ประเภท Romantic Comedy-drama ประเทศ สหรัฐอเมริกา ผู้กำกับ Jon M. Chu นักประพันธ์และผู้เขียนบท Kevin Kwan
บ้านทรายทองเวอร์ชันฮอลลีวูด เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ Rachel Chu สาว American Born Chinese หรือทายาทชาวจีนโพ้นทะเลที่เกิดและเติบโตที่สหรัฐอเมริกา ต้องเดินทางไปร่วมงานแต่งงานเพื่อนสนิทของ Nick Young แฟนหนุ่มในช่วงฤดูร้อนที่ประเทศสิงคโปร์
แต่ประเด็นหลักที่น่าสนใจภายใต้ความแซ่บแบบละครไทยผสม The Great Gatsby และ Sex and the City คือการกระเทาะเปลือกค่านิยม ประเพณี ที่ขัดแย้งระหว่างคนต่างเจเนอเรชัน และทัศนคติที่แตกต่างกันระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ได้อย่างน่าสนใจ
หนังเรื่องนี้สร้างจากนิยาย New York Time Best Seller ในชื่อเดียวกัน ซึ่งโด่งดังและได้การยอมรับมาตั้งแต่เป็นเวอร์ชันหนังสือแล้ว เรามองว่าเหตุผลหลักที่ทำให้หนังและหนังสือเรื่องนี้ได้ใจคนดูและนักอ่านทั่วโลก คือการ Break Asian Stereotype ได้อย่างมีชั้นเชิง
Jon M. Chu ผู้กำกับ ตั้งใจให้หนังเรื่องนี้เป็นกระแสทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะทวีปอเมริกาหรือเอเชีย เพื่อให้หนังที่เกี่ยวกับ Asian ได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เพื่อเปิดโลกและเปิดตาให้ชาวตะวันตก ได้รู้ว่าคนเอเชียก็ไม่ได้มีแค่เด็กเนิร์ด หมอ และเจ้าของร้านชำอีกต่อไป แต่ให้รู้ว่าโลกแห่งคนรวยและความหรูหราในเอเชียมันเวอร์วังอลังการขนาดไหน
ก่อนหน้าที่จะมากำกับ After Yang และล่าสุดซีรีส์ Pachinko ของช่อง Apple TV+ ผู้กำกับชาวเกาหลี-อเมริกันที่ชื่อ Kogonada โด่งดังมาจาก Video Essay ที่เขานำหนังและซีรีส์มาวิเคราะห์ชำแหละจนเห็นถึงความสวยงาม แก่น และสุนทรียศาสตร์ของคำว่า ‘Story’ และ ‘Cinema’ ตั้งแต่ซีรีส์ Breaking Bad จนถึงหนังผู้กำกับ Stanley Kubrick, Quentin Tarantino, Wes Anderson, Darren Aronofsky และอีกมากมาย ต่อมาเขาก็ได้ผันตัวจากนักวิเคราะห์และนักเฝ้ามองตัวยง มาเป็นผู้กำกับหนังเรื่อง Columbus (2017) ที่ได้รับคำชมมากมาย จนได้จับงานที่สเกลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
หนังที่หยิบยกมาพูดถึงนี้ ผมได้มีโอกาสชมในเทศกาลหนังออนไลน์ Sundance เมื่อปีที่แล้ว พอได้ยินว่าจะนำมาฉายที่ไทยก็รู้สึกดีใจมาก ๆ ครับที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงอีกรอบ (สักที) After Yang เป็นหนังแนวไซไฟ-ดราม่าของค่าย A24 นำแสดงโดย Colin Farrell และดัดแปลงจากเรื่องสั้นเรื่อง Saying Goodbye to Yang ในหนังสือ Children of the New World ของผู้เขียน Alexander WeinStein บอกเล่าเรื่องราวในโลกอนาคตเกี่ยวกับครอบครัวแห่งความหลากหลาย ที่มีพ่อผิวขาว ภรรยาผิวดำ ลูกสาวเป็นคนเอเชีย และลูกชายคนโตเป็นแอนดรอยด์ แต่แล้ววันหนึ่งแอนดรอยด์ Yang กลับพังและหยุดทำงาน กำลังจะย่อยสลายในไม่ช้า หนังเรื่องนี้จึงเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ราวกับมีชื่อที่แท้จริงว่า ‘After Yang Death’
คำว่า Love, Death + Robots ในชื่อแอนิเมชันซีรีส์ชื่อดังของ Netflix เป็นชื่อที่ผมอยากหยิบยืมมาใช้นิยาม After Yang เพราะหนังเกี่ยวข้องกับ 3 สิ่งนี้อย่างตรงไปตรงมา ความรักที่ครอบครัวนี้ (โดยเฉพาะคนลูกสาวอย่าง Mika มีให้กับ Yang) ความตายของ Yang ที่นำไปสู่การได้ทบทวน สังเกต และขบคิดเสมือนเป็นอุบัติการณ์ Thought-provoking (กระตุ้นความคิด) และความหมายของการเป็นมนุษย์และหุ่นยนต์ อะไรคือความแตกต่าง และอะไรคือสิ่งที่ทำให้ Being (สิ่งมีชีวิต) เป็น Being ได้
After Yang เป็นหนังที่ดูได้ 2 เลเยอร์ คือเลเยอร์บนในแง่ความบันเทิง ด้วยความเป็นหนังดราม่าที่มีพล็อตน่าสนใจและความยาวไม่มากไม่น้อยเกินไป กับเมื่อปอกเปลือกไปเรื่อย ๆ เลเยอร์ล่างคือในแง่อภิปรัชญา
พอหันกลับมามอง After Yang นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ผู้กำกับคนนี้หรือการทำหนังของเขาสะท้อนถึงทัศนคติในการมองโลกที่ซาบซึ้งต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว ผมเคยอ่านเจอว่า เพราะพ่อเขาเป็นคนแบบนี้และเคยบอกให้เขามองกิ่งไม้กับก้อนหินเฉย ๆ แล้วหาความหมายจากมันด้วย นี่น่าจะเป็นเหตุให้เนื้อหาของ Kogonada เกี่ยวข้องกับ ‘การสังเกต’ ว่าเราเห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัวมาก-น้อยแค่ไหน หรือไม่เห็นเลย
เพราะใน After Yang คนที่เป็นพ่อแม่มอง Yang เป็นสมาชิกครอบครัวก็จริง แต่ก็เป็นในฐานะพี่ชายที่ช่วยดูแล Mika ในขณะที่กับ Mika เขาเป็นมากกว่านั้น และการสำรวจความทรงจำของ Yang ที่ Jake (คนพ่อขุดคุ้ยเจอ) เขายังพบว่าแอนดรอยด์ตัวนี้สังเกตและบันทึกอะไรไว้มากกว่าที่คิด สิ่งที่อาจดูธรรมดาในสายตามนุษย์จึงเป็นสิ่งที่พิเศษไปเลย เราเจออะไรเหล่านั้นจนชินชา จนมันกลายเป็นความถี่ที่ไม่ได้ยิน หรือวอลเปเปอร์ด้านหลังที่ไม่เห็นอีกต่อไปแล้ว
จึงกลายเป็นว่าคำถามของ Yang ตอนเขายังมีชีวิตอยู่ กับการตายของ Yang ที่ Jake พยายามหักล้างด้วยการพยายามซ่อมหรือปลุกเขาด้วยการศึกษาความทรงจำ ทั้งสองอย่างทำหน้าที่กับ Jake มากกว่ากับ Yang คำถามเรื่องชา คนที่ได้คำตอบคือ Jake และการได้เรียนรู้จากความทรงจำของแอนดรอยด์ก็ไม่ใช่เพื่อเข้าใจในตัวเขา แต่ Jake เข้าใจความหมายว่า การมีชีวิตนั้นคืออะไรกันแน่ จากการสำรวจไฟล์ความทรงจำของสิ่งสังเคราะห์เหล่านั้น