อีกไม่กี่วัน ‘อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี’ พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จะเปิดให้ชาวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตและคนทั่วไปเข้าใช้งานอย่างเป็นทางการ 

ความพิเศษของอุทยานฯ แห่งนี้ คือแนวคิดชาญฉลาดที่ซ่อนอยู่ในทุกองค์ประกอบ 

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย
อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

อาคารทรงแปลกตารูปตัว H ลาดเอียงไล่ระดับเหมือนเนินดินขนาดยักษ์ โดดเด่นเตะตา ออกแบบอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยหลากหลายนวัตกรรมประหยัดพลังงาน ด้านบนคือ Green Roof Urban Farm ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย หลังคาเขียวนี้ นอกจากจะเพาะปลูกพืชพรรณออร์แกนิก สำหรับใช้ในโรงอาหารมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีระบบจัดการน้ำอย่างยั่งยืนที่หมุนเวียนน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ได้ไม่รู้จบ

ไม่เฉพาะความเก๋ล้ำ แต่อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ยังเก็บรักษาปณิธานและจิตวิญญาณดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความเป็น ‘ประชาธิปไตย’ ที่อยู่คู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาตั้งแต่ก่อตั้ง

The Cloud จึงอยากชวนทุกคนไปเยี่ยมชมพื้นที่สาธารณะใหม่บนพื้นที่กว่า 100 ไร่แห่งนี้ พร้อมพูดคุยกับแรงขับเคลื่อนหลักอย่างอาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

ถึงการทำงานร่วมกัน ระหว่างทีมออกแบบผังแม่บท CIDAR (Center of Innovative Design and Research) แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีมสถาปนิกจากสถาบันอาศรมศิลป์ นำโดยอาจารย์ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) และอาจารย์กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกแห่ง LANDPROCESS ในการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเก๋ล้ำที่โอบกอดธรรมชาติและผู้คนไว้อย่างยั่งยืน

01

มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน

“จุดเริ่มต้นของอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี หรือ Puey Park for People and Sustainability มาจากวิสัยทัศน์ในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนของธรรมศาสตร์ จึงมีการปรับปรุงผังแม่บทเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวซึ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม และส่วนบริการประชาชน เพราะจิตวิญญาณของธรรมศาสตร์คือการเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชนทุกคน” อาจารย์ปริญญาเริ่มเล่า

อาจารย์ป๋วยคืออดีตอธิบการบดีผู้สร้างคุณูปการหลายประการให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยเฉพาะการขยายวิทยาเขตจากท่าพระจันทร์ไปยังศูนย์รังสิต ท่านมีความประสงค์ที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้สมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ เพราะตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

“ไม่เฉพาะความร่มรื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่อาจารย์ป๋วยยังเรียกร้องให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ คำนึงถึงเรื่องพื้นที่สีเขียวและการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ของคนในยุคปัจจุบันและคนรุ่นหลัง

“ดังนั้นการสร้างอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปีแห่งนี้ จึงเปรียบเสมือนการสานต่อเจตนารมย์ของอาจารย์ป๋วย ในการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยคุณภาพชีวิต หรือการกินดีอยู่ดีที่ท่านเคยแสดงทัศนะไว้เมื่อ 46 ปีก่อน”

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

เมื่อมองไปยังบริเวณด้านหน้าอุทยานฯ จะพบอนุสาวรีย์ของอาจารย์ป๋วย และอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ตั้งอยู่อย่างเรียบง่ายโดย มานพ สุวรรณปิณฑะ ตั้งใจถ่ายทอดภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ณ ประเทศอังกฤษของท่านทั้งสอง ออกมาเป็นประติมากรรม เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงคุณูปการของท่านทั้งสองที่มีต่อสังคมไทยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

02

ภูเขาแห่งความเท่าเทียม

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี คือการผสมผสานกันอย่างลงตัวไร้รอยต่อ ระหว่างอาคารรูปตัว H ซึ่งสื่อความหมายโดยนัยยะถึงคำว่า Humanity อันหมายถึงความเท่าเทียมเสมอกันของพลเมืองไทยทุกคน เพราะอาคารแห่งนี้เปิดเป็นสาธารณะประโยชน์ให้คนทั่วไปเข้าใช้ได้เช่นกัน ไม่เฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยอาคารสร้างอยู่ใต้หลังคาที่เป็น ‘พูนดิน’ สอดคล้องกับความหมายชื่ออาจารย์ป๋วย สื่อถึงการบำรุง หล่อเลี้ยง เสริมกำลัง ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นเป็นแค่การนำดินมากองถมกัน แต่ต้องมีพืชพรรณงอกงามอยู่บนผืนดินอุดมสมบูรณ์ด้วย และนั่นคือที่มาของคอนเซปต์ ‘ภูเขา’ ที่ร่มรื่นไปด้วยพืชพรรณ เป็นปอดสีเขียวผลิตออกซิเจนให้กับพื้นที่โดยรอบ

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

ภูเขาขนาดย่อมแห่งนี้ ถือเป็น Green Roof Urban Farm ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย Urban Farm คือการทำเกษตรกรรม ที่เมื่อได้ผลผลิตก็ใช้ปรุงอาหารอยู่ภายในย่าน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งผลผลิตไปยังพื้นที่อื่น 

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย
อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

“แปลงเกษตรออร์แกนิกบนหลังคาเขียวขนาด 7,000 ตร.ม. จะเปิดให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยและผู้มีรายได้น้อย ได้มาทดลองปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เพื่อนำผลผลิตไปรับประทานเอง หรือจะขายเป็นรายได้เสริมให้กับโรงอาหารของมหาวิทยาลัยก็ได้

“ผักที่นี่ต้องเป็นออร์แกนิกเท่านั้น เพราะเรามีเป้าหมายในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้รูปแบบเกษตรกรรมของประเทศไทยเป็นแบบไร้สารเคมีอย่างยั่งยืนในอนาคต” อาจารย์ปริญญาเล่า

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

เราคิดว่า นี่คือการอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืนระหว่างอาคารสมัยใหม่กับพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นทางออกเรื่องการใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาด ชวนให้คิดว่าคงดีไม่น้อย ถ้าในอนาคตเรามีพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ที่ได้ประโยชน์กันทุกฝ่ายแบบนี้อีกเยอะๆ แทนที่จะเลือกโค่นต้นไม้เพื่อสร้างแต่ตึกคอนกรีตเพียงอย่างเดียว

03

ประหยัดพลังงานด้วยแสงอาทิตย์

เมื่อเดินเข้ามาภายในอาคาร สิ่งที่สัมผัสได้ทันทีคือ ‘แสง’ จากบานหน้าต่างนับร้อยตลอดแนวผนังสูง “ทีมสถาปนิกตั้งใจออกแบบ เพื่อเปิดช่องแสงให้แสงสว่างธรรมดาเข้าสู่อาคารได้มาก เพื่อลดการเปิดใช้ไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคาร เป็นแบบประหยัดพลังงานทั้งหมด”

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

คอนเซปต์ในการออกแบบ Green Roof Urban Farm ของอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี คือ ‘นาขั้นบันได’ ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่าง อาจารย์กชกรอธิบายว่า “เมื่อพื้นผิวคอนกรีตของอาคารถูกปกคลุมด้วยต้นไม้และพืชพรรณ การดูดซับความร้อนต่ำจะลง ทำให้อาคารร่มเย็น เมื่ออุณหภูมิภายในอาคารลดต่ำลง การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศก็ลดลงไปด้วย”

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

เพราะคอนเซปต์คือภูเขา วัสดุหลักที่ใช้จึงเป็นอิฐที่ให้ความรู้สึกเป็นใกล้ธรรมชาติ และอาคารหลังนี้ถูกออกแบบให้สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มรูปแบบ โดยจะเริ่มติดตั้งแผงโซลาเซลล์ในปีหน้า

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

มองไปยังอาคารอื่นๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะพบแผงโซลาเซลล์ติดตั้งอยู่บนหลังคาของแทบทุกอาคาร อาจารย์ปริญญาเล่าว่าทุกวันนี้สามารถผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในรั้วมหาวิทยาลัยได้ถึง 9 เมกะวัตต์เลยทีเดียว และในอนาคตอาจเพิ่มการผลิตพลังงานสะอาดรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น พลังงานน้ำหรือพลังงานลม

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

พื้นที่ภายในอาคารสุดเท่หลังนี้ ประกอบไปด้วยคอนเสิร์ตฮอลล์ 2 ห้อง น้องนิทรรศการ 2 ห้อง ห้อง Archeive ที่รวบรวมฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้องสมุดสาธารณะ Co-Working Space โรงอาหารออร์แกนิก และห้องประชุมที่เปิดให้นักศึกษาสามารถเข้าใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเสรี เพราะตั้งใจให้เป็น Academic Community และ Social Learning Space

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

04

การหมุนเวียนของสายน้ำ

อาจารย์กชกรอธิบายต่อว่า “นาขั้นบันไดที่ประกอบไปด้วยพืชพรรณหลากชนิด จะช่วยลดแรงปะทะและการไหลบ่าของน้ำฝนจากหลังคาอาคารให้ช้าลง หลังคาเขียวนี้สามารถชะลอความเร็วของน้ำได้เกือบ 20 เท่า ลดความเสี่ยงการเกิดน้ำท่วมขัง เพิ่มปริมาณการรองรับน้ำฝน โดยน้ำฝนจะถูกเก็บกักไว้ตามนาขั้นบันไดแต่ละแปลงก่อน จึงค่อยๆ ไหลรินลงมาช้าๆ สู่สระน้ำทั้ง 4 รอบอาคาร” 

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

อาจารย์ปริญญาบอกว่า แม้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 1,700 ไร่ แต่ไม่เคยใช้น้ำประปารดน้ำต้นไม้แม้แต่ต้นเดียว น้ำที่ใช้เป็นน้ำจากลำคลองที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัย และน้ำฝนที่เก็บกักไว้ 

ตอนนี้มีสระเก็บน้ำฝนเพิ่มอีก 4 สระ โดยน้ำในสระจะถูกสูบขึ้นมาใช้รดน้ำต้นไม้พืชพรรณที่เพาะปลูกไว้ รวมถึงใช้ในระบบชะล้างสำหรับห้องน้ำในอาคารอุทยานฯ และในอนาคตทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแผนปลูกพืชน้ำกินได้ในสระทั้ง 4 ด้วย

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

สิ่งที่แทรกอยู่ตามนาขั้นบันไดบนหลังคาเขียวคือ Amphitheatre ทรงไข่ ใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมเอนกประสงค์ หรือนั่งพักผ่อนหย่อนใจในวันอากาศดีอย่างเช่นวันนี้ ทางเดินลาดชันสลับบันไดระยะสั้นๆ ทำให้สามารถเดินขึ้นมาชื่นชมความสวยงามของพื้นที่สีเขียวลอยฟ้าแห่งนี้ได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยเลย

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

หันกลับไปมองอดีต พื้นที่ตรงนี้เคยเป็น ‘ทุ่งรังสิต’ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์มาก่อน และยังเป็นพื้นที่รับน้ำของกรุงเทพฯ เมื่อเป็นเช่นนั้นระบบจัดการน้ำของอุทยานฯ จึงเชื่อมโยงกับเรื่องน้ำทั้งหมดของผังแม่บทเรื่องการระบายน้ำของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งกับตัวมหาวิทยาลัยและเมือง โดยให้ระบบคูและทางระบายน้ำของมหาวิทยาลัยเชื่อมกับสวน

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

เมื่อมีน้ำมา สวนแห่งนี้จะรองรับน้ำ ซึมน้ำ และบำบัดน้ำ ด้วยพืชชนิดต่างๆ ก่อนปล่อยน้ำสู่ระบบคลองเดิม นอกจากนี้ถ้าเกิดน้ำท่วม ธรรมศาสตร์ต้องสามารถพลิกตัวเองไปเป็นศูนย์บำบัดหรือศูนย์ช่วยเหลืออย่างที่เคยเกิดขึ้น สวนนี้ก็จะไม่ใช่แค่ที่ช่วยรับน้ำ แต่จะกลายเป็นศูนย์พักพิงที่ผู้ประสบภัยมาใช้ประโยชน์กางเต็นท์นอนได้ มีหลังคาอาคารทรงเนินดินเป็นส่วนพื้นที่แห้งพ้นน้ำด้วย

05

เพื่อวันนี้และวันข้างหน้า

เพราะรู้ว่าเมื่อเวลาผ่าน ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนแปลง อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปีจึงถูกออกแบบด้วยการมองไปข้างหน้าอย่างรอบคอบและรอบด้าน เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต เช่น ถ้ามีน้ำท่วมอีกรอบหรือถ้ามีคนอยากไฮด์ปาร์่ก พื้นที่ตรงนี้จะรับบทบาทในการเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทั้งของชาวธรรมศาสตร์และคนทั่วไปอย่างที่มุ่งมั่นตั้งใจไว้

อาจารย์ปริญญาและอาจารย์กชกรกล่าวทิ้งท้ายว่า การสร้างอุทยานฯ แห่งนี้ ก็เหมือนกันการปลูกต้นไม้เฉพาะถิ่นลงในพื้นที่ที่เหมาะสม แล้วจากนั้นก็ปล่อยให้มันเติบโตไปพร้อมสภาพแวดล้อม สังคมและผู้คน

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

แม้จะมีกรอบแนวคิดที่แสดงความเป็นธรรมศาสตร์อันมีเอกลักษณ์ชัด แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ออกแบบทุกอย่างชนิดจบบริบูรณ์ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ อุทยานแห่งใหม่ของชาวธรรมศาสตร์ รังสิต จึงเป็นพื้นที่ที่ถูกคิดมาเพื่อวันนี้และวันข้างหน้า

“การพัฒนาชาติจะต้องคำนึงถึงการทะนุถนอมสิ่งแวดล้อมประชาชนด้วย เวลาที่เราจะพิจารณาถึงเรื่องการพัฒนา จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมอันเป็นประโยชน์สำหรับสาธารณะและอันเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลภายหลังต่อไปด้วย”

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พ.ศ. 2514

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย

Writer

Avatar

มิ่งขวัญ รัตนคช

อดีต Urban Designer ผู้รักการเดินทางสำรวจโลกกว้าง สนใจงานออกแบบเชิงพฤติกรรมมนุษย์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากน้ำหยดเล็กที่ไหลมารวมกัน

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล