“เชิญสำราญ ร่วมเบิกบานดวงใจ ……… ทำให้ใจเริงรื่น”

ก่อนอื่นอยากให้คุณเติมประโยคที่หายไปในบรรทัดบนก่อนอ่านบทความ

เติมไม่ได้ไม่เป็นไร คุณอาจเกิดไม่ทันเพลง สุขกันเถอะเรา แต่ถ้าคุณเติมไม่ได้แม้จะเกิดทันช่วงฮิตของเพลงนี้ หรือเคยร้องได้แต่กลับจำไม่ได้ ก็อยากจะชวนคุณมาร้องคาราโอเกะออกกำลังให้สมอง ชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์กันสักเพลง

 

แค่คนขี้ลืม หรือโรคส่งสัญญาณ

โรคอัลไซเมอร์อาจไม่ใช่แค่อาการความจำเสื่อม

ถ้าว่ากันตามอาการ นอกจากการสูญเสียความทรงจำแล้ว ยังมีอีกหลายอาการเตือนของโรคอย่างการทำงานที่คุ้นเคยด้วยความลำบากมากขึ้น บุคลิกภาพที่เปลี่ยนเหมือนเป็นคนละคน มีอาการสับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่หรือแม้แต่การวางของผิดที่ผิดทาง

โรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์

ถ้าว่ากันที่ตัวเลขสถิติ อัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างน้อย 800,000 คน (การคาดประมาณประชากรของไทย จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2561 มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปประมาณ 7,860,00 คน)

และถ้าว่ากันที่การรักษา แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันจะทำให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวขึ้น แต่การรักษาอัลไซเมอร์จะเป็นการรักษาตามความเจ็บป่วยนั้นๆ เช่น ถ้ามีอาการนอนไม่หลับก็จะรักษาให้นอนได้เยอะขึ้นเท่านั้น ยังไม่มีหนทางที่จะรักษาให้หายขาด ทำได้แค่ประคองไม่ให้อาการทรุดลงไป

โรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์


เเคมเปญนี้ไม่มีบรีฟ

ร่วมๆ 4 เดือนก่อนหน้าวันที่ 21 กันยายน ที่ถูกประกาศให้เป็นวันอัลไซเมอร์โลก ทีมครีเอทีฟจาก DENTSU ONE ทราบว่าทางมูลนิธิอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทยทำกิจกรรมเพื่อป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์ จึงนำไอเดียที่คิดว่ามีประโยชน์ไปนำเสนอ

 

ขอร้อง…ต่อรองกับอัลไซเมอร์

เราไปเจอ Fact หนึ่งที่บอกว่าเพลงช่วยบริหารสมองได้ เพราะนอกจากการจำเนื้อร้องแล้ว ยังต้องจำจังหวะ จำทำนองด้วย” พวกเขาเริ่มต้นเล่าถึงความสนใจในโรคที่คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยปีละ 30,000 คนในอนาคต “เราเห็นในสื่อต่างๆ พอจะรู้แล้วล่ะว่าอัลไซเมอร์คืออะไร แต่พอคิดกลับกันว่าถ้าเราทำอะไรที่เป็นรูปธรรมมากกว่าบอกว่าโรคนี้คืออะไรจะดีกว่าไหม”

โรคอัลไซเมอร์

หลังการสังเกตกิจกรรมของกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรค ตามดูสถานที่ที่คนอายุ 65 ขึ้นไปรวมตัวกัน ก็พบว่าทั้งร้านอาหาร ศูนย์การค้า หรือแม้แต่โรงพยาบาล จะมีกิจกรรมคาราโอเกะปะปนอยู่

“เราคิดว่าเพลงมันเข้าถึงคนหมู่มากได้ มันเป็นสากลพอ แล้วถ้าแม่เราเคยร้องเพลงอย่าง นกเขาคูรัก จีบกับพ่อ เพลงนี้มันต้องอยู่ในจิตใจเขา แต่ถ้าเขาจำเนื้อเพลงไม่ได้แสดงว่ามันเริ่มมีปัญหาแล้วนะ” ทีม DENTSU ONE เอ่ยถึงจุดเริ่มต้นของ ‘MEMO-O-Ke เมม-โม-โอ-เกะ’ (Memory + Karaoke) คาราโอเกะรูปแบบใหม่ที่เนื้อร้องจะขาดหายไป ให้คนได้ลองนึกก่อนร้อง ก่อนที่พวกเขาจะพกเดโม่เข้าปรึกษามูลนิธิฯ

โรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์

หลังการพูดคุยทางมูลนิธิฯ เห็นถึงประโยชน์ของกิจกรรมนี้ ทีม DENTSU ONE ก็เดินหน้าหาพาร์ตเนอร์ ซึ่งก็คือค่ายเพลง Metro Records เจ้าของลิขสิทธิ์เพลงและเป็นผู้สันทัดด้านความฮิตของเพลงยุคก่อนเป็นอย่างดี

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์

“ยกออกทั้งวรรค” เป็นคำแนะนำของอาจารย์หมอที่ปรึกษาแคมเปญ เพราะจะช่วยให้คนร้องได้บริหารสมองได้มากขึ้นกว่าการที่แค่ ‘คำ’ หายไป
หลังการตรวจสอบเนื้อเพลงที่ถูกต้องแล้วทีมงานก็ตั้งข้อสังเกตว่านักเขียนเพลงสมัยก่อนมีสุนทรียะในการใช้คำมาก
โรคอัลไซเมอร์
แบบประเมินที่ทั้งคนร้อง คนประสานเสียง คนเฝ้าสังเกตุการณ์ สามารถใช้ประเมินสัญญาณอัลไซเมอร์ได้

 

กิจกรรมออนไลน์ในพื้นที่ออฟไลน์

“คาราโอเกะเป็นกิจกรรรมที่ไม่ได้ทำกันคนเดียวอยู่แล้ว เราว่ามันเป็นการมีส่วนร่วมของทั้งลูกหลานกับพ่อแม่ เป็นปฏิสัมพันธ์ของผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่ด้วยเหลือกัน” พวกเขาเอ่ยถึงช่องทางการเผยแพร่ทาง YouTube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่ไม่ยากเกินไปสำหรับการเข้าถึง รวมไปถึงมันง่ายต่อการส่งต่อ ผู้สูงอายุเจอเองแล้วส่งต่อหรือจะเป็นลูกหลานเปิดให้ผู้ใหญ่ที่บ้านร้องเพลงก็ได้

 

มากกว่าแค่ส่งต่อ แต่เป็นเครื่องมือป้องกัน

“อยากให้เขาส่งกันต่อไปเหมือนส่งสวัสดีวันจันทร์เราอยากให้เพลงเมมโมโอเกะไปอยู่ในสวนอาหาร ในตู้คาราโอเกะ ตามโรงพยาบาล ในทุกๆ ที่ที่กลุ่มทาร์เก็ตของเราเข้าไป มันเป็นอีกเครื่องมือที่ทำให้คนอายุเยอะๆ เขาเริ่มสังเกตตัวเองได้ มีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและสามารถส่งต่อๆ กันไป เพื่อให้หนึ่งความทรงจำดีๆ ของครอบครัวหนึ่งมันยืดออกไปได้อีก” ทีม DENTSU ONE เอ่ยถึงความคาดหวังต่อกิจกรรมนี้ ก่อนปิดท้ายทีเล่นทีจริงแบบที่ทุกคนพยักหน้ารับว่า จริงๆ เราทำเพื่อตัวเราเองทั้งหมดในอนาคตครับ ถ้ามีคนทำเพลงยุคของผมเป็นเมมโมโอเกะตอนผมอายุเยอะๆ แล้วก็คงดี”

โรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์

หลังปรึกษากับคุณหมอในมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย   ทีมงานก็ตั้งใจเลือกนักแสดงที่มีช่วงอายุ 40 – 50 ปี ที่นอกจากจะเป็นช่วงวัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคแล้ว
ยังเป็นช่วงอายุที่เหมาะกับการทำกิจกรรม
MEMO_o_ke เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์

ผู้ที่สนใจเข้าไปร้องเพลงกันได้ใน YouTube โดยเสิร์ชคำว่า ‘MEMO_o_ke’ นอกจากนี้ ยังสามารถรับแผ่นซีดีตามสถานที่ที่เข้าร่วมกิจกรรม และถ้าอยากรู้จักโรคอัลไซเมอร์มากกว่านี้ก็ไปที่เว็บไซต์ของมูลนิธิฯ ได้ที่ www.alz.or.th

 

ทีม DENTSU ONE

มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย

บริษัท เมโทรแผ่นเสียง-เทป (1981) จำกัด อนุเคราะห์ลิขสิทธิ์เพลง

ทีม DENSTU ONE ประกอบด้วย

Chief Creative Officer : สุบรรณ โค้ว

Creative Director : ก้องภพ ศิริวัฒนกาญจน์

Senior Copywriter : ชนิสรา งามแป้น

Senior Art Director : ธนไชย สุทธิเสรีสกุล

Art Director : ณัฐธันยพร จิรากุลธัญสิริ / ศศิธร ค้ำชู

Account Manager : ฐัชยา เรืองเกษา

Account Management Director : ฐิติพร พันธ์สกุล

Head of Production : วรวิทย์ ประกรแก้ว

Digital Strategic Associate Director : ชวิน สุภเกษมวงศ์

Traffic Manager : วิจิตรา ไตรทศตระกูล

 

ทีมโปรดักชันเฮาส์

สำเพ็งเซ็งลี้ฮ้อ

Director : นราดล เลียวไพโรจน์

Cinemagraph / D.O.P : KAI

Production Producer : อาภรณ์ พินิจค้า

Editor : เจม

Post Production : Bunker CG Post Co., Ltd.

Sound Production : Time Lapse Co., Ltd.

 

Writer

Avatar

วิชุดา เครือหิรัญ

เคยเล่าเรื่องสั้นบ้างยาวบ้าง ในต่างเเเพลตฟอร์ม เล็กบ้างใหญ่บ้างออกมาในรูปแบบบทสัมภาษณ์ นิตยสาร เว็บไซต์ นิทรรศการไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ ตอนนี้กำลังเป็นส่วนเล็กๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย เเละยังคงเล่าเรื่องต่อไป