29 พฤศจิกายน 2017
32 K

เคยได้ยินเรื่องของรถไฟลอยน้ำไหมครับ

รถไฟที่วิ่งบนทางรถไฟ แต่ข้างใต้ทางรถไฟมีแต่น้ำเต็มไปหมด

นี่เป็นบันทึกการเดินทางของเรา ในวันที่เห็นรถไฟเส้นนี้ทอดยาวอยู่เหนือน้ำและวันที่ไม่มีน้ำ

เมื่อทางรถไฟต้องสูงขึ้น

เมื่อพื้นที่ของลุ่มน้ำป่าสักในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ถูกพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่สร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตามโครงการพระราชดำริ จากที่แต่ก่อนเมื่อหน้าแล้งก็แห้งแล้งมาก เมื่อหน้าน้ำก็มีน้ำท่วมอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อการเกษตรและชีวิตของชาวบ้าน การก่อสร้างจึงเริ่มขึ้นในปี 2537 

การสร้างเขื่อนในแต่ละครั้งนั้นย่อมใช้พื้นที่เป็นจำนวนมากผลกระทบจึงเกิดกับผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เดิม รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนน หรือแม้แต่ ‘ทางรถไฟ’

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า
ทางรถไฟสายแก่งคอย-บัวใหญ่ ก่อนที่จะจมใต้เขื่อน จะเห็นสะพานเหนือเขื่อนที่สร้างทดแทนทางสายนี้อยู่ด้านซ้ายมือ
ภาพถ่ายโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย สแกนภาพโดย คุณวันชัย ห่อรัตนาเรือง

ทางรถไฟสายแก่งคอยบัวใหญ่ ส่วนหนึ่งของเส้นทางสู่จังหวัดหนองคายทอดผ่านพื้นที่แห่งนี้ และแน่นอนว่าเมื่อเริ่มปล่อยน้ำเข้าเขื่อน ทางรถไฟสายนี้จะต้องจมน้ำลงไปด้วย การแก้ปัญหาเพื่อให้เส้นทางรถไฟไม่ขาดช่วงและเดินทางได้

ก็ยกมันขึ้นไปซะให้สูงกว่าระดับน้ำซะสิ

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

ทางรถไฟระหว่างสถานีแก่งเสือเต้นโคกสลุง-สุระนารายณ์ ระยะทางกว่า 24 กิโลเมตรถูกจัดสรรแนวทางใหม่รวมถึงการสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับ แนวทางบางช่วงอยู่ใกล้ทางรถไฟเดิม บางช่วงฉีกแยกออกไปให้เลาะริมขอบอ่างเก็บน้ำ เมื่อวันที่น้ำถูกปล่อยเข้าสู่พื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมดทำให้พื้นที่เคยเป็นดินให้ชาวบ้านได้เดิน ให้ควายได้เล็มหญ้า กลายเป็นท้องน้ำที่กว้างใหญ่และเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ จนมองเห็นผืนน้ำกว้างสุดลูกหูลูกตา เมื่อรถไฟวิ่งผ่านและมองออกนอกหน้าต่าง ดูคล้ายกับรถไฟของเราแล่นไปบนผิวน้ำ จึงได้ชื่อเรียกว่ารถไฟลอยน้ำกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สุดพิเศษเพราะเราจะมาถึงที่นี่ได้เพียงวิธีเดียวคือทางรถไฟ

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

รถไฟลอยน้ำ

ธันวาคม 2559

รถไฟนำเที่ยวรถไฟลอยน้ำออกจากสถานีกรุงเทพตอน 7 โมงเช้า ขบวนนี้ไม่ใช่รถไฟขบวนปกติ แต่เป็นรถไฟขบวนพิเศษเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมที่พานักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าขึ้นทิศเหนือสู่สถานีรถไฟโคกสลุง จังหวัดลพบุรี

ภาพที่เห็นนอกหน้าต่างรถไฟคือดอกหญ้าสีขาว ไร่ข้าวโพด เขาหินปูน ต้นไม้แห้งๆ และดอกทานตะวันของจังหวัดสระบุรี ในความเขียวปนน้ำตาลของนอกหน้าต่างตัดกับสีฟ้าอย่างรุนแรงของท้องฟ้าหน้าหนาวที่ใสซะจนรู้สึกแสบผิวพิลึก อีกไม่นานรถไฟท่องเที่ยวขบวนนี้ก็จะพาเราไปถึงจุดชมวิวรถไฟลอยน้ำแล้ว

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

ที่หยุดรถเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นแลนด์มาร์กสุดท้ายที่บอกว่าเรามาถึงที่หมาย เราเปิดม่านเหล็กกันแดดขึ้นจนสุด แดดร้อนในช่วงสายกับลมเย็นที่เริ่มจืดจางปะทะตัวเรา ภาพนอกหน้าต่างเริ่มเปลี่ยนไป จากพงต้นไม้หนาทึบเริ่มเผยให้เห็นแสงบางอย่างที่ระยิบระยับเหมือนธรรมชาติพร้อมใจกันกระดิกนิ้วอวดเพชรหลายกะรัตให้แสงเข้าตา ชั่วอึดใจเดียวภาพท้องน้ำกว้างสีครามก็ปรากฏให้เห็น

วิวเขื่อน

เสียงคนร้องหูววววดังกระทบหูพร้อมๆ กับเสียงชัตเตอร์ที่รัวแบบไม่ยั้ง

รถไฟวิ่งแหวกลมของฤดูหนาวไประยะหนึ่งก็ลดความเร็วลงจนจอดสนิทที่หลักกิโลเมตรที่ 170 ที่นี่คือจุดชมวิวรถไฟลอยน้ำ ก่อนจะปล่อยให้คนทั้งขบวนลงมาจากรถไฟเพื่อดื่มด่ำความสวยงามและถ่ายรูปอวดโซเชียลได้อย่างเต็มที่

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า
ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า
ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

ด้านซ้ายของขบวนรถไฟคือเวิ้งน้ำที่กว้างสุดลูกหูลูกตา มีแนวภูเขาเป็นแค่ไรจางๆ ทาบขอบฟ้าให้รู้ว่าขอบฝั่งอยู่ตรงนั้น ส่วนด้านซ้ายมือคือขอบอ่างเก็บน้ำที่มีต้นไม้รกครึ้มและภูเขาทาบเป็นฉากหลังอีกชั้นหนึ่ง ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีวิวแบบนี้ให้เห็นในประเทศไทย ไม่น่าเชื่อเลยว่ารถไฟจะได้จอดให้เราลงมาดูวิวแบบนี้กลางน้ำ

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

ถ้าน้ำเต็มเขื่อนคือภาพอย่างในฝัน แล้วถ้าหน้าแล้งที่น้ำแห้งไปจากเขื่อนล่ะ?

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

รถไฟลอยฟ้า

เมษายน 2559

ไม่กี่เดือนหลังจากที่เราได้มาเหยียบจุดชมวิวรถไฟลอยน้ำ เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าเข้าสู่หน้าร้อน และกรมชลประทานเผยปริมาณน้ำในเขื่อนว่าได้ลดระดับลง เราตัดสินใจที่จะกลับไปที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง

การเดินทางในครั้งนี้ไม่ได้นั่งรถไฟแล้วเพราะหมดช่วงของรถไฟท่องเที่ยว แต่เราขับรถไปที่หมู่บ้านโคกสลุงโดยตรงเพื่อไปดูสะพานรถไฟช่วงที่ยาวที่สุด

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

3 ชั่วโมงเศษจากกรุงเทพฯ เรามาถึงคันกั้นน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์บริเวณตำบลโคกสลุง ภาพด้านหน้าเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อหลายเดือนก่อนอย่างสิ้นเชิง ภาพท้องน้ำสีครามกว้างใหญ่ไพศาลหายไปกลายเป็นทุ่งหญ้าสีเขียวสดใสขนาดใหญ่สลับกับแอ่งน้ำขนาดเล็กใหญ่ มีสะพานรถไฟเป็นสิ่งแปลกปลอมเดียวที่ขัดกับธรรมชาติ เงาไกลๆ นั้นคือท้องน้ำกว้างของเขื่อนที่หดตัวลงไปอยู่จุดที่ลึกที่สุดของตัวอ่างทาบด้วยกำแพงเทือกเขาสีครึ้มอยู่ไกลๆ

เราขับรถไปตามถนนมาหยุดที่จุดตัดทางรถไฟ ด้านขวามือคือสถานีรถไฟโคกสลุง ด้านซ้ายมือคือสะพานรถไฟที่ทอดยาวไปสุดสายตาเหนือทุ่งหญ้ากว้างใหญ่นั้น มีฝูงวัวเล็มหญ้าอยู่ไกลๆ มองไปมองมาก็เหมือนรถไฟวิ่งอยู่บนสนามกอล์ฟ

ภาพช่างแตกต่างจากตอนหน้าน้ำซะเหลือเกิน

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

เรามาที่นี่เพื่อถ่ายรูปขบวนรถไฟ 2 ขบวน (มันจะคุ้มกับค่าน้ำมันไหม) เรายังนึกภาพไม่ออกว่าเมื่อรถไฟวิ่งมาบนสะพานภาพจะออกมาเป็นยังไง เพราะเราเคยชินกับภาพของทางรถไฟที่ด้านล่างเต็มไปด้วยน้ำมาโดยตลอด มันคงเหมือนรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ พิลึก เพียงแค่มันไม่มีตึกอยู่ข้างๆ เท่านั้นเอง

เราปักหลักรออยู่นานกว่าที่รถไฟด่วนดีเซลรางจากหนองคายจะวิ่งผ่านมาตรงนี้ ภาพรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. แล่นฉิวอยู่เหนือทุ่งหญ้าสีเขียวเป็นภาพที่สวยกว่าที่เราคาดไว้ เรารู้สึกได้เลยว่าภาพที่เราเมโมรี่ในสมองสวยกว่าภาพที่อยู่ในเมโมรี่กล้องถ่ายรูปซะอีก

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า
ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

แต่เรายังเหลือรถสินค้าอีกหนึ่งขบวน และก็ไม่อยากได้ภาพมุมเดิมแล้ว

ถ้าเราขึ้นถ่ายรูปรถไฟขบวนนั้นบนสะพานล่ะ

ความสนุกมันอยู่ตรงที่เรามีความยืดหยุ่นในการถ่ายรูปรถไฟมากขึ้น เพราะถ้าหน้าน้ำเราคงไปโผล่กลางสะพานอีกฝั่งไม่ได้ถ้าไม่มีเรือ

หน้าแล้งนั้นเราขับรถไปได้เลยมีทั้งภาพมุมล่างมุมบนของรถไฟลอยฟ้า’ ได้อย่างเต็มที่

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

เมื่อจอดรถใต้สะพานเสร็จสรรพ เราก็ปีนขึ้นไปบนทางรถไฟไปตั้งหลักอยู่บนสะพาน

แม้ว่าแดดจะร้อน แต่ลมก็แรงไม่ใช่เล่น ไม่นานนักเสียงหวีดของรถไฟก็ดังขึ้นจากฝั่งสถานีโคกสลุง รถไฟขบวนยาวที่ลากด้วยหัวรถจักรสีน้ำเงินคันใหญ่ก็ปรากฏให้เราเห็น มันวิ่งข้ามสะพานมาอย่างว่องไวมุ่งตรงมายังเราก่อนจะสาดโค้งผ่านตัวเราไปอย่างรวดเร็วเพื่อทำหน้าที่ให้ถึงปลายทาง

ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า
ขึ้นรถไฟสายเดียวในไทย กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ ที่เป็นทั้งรถไฟลอยน้ำและลอยฟ้า

อยากให้ทุกคนไปเห็นด้วยตาตัวเองจริงๆ

อีกนิดอีกหน่อย

  1. สะพานเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีด้วยกันทั้งหมด 6 ช่วง โดยช่วงที่ยาวที่สุดอยู่ระหว่างสถานีโคกสลุงสุระนารายณ์ เป็นจุดเดียวที่เราสามารถขับรถเข้าไปได้ใกล้ที่สุด นอกนั้นเดินกันขาลาก
  2. ช่วงหน้าแล้งเราจะมองเห็นทางรถไฟเดิม ถนนเดิม ได้ชัดเจนมาก
  3. รถไฟท่องเที่ยวไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะวิ่งเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนมกราคม ของทุกๆ ปีเท่านั้น และในบางปีอาจต่อโปรโมชั่นยาวไปถึงเดือนกุมภาพันธ์อีกด้วย
  4. หากใครที่อยากจะมาที่โคกสลุง มีรถไฟด่วนจากกรุงเทพหนองคาย ออกทุกวัน 08.20 มาลงที่สถานีโคกสลุงได้เลย

Writer

Avatar

วันวิสข์ เนียมปาน

มนุษย์ผู้มีรถไฟไทยเป็นเพื่อนสนิท และอยากแนะนำเพื่อนให้ชาวบ้านสนิทด้วย รักการเดินทางและชอบเดินเป็นชีวิตจิตใจ