27 พฤศจิกายน 2021
18 K

อำเภอสังขละบุรี เป็นอำเภอที่อยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี 200 กว่ากิโลเมตร มีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ถึงจะห่างไกลจากตัวเมือง แต่ก็ยังเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์และเรื่องราวน่ารักของชาวสังขละบุรี มีอาหารหลากหลาย ผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีที่น่าจดจำ และสถานที่ที่เต็มไปด้วยร่องรอยของวิถีชีวิต 

แม้การระบาดของวิกฤตการณ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สังขละบุรีเงียบเหงาลงไปบ้าง แต่ดีแทคก็ได้พาเสน่ห์ที่น่าดึงดูดของชุมชนกลับมาอีกครั้ง ชวนนักท่องเที่ยวมาเห็นเสน่ห์ของสังขละบุรีในมุมใหม่ จับจ่ายสินค้าฝีมือชาวบ้านได้แม้ไม่ต้องมาด้วยตัวเอง กู้รอยยิ้มของชาวสังขละบุรีกลับมา ด้วยสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ดีทั่วถึงเพื่อชีวิตเท่าเทียม 

คอลัมน์ Take Me Out ครั้งนี้ชวนผู้อ่านไปสัมผัสและซึมซับวิถีชีวิตอันน่าค้นหาของชาวสังขละบุรีด้วยกัน 

01

สะพานมอญ

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

สะพานมอญหรือสะพานอุตตมานุสรณ์​ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่หากมาอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จะต้องมาเยือนให้ได้ บ้างยืนสูดอากาศ บ้างชื่นชมวิวธรรมชาติ บ้างก็มาเฝ้ามองและเรียนรู้วิถีชีวิตชาวมอญ

สะพานแห่งนี้เป็นสะพานไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 เกิดขึ้นมาจากความตั้งใจของหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งต้องการสร้างสะพานเชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนมอญกับคนไทย ทำให้เดินทางข้ามไปมาได้สะดวก และเพื่อให้เด็ก ๆ มีทางเดินที่ดีไปโรงเรียน 

ในอดีตสะพานมอญเป็นสะพานไม้ที่มีลักษณะโค้งไปโค้งมา มีความยาวกว่า 845 เมตร นับว่าเป็นสะพานสร้างจากไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับที่สองของโลก รองมาจากสะพานไม้อูเบ็งของเมียนมา ถูกสร้างและปรับปรุงมากว่า 5 ครั้ง จนมาเป็นสะพานไม้ที่ยาวตรงขนาด 445 เมตร พาดผ่านแม่น้ำซองกาเลียในปัจจุบัน

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ชาวมอญเคร่งครัดเรื่องศาสนามาก และนั่นคงเป็นสาเหตุที่ทำให้วิถีชีวิตของพวกเขาแสดงออกมาผ่านกระทำและวิถีชีวิตในแต่ละวัน ทุกเช้าชาวมอญจะตื่นเช้าขึ้นมาเตรียมข้าวสวยร้อน ๆ ที่นับเป็นข้าวสุกข้าวแรกของหม้อเพื่อนำไปถวายพระ เป็นภาพที่นักท่องเที่ยวเห็นกันจนชินตา

สะพานมอญไม่มีช่วงที่สวยเป็นพิเศษ เพราะที่สังขละบุรี แต่ละฤดูกาลมีเอกลักษณ์และเสน่ห์แตกต่างกัน หากมาฤดูร้อน แม้อากาศจะร้อนและไม่เห็นหมอกเหมือนในหน้าหนาว แต่จะได้ล่องเรือชมวัดจมน้ำ แบบที่เดินทอดน่องลงไปดูสถาปัตยกรรมจมน้ำได้ในระยะใกล้ หากมาในฤดูฝน ก็จะเห็นชาวบ้านและนักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตาจากหลายภูมิภาคมาตกปลาที่นี่ ส่วนฤดูหนาว ก็จะได้สูดอากาศเย็นสบาย และชมหมอกหนาที่สวยจับใจ 

ที่ตั้ง : ซอยสะพานไม้ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แผนที่)

วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน

02

พี่เย็น เทินหม้อ

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

การเทินคือการวางสิ่งของไว้บนศีรษะแทนการถือ เพื่อให้ถือของได้ในจำนวนที่เยอะขึ้น แถมยังไม่รู้สึกหนักเท่ากับการถือด้วยมือ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของชาวมอญที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ และอดนึกถึงไม่ได้เมื่อคิดถึงชาวมอญ 

ป้าเย็น นับได้ว่าเป็นเดอะมาสเตอร์ด้านการเทินหม้อ ไม่ว่าใครผ่านมาผ่านไปแถวสะพานมอญ เป็นต้องเห็นป้าเย็นเดินเทินหม้ออยู่แถวนี้เพื่อมารอตักบาตร พร้อมขายชุดตักบาตรให้กับนักท่องเที่ยวในยามเช้า

แม้บนศีรษะของป้าเย็นจะมีหม้อข้าวสูง 15 ใบ หนักเกือบ 5 กิโลกรัมตั้งอยู่ แต่เธอก็ยังคงเดินอย่างมั่นคง แวะถ่ายรูปสนุกสนาน พูดคุยอย่างเพลิดเพลิน และแจกรอยยิ้มให้กับนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ

ที่ตั้ง : สะพานมอญ ซอยสะพานไม้ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แผนที่)

วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน

03

แม่น้ำซองกาเลีย

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

แม่น้ำซองกาเลียเป็นแม่น้ำที่ตัดผ่านเมืองสังขละบุรีออกเป็น 2 ฟาก ระหว่างฝั่งชุมชนมอญที่ตั้งรกรากมากว่าร้อยปี และฝั่งชุมชนไทยที่เป็นเหมือนตัวเมือง มีทั้งที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน โดยมีสะพานมอญคอยเชื่อมสายใยระหว่างสองฝั่ง ให้ผู้คนมอญ ไทย เมียนมา และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยในละแวกนี้ได้ไปมาหาสู่ และข้ามมาทำธุระในอีกฝั่งได้

แม่น้ำซองกาเลียเป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านทั้งไทยและมอญ ชาวบ้านที่อาศัยและใช้ชีวิตบนแพ นำน้ำจากแม่น้ำไปกิน ไปใช้ และหล่อเลี้ยงเลี้ยงอาชีพให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง จากการทำประมง การล่องเรือพานักท่องเที่ยวชมวัด และยังเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงความมีชีวิตชีวา เป็นสนามเด็กเล่นจากธรรมชาติให้กับเด็ก ๆ ในชุมชน ได้มาใช้เวลาเรียนรู้และเล่นสนุก

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เดิมที่มาของแม่น้ำซองกาเลียเป็นปริศนา เพราะสายน้ำสายนี้ไหลออกมาจากชั้นของหินในหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยง ก่อนจะค้นพบว่า จริง ๆ แม่น้ำสายนี้เชื่อมมาจากเมียนมา ก่อนไหลมายังสังขละบุรีและไปบรรจบกับแม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตีในจุดที่เรียกว่าสามประสบ 

สำหรับใครที่อยากลงเล่นน้ำหรือพักผ่อนใจ ก็ขับรถออกมาจากตัวเมืองอีกหน่อย ไปยังห้วยซองกาเลีย จุดลงเล่นน้ำที่ชวนให้ผู้อ่านมาสัมผัสความเย็นสบาย คลายร้อน ใช้เวลาไปอย่างช้า ๆ และนับว่าเป็นเสน่ห์ของแม่น้ำซองกาเลีย

ที่ตั้ง : ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แผนที่)

วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน

04

ล่องเรือชมวัดจมน้ำ

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

วัดจมน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าสามประสบ ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นหมู่บ้านสังขละบุรีทั้งเมือง มีทั้งวัด สถานีตำรวจ โรงพยาบาล และสถานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของชุมชนชาวไทย เมียนมา และกะเหรี่ยง ก่อนทั้งหมดจะถูกน้ำท่วม เพราะการสร้างเขื่อนและจมอยู่ใต้น้ำมานานหลายสิบปี ชาวบ้านจึงต้องอพยพและตั้งรกรากใหม่ในบริเวณเมืองสังขละบุรีปัจจุบัน 

วัดวังก์วิเวการาม หรือวัดหลวงพ่ออุตตมะเก่า มีโบราณสถานของหอระฆัง โบสถ์วัดวังวิก์เวการาม และกุฏีของหลวงพ่ออุตตมะ กุฏิของหลวงพ่อจะมีคานที่เป็นรางรถไฟจากสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ด้วย ส่วนภายในผนังโบสถ์จะมีร่องรอยของการประดิษฐานพระพุทธรูปกว่า 2,500 องค์ บ้างก็ถูกย้ายไปยังวัดใหม่ และบางส่วนก็จมลงไปยังแม่น้ำ หากได้มาในช่วงหน้าแล้งก็จะเดินลงไปชมใกล้ ๆ ได้ด้วยตัวเอง แต่หากมาในช่วงหน้าหนาว น้ำจะมีปริมาณสูงขึ้น ทำให้ล่องเรือชมได้เพียงหลังคาโบสถ์ที่ยังคงความสวยงามไปอีกแบบ

นอกจากนี้ ผู้อ่านยังเลือกเส้นทางล่องเรือได้ด้วยตัวเอง เพราะยังมีโบราณสถานอีกหลากหลายให้ได้ชม ทั้งวัดศรีสุวรรณ วัดมอญอีกหนึ่งแห่งที่จมอยู่ใต้น้ำ วัดสมเด็จ ซึ่งเป็นวัดเดียวที่ยังคงมีพระพุทธรูปให้เข้าไปสักการะได้ รวมถึงไปชมประตูเมืองระหว่างเมียนมาและไทยได้ด้วย 

ที่ตั้ง : ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แผนที่)

ติดต่อบริการไกด์ท้องถิ่นสำหรับล่องเรือชมวัดจมน้ำได้ที่ Facebook : สะพานมอญ สังขละบุรี Powered by dtac 700MHz

โทรศัพท์ : 06 2982 3114 (คุณซานต้า)

05

เจดีย์พุทธคยา

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เจดีย์พุทธคยา เป็นเจดีย์องค์ใหญ่สีทองสะดุดตา ทรงสี่เหลี่ยมสูง 59 เมตร บนยอดสูงสุดประดับด้วยฉัตรและทองคำหนัก 400 บาท สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 จำลองลักษณะมาจากเจดีย์พุทธคยาองค์จริง ณ ประเทศอินเดีย จากความตั้งใจของหลวงพ่ออุตตมะ ที่อยากสร้างไว้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธที่อยู่ร่วมกันอย่างไม่แยกเชื้อชาติ 

8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
8 แลนด์มาร์กสัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ อ.สังขละบุรี ที่ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ด้านหน้าของเจดีย์มีต้นโพธิ์ต้นใหญ่ หลวงพ่ออุตตมะนำเมล็ดมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นต้นโพธิ์ต้นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ บนยอดของเจดีย์ยังมีพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญจากประเทศศรีลังกามาประดิษฐานไว้ ส่วนภายนอกของเจดีย์มีสีทองอร่าม เพราะชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกันบูรณะตลอดทุกปี 

นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน เจดีย์พุทธคยายังเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญ อาทิ เทศกาลสงกรานต์ และประเพณีบูชาเรือสะเดาะห์เคราะห์ ซึ่งจัดขึ้นช่วงก่อนออกพรรษา

ที่ตั้ง : ซอยเจดีย์พุทธคยา ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แผนที่)

วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 16.30 น.

โทรศัพท์ : 09 4338 0790

06

ป้าหยิน อาหารพื้นบ้าน ขนมจีนมอญ

ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น
ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น

คนมอญนิยมกินขนมจีนเป็นมื้อเช้า เปรียบเหมือนโจ๊กและข้าวเหนียวหมูปิ้งของคนไทย 

หนึ่งในอาหารพื้นบ้านจานเด็ด ที่หากมาสังขละบุรีแล้วพลาดไม่ได้ คือขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย ขนมจีนเส้นสดที่ใช้ระยะเวลาเตรียมแป้งหลายอาทิตย์ ต้องนำข้าวเหนียวและข้าวจ้าวแช่ไว้ 1 อาทิตย์ โม่อีก 1 – 2 อาทิตย์ ก่อนจะเอามาพัก เพื่อให้น้ำไหลออกมาอีก 1 คืน ค่อยนำมาตีให้เข้ากัน ผสมน้ำ และกดออกมาเป็นเส้น

น้ำยาหยวกกล้วยให้รสหวานธรรมชาติมาจากเนื้อปลา ส่วนหยวกกล้วยต้องผ่านกรรมวิธีการล้างและลวกอย่างดี เพราะหากลวกไม่ดีจะทำให้รู้สึกคันคอได้ ออกมาเป็นหยวกกล้วยเนื้อสัมผัสนิ่ม ๆ ส่วนเนื้อปลา คุณป้าใช้ปลานวลจันทร์หรือปลายี่สก คัดเลือกเฉพาะปลาตัวใหญ่ นำมาแกะเนื้อ เลาะก้าง แล้วตุ๋นทั้งคืนด้วยเตาถ่านจนมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว 

เคล็ดลับของจานนี้ ป้าหยินแนะนำว่าให้ใส่พริกป่น น้ำปลา และน้ำมะขามเปียก เพื่อชูรสเพิ่มเติมสักหน่อย 

ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น

ที่ตั้ง : ซอยสะพานไม้ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แผนที่)

วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 – 18.00 น.

Facebook : ร้านป้าหยิน อาหารพื้นบ้าน ขนมจีนมอญ

โทรศัพท์ : 08 9808 3002

07

ร้านอาหารมอญ

ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น
ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น

นอกจากคนมอญจะกินขนมจีนเป็นมื้อเช้า ยังมีมื้อเย็นเป็นข้าวสวยร้อน ๆ และแกงฮังเลมอญ ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูห้ามพลาด แม้ชื่ออาจคุ้นหู แต่แกงฮังเลที่นี่ไม่เหมือนที่ไหน เพราะใช้พริกแกงพม่าสูตรต้นตำหรับ ให้กลิ่นและรสไม่เหมือนพริกแกงของไทย สืบทอดสูตรมาตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณย่า จนได้รับเลือกเป็นหนึ่งในอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ‘บ้านของดี วิถีมอญ’ และถูกบันทึกลงในแผนที่ท่องเที่ยวชุมชนมอญบ้านวังกะ ใครมาเยือนต้องมาลองลิ้ม 

แม้จะเป็นเมนูทั่วไปที่คนมอญชอบทำและหากินได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่พริกแกงของร้านนี้กลับถูกปากถูกใจผู้คนที่ได้ลองชิมมากว่า 30 ปี เพราะรสชาติถึงเครื่องแถมยังมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ 

มีทั้งแกงฮังเลหมู แกงฮังเลเนื้อ แกงฮังเลไก่ ให้เลือกชิมตามความชอบ 

ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น

ที่ตั้ง : อุตมานุสรณ์ ซอย 7 หมู่บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

Facebook : สะพานมอญ สังขละบุรี Powered by dtac 700MHz

08

โจ๊กนั่งยอง

ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น

โจ๊ก หรือ เปิ่นด้าดเกริด กินคู่กับปาท่องโก๋ หรือ อีจาเกว้ย ในตอนเช้า ๆ เหมาะเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีทีเดียว

ร้านโจ๊กนั่งยอง ร้านโจ๊กเจ้าเด็ดในดวงใจของคนมากหน้าหลายตา ไม่ว่าจะนักท่องเที่ยวหรือคนพื้นที่ ด้วยบรรยากาศน่ารักที่มีเก้าอี้ตัวเล็กไว้ให้นั่งกินอาหารแบบยอง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อร้าน 

โจ๊กของที่นี่ทำจากข้าวหอมมะลิคัดพิเศษ เอามาโม่ใหม่เกือบทุกอาทิตย์ ก่อนเอาไปเคี่ยวกับซุปหมูจนเนื้อเนียนละเอียด แถมขึ้นชื่อเรื่องความหอม หมูรวนของร้านโจ๊กนั่งยองก็เป็นสูตรพิเศษฉบับคุณแม่พี่อรที่หมักข้ามคืนเพื่อให้รสชาติเข้มข้นถึงเครื่อง ใส่ขิง พริกไทย กระเทียมเจียว ต้นหอม และหมี่กรอบได้ตามใจ เพราะทอดหมี่กรอบใหม่ ๆ ทุกวันกว่า 3 หม้อ เพราะอยากให้ลูกค้าได้กินอย่างหนำใจและถูกปากมากที่สุด

ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น
ทำความรู้จักสังขละบุรีให้ดีขึ้นกว่าที่เคย ผ่านวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และร้านอาหารท้องถิ่น

ส่วนของฝากที่นี่ก็มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งเส้นหมี่มอญ พริกไทย ชาพม่า ขมิ้น ปลาหัวยุ่ง หมูฝอย และพริกแกงฮังเลสูตรคุณตา ใครได้ลองชิมแกงฮังเลที่ร้านก็ติดใจมานักต่อนัก ทำสดใหม่ตามออเดอร์เท่านั้น สืบทอดมากว่า 40 ปี ใช้เครื่องแกงและพริกของพม่า ให้รสชาติเข้มข้น หอมกระเทียม รับรองว่าไม่เหมือนพริกแกงที่ไหน 

หากสนใจของฝากก็จับจ่ายได้ทั้งออฟไลน์ที่หน้าร้าน และออนไลน์บนเพจโจ๊กนั่งยอง เพราะที่นี่ครอบคลุมสัญญาณคลื่น 700MHz แถมมีทีมเน็ตทำกินจากดีแทคมาปันความรู้และเพิ่มทักษะพี่ ๆ ให้ขายออนไลน์ได้ไม่มีสะดุด 

ที่ตั้ง : หัวสะพานมอญ (ฝั่งมอญ) ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แผนที่)

วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 – 17.00 น.

โทรศัพท์ : 08 0111 0536

ดีแทคถ่ายทอดภาพยนตร์โฆษณาผ่าน ‘สะพานมอญ’ จุดท่องเที่ยวสำคัญของสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งชวนทีมดีแทค ‘เน็ตทำกิน’ ลงพื้นที่แบ่งปันความรู้ พัฒนาความสามารถของคนในชุมชนสู่ทักษะดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เพื่อประกอบอาชีพและสนับสนุนการท่องเที่ยว ตลอดจนการขายสินค้าท้องถิ่นต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย 

ซึ่งดีแทคติดตั้งคลื่น 700 MHz มาแล้วมากกว่า 11,800 สถานีฐาน ขยายสัญญาณครบ 77 จังหวัด ครอบคลุม 923 อำเภอทั่วไทย พร้อมเปิดเส้นทางรับแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทยและยกระดับพัฒนาชีวิตชุมชน โดยจะขยายครอบคลุมประชากร (Population Coverage) ประมาณ 93 เปอร์เซ็นต์ ด้วยสัญญาณ 4G ภายในสิ้นปีนี้

Writer

Avatar

นิธิตา เอกปฐมศักดิ์

นักคิดนักเขียนมือสมัครเล่น ผู้สนใจงานคราฟต์ ต้นไม้และการออกแบบเป็นพิเศษ แต่สนใจหมูสามชั้นย่างเป็นพิเศษใส่ไข่

Photographer

Avatar

หฤษฎ์ หอกเพ็ชร์

ถ่ายภาพตั้งแต่อยู่ปี 1 รู้ตัวอีกทีก็เป็นงานประจำไปซะแล้ว