เดินป่าต้องเรียนด้วยเหรอ? 

หลายคนคงสงสัยตอนที่ได้ยินชื่อโครงการ ‘โรงเรียนนักเดินป่า’ คงไม่จำเป็นถ้าคิดว่าการเดินป่าเป็นการท่องเที่ยวที่แค่เดินไปให้ถึงจุดชมวิวแล้วถ่ายรูปกลับมา แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่อยากเห็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ยั่งยืน และเคารพธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมการเดินป่าที่ดีนั้นสร้างได้

หลายปีมานี้กระแสการท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ยังไม่มีการแนะนำหรือการสอนอย่างจริงจังในการปฏิบัติ ให้เป็นนักเดินป่าที่มีคุณภาพ จนในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องมีป้ายห้ามทิ้งขยะ ห้ามก่อกองไฟ ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เดินคุมในเส้นทางง่าย ๆ เหมือนในต่างประเทศที่คนเดินป่ากันได้เองโดยช่วยกันรักษาธรรมชาติไว้ ผู้ช่วยใหญ่-ธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เล่าจุดเริ่มต้นของโรงเรียนนักเดินป่าให้ผมฟัง

เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย

ภู 1700 คือเส้นทางที่พบเจอจากการสำรวจพื้นที่ว่าเหมาะสำหรับหลักสูตร ด้วยระยะทางและระดับความยากที่ไม่มากจนเกินไป อีกทั้งยังมีวิวสวยงาม ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับนักเดินป่ามือใหม่ที่จะมาหัดเดินป่า เรียนรู้วัฒนธรรมการเดินป่าที่ถูกต้อง ก่อนจะกลับไปส่งต่อสู่นักเดินป่าอื่น ๆ

ด้วยการสนับสนุนของ หัวหน้าตี๋-ฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และ ผอ.เป้-ชิดชนก สุขมงคล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ซึ่งมองเห็นภาพอนาคตของการท่องเที่ยวอุทยานแบบยั่งยืน โรงเรียนนักเดินป่าแห่งแรกก็ได้เริ่มต้นขึ้น 

สมัครเรียน

ก่อนจะลงภาคสนามก็ต้องผ่านภาคทฤษฎีให้ได้ก่อน ใครที่อยากสมัครเข้าโรงเรียนนักเดินป่าต้องทำแบบฝึกหัดผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บ nationalparkoutdoor-edu.com เป็นอย่างแรก เมื่อจบหลักสูตรถึงจะได้ใบ Certificate เพื่อยื่นสมัครไปเป็นนักเรียนนักเดินป่าแบบไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานไม่กี่บาท โดยตอนนี้กำลังเปิดรับนักเรียนรุ่นที่ 6 ใน วันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 26 – 27 มีนาคม 2565 ถ้าผ่านด่านการสมัครจนได้เป็นหนึ่งใน 20 คนของรุ่น ก็เตรียมร่างกาย จิตใจ ศึกษาข้อมูลผ่านเพจโรงเรียนนักเดินป่า อุทยานแห่งชาติดอยภูคา และจัดกระเป๋าให้พร้อม ก่อนจะไปลงสนาม หลักสูตร 2 วัน 1 คืน ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย

เริ่มเรียน

สายฝนตกลงลงมาต้อนรับทันทีที่ผมมาถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เราเริ่มต้นบทเรียนแรกด้วยการทบทวนหลักสูตรอีกครั้ง เพื่อทำความรู้จักพื้นที่และจุดประสงค์ของโครงการ หลักจากนั้นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ผมขอเรียกว่าคุณครู จะพาไปแนะนำเกี่ยวกับสัมภาระที่ควรเอาไป ไม่ควรเอาไป และการจัดของทั้งหมดลงกระเป๋าให้ถูกต้อง ผมเช็กกระเป๋าและลองตรวจสอบน้ำหนักว่าพอเหมาะเป็นครั้งสุดท้าย เพราะน้ำหนักทุกอย่างผมจะต้องเป็นคนแบกไปด้วยตัวเอง เมื่อมั่นใจดีแล้วก็โยนมันขึ้นท้ายรถ เพื่อออกเดินทางไปยังจุดเริ่มต้นที่จุดชมวิว 1715

เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
คณาจารย์ของโรงเรียนนักเดินป่า
หม่อมเชน-ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ วิทยากรพิเศษที่มาร่วมทริปกับเรา
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
ผู้ช่วยใหญ่-ธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย กับวิชาการจัดกระเป๋า
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
น้ำหนักกระเป๋าที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว

ตลอดเส้นทางการเดินป่าสู่ยอดภูพันเจ็ด คุณครูจะหยุดสอนเป็นระยะ ทั้งความเป็นมาของพื้นที่ ความสำคัญของผืนป่า ความจำเป็นของความหลากหลายที่เกี่ยวพันกันอยู่ในธรรมชาติ และผลกระทบจากตัวเราผู้ก้าวเท้าเข้ามาต่อสถานที่แห่งนี้

เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย

เศษพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ที่เราทิ้งลงบนพื้นโดยไม่คาดคิด อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยในผืนป่าแสนกว้างใหญ่ แต่เมล็ดพันธุ์ของต้นไม้อาจจะตกลงมาบนพลาสติกแผ่นนั้น และกั้นขวางมันกับผืนดินจนไม่ได้งอกเงย แล้วถ้าไม่ใช่แค่ตัวเราแต่สิ่งแปลกปลอมนี้มาจากทุกคนที่เดินเข้ามา มันจะส่งผลกระทบขนาดไหน นี่เป็นแค่เรื่องหนึ่งในหลายเรื่อง ๆ ที่ถ้าเราอยากรักษาความสวยงามของธรรมชาติไว้ ก็ต้องร่วมมือกัน

เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
ความสวยงามเฉพาะตัวของป่ายามฝนโปรย

นอกจากนี้ คุณครูยังสอนความรู้พื้นฐานสำหรับใช้ดำรงชีพในป่า อย่างการเลือกพื้นที่กางเต็นท์ให้ปลอดภัย หรือขุดหลุมขับถ่ายโดยไม่ทิ้งร่องรอยไว้ในป่า หลายเรื่องเป็นเรื่องพื้นฐานที่คนเดินป่าหลายคนอาจจะบอกว่าใคร ๆ ก็รู้ ผมเองก็รู้ พอ ๆ กับระยะทาง 2 กิโลเมตรของเส้นทางนี้ ใครเคยเดินป่าอื่น ๆ ที่สูงกว่านี้ ยากกว่านี้มาแล้ว ก็คงพูดว่าธรรมดา แต่เพราะเป็นเรื่องพื้นฐานนี่แหละ ทำให้หลายคนปล่อยปละละเลยมันไป การได้มาทบทวนวิชาเหล่านี้พร้อมฟังเทคนิคที่คิดไม่ถึงกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าผู้ใช้ชีวิตอยู่ในป่าจนชำนาญ เป็นโอกาสที่ผมไม่อยากพลาดจริง ๆ

เรียนวิชาเดินป่า ในห้องเรียนภู 1700 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โรงเรียนเดินป่าแรกในไทย
บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน
บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน

พอถึงจุดกางเต็นท์ ทุกคนก็แยกย้ายไปเลือกพื้นที่ตั้งแคมป์ของตัวเองด้วยเทคนิคที่ได้เรียนมา ผมยืนมองเต็นท์ของตัวเองที่เพิ่งกางเสร็จด้วยความภูมิใจ มั่นใจมากว่าต้องชนะสายฝนที่ตามเรามาตั้งแต่ที่ทำการอุทยาน และน่าจะอยู่ด้วยกันทั้งคืนไปจนจบหลักสูตรพรุ่งนี้ได้แน่

บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน

ยังพอมีเวลาก่อนถึงเวลาอาหาร ผมยังพอมีเรี่ยวแรงเหลือให้เดินขึ้นจุดชมวิวที่อยู่ไม่ไกลจากจุดกางเต็นท์ ทันทีที่ผมก้าวข้ามบันไดขั้นสุดท้าย พร้อมประคองลมหายใจไม่ให้หอบจนเกินไป วิวภูเขาแบบพาโนรามาที่งดงามอยู่ตรงหน้าผมแล้ว เพียงแต่มันอยู่หลังม่านหมอกสีขาวที่ปกคลุมอยู่ ผมถอนหายใจ

บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน
บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน
หัวหน้าตี๋-ฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา

ถึงจะเสียดายนิด ๆ แต่ก็เป็นปกติของการเดินป่า วิวสีขาวนี้เป็นวิวของช่วงเวลานี้ กลับมาครั้งหน้าผมอาจจะได้เห็นวิวอีกแบบ แต่นั่นก็เป็นวิวของช่วงเวลานั้น ขณะที่ผมกำลังจะเดินกลับลงไป สายลมก็พัดเปิดให้เราได้เห็นวิวทิวทัศน์ครู่หนึ่งราวกับเป็นรางวัลปลอบใจ ก่อนจะกลับไปหลบหลังม่านสีขาวอีกครั้ง ผมหยุดนิ่งเพื่อซึมซับช่วงเวลาแสนสั้นนี้ วิวของภู 1700 ที่สวยไม่แพ้เส้นทางเดินป่ายาก ๆ ที่ผมเคยไปมา ถ้าไม่ใช่นักเรียนนักเดินป่าก็ไม่มีสิทธิ์ได้มาสัมผัส

บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน
บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน

 สำหรับมื้อค่ำ นักเรียนทุกคนจะนำอาหารที่เตรียมมา รวมกันในพื้นที่กองกลางสำหรับทำอาหาร ช่วยกันคนละไม้คนละมือรังสรรค์เมนูมาแบ่งปันกัน แต่เมนูที่ประทับใจต้องยกให้เมนูจากฝีมือของเจ้าหน้าที่ ที่จัดจานมาอย่างสวยงามจนไม่คิดว่านี่เป็นอาหารในป่าเลยทีเดียว

บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน

ชั่วโมงเรียนสุดท้ายในค่ำคืนนี้ เราได้วิทยากรพิเศษ บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจให้คนทำงานสายอนุรักษ์ นักเขียนและช่างภาพ ผู้ทำงานกับสัตว์ป่ามากว่า 30 ปี หม่อมเชน-ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ มาแบ่งปันประสบการณ์และทัศนคติที่มีต่อสัตว์ป่า ผ่านการนั่งพูดคุยอย่างใกล้ชิดใต้เสียงฝนที่กระหน่ำลงมาทั้งคืน

บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน
บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน

ตลอดการพูดคุย พี่เชนย้ำเรื่อง ‘ความเคารพ’ อยู่เสมอ ตั้งแต่ที่เราก้าวเท้าเข้ามาในป่า เราก็เป็นเหมือนแขกที่เข้ามาในบ้าน จึงต้องเคารพเจ้าบ้าน เคารพต่อป่าและสัตว์ป่า เราไม่ได้เข้าป่ามาเพื่อเอาชนะ มนุษย์จะเอาชนะธรรมชาติไปทำไม นั่นสิ เราสู้กับอะไรกัน ผมนอนคิดอยู่ในเต็นท์ที่ผมเคยมั่นใจว่าจะเอาชนะสายฝนในคืนนี้ได้

บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน
บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน
บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน

รุ่งเช้าผมลุกออกมาจากเต็นท์ ยืนมองเต็นท์ตรงหน้า ถ้าผมเคยบอกว่ามาสู้ ใครเห็นสภาพผมตอนนี้ก็คงต้องบอกว่าผมแพ้ยับเยิน หลังจากเก็บกู้สัมภาระตัวเองและทานอาหารเช้าจนเสร็จ เราทบทวนหลักสูตรในห้องเรียนภาคสนามเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนหิ้วกระเป๋าขึ้นบ่าเพื่อเตรียมออกเดินทางลงจากเขา ผมหันหลังกลับมามองเขาอีกครั้ง 

“นักเรียนทำความเคารพ”

บทเรียน 2 วัน 1 คืนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่หวังสร้างวัฒนธรรมการเดินป่าแบบยั่งยืน

ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

Write on The Cloud

Travelogue

ถ้าคุณมีประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ๆ จากการไปใช้ชีวิตในทั่วทุกมุมโลก เชิญแบ่งปันเรื่องราวความรู้ของคุณพร้อมภาพถ่ายประกอบบทความ รูปถ่ายผู้เขียน ประวัติส่วนตัวผู้เขียน ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ และชื่อ Facebook มาที่อีเมล [email protected] ระบุหัวข้อว่า ‘ส่งต้นฉบับสำหรับคอลัมน์ Travelogue’ ถ้าผลงานของคุณได้ตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ เราจะส่งสมุดลิมิเต็ดอิดิชัน จาก ZEQUENZ แบรนด์สมุดสัญชาติไทย ทำมือ 100 % เปิดได้ 360 องศา ให้เป็นที่ระลึกด้วยนะ

Writer & Photographer

สุวิชา พุทซาคำ

สุวิชา พุทซาคำ

อาร์ตไดเรกเตอร์ผู้เชี่ยวชาญการก่อกองไฟ และกางเตนท์ พอๆกับที่เชี่ยวชาญการใช้โปรแกรมออกแบบ สนใจเรื่องราวสิ่งแวดล้อมพอๆกับที่ชื่นชอบอุปกรณ์ไอที ถ้า IG : @sleepbird มีการเคลื่อนไหว แสดงว่าเพิ่งออกจากป่า