7 เมษายน 2561

นาฬิกาปลุกเช้านี้ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ แต่เป็นเสียงกรนของเพื่อนร่วมห้องที่ทำให้เราตาสว่างตั้งแต่ยังไม่ 7 โมงเช้า ราวกับเป็นเสียงเพรียกของเวียงจันทน์ที่บอกว่า ถ้าแกตื่นสายแกจะอดเที่ยวแล้วนะ

แม้ว่าเราจะใช้เวลาในเวียงจันทน์แค่เพียง 1 คืน ซึ่งมันก็ยังไม่จุใจเท่าไหร่ เราจึงใช้เวลาช่วงเช้าออกเดินในย่านดาวน์ทาวน์ของเวียงจันทน์เพื่อเก็บตกสถานที่ต่างๆ ที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยม

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

เช้านี้อากาศเย็นมากจนต้องคว้าแจ็กเก็ตออกมาสวม อาจเป็นเพราะฝนที่ตกประหนึ่งมีคนปักตะไคร้โดยขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ช่วงเย็นและตลอดทั้งคืน ไม่อยากเชื่อเลยว่านี่คืออากาศในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่เราเคยชินว่ามันร้อนระอุจนแทบอยากจะนอนแช่ในถังน้ำแข็งทั้งวัน เป้าหมายในวันนี้คือการเดินทางไปหอพระแก้ว วัดสีสะเกด และอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ริมแม่น้ำโขง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ที่เราพลาดไปตั้งแต่เมื่อวาน

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

เวียงจันทน์เป็นเมืองที่มีอะไรหลายๆ อย่างซ่อนตัวอยู่ ทั้งตึกเก่าที่ทิ้งรอยพิมพ์ของเมืองอาณานิคม หรือแม้แต่ชื่อของสถานที่ราชการที่มีภาษาฝรั่งเศสแฝงตัวอยู่ รวมถึงจังหวะชีวิตที่ไม่ได้ปรู๊ดปร๊าดแบบเมืองหลวงของหลายๆ ประเทศ สีสันของที่นี่คือความรู้สึกที่ไม่ได้ต่างกับประเทศไทย ทั้งตัวภาษาที่มีความคล้ายกันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน บรรยากาศโดยทั่วไปก็เหมือนกับเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดช่วงเช้า มีคนขับมอเตอร์ไซค์ออกมาจับจ่ายซื้อของ มีรถยนต์ขวักไขว่ มีนักท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ หรือแม้แต่ทัวร์จีนที่ลงจากรถนำเที่ยว

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

ออกเดินทาง

เที่ยงตรง คือเวลาที่ต้องบอกลาเวียงจันทน์เพื่อมุ่งหน้าไปสถานีรถไฟท่านาแล้ง สถานีรถไฟแห่งเดียวในประเทศลาว

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

การเดินทางเริ่มต้นที่ตลาดเช้าเหมือนกับตอนที่มาถึง ที่นี่ก็เหมือนย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่เป็นจุดรวมรถเมล์สารพัดสายที่เดินทางไปยังมุมต่างๆ ของเวียงจันทน์หรือข้ามไปหนองคายและอุดรธานี

รถเมล์สายที่เราต้องนั่งคือสาย 14

รถเมล์สายนี้เป็นรถมือสองจากญี่ปุ่น บนรถเต็มไปด้วยผู้คนนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นคนลาว คนไทย หรือนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ ที่หอบหิ้วกระเป๋าใบมหึมา โดยเกือบทุกคนมีจุดหมายปลายทางคือด่านตรวจคนเข้าเมืองท่านาแล้ง

หลังจากที่รถเคลื่อนตัวออกจากท่า สิ่งที่สร้างความกังวลให้เรามากคือเราอยากนอนแต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน

ไหนล่ะคนเก็บเงิน?

เรานึกไม่ออกว่าคนที่นี่จะเก็บค่ารถเมล์ยังไง เก็บตอนลงก็ไม่ใช่ เอ๊ะหรือจะทำเหมือนบ้านเรานะ แต่ก็ไม่ยักเห็นคนเงินสักคนบนรถ

หรือว่าเขาให้นั่งรถเมล์สายนี้ฟรี?

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

รถเมล์ปุเลงๆ ไปจนถึงชานเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ไม่ทันไรก็มีเสียงผู้ชายคนหนึ่งดังขึ้นมา เป็นสิ่งที่ยืนยันว่านี่ไม่ใช่รถเมล์ฟรีแห่ง สปป.ลาว แต่อย่างใด เรายื่นค่ารถเป็นแบงก์ 20 บาทไทยจำนวน 2 ฉบับให้กับกระเป๋ารถเมล์ที่ถือเงินกีบและเงินบาทเป็นฟ่อน ในมือนั้นเป็นตัวเงินหลักแสนถึงหลักล้านน่าจะได้ เราก็อดทึ่งไม่ได้ว่าในประเทศที่ค่าเงินไม่ใช่หลักร้อย หลักสิบ หรือหลักหน่วย เขาต้องบวกลบเลขหลายๆ หลักยังไง หรือเพราะเราโง่เลขจึงเห็นว่ามันเป็นเรื่องยากและยิ่งใหญ่มากในการบวกลบเลขที่เกินหลักร้อย เราลองบวกลบเลขเล่นๆ ดู ซึ่งจากผลสัมฤทธิ์ทางการสอบเอนทรานซ์ที่เราได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 12 เต็ม 100 ถึง 2 ครั้งรวดนั่นก็คงเป็นคำตอบแล้วว่ามันไม่ยากหรอก แต่เราเองแหละที่โง่เลข

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

รถเมล์ถึงสะพานมิตรภาพเรียบร้อย ถึงตรงนี้เราฉีกเส้นทางเดินออกไปทางซ้าย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ที่ลงมาจากรถด้วยกันเดินไปทางขวาเพื่อประทับพาสปอร์ตออกนอก สปป.ลาว ข้ามไปราชอาณาจักรไทย

นี่ก็ข้ามไปไทยเหมือนกันนะ แต่ไปรถไฟ

ลำดับต่อไปคือการหารถรับจ้างไปสถานีรถไฟท่านาแล้งให้ได้ นั่นทำให้เราคิดไม่ตกว่าจากที่นี่ไปสถานีรถไฟที่อยู่ห่างไปราวๆ 1 กิโลเมตรจะไปยังไงดี

จะเดินดีไหม…ดูจากสัมภาระ ไม่ไหวแน่ๆ อาจตายก่อนระหว่างทาง

หรือจะเหมารถไป ซึ่งเราก็ได้ยินกิตติศัพท์มาพอตัวว่ารถเหมาเรียกแพง แต่ถ้ามีวาทศิลป์ในการต่อราคาก็จะได้ราคาที่ถูกลงประมาณครึ่งหนึ่ง

เอาวะ เหมาก็เหมา

จากการเจรจาเป็นภาษาไทยผสมภาษาลาวที่ไม่แข็งแรงเท่าไหร่ เราไม่สามารถรับข้อเสนอของรถตู้ปรับอากาศเหมาราคา 300 บาทได้ แต่เราตกลงกับการเดินทางด้วยรถสองแถวแบบ Open Air ในราคา 150 บาท (ต่อจาก 200 บาท) ก็นับว่าเป็นราคาเหมาที่ไม่โหดร้ายสักเท่าไหร่

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

ท่านาแล้ง

รถสองแถวไซส์มินิที่นั่งแล้วหัวติดหลังคาพาเรามาถึงสถานีรถไฟท่านาแล้ง สถานีรถไฟเดียวของประเทศลาวและเป็นต้นทางของการเดินทางไกลของเราในครั้งนี้

ท่านาแล้ง แล้งสมชื่อ

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

อาคารสถานีรถไฟคอนกรีตมุงด้วยหลังคากระเบื้องสีแดงตั้งอยู่กลางทุ่ง ซ้ายเป็นเนินดินเตี้ยๆ มีบ้านคนอยู่สองสามหลัง ฝั่งตรงข้ามอาคารสถานีเป็นพื้นที่โล่งกว้างรอต้อนรับรถไฟความเร็วปานกลางจากจีน (แต่พอข้ามไปฝั่งไทยกลายเป็นรถไฟความเร็วสูงนะ)

ในสถานีมีแต่นักท่องเที่ยวต่างชาติ นี่เราเป็นคนเอเชียคนเดียวในสถานีนี้หรอ

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

เรามุ่งหน้าไปที่ช่องขายตั๋วรถไฟโดยทันทีที่บ่อนขายปี้ (ช่องขายตั๋ว) มีเจ้าหน้าที่สาวสวยนุ่งซิ่นนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ขายตั๋วซึ่งเป็นเที่ยวรถไฟระยะสั้นจากท่านาแล้งไปหนองคาย โดยตลอดทั้งวันจะมีรถไฟเข้าออกที่นี่เพียง 4 ขบวนเท่านั้น เท่ากับว่าขบวนสุดท้ายเที่ยว 5 โมงเย็นออกจากสถานีที่นี่ก็จะพบกับความเงียบเหงาจนถึง 7 โมงเช้าของอีกวันที่รถไฟขบวนใหม่มาถึง

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

สถานีรถไฟท่านาแล้งเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 พร้อมกับการเปิดเดินรถไฟระหว่างไทย-ลาวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการเปิดเดินรถไฟระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว ซึ่งทางรถไฟในประเทศลาวมีความยาว 3.5 กม. ใช่ครับ อ่านไม่ผิด มันยาวแค่นี้จริงๆ  

จุดเริ่มต้นของทางรถไฟลาวปักจุดที่กึ่งกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว มาสุดสายที่สถานีท่านาแล้ง ซึ่งอีกไม่นานทางรถไฟสายนี้จะขยายปลายทางเข้าไปที่เวียงจันทน์ น่าจะอีกราวๆ 5 ปี เราถึงจะได้นั่งรถไฟยาวเข้าไปถึงเวียงจันทน์

กระบวนการเดินทางข้ามไปหนองคายนั้นไม่ซับซ้อน เริ่มต้นจากการซื้อตั๋วรถไฟในราคา 20 บาท เมื่อได้ตั๋วมาแล้วก็ให้เอาเอกสารผ่านแดนไปยื่นที่เคาน์เตอร์ตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ตรงข้ามช่องขายตั๋ว เมื่อการปั๊มพาสปอร์ต (ที่ยาวนานมาก เพราะลุงแกปั๊มและพลิกหน้าได้อย่างวิจิตรบรรจงสุดๆ) เสร็จเรียบร้อยเราก็สามารถเดินขึ้นไปบนขบวนรถไฟที่จอดรออยู่ที่ชานชาลาที่ 1 ได้เลย

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

รถไฟที่นั่งข้ามไปหนองคายมีความยาว 2 ตู้ถ้วน และเป็นรถไฟไทย

ใช่ครับ นี่คือรถไฟไทยในประเทศลาว

ประเทศลาวนั้นมีเพียงทางรถไฟและสถานีเป็นสมบัติของตัวเอง (ซึ่งไทยสร้าง) แต่ระบบขายตั๋ว ตัวรถไฟ พนักงานขับรถไฟ พนักงานบนขบวนรถไฟ เป็นของไทย

รถไฟที่เดินทางระหว่างหนองคาย-ท่านาแล้ง-หนองคาย คือรถดีเซลรางฮิตาชิที่การรถไฟสั่งจากญี่ปุ่นเมื่อหลายสิบปีก่อน มีชื่อเล่นในวงการคนรักรถไฟว่า ‘อีสานเขียว’ เพราะรถดีเซลรางรุ่นนี้มีวิ่งแค่ในสายอีสาน เป็นรถที่เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องใช้หัวรถจักร การรถไฟเรียกรถแบบนี้เป็นภาษาไทยว่า ‘รถดีเซลราง’ ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษคือ Diesel Railcar

เคลื่อนขบวน

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

17.30 น. เมื่อสิ้นเสียงระฆังและธงเขียวถูกสะบัดทั้งบนชานชาลาและบนรถไฟ ขบวนรถด่วนระหว่างประเทศ ท่านาแล้ง-หนองคาย เคลื่อนตัวออกจากสถานีท่านาแล้ง ภาพที่ปรากฏบนหน้าต่างรถไฟคือทัศนียภาพของลาวค่อยๆ เคลื่อนจากเราไปและกำลังจะแทนที่ด้วยภาพของประเทศไทยในเวลาไม่ช้า เสียงเครื่องยนต์ของรถไฟแผดเสียงลั่นทุ่ง ความเร็วเพิ่มขึ้นและค่อยๆ ลดลงเป็นสัญญาณบอกว่าเรากำลังเข้าสู่เขตสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

การข้ามแม่น้ำโขงจากลาวสู่ไทยนั้นรถไฟและรถยนต์ใช้สะพานเดียวกัน โดยทางรถไฟฝังอยู่กลางสะพาน ทุกครั้งที่รถไฟขึ้นสะพานการจราจรทางถนนจะปิดทันทีเพื่อให้รถไฟเคลื่อนข้ามประเทศซึ่งกินเวลาประมาณ 5 นาที จากนั้นรถยนต์ก็จะสัญจรได้ตามปกติเมื่อท้ายขบวนรถไฟลงจากสะพานไปแล้ว

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

มีคนบอกไว้ว่าช่วงเวลา 5 นาทีบนสะพานมิตรภาพไทย-ลาวควรเก็บไว้เป็นความทรงจำ

ฝั่งขวามือของขบวนรถเป็นวิวที่วิเศษที่สุด มันหันหน้าเข้าหาทิศตะวันตกและดวงอาทิตย์ยามเย็นที่กำลังคล้อยต่ำใกล้เส้นขอบฟ้า

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

เมื่อรถไฟอยู่บนสะพานแล้วภาพนอกหน้าต่างคือแม่น้ำโขงที่กว้างใหญ่ ธงชาติลาวถูกปักเรียงรายไปตามขอบสะพานแสดงให้เราเห็นว่ารถไฟยังอยู่ในเขตลาวและเมื่อถึงกลางสะพาน ธงสีแดง ขาว น้ำเงิน ที่เราคุ้นตาก็จะเข้ามาแทนที่ เราชะโงกออกไปนอกหน้าต่าง นักท่องเที่ยวต่างชาติคนหนึ่งกำลังโบกไม้โบกมือให้กับคนจำนวนไม่น้อยที่ขึ้นมาเดินเล่นบนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไม่นานนักเราก็ถึงคอสะพานฝั่งหนองคาย รถไฟเร่งความเร็วขึ้นอีกครั้งหนึ่งพร้อมเสียงหวีดดังสนั่น ไม่นานนักเจ้าม้าเหล็กก็ลดความเร็วเทียบชานชาลาสถานีหนองคาย โดยใช้เวลาเดินทางจากท่านาแล้งทั้งสิ้น 15 นาที

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

เมื่อถึงสถานีหนองคายเราต้องผ่านการตรวจหนังสือเดินทางอีกครั้ง รถไฟขบวนใหม่ของเราจอดอยู่ในชานชาลาที่ 2 เป็นตู้รถไฟสีเงินคาดด้วยสีแดงใหม่เอี่ยมอิมพอร์ตจากประเทศจีนและมีชื่อเพราะๆ ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า ‘อีสานมรรคา’ แปลว่า เส้นทางสู่ภาคอีสาน คืนนี้เราจะต้องใช้ชีวิตอีก 11 ชั่วโมงบนรถด่วนพิเศษขบวนนี้

การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม. การเดินทางบนทางรถไฟหนึ่งเดียวของประเทศลาวที่มีความยาวแค่ 3.5 กม.

19.10 น. ขบวนรถด่วนพิเศษมรรคาเคลื่อนออกจากสถานีหนองคายมุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ เราล้มตัวลงนอนในพื้นที่ส่วนตัวของเรา แสงไฟนอกหน้าต่างเคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว รถไฟขบวนนี้จะถึงกรุงเทพฯ ในเวลา 6 โมงเช้าและนั่นคือการเดินทางถึงเมืองหลวงที่ 2 ของทริป แสงไฟนอกหน้าต่างเคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับหนังตาของเราที่ปิดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน