ความทรงจำเป็นสิ่งยืนยันตัวตนของมนุษย์ การจดจำสิ่งหนึ่งได้ย่อมเป็นหลักฐานว่าสิ่งนั้นมีตัวตน ในขณะเดียวกันความทรงจำไม่อาจคงอยู่อย่างถาวร บางสิ่งย่อมถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา เเต่สิ่งที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของมนุษย์เเละมีคุณค่าทางจิตใจนั้นยากที่จะลืม

ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ไม่อาจเลือกรักษาความทรงจำ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคนี้ในบ้านพักคนชราที่จังหวัดเชียงใหม่ ผู้คนเหล่านี้ไม่มีญาติเเละอาศัยรวมกันอยู่ในเเหล่งพักพิงสุดท้ายของชีวิต แม้ความทรงจำลบเลือน เเต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่อยากกลับไปสถานที่ที่คิดถึงหรือมีความหมายต่อพวกเขา ยิ่งความทรงจำสูญหาย สิ่งที่พวกเขายังจำได้ยิ่งมีความสำคัญ

ผลงานนี้เลือกถ่ายทอดสถานที่ในความทรงจำของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในรูปเเบบ Diptych และภาพการเขียนเล่าเรื่องราวของเจ้าของสถานที่ เรื่องราวความสัมพันธ์กับสถานที่ในความทรงจำในภาพถ่ายชุดนี้เปรียบเหมือนเครื่องยืนยันการมีตัวตนของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ถ้าคุณมีเซ็ตภาพถ่ายอยากส่งมาแบ่งปันกันชม เชิญส่งเซ็ตภาพพร้อมคำบรรยาย (แบบไม่ยาวมาก) รูปถ่ายผู้เขียน ประวัติส่วนตัวผู้เขียน ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ และชื่อ facebook มาที่อีเมล [email protected] ระบุหัวข้อว่า ‘ส่งต้นฉบับสำหรับคอลัมน์ Photo Essay’

ถ้าผลงานของคุณได้รับการตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ เราจะมีสมุดบันทึกปกหนังเล่มสวยส่งให้เป็นที่ระลึกด้วยนะ

Writer & Photographer

Avatar

ชลารักษ์ เรือนชุ่มเชย

เกิดที่ชลบุรี พำนักเเละทำงานเป็นช่างภาพอิสระที่เชียงใหม่ จบการศึกษาสาขาศิลปการถ่ายภาพจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยได้รับรางวัลยอดเยี่ยม สาขาการถ่ายภาพ จากโครงการ Young Thai Artist Award และแสดงผลงานหลายครั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่