เพื่อทุกชีวิตแวดล้อม 

มีคนบอกว่า ทุกการก่อเกิดของบางสิ่ง ต้องมีการสิ้นสุดหรือมีการทำลายบางสิ่งไปเสมอ ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง การทำลายที่ว่านั้น ก็อาจสร้างความเสียหายจนยากจะฟื้นฟู

แต่เป็นไปได้ไหมว่า เราอาจสร้างได้โดยไม่ต้องทำลาย เราอาจอยู่ได้ โดยลดการสูญเสียสรรพสิ่งรอบตัวให้น้อยที่สุด

ด้วยความเชื่อของคนกลุ่มหนึ่ง เขายืนยันว่ามันเป็นไปได้

‘For All Well-Being’ คือหลักความเชื่อซึ่งเหมือนรากของต้นไม้ใหญ่ที่หยั่งลึกและยึดโยงลำต้นเอาไว้ ไม่ให้สั่นคลอนหรือหักโค่นไปกับสายลมเกรี้ยวกราดของการแข่งขันในโลกธุรกิจ

MQDC หรือ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด คือกลุ่มธุรกิจที่เชื่อในเรื่องนั้น… การทำเพื่อทุกชีวิตที่แวดล้อมให้เป็นชีวิตที่ดี 

“เราไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะโครงการหรือผู้อยู่อาศัยในโครงการของเราเท่านั้น แต่ทุกโครงการที่เราพัฒนาจะต้องสร้างคุณค่าและประโยชน์ พร้อมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคน สัตว์ สภาพแวดล้อม และทุกสิ่งบนโลกของเรา”

ข้อความข้างต้นคือประเด็นที่ได้รับการตอกย้ำมาตลอดการทำงานกว่า 27 ปีของ MQDC (บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ปัจจุบันนี้มีโครงการมิกซ์ยูสและธีมโปรเจกต์มากมายภายใต้แบรนด์แมกโนเลียส์ (Magnolias) วิสซ์ดอม (Whizdom) ดิ แอสเพน ทรี (The Aspen Tree) มัลเบอร์รี่ โกรฟ (Mulberry Grove) และเดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Forestias) นั่นเอง

แม้ปัจจุบันชื่อบริษัทจะเปลี่ยนเป็น MQDC แต่รากของชื่อเดิม ก็ยังสะท้อนให้เห็นคุณค่าสำคัญที่ปรากฏอยู่ในผลงานของบริษัท นั่นก็คือ ตามประวัติเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ต่างๆ ในโลก ว่ากันว่าแมกโนเลีย คือหนึ่งในต้นไม้ที่เก่าแก่และหยัดยืนอยู่บนโลกนี้มาอย่างยาวนาน มีข้อมูลบอกว่าต้นไม้ในเผ่าพันธุ์นี้ถือกำเนิดมานานกว่า 95 ล้านปี และเป็นต้นไม้ที่มีมาก่อนผึ้งจะวิวัฒนาการขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แพร่กระจายพืชพันธุ์มากมายบนโลกใบนี้เสียอีก

ด้วยเหตุนี้ ความสวยสง่าและแข็งแกร่ง จึงเป็นทั้งสัญลักษณ์และความหมายของต้นและดอกแมกโนเลียที่ในหลายประเทศให้คุณค่า

ในความยืนหยัด ทนทานต่อกาลเวลานั้น ยังมีแง่มุมของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งเราน่าจะได้เรียนรู้และทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน เพราะไม่ใช่เรื่องบังเอิญของการตั้งชื่อแบรนด์ในเครือข้างต้นให้เป็นชื่อของต้นไม้ หรือชื่อที่มีความหมายเกี่ยวกับป่า เพราะนี่คือรูปธรรมของการสร้างความยั่งยืน ไม่มีป่า ไม่มีต้นไม้ ไม่มีพื้นที่สีเขียว คงจะเรียกว่าความยั่งยืนที่เป็นสุขได้ยาก 

ตัดภาพกลับมาตอนนี้ จะด้วยความแออัดในเมือง หรือความเคร่งเครียดจากการใช้ชีวิตวุ่นวายในแต่ละวันก็แล้วแต่ การเข้าป่าเพื่อเติมพลังชีวิต การอาบป่า หรือแม้แต่การไปโอบกอดต้นไม้ ดูจะเป็นแนวคิดที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความสดชื่นที่ได้จากต้นไม้ใบหญ้าและอากาศบริสุทธิ์จากป่า คือพลังเยียวยาที่ยั่งยืน และหาได้ยากจากสถานที่อื่น

จากนี้ เราจะพาคุณไปพบกับแนวคิดของโครงการ ซึ่งจะช่วยเติมความสดชื่นและพลังชีวิตให้คุณไปพร้อมๆ กัน เราจะพาคุณไปรู้จักกับบริษัทที่บอกเราว่า โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายๆ แห่งของบริษัท เลือกเก็บไว้แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตอย่างกบตัวเล็กๆ เพื่อให้พวกเขาอยู่ต่อไปในที่เดิม

เพราะไม่ใช่แค่มนุษย์ที่ต้องการบ้าน

สิ่งมีชีวิตอีกมากมาย ก็เรียกสิ่งแวดล้อมเดียวกันนั้นว่า ‘บ้าน’ ไม่ต่างจากเรา 

สำรวจการสร้างที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืนต่อทุกชีวิตที่แวดล้อมและคิดถึงอนาคตแบบฉบับ MQDC

ยั่งยืนเพื่อทุกคน 

เรื่องสำคัญที่เป็นแก่นแกนของโครงการภายใต้ MQDC ทุกโครงการ คือ ‘For All Well-Being’ เพราะถือว่าเป็นแนวทางการทำงานหลักของธุรกิจ

โครงการของ MQDC จะเติมเต็มช่องว่างให้สมบูรณ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่นั้น และเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนด้วย ถ้าพูดในมุมการทำงาน บริษัทถือว่าตนเองไม่มีคู่แข่ง มีแต่เพื่อน เพราะทุกสิ่งที่ทำคือการสร้างประโยชน์ให้กับทุกคน แนวทางการทำงานของธุรกิจ คือการทำงานแบบใส่ใจในองค์รวม ทุกโครงการจึงเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของคน ชุมชน และสังคม การพัฒนาแต่ละโครงการจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน

สำหรับ MQDC ‘For All Well-Being’ จึงเป็นหัวใจหลักของการทำงาน มีการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสังคมและโลกใบนี้ โดย MQDC ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะโครงการหรือผู้อยู่อาศัยในโครงการเท่านั้น แต่ทุกโครงการที่เราพัฒนา จะต้องสร้างคุณค่าและประโยชน์ พร้อมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคน สัตว์ สถาพแวดล้อม และทุกสิ่งบนโลกของเรา ผ่านการคิดค้น ‘นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน’ หรือ ‘SUSTAINNOVATION’ คิดค้นโดย RISC by MQDC หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษา วิจัย คิดค้นนวัตกรรม โดยอ้างอิงจากข้อมูลการคาดการณ์ในอนาคต ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ทำโดย FutureTales Lab by MQDC เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาและปรับใช้ในทุกโครงการของ MQDC

พูดง่ายๆ ว่า บริษัทจะทำโครงการที่ไม่เพียงสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับทุกสรรพสิ่ง แต่ยังต้องสร้างความสมดุลให้กับทุกชีวิตบนโลกอย่างยั่งยืนในทุกสถานการณ์ด้วย เพราะความยั่งยืนของทุกฝ่ายจะทำให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมในเชิงบวก ไม่ใช่มองแค่ประโยชน์ทางธุรกิจ

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ โครงการ The Forestias ที่ให้ความสำคัญกับการสร้าง ‘นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน’ ซึ่งเป็นมิตรกับธรรมชาติและโลกใบนี้ ที่สำคัญ ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดี ทุกแง่มุมการออกแบบ และการก่อสร้างต้องลดการใช้พลังงานและทรัพยากรอื่นๆ เน้นสร้างคุณภาพชีวิตของคนในเมืองให้มีความสุขอย่างแท้จริง 

โครงการนี้เต็มไปด้วยป่า แต่ไม่ได้มีแค่การปลูกป่า ปลูกต้นไม้ เพราะคำนึงถึงการใช้ชีวิตที่ได้สัมผัสธรรมชาติ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพอากาศที่ดี เย็นสบาย และช่วยลดการพึ่งพาการใช้เครื่องปรับอากาศในโครงการ

สำรวจการสร้างที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืนต่อทุกชีวิตที่แวดล้อมและคิดถึงอนาคตแบบฉบับ MQDC
สำรวจการสร้างที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืนต่อทุกชีวิตที่แวดล้อมและคิดถึงอนาคตแบบฉบับ MQDC

เทคโนโลยี อยาก อยู่ อย่าง เย็น

The Forestias เป็นโครงการที่ท้าทายการทำงานของ MQDC ในหลายๆ ด้าน แต่ก็สะท้อนหลักการความเชื่อด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

‘Heat Reduction’ ทำให้ถนนในโครงการเย็นขึ้น ด้วยการดีไซน์ให้ต้นไม้มาปกคลุมถนน มีอุโมงค์ใต้ถนน ซึ่งนอกจากจะเป็นเขื่อนช่วยป้องกันการเกิดน้ำท่วม ยังเป็นฐานของถนนเพื่อไม่ให้ถนนทรุด เป็นกระดูกสันหลัง (Back Bones) ของโครงการ

นอกจากนั้น อุโมงค์ยังเป็นที่ติดตั้งท่อทำความเย็น ที่เดินท่อดับเพลิง Optic Fiber น้ำประปา ฯลฯ ภายในอุโมงค์มีระบบระบายอากาศให้ไม่ร้อน จึงช่วยทำให้ถนนไม่ร้อนด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับถนนปกติที่ร้อนมากถึง 55 – 60 องศาเซลเซียส แต่ถนนนี้ลดอุณภูมิลงได้ 20 องศาเซลเซียส

นอกจากนั้น ยังมีการปรับพื้นที่ถนนโดยรอบให้ตรงกลางเป็นแอ่งลงไปเรียกว่า Basin หรือ Valley ต่ำกว่าถนนประมาณ 2 เมตร เพื่อใช้เป็นพื้นที่กักเก็บความเย็น ลดอุณหภูมิ ตามเป้าหมายคือ เพื่อเห็นหมอกในตอนเช้าได้ในโครงการ แม้อาจไม่เห็นทุกวัน แต่จะเห็นหมอกมากกว่าปกติและมากกว่าพื้นที่อื่นๆ โดยรอบ 

‘CUP เป็นศูนย์รวม Utility ของโครงการ และมี District Cooling System’ เป็นระบบผลิตความเย็นและส่งความเย็นด้วยน้ำ ไปตามท่อภายในอุโมงค์จนถึงแอร์ของแต่ละห้อง เป็นระบบผลิตความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน และลดการใช้สารทำความเย็นด้วย

เนื่องจากโครงการมีความต้องการการใช้พลังงานความเย็นคนละเวลากัน เช่น รีเทลหรือร้านค้าต่างๆ ใช้ตอนกลางวัน บ้านพักอาศัยใช้ตอนกลางคืน เป็นต้น การที่ระบบแชร์ภาระการทำความเย็นคนละช่วงเวลาได้ จึงลดปริมาณการติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยรวมของโครงการได้ด้วย

สำรวจการสร้างที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืนต่อทุกชีวิตที่แวดล้อมและคิดถึงอนาคตแบบฉบับ MQDC
สำรวจการสร้างที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืนต่อทุกชีวิตที่แวดล้อมและคิดถึงอนาคตแบบฉบับ MQDC


‘CO2 Reduction’ ความร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรับรองว่าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง เพราะเมื่อตึก CUP ลดการใช้สารทำความเย็น ก็จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปด้วย โดยปีแรกตั้งเป้าไว้ที่ 78,511ตัน / ปี และปีต่อไปนับที่ 47,686 ตัน / ปี 

สำรวจการสร้างที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืนต่อทุกชีวิตที่แวดล้อมและคิดถึงอนาคตแบบฉบับ MQDC

แนวทางปี 2021 

ถ้าใครเคยเห็นบิลบอร์ดขนาดใหญ่ของ MQDC แล้วนึกสงสัยว่า ภาพตัวอักษรแต่ละตัวมีความหมายอย่างไร เราจะมาเฉลยให้รู้กันตรงนี้

บิลบอร์ดของ MQDC ที่ออกมาใหม่จะว่าด้วยเรื่องของ “ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยน ความสุขที่นี่ยั่งยืนไม่เคยเปลี่ยน” จริงๆ แล้วมีนัยยะหรือความหมายแฝงอยู่ในทุกตัวอักษร นั่นก็คือ

ตัว ‘M’ สะท้อนให้เห็นถึง Environment / Biodiversity แปลว่าการอยู่ร่วมกัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์อย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมไปด้วยพร้อมๆ กัน

‘Q’ เป็นภาพของ Quality of Happiness หรือความสุขของทุกชีวิต ว่าด้วยเรื่องของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืน

‘D’ เป็นภาพของ Sustainnovation หรือนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน คิดค้นโดย RISC และ FutureTales Lab ซึ่งถือว่าเป็น Knowledge Sharing Hub ที่สำคัญต่อไป เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน

‘C’ คือภาพ Intergeneration หรือแนวคิดการทำที่อยู่อาศัยที่ดีและเหมาะสมสำหรับสมาชิกครอบครัวทุกวัย 

การปรับตัวเผชิญ COVID-19 และการรับมือความท้าทายในอนาคต 

1. ด้านสังคม มีการริเริ่มโครงการมากมาย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนในสังคม เช่น ‘โครงการปันความสุข’ ที่ได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ นำอาหารและสิ่งของใช้ที่จำเป็นมามอบให้กับผู้ที่เดือดร้อน โรงพยาบาลสนาม ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ บุคลากรที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมและจิตอาสา โดยมีกิจกรรมภายใต้โครงการมากมาย อาทิ คาราวานปันสุข ตู้ปันสุข ครัวปันสุข ถุงปันสุข เป็นต้น เพื่อตอกย้ำการให้ความสำคัญกับ For All Well-Being 

2. ด้านธุรกิจ มีการทำวิจัยเพื่อต่อยอดงานออกแบบโครงการ ให้มีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 หรือที่เรียกว่า COVID-Free Design ซึ่งออกแบบสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้ตอบรับกับการระบาด แบ่งรากฐานออกเป็น 4 แนวทางหลัก ทั้งการออกแบบพื้นที่ลดการแพร่กระจายเชื้อ การออกแบบพื้นที่ลดการสัมผัส การออกแบบที่อยู่อาศัยรองรับการทำงาน และการกำหนดนโยบายจัดการป้องกันโรค COVID-19 หรือการต่อยอดการพัฒนาหอฟอกอากาศเมืองฟ้าใส 2 ในการฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น การต่อยอดงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเติบโตทางธุรกิจด้วยเช่นกัน 

3. ด้านการวางแผนกลยุทธ์ สถานการณ์ COVID-19 ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนงานทางธุรกิจ เพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด และอาจเกิดขึ้นได้อีกหลายเหตุการณ์ในอนาคต

ความสำคัญของ 2 ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมแห่งอนาคต 

ศูนย์วิจัยทั้ง 2 แห่งที่ได้กล่าวไปแล้ว จะทำหน้าที่สร้างองค์ความรู้ที่สำคัญเพื่อเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในสังคม เพื่อย้ำว่า MQDC ไม่ได้มองใครเป็นคู่แข่ง แต่มองเป็นเพื่อนร่วมงานในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมไปตลอด ดังนั้น จึงเปิดกว้างการแชร์ความรู้และข้อมูลนี้ให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อื่นๆ ด้วย

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) จะเป็นศูนย์กลางการวิจัยด้านความยั่งยืนของชีวิตแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือองค์กรระดับโลก นอกจากนี้ RISC ยังถือเป็นศูนย์วิจัยที่ได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน WELL Building Standard ระดับ Gold แห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

แนวคิดธุรกิจอสังหาฯ ของ MQDC ที่เป็นมิตรต่อทั้งมนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติ นวัตกรรมที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต พร้อมปรับตัวเพื่อความสุขและความยั่งยืน

ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab) จะเป็นศูนย์วิจัยแห่งอนาคต ศึกษาคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้เราเตรียมพร้อมและได้พบกับอนาคตที่เราต้องการ โดยจะใช้เครื่องมือเพื่อค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกสำหรับสะท้อนภาพการอยู่อาศัย การทำงาน การเรียนรู้ การใช้เวลาว่าง คมนาคมขนส่ง และบริบทของความยั่งยืน

ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าทั้งสองศูนย์วิจัยทำงานเชื่อมโยง ส่งเสริมกันและกัน และมีเป้าหมายเดียวกันคือ สร้างสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเราเรียกที่อยู่อาศัยนั้นว่าบ้าน บ้านที่ดีจึงควรเป็นบ้านที่เป็นความสุขให้กับทุกคน
เหมือนระบบนิเวศแห่งหนึ่งที่ไม่ควรมีใครถูกละทิ้ง เพราะทุกชีวิตใช้พื้นที่นั้นร่วมกัน เติบโตไปด้วยกัน และยั่งยืนไปด้วยกัน 

ภาพ : Magnolia Quality Development Corporation

Writer

Avatar

วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม

อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร a day BULLETIN และ The Standard Magazine ที่ปัจจุบันเรียกตัวเองว่า ‘นักหาเรื่อง’ เพราะสนุกกับการหาแง่มุมที่ซุกซ่อนในเรื่องราวของผู้คนและสิ่งต่างๆรอบตัว ผ่านการพูดคุย อ่าน เขียน และการเดินทาง

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล