ชื่อหนังสือ Paris versus New York วางอยู่กึ่งกลางระหว่างตึกเอมไพร์สเตตกับหอไอเฟล เนื้อหาด้านในเล่าเรื่องความแตกต่างของทั้งสองมหานครใหญ่ด้วยภาพประกอบสีสันสดใส
Paris versus New York เกิดมาจากบล็อกภาพประกอบของ Vahram Muratyan กราฟิกดีไซเนอร์จากปารีสที่เข้ามาใช้ชีวิตที่นิวยอร์ก ในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2010 บล็อกนี้มีผู้เข้าชมมากกว่า 4 ล้านคนทั่วโลก ผลงานในเล่มนี้เคยได้จัดแสดงที่ Colette ในปารีส และ The Standard ในนิวยอร์ก ก่อนตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้
* บทความเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ Petite Maman
Petite Maman มีความหมายตรงตัวว่า ‘Little Mama’ หรือคุณแม่ตัวน้อย ก่อนที่ผู้กำกับ เซลีน เซียมมา (Céline Sciamma) จะได้ฝากผลงานอันตราตรึงอย่าง Portrait of a Lady on Fire ไปเมื่อปี 2019 ไอเดียสร้างหนัง Petite Maman นั้นมีมาก่อนครับ มันว่าด้วยเรื่องราวของเด็กหญิง 2 คนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ช่วยกันสร้างกระท่อมเล็ก ๆ กลางป่า ก่อนที่ทั้งสองจะพบว่า คนหนึ่งเป็นแม่ และคนหนึ่งเป็นลูกของอีกคน
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อยายของเด็กหญิง Nelly วัย 8 ขวบเสียชีวิต เธอและ Marion ผู้เป็นแม่กับพ่อของเธอต้องไปเคลียร์ข้าวของในบ้านที่แม่โตมา แต่แล้วหลังจากที่จู่ ๆ แม่ของเธอหายไปโดยไม่บอกไม่กล่าว กลับเกิดการบิดเบือนของ Time & Space ด้วยสาเหตุใดก็ไม่อาจทราบได้ ทำให้ Nelly ได้ย้อนเวลาไปพบกับ Marion ตอนอายุเท่ากัน เกิดเป็นสายใยของเด็กหญิง 2 คนที่กาลเวลาไม่อาจสั่นคลอนได้
หนังเรื่องนี้กับผลงานของผู้กำกับคนเดียวกันอย่าง Portrait of a Lady on Fire คล้ายกันในเรื่องการพูดถึงสายสัมพันธ์ของเพศหญิง แม้เรื่องหนึ่งจะเล่าเรื่องความรักเชิงสวาทของหญิง 2 คน ส่วนอีกเรื่องเล่าเกี่ยวกับความรักเชิงครอบครัว แต่หนังทั้งสองเรื่องเหมือนกันตรงที่ ‘รักโดยไม่มีเงื่อนไขและอยู่นอกกฎเกณฑ์ที่ตีกรอบ’ และความรักของเด็กหญิง Nelly และ Marion ใน Petite Maman ก็ดูจะเป็นเช่นนั้นครับ แต่เป็นกรอบเวลาสถานที่ที่ไม่ถูกตีเส้นและเขียนเองได้ด้วยสีเทียน ในขณะที่ Portrait of a Lady on Fire พูดถึงกรอบค่านิยม แนวคิด และจารีต ที่ถูกตีเส้นโดยสังคม
เมื่อมองแบบนี้แล้ว อาจตอบคำถามได้ว่า ทำไมแทนที่จะเป็น ‘ไซไฟ’ หนังกลับถูกระบุว่าเป็น ‘แฟนตาซี’ ที่บ่อยครั้งมักจะเป็นคำนิยามหนังที่เกี่ยวกับจินตนาการ สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องตีความเป็นการเดินทางภายในหัวของเด็กคนหนึ่ง โดยสะท้อนถึงความคิด ความตั้งใจ ความกลัว และความปรารถนาเบื้องลึก อย่างหนังเรื่อง Bridge to Terabithia (2007) หรือ Where the Wild Things Are (2009)