สเปซที่ดี คือการทำให้คนมีความสุข

สเปซที่ดีจริง คือการทำให้ทุกคนมีความสุขร่วมกันได้

Sayamaike เป็นเขื่อนเก็บน้ำเก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น มีอายุมากกว่า 1,400 ปี ซึ่งยังใช้งานจนถึงปัจจุบัน และเป็นเชื่อนกักเก็บน้ำใหญ่ที่สุดของจังหวัด เก็บน้ำได้ 2.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาห่างจากตัวเมือง Osaka ออกไปไม่ไกลนัก

ด้านข้างมีพิพิธภัณฑ์ Osaka Prefectural Sayamaike Museum ออกแบบโดย ทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando) เปิดให้เข้าชมในปี 2001 เพื่อนำเสนอประวัติศาสตร์ วิศวกรรมโยธาการสร้างเขื่อนและป้องกันน้ำท่วมในญี่ปุ่น

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ทางเดินไปยังเขื่อนมีทางน้ำเล็กๆ ตัดผ่านตลอด ฝาท่อเป็นรูปเขื่อนบอกว่ามีอายุครบ 1,400 ปี เมื่อปี 2016

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

เขื่อน Sayamaike

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ทางเข้าประภาคารของเขื่อน Sayamaike

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ระเบียงทางเดินและศาลาในเขื่อน Sayamaike

ผมชอบแนวคิดของเขื่อนที่สร้างเพื่อป้องกันอุทกภัยและใช้เป็นสาธารณูปโภคโดยให้ชุมชนกับธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้จริง รวมถึงการออกแบบพิพิธภัณฑ์เพื่อให้รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในการวางแผนการจัดเก็บน้ำ เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปได้รู้วิธีจัดการ ผมจึงเห็นโรงเรียนพานักเรียนมาทัศนศึกษาจำนวนมาก มีกลุ่มนักเรียนใส่หมวกหลากสีเดินมาศึกษาตั้งแต่เขื่อนไปถึงตัวพิพิธภัณฑ์

ตัวเขื่อนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่บนเนินเขา โดยมีสวนล้อมรอบแล้วมีหมู่บ้านล้อมอีกชั้น

ผมเดินลัดเลาะริมสันเขื่อนไปไม่ไกลก็เจอพิพิธภัณฑ์ ได้ยินเสียงน้ำตกดังซู่มาแต่ไกล พอเดินผ่านหน้าประตูเข้าไปก็จะพบสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีกำแพงขนาบ 2 ข้างปล่อยน้ำไหลลงมา

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ประตูทางเข้า Osaka Prefectural Sayamaike Museum

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ทาดาโอะ อันโดะ ออกแบบทางเดินโดยเอาแสงและเงาอันเป็นเอกลักษณ์ของเขามาใช้โดยให้เงากำแพงพาดลงทางเดินให้คนเดินไม่ร้อน ส่วนที่เป็นต้นไม้นั้นอยู่ในตำแหน่งโดนแดด

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

กำแพงน้ำขนาบสองข้างสระน้ำทางเข้า

เด็กนักเรียนต่างตื่นเต้นกับกำแพงน้ำสองข้างตลอดทางเดิน ผมได้ยินเสียงคนญี่ปุ่นร้องเรียก หันไปก็เห็นคุณลุงท่าทางใจดีแต่งชุดบรรณารักษ์กวักมือเรียก คุณลุงพยายามพูดภาษาอังกฤษเป็นคำๆ ผมได้ยินคำว่า Rainbow แต่ยังไม่เข้าใจความหมายของแก

สุดท้ายคุณลุงมาจูงมือผมพาไปที่ด้านข้างตรงข้ามกับแสงอาทิตย์ คุณลุงชี้ไปที่กำแพงน้ำ ภาพที่ผมมองเห็นคือ รุ้งพาดผ่านกำแพงน้ำโดยมีแสงอาทิตย์สาดส่อง ซึ่งต้องมองในตำแหน่งที่คุณลุงบอก ถ้ามองที่จุดอื่นเราจะมองไม่เห็นรุ้ง ไม่นานนักรุ้งก็หายไป

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

รุ้งที่พาดลงบนกำแพงน้ำ

คุณลุงพยายามเชื้อเชิญให้เข้าไปดูในตึกพิพิธภัณฑ์ ผมเดินตามไป ด้านหน้าทางเข้าอันโดะออกแบบเป็นโถงวงกลม ด้านบนมีคานวางพาดแสงตกกระทบสาดเป็นเงาลงพื้นมองเหมือนเป็นนาฬิกาแดดที่บอกเวลาของช่วงวัน ด้านในบอกเล่าถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้น อธิบายความสำคัญของเขื่อน และมีหลักฐานชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวกับเขื่อนในยุคสมัยต่างๆ ยังไง

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

อันโดะออกแบบโถงทางเข้าพิพิธภัณฑ์ทำเป็นเหมือนนาฬิกาแดดโดยการใช้สเปซของแสงและเงา

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ด้านในพิพิธภัณฑ์มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรก เล่าประวัติความเป็นมาว่าทำไมต้องสร้างเขื่อน และขั้นตอนการสร้างเป็นยังไง มีโมเดลจำลองอธิบายส่วนต่างๆ ทำให้เข้าใจง่าย มีการใช้แสงสีเสียงมาจำลองเหตุการณ์ฝนตก หรือเวลาเกิดอุทกภัย จะเห็นเด็กๆ สนใจมาก และไฮไลต์คือ การจำลองชั้นดินต่างๆ โดยนำมาวางซ้อนกันเพื่อสร้างเขื่อน รวมไปถึงโครงสร้างทำให้เราได้เห็นภาพชัดเจน

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

รอยต่อของชั้นดินต่างๆ ที่นำมาวางซ้อนกันในการสร้างเขื่อนจะเห็นรอยต่อเป็นบล็อกๆ

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ระหว่างช่องทางเดินจะมองเห็นรอยต่อของชั้นดินต่างๆ รวมไปถึงโครงสร้างที่ฐานรากได้อย่างชัดเจน

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ที่ผนังแสดงข้อมูลวิธีการก่อสร้างเขื่อน

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ชั้นที่สอง เล่าถึงบุคคลสำคัญต่างๆ มีรูปปั้นพร้อมป้ายหินตัวหนังสือที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างเขื่อนนี้ แบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคเอะโดะ มาจนถึงยุคใหม่ ประกอบไปด้วยยุคเมจิ ยุคไทโช และยุคโชวะ

สิ่งที่น่าชื่นชมอย่างมากคือทุกฝ่ายต่างร่วมมือร่วมใจช่วยกันในทุกๆ ส่วน ทุกฝ่ายเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นโชกุน นักบวช ซามูไร หน่วยงานรัฐบาล วิศวกร สถาปนิก คนงาน และชาวบ้าน ผลลัพธ์ที่ได้จึงออกมาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ด้านหลังของชั้นนี้เองจะมีประภาคารหลังเก่าที่ทรุดโทรมแล้วของจริง ถอดออกมาจากเขื่อน Sayamaike มาจำลองให้เราได้เห็น

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

โมเดลจำลองโครงสร้างพิพิธภัณฑ์และโมเดลจำลองการขนย้ายวัสดุก่อสร้างตอนสร้างเขื่อน

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ประภาคารอันเก่าที่ไม่ใช้งานแล้วถูกนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ชั้นที่สาม เป็นคาเฟ่ที่เห็นวิวสวนด้านนอก พอเดินออกมาก็จะเห็นโครงสร้างพิพิธภัณฑ์ในอีกมุมมองหนึ่งที่เต็มไปด้วยสวนรอบล้อม เมื่อเราเดินไปเรื่อยๆ ก็จะวนมาบรรจบกับโครงสร้างนาฬิกาแดดที่เราได้เห็นตอนทางเข้าพร้อมทางเดินแยกที่เราเดินไปยังเขื่อนได้

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ทางเดินเชื่อมจากร้านกาแฟชั้น 3 ไปยังสวนด้านนอกอาคาร

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

ผมออกมาจากพิพิธภัณฑ์แล้วเดินริมสันเขื่อน พระอาทิตย์เริ่มเคลื่อนตัวลงต่ำ บรรยากาศเย็นสบาย มองเห็นชาวบ้านนั่งปิกนิกกลางสนามหญ้า เห็นเด็กนั่งเรียนนั่งจับกลุ่มกินข้าวใต้ต้นไม้ เห็นนักวิ่งวิ่งท้าสายลมพัดผมปลิว เห็นคนแก่ออกมานั่งชมวิวสันเขื่อน ภาพตรงหน้าทำให้ผมคิดว่าบรรพบุรุษของพวกเขาที่เสียสละมาตลอด 1,400 ปี คงกำลังยิ้มอยู่บนฟ้าแน่ๆ

Osaka Prefectural Sayamaike Museum, Tadao Ando

การเดินทาง : จากสถานี Nankai Namba Station นั่งรถไฟสาย Koya Line ลงสถานี Osaka Sayama Station แล้วเดินขึ้นเนินจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะๆ เดินไปราวๆ 10 นาที

เวลาทำการ : 10.00 – 17.00 น. หยุดวันจันทร์ (อาจมีวันหยุดเพิ่มเติมตามวันหยุดพิเศษของญี่ปุ่น)

www.sayamaikehaku.osakasayama.osaka.jp/_opsm/eng/

ถ้าคุณมีประสบการณ์เดินทางแปลกใหม่จากการไปใช้ชีวิตในทั่วทุกมุมโลก เชิญส่งเรื่องราวของคุณพร้อมภาพถ่ายประกอบบทความ รูปถ่ายผู้เขียน ประวัติส่วนตัวผู้เขียน ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ และชื่อ Facebook มาที่อีเมล [email protected] ระบุหัวข้อว่า ‘ส่งต้นฉบับสำหรับคอลัมน์ Travelogue’

ถ้าผลงานของคุณได้ตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ เราจะมีสมุดบันทึกปกหนังเทียมเล่มสวยส่งให้เป็นที่ระลึกด้วยนะ

Writer & Photographer

Avatar

วุฒิชัย เชาว์เมธีวุฒิ

ครีเอทีฟ ชอบถ่ายรูป อ่านหนังสือ และเริ่มขีดเขียน ติดตามผลงาน IG : toiwoody FB : Toi Chao