ผมสงสัยมาสักพักแล้วว่า อเมริกามีเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมการพูดคุยอย่าง Pantip.com เหมือนบ้านเราหรือเปล่า

ก่อนจะพบว่ามีในชื่อ reddit.com ผมลองเข้าไปเล่นดู พบว่ารูปแบบเว็บค่อนข้างคล้ายกัน กระทู้จัดเป็นหมวดหมู่ตามความสนใจ มีคนเข้ามาตอบกระทู้จำนวนมากจากทั่วโลก

ช่วงเริ่มหางาน ผมต้องค้นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ผมกำลังจะนัดคุยหรือไปสัมภาษณ์งานทั้งหมด ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ เพราะผมอยากได้ข้อมูลการวิเคราะห์บริษัท อยากรู้คำตอบว่าบริษัทหาลูกค้าได้อย่างไร หรือมีกลยุทธ์รูปแบบธุรกิจอย่างไร

ขณะเดียวกัน ผมก็ต้องเริ่มหาความรู้เกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Management) ซึ่งเป็นงานที่ผมสนใจมาก เนื่องจากผมไม่มีพื้นฐานด้านนี้มาก่อน

​เวลาผมเสิร์ชเรื่องพวกนี้บนกูเกิล (Google) ผมมักจะเจอลิงก์ของเว็บควอรา (Quora) อยู่หน้าแรกเสมอ

ครั้งหนึ่ง ผมเสิร์ชว่า “Books product managers should read” เพื่อหาหนังสือที่ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ควรอ่าน แล้วผมก็เจอลิงก์ของควอราที่มีกระทู้คำถามว่า “If you could only read one book about product management, which one would it be and why?”

ผมอ่านหัวข้อแล้วก็พบว่าตรงกับสิ่งที่อยากรู้ จึงคลิกเข้าไปดูและเจอกับคำตอบ 16 คำตอบ แต่ละคำตอบเขียนได้ดี มีชื่อและตำแหน่งงานของคนตอบ

ควอราคือเว็บรวมคำถามและคำตอบที่มีจุดเด่นเรื่องคุณภาพของคำถามและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ มีคนดังอย่าง มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก และ บารัค โอบามา มาร่วมตอบ

ครั้งหนึ่ง มีสมาชิกคนหนึ่งตั้งคำถามว่า “What’s it like to play basketball with President Obama?” ถ้าได้เล่นบาสเกตบอลกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะเป็นอย่างไร ไม่น่าเชื่อว่าสุดท้ายบารัค โอบามา ตัวจริงจะมาตอบ

ในมุมของคนที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ พวกเขามองว่าควอราเป็นช่องทางในการตอบคำถามที่เป็นประโยชน์ต่อคนอ่านอีกหลายล้านคนที่อาจจะสนใจอยากรู้เรื่องนี้เหมือนกัน ​โดยตัวเว็บไม่เหมือนเว็บกระทู้ทั่วไปที่เน้นแค่ให้สมาชิกมาลงทะเบียนแล้วโพสต์ถามหรือตอบได้ แต่สมาชิกจะใส่คำอธิบายหน้าที่การงานได้ด้วย เวลาเราไปตั้งคำถามหรือตอบคำถาม คนอื่นก็จะเห็นหน้าที่การงานที่เราระบุไว้ ซึ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ

ยิ่งไปกว่านั้น ควอรายังมีระบบโหวตขึ้นและโหวตลง คำตอบที่ได้รับการโหวตจากคนอ่านมากที่สุดจะแสดงผลอยู่ด้านบนสุด เป็นตัวช่วยจัดลำดับคุณภาพของคำตอบ เพื่อให้คนอ่านได้คำตอบที่ตรงกับสิ่งที่อยากรู้ที่สุด

บางคนก็เข้ามาตอบเพื่อโปรโมตหนังสือหรือสินค้าของตนเอง ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร และเป็นการช่วยเพิ่มจำนวนคำตอบ ถ้าดีจริง คำตอบก็จะถูกโหวตให้ติดอันดับ และถ้าเราสนใจผู้ตอบคนไหน เราก็กดติดตามเขาได้ ทั้งนี้ทางด้านขวาของเว็บก็จะโชว์คำถามอื่นที่ใกล้เคียงกันเผื่อเราสนใจอ่านเพิ่มเติม และที่น่าสนใจคือ บางคำถามก็ถูกตอบมานานมาก ตั้งแต่ปี 2012 หรือนานกว่านั้น บางคำถามก็เพิ่งถูกตอบปีนี้

ผมทดลองคลิกไปตั้งคำถามดูหลังจากลงทะเบียนสมัครสมาชิก โดยทดลองพิมพ์คำถามว่า “How should I manage my time?”

ก่อนที่ผมจะกดโพสต์คำถามที่ว่า เว็บก็จะแสดงคำถามที่ใกล้เคียงกันขึ้นมาให้ผมกดเข้าไปอ่านกระทู้คำถามและคำตอบของผู้ใช้งานอื่นได้

​ผมพบว่าผมกดส่งคำถามนี้ไม่ได้ เพราะระบบแจ้งเตือนกลับมาว่าคำถามที่ผมจะถามมีอยู่ในระบบแล้ว นั่นคือคำถามที่ว่า “How should I manage time efficiently?” ซึ่งมีคนมาตอบแล้ว 17 คน

กลไกที่ให้ดูคำตอบจากคำถามที่มีอยู่แล้ว ทำให้คำถามของควอราแทบไม่ซ้ำกัน คำถามที่มีอยู่ก่อนก็จะมีคนตอบเพิ่มเรื่อยๆ ตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้หน้าคำถามนั้นยังคงมีคำตอบที่น่าสนใจอยู่เสมอ
​สิ่งเหล่านี้ทำให้ควอราสร้างและรักษาคุณภาพของคำถามและคำตอบที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสุดของเว็บ

​หนึ่งในคำถามที่มีคนเข้าไปอ่านมากสุดบนเว็บ คือคำถามที่ว่า ​“ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างใน 10 นาที ที่จะมีประโยชน์กับชีวิตฉันตลอดไป” คำถามแนวนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และมีคำตอบต่างๆ มากมายหลากหลาย ทำให้หน้าคำถามนี้มีคนเข้าไปดูแล้วกว่า 5 ล้านคน มีคนร่วมตอบเกือบ 2,000 คน

ควอราเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2010 หนึ่งในผู้ก่อตั้งคือ อดัม ดี-แองเจลโล (Adam D’Angelo) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) อยู่ที่เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใหญ่รองลงมาจาก มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

อดัมรู้สึกว่าเฟซบุ๊กในขณะนั้น ซึ่งคือปี 2009 กำลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง ต่อให้เขาไม่อยู่ บริษัทก็น่าจะดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี เขาจึงอยากออกมาสร้างอะไรใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
ตอนที่เขาคุมทีมโปรแกรมเมอร์ เขาต้องเข้าไปตอบแชตเวลาทีมของเขาเจอปัญหา หลายครั้งเป็นเรื่องเดิมๆ เขาจึงมีความคิดที่จะสร้างระบบถาม-ตอบที่มีคุณภาพและค้นหาคำตอบได้ง่าย เว็บถาม-ตอบที่มีอยู่ในตลาดตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคุณภาพ กระทู้คำถามยังไม่เป็นระบบ ค้นหายาก อีกทั้งคำตอบที่มีก็มักไม่มีคุณภาพ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ เขาและผู้ก่อตั้งคนอื่นจึงมั่นใจมากว่าพวกเขาจะสร้างเว็บถาม-ตอบที่ดีกว่านี้ได้ และสร้างสังคมความรู้ออนไลน์ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

หลังจากพัฒนาควอราเวอร์ชันแรก เขาเริ่มทดสอบด้วยการส่งให้เพื่อนของเขาไปลองเล่นดู คำถามในช่วงแรกส่วนใหญ่แล้วเป็นคำถามเกี่ยวกับเมืองที่เขาอยู่ เช่น ขอให้แนะนำร้านอาหาร คำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเขาอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมานาน

​เขาพบว่าคำถามเรื่องเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการที่สุดในเวลานั้น เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ บทความและความรู้เชิงลึกเรื่องนี้ยังมีน้อย ขณะที่เป็นเรื่องที่เขาและทีมรู้ลึก อดัมและทีมจึงแก้ปัญหาด้วยการเป็นคนถามและตอบคำถามส่วนใหญ่ในช่วงแรก เพื่อให้คนมาใหม่ได้ความรู้กลับไป และกลับมาใช้อีก 

ก่อนที่ผมจะกดโพสต์คำถามที่ว่า เว็บก็จะแสดงคำถามที่ใกล้เคียงกันขึ้นมาให้ผมกดเข้าไปอ่านกระทู้คำถามและคำตอบของผู้ใช้งานอื่นได้

ผมพบว่าผมกดส่งคำถามนี้ไม่ได้ เพราะระบบแจ้งเตือนกลับมาว่าคำถามที่ผมจะถามมีอยู่ในระบบแล้ว นั่นคือคำถามที่ว่า “How should I manage time efficiently?” ซึ่งมีคนมาตอบแล้ว 17 คน
​กลไกที่ให้ดูคำตอบจากคำถามที่มีอยู่แล้ว ทำให้คำถามของควอราแทบไม่ซ้ำกัน คำถามที่มีอยู่ก่อนก็จะมีคนตอบเพิ่มเรื่อยๆ ตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้หน้าคำถามนั้นยังคงมีคำตอบที่น่าสนใจอยู่เสมอ
​สิ่งเหล่านี้ทำให้ควอราสร้างและรักษาคุณภาพของคำถามและคำตอบที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสุดของเว็บ

​หนึ่งในคำถามที่มีคนเข้าไปอ่านมากสุดบนเว็บ คือคำถามที่ว่า ​“ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างใน 10 นาที ที่จะมีประโยชน์กับชีวิตฉันตลอดไป” คำถามแนวนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และมีคำตอบต่างๆ มากมายหลากหลาย ทำให้หน้าคำถามนี้มีคนเข้าไปดูแล้วกว่า 5 ล้านคน มีคนร่วมตอบเกือบ 2,000 คน

​ควอราเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2010 หนึ่งในผู้ก่อตั้งคือ อดัม ดี-แองเจลโล (Adam D’Angelo) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) อยู่ที่เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใหญ่รองลงมาจาก มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

อดัมรู้สึกว่าเฟซบุ๊กในขณะนั้น ซึ่งคือปี 2009 กำลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง ต่อให้เขาไม่อยู่ บริษัทก็น่าจะดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี เขาจึงอยากออกมาสร้างอะไรใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
ตอนที่เขาคุมทีมโปรแกรมเมอร์ เขาต้องเข้าไปตอบแชตเวลาทีมของเขาเจอปัญหา หลายครั้งเป็นเรื่องเดิมๆ เขาจึงมีความคิดที่จะสร้างระบบถาม-ตอบที่มีคุณภาพและค้นหาคำตอบได้ง่าย เว็บถาม-ตอบที่มีอยู่ในตลาดตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคุณภาพ กระทู้คำถามยังไม่เป็นระบบ ค้นหายาก อีกทั้งคำตอบที่มีก็มักไม่มีคุณภาพ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ เขาและผู้ก่อตั้งคนอื่นจึงมั่นใจมากว่าพวกเขาจะสร้างเว็บถาม-ตอบที่ดีกว่านี้ได้ และสร้างสังคมความรู้ออนไลน์ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

​หลังจากพัฒนาควอราเวอร์ชันแรก เขาเริ่มทดสอบด้วยการส่งให้เพื่อนของเขาไปลองเล่นดู คำถามในช่วงแรกส่วนใหญ่แล้วเป็นคำถามเกี่ยวกับเมืองที่เขาอยู่ เช่น ขอให้แนะนำร้านอาหาร คำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเขาอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมานาน

เขาพบว่าคำถามเรื่องเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการที่สุดในเวลานั้น เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ บทความและความรู้เชิงลึกเรื่องนี้ยังมีน้อย ขณะที่เป็นเรื่องที่เขาและทีมรู้ลึก อดัมและทีมจึงแก้ปัญหาด้วยการเป็นคนถามและตอบคำถามส่วนใหญ่ในช่วงแรก เพื่อให้คนมาใหม่ได้ความรู้กลับไป และกลับมาใช้อีก 

​หนึ่งในคำถามที่มีคนเข้าไปอ่านมากสุดบนเว็บ คือคำถามที่ว่า ​“ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างใน 10 นาที ที่จะมีประโยชน์กับชีวิตฉันตลอดไป” คำถามแนวนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และมีคำตอบต่างๆ มากมายหลากหลาย ทำให้หน้าคำถามนี้มีคนเข้าไปดูแล้วกว่า 5 ล้านคน มีคนร่วมตอบเกือบ 2,000 คน

ควอราเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2010 หนึ่งในผู้ก่อตั้งคือ อดัม ดี-แองเจลโล (Adam D’Angelo) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) อยู่ที่เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใหญ่รองลงมาจาก มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

​อดัมรู้สึกว่าเฟซบุ๊กในขณะนั้น ซึ่งคือปี 2009 กำลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง ต่อให้เขาไม่อยู่ บริษัทก็น่าจะดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี เขาจึงอยากออกมาสร้างอะไรใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
ตอนที่เขาคุมทีมโปรแกรมเมอร์ เขาต้องเข้าไปตอบแชตเวลาทีมของเขาเจอปัญหา หลายครั้งเป็นเรื่องเดิมๆ เขาจึงมีความคิดที่จะสร้างระบบถาม-ตอบที่มีคุณภาพและค้นหาคำตอบได้ง่าย เว็บถาม-ตอบที่มีอยู่ในตลาดตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคุณภาพ กระทู้คำถามยังไม่เป็นระบบ ค้นหายาก อีกทั้งคำตอบที่มีก็มักไม่มีคุณภาพ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ เขาและผู้ก่อตั้งคนอื่นจึงมั่นใจมากว่าพวกเขาจะสร้างเว็บถาม-ตอบที่ดีกว่านี้ได้ และสร้างสังคมความรู้ออนไลน์ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

หลังจากพัฒนาควอราเวอร์ชันแรก เขาเริ่มทดสอบด้วยการส่งให้เพื่อนของเขาไปลองเล่นดู คำถามในช่วงแรกส่วนใหญ่แล้วเป็นคำถามเกี่ยวกับเมืองที่เขาอยู่ เช่น ขอให้แนะนำร้านอาหาร คำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเขาอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมานาน
​เขาพบว่าคำถามเรื่องเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการที่สุดในเวลานั้น เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ บทความและความรู้เชิงลึกเรื่องนี้ยังมีน้อย ขณะที่เป็นเรื่องที่เขาและทีมรู้ลึก อดัมและทีมจึงแก้ปัญหาด้วยการเป็นคนถามและตอบคำถามส่วนใหญ่ในช่วงแรก เพื่อให้คนมาใหม่ได้ความรู้กลับไป และกลับมาใช้อีก 

เป็นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้สองฝั่ง คล้ายๆ ผู้ซื้อและผู้ขาย แพลตฟอร์มแนวนี้ส่วนใหญ่มักจะเจอปัญหาในระยะเริ่มต้นว่า ถ้าไม่มีผู้ซื้อ ก็ไม่มีผู้ขาย ถ้าผู้ขายไม่มากพอ ผู้ซื้อก็ไม่สนใจแพลตฟอร์มนี้​ด้วยคอนเนกชันที่พวกเขามี เว็บควอราจึงเริ่มมีคนดังในวงการเทคโนโลยีเข้ามาตั้งคำถามหรือตอบคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก มาตั้งคำถามว่า มีสตาร์ทอัพไหนที่เฟซบุ๊กควรไปซื้อกิจการบ้าง
สิ่งสำคัญสุดของควอราคือ คุณภาพข้อมูลและจำนวนผู้ใช้งาน
​งานหลักของควอราคือ พวกเขาต้องทำให้ผู้ใช้เจอเว็บนี้ในหน้าแรกของกูเกิลเวลาผู้ใช้ต้องการถามคำถามใดๆ ก็ตาม ซึ่งควอราทำได้ด้วยการเน้นคุณภาพของคำถามและคำตอบ ช่วยให้ผู้ใช้เข้ามาแล้วเจอสิ่งที่เขาอยากรู้ด้วยคำตอบที่มีคุณภาพ

เพราะเหตุนี้ เวลาเราถามคำถามเกี่ยวกับความรู้ใดๆ ในกูเกิลเป็นภาษาอังกฤษ เรามักจะเจอคำถามบนควอราที่เกี่ยวข้องแสดงผลอยู่หน้าแรกเสมอ
​ควอราทำเงินจากการโฆษณา โดยให้บริษัทเลือกลงโฆษณาตามหัวข้อคำถาม ทำให้แพลตฟอร์มเป็นที่นิยมมากสำหรับสินค้าที่ต้องการให้ความรู้ลูกค้า โดยเฉพาะพวกซอฟต์แวร์ของแต่ละสายอาชีพ
​ปัจจุบันควอรามีคนเข้าใช้งานเดือนละกว่า 200 ล้านคน ด้วยตัวเลขผู้ใช้ โมเดลการทำเงินที่พิสูจน์แล้ว และจุดแข็งด้านข้อมูลที่สะสมมา จึงยากมากที่จะมีคู่แข่งมาเอาชนะได้ ทำให้บริษัทระดมทุนได้เงินไปกว่า 250 ล้านบาท ด้วยมูลค่าบริษัท 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 ถือเป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น
​ความท้าทายขั้นถัดไปของควอราคือการทำให้จำนวนผู้ใช้เติบโตเรื่อยๆ โดยสิ่งที่ควอราทำคือการสร้างเว็บเป็นภาษาสเปน ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ตั้งแต่ปี 2017 เพื่อขยายไปยังตลาดกลุ่มคนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าคนที่ใช้ภาษาอังกฤษมาก

ที่สตาร์ทอัพต้องระดมทุน ก็เพราะคำว่า ‘สตาร์ทอัพ’ คือ ธุรกิจที่เกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว
​สตาร์ทอัพจึงต้องมีแผนการว่าพวกเขาจะทำอะไรเพื่อให้บริษัทโตอย่างก้าวกระโดด และระดมทุนมาเพื่อทำสิ่งนั้น ถ้าทำได้ มูลค่าบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นตาม และมีนักลงทุนพร้อมจะให้เงินลงทุนก้อนใหม่ที่มากกว่าเดิม เพื่อให้บริษัทโตไปอีกขั้นและโตไปเรื่อยๆ จนมีบริษัทที่ใหญ่กว่ามาซื้อหรือพาบริษัทเข้าตลาดหุ้นได้ ซึ่งภาษาสตาร์ทอัพเรียกว่า การหาทางออกให้กับนักลงทุนที่ลงเงินมาเพื่อซื้อหุ้นของสตาร์ทอัพ ให้ขายหุ้นออกไปได้ในที่สุด
​นี่แหละคือเกมของสตาร์ทอัพและนักลงทุน

Writer

Avatar

มาโนช พฤฒิสถาพร

มาโนชสนใจด้านสตาร์ทอัพมาก เขามีประสบการณ์ทำสตาร์ทอัพทั้งที่ไทยและอเมริกา เขาจบ MBA จาก Kellogg School of Management ที่นั่นเขาสมัครงานบริษัทเทคโนโลยีในตำแหน่งด้านธุรกิจกว่า 3,000 งาน ศึกษาบริษัทเตรียมตัวสัมภาษณ์กว่า 200 บริษัท สุดท้ายได้งานที่ Credit Karma บริษัทสตาร์ทอัพมูลค่าแสนล้านที่ SF มาโนชกลับมาทำสตาร์ทอัพด้านแฟชั่นที่ไทย Fred & Francis มาโนชยังเป็นนักเขียนตัวยง เขาเป็นเจ้าของหนังสือ A DREAM TO DIE FOR ล้ม 3,000 ครั้ง เพื่อชนะฝันเดียว