่อ James Cameron โปรโมตหนังตัวเองอย่างมั่นใจ ก็จะขอกล่าวถึงหนังด้วยเอเนอร์จี้ระดับเดียวกันเช่นกันว่า Avatar: The Way of Water น่าจะใกล้เคียงกับการนั่งยานอวกาศไปท่องต่างโลกที่สุด เท่าที่เราจะมีประสบการณ์ร่วมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชมในโรงภาพยนตร์ระบบ IMAX 3D เลเซอร์
สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือชื่อของแต่ละภาคครับ จากที่ประกาศชื่อภาค 2-5 จะเป็นตามลำดับ คือ Avatar 2 = The Way of Water, Avatar 3 = The Seed Bearer, Avatar 4 = The Tulkun Rider และ Avatar 5 =The Quest for Eywa สิ่งที่สงสัยหลังดูภาคแรกและ The Way of Water จบ คือป่าก็แล้ว ท้องฟ้าก็แล้ว ใต้น้ำก็แล้ว ภาคถัดไปจะเล่นเรื่องอะไรอีก มีส่วนไหนวัฒนธรรมไหนที่เรายังไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็น และจะพาเราไปสำรวจจักรวาลกว้างไกลถึงไหน
และ 2 สิ่งที่พอรู้คือ James Cameron มีไอเดียว่าสักภาคในนี้จะพาไปสำรวจดวงจันทร์ดวงอื่นของดาว Polyphemus ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการที่ The Way of Water ทำให้เราตะลึงงึงงันได้ตลอดเวลาที่รับชม และตั้งมาตรฐานในการสร้างภาพยนตร์ให้สูงขึ้นไปอีก หนังภาคต่อ Avatar ที่กำลังจะมาต่อจากนี้ จะไม่มีเรื่องไหนธรรมดาเป็นแน่