‘ดาดฟ้า’ ภาพแรกที่นึกถึงเมื่อได้ยินคำนี้คือพื้นที่โล่งชั้นบนสุดของตึกสูง ซึ่งสามารถมองเห็นวิวอาคารคอนกรีตขนาดยักษ์เรียงตัวกันอย่างหนาแน่นในเมืองใหญ่ แต่ ‘ดาดฟ้า’ ตรงหน้าฉันกลับแตกต่างจากภาพนั้นอย่างสิ้นเชิง สิ่งปลูกสร้างความสูงสองชั้นตั้งอยู่อย่างสบายๆ บนพื้นที่ 5 ไร่ มีสวนเล็กๆ และต้นไม้แทรกตัวอยู่ตามโครงเหล็กอย่างกลมกลืน

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋ ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

“แถวนี้มีตลาดเยอะ ตรงนี้เราก็อยากเป็นตลาดเหมือนกัน แต่เป็นตลาดอีกแบบที่เปิดสำหรับคนทุกระดับ รวมอะไรที่มีคุณภาพ”

คุณนุ้ย-กนกอร บุญทวีกิจ อธิบายคอนเซปต์ของ ‘ดาดฟ้า (Dadfa)’ โครงการ Market Park บนถนนสุขุมวิท 105 (ลาซาล) แม้ว่า ‘ดาดฟ้า’ จะเป็นทำเลทองอยู่ติดถนนและไม่ไกลจากรถไฟฟ้า แต่คุณนุ้ยตัดสินใจทำธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับตัวเอง ขณะเดียวกันก็ได้แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับสังคม ด้วยการเติมสีเขียวและพื้นที่เพื่อสุขภาพให้ย่านชุมชนที่เต็มไปด้วยที่อยู่อาศัย ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ว่าด้วยเรื่องของ ‘ความรัก’

รัก (ษ์) โลก

ท่ามกลางเมืองกรุงที่ตึกสูงรถราแน่นขนัด อยากให้คุณลองพักระบายสีเขียวให้หัวใจ แวะมาสูดโอโซนให้เต็มปอด ใต้ร่มไม้ใน ‘ดาดฟ้า’ แห่งนี้ดูสักครั้ง

“ถ้าทำคอนโดฯ ก็สบายแล้ว ไม่ต้องเหนื่อย แต่เราคิดว่าถ้ามีที่ที่คนมาแล้วสบายใจ มาแล้วมีความสุข ก็คงจะดี เลยเป็นที่มาของตลาดที่ทำให้เราพออยู่ได้ แต่ได้ทำอะไรที่มีความสุข เราอยากให้ที่นี่เป็นเหมือนปอดของชุมชนย่านลาซาล เป็นโอเอซิสของพื้นที่แถวบางนา ศรีนครินทร์ ซึ่งไม่มีสถานที่แบบนี้แน่นอน บางคนอาจจะไม่ต้องเข้าร้านอาหาร แต่มานั่งเล่นได้ ไม่ต้องเสียตังค์”

คุณนุ้ยเล่าด้วยรอยยิ้ม

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋ ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

เดิมพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นตลาดที่ครอบครัวของคุณนุ้ยให้พ่อค้าแม่ค้าเช่าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 15 ปี หลังจากเปลี่ยนมาเป็น ‘ดาดฟ้า’ ตลาดเดิมจึงย้ายไปอยู่บริเวณด้านข้างของโครงการ

แนวคิดของ ‘ดาดฟ้า’ เกิดจากการเห็นปัญหาของพื้นที่โดยรอบซึ่งเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดสด แทบไม่มีพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะ บวกกับการเป็นคนชอบกิน ชอบเที่ยว รักธรรมชาติ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณนุ้ยพัฒนาพื้นที่ 5 ไร่ให้เหมือนสวนสาธารณะ ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวถึง 3 ใน 4 ของโครงการ เพื่อให้ผู้คนในเมืองอันเร่งรีบได้มาใช้ชีวิตช้าๆ และใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ

นอกจากนี้ คุณนุ้ยกำลังวางแผนให้มีโครงการ Zero-waste แบบตะกร้าเดียวเที่ยวทั่วงาน ซึ่งจะมีนโยบายให้ร้านค้าลดราคาสำหรับลูกค้าเอาภาชนะมาใส่เองอีกด้วย

รักสุขภาพ

โจทย์ของแต่ละร้านที่นี่คือ ต้องมีดีทั้ง ‘สุขภาพ’ และ ‘คุณภาพ’

โดยชั้นแรกจะมีร้านอาหาร 2 ร้านคือ ร้านโอ้กะจู๋และร้านฟาร์ม-มุ ร้านสมูธตี้ 1 ร้าน คือร้านกราฟฟิตี้ ส่วนชั้นสองจะมีร้านปันฟาร์มสุข มาพร้อมกับฟาร์มปลูกผักเล็กๆ ข้างครัวกระจกขนาดกะทัดรัด ส่วนใครที่รักการออกกำลังกาย ชั้นนี้จะมีโยคะคาเฟ่ ซึ่งเป็นโยคะแบบ Open-air โดยเจ้าของชาวฟินแลนด์ และ The Fitness ฟิตเนสขนาดใหญ่เพื่อรองรับผู้คนที่ต้องการมาออกกำลังกายหรือใช้เวลาคุณภาพที่นี่

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋ ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋ ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

แม้ว่าจำนวนร้านจะมีไม่ไม่มากนัก เพื่อให้ดูแลได้อย่างทั่วถึง แต่การคัดสรรแต่ละร้านเข้ามาอยู่ในโครงการแทบจะเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะต้องเลือกร้านที่มีคุณภาพ มีแนวคิดใกล้เคียงกัน และไม่ใช่ร้านยอดฮิตจากห้างสรรพสินค้า เพราะคุณนุ้ยมองว่า การเข้าไปในคอมมูนิตี้มอลล์ทั่วไปหรือห้างสรรพสินค้าต้องเจออะไรซ้ำๆ ขณะที่บางร้านแม้จะอยู่นอกห้างและเดินทางไกล แต่คนก็เลือกที่จะไป เพราะมีคุณภาพและบรรยากาศดี

นอกจากนี้ที่นี่ยังใกล้กับโรงเรียนนานาชาติหลายแห่ง มีหมู่บ้านใหญ่ๆ แต่เวลาพักผ่อนต้องเดินทางไปห้างที่ทองหล่อหรือเอกมัย ซึ่งอยู่ไกลและเดินทางลำบาก

เมื่อเห็นช่องว่างทางธุรกิจซึ่งยังไม่มีอะไรมารองรับความต้องการของคนในระดับกลางหรือระดับบนในย่านนี้ คุณนุ้ยจึงแบ่งพื้นที่ขาย 1,600 ตารางเมตร จากพื้นที่ 8,000 ตารางเมตร เลือกสรรแต่ละร้านมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ ปลอดสารพิษ แม้กระทั่งอาหารมังสวิรัติ แต่จะไม่มีไม่มีซูเปอร์มาร์เก็ตและธนาคารต่างๆ โดยคุณนุ้ยให้เหตุผลว่า สิ่งเหล่านี้สามารถหาได้ตามห้างใหญ่ๆ ทั่วไป และอยากให้คนมาที่นี่เพื่อมาเสพความเป็นไลฟ์สไตล์ และเป็นสถานที่พักผ่อนที่ไม่ใช่ห้าง

รักออกแบบได้

‘ดาดฟ้า’ เป็นแบบอย่างของอาคารที่เด็กสถาปัตย์ต้องไม่พลาดที่จะมาเยี่ยมชม เนื่องจากคุณนุ้ยเป็นคนรักธรรมชาติ จุดเด่นของที่นี่จึงเป็นการผสมผสาน การออกแบบที่สวยงามและความยั่งยืนเข้าด้วยกัน

โครงสร้างของตัวอาคารเป็นแบบ Architecture Landscape พื้นแต่ละฝั่งความสูงไม่เท่ากัน ออกแบบแต่ละอย่างให้มีประโยชน์ใช้สอยได้หลากหลาย ใช้วัสดุที่ดี และเน้นการปล่อยให้ธรรมชาติออกแบบความงามด้วยตัวเอง

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋ ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

“จะปล่อยให้เป็นสนิมเนียนเท่ากันหมด เราค่อยพ่นเคลือบกันสนิม สังเกตว่าที่นี่จะไม่ค่อยฉาบหรือทาสีถ้าไม่จำเป็น อย่างผนังก็ไม่มีสี แต่ว่าเราจะใช้แกลบดำผสมเพื่อให้มีความเป็นชั้นดิน ที่นี่ยิ่งเก่า ยิ่งตะไคร่เกาะ ยิ่งสวย เรามองความยั่งยืน ไม่อยากเป็นเหมือนห้างที่ครบ 5 – 6 ปีต้องมาทาสีรีโนเวตใหม่ เลยให้โจทย์สถาปนิกไปว่า ยิ่งเก่า ยิ่งสวย ยิ่งคลาสสิก เลยออกมาเป็นลักษณะ ‘สัจจะวัสดุ’ ไม่ต้องไปทำอะไรมันมาก ปล่อยธรรมชาติทำให้มันสวยขึ้นไปเอง”

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋ ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

แม้พื้นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่โครงสร้างบางอย่าง เช่น โครงสร้างแบบหน้าจั่ว และหลังคาซึ่งยังคงให้ความรู้สึกเหมือนหลังคาตลาด เพื่อให้กลมกลืนกับชุมชน และยังออกแบบโดยคำนึงถึงปัญหาของชุมชนโดยรอบ เช่น มีปั๊มน้ำระบายน้ำเข้ามาข้างใน เพราะน้ำมักจะท่วมถนนด้านข้างโครงการนี้อยู่บ่อยๆ  

รักคือการให้

ผนังเปล่าบางส่วนในอาคารยังเฝ้ารอการเติมเต็มจากผู้คนที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน แต่ไม่มีพื้นที่สำหรับจัดแสดง โดยเฉพาะเด็กๆ และศิลปินอิสระ คุณนุ้ยเล่าว่า เฉพาะในลาซาล แบริ่ง มีโรงเรียนอยู่ถึง 13 แห่ง จึงอยากสนับสนุนพื้นที่ตรงนี้สำหรับจัดแสดงผลงานของเด็กๆ และยังเป็นที่ ‘ปล่อยของ’ ให้กับคนทั่วไปและศิลปินรุ่นใหม่

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

“ศิลปินเดี๋ยวนี้ทำงานดีๆ เยอะแต่ไม่มีที่ปล่อยของ เราชอบงานศิลปะ เหมือนเป็นความสุขของเรา ถ้าทำธุรกิจแล้วมีแพสชันกับอะไร มันจะยั่งยืน แต่ถ้าเรามาด้วยการกดตัวเลขอย่างเดียว ก็คงอยู่ไม่ได้ เพราะว่ามันไม่มีพลังงานที่จะทำให้ดี”

คุณนุ้ยกล่าวเมื่อพูดคุยถึงหนึ่งในงานที่เหล่าศิลปินอิสระได้มา ‘ปล่อยของ’ งานแรกของที่นี่ ในวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 1 กรกรฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยทีมงาน Noise Market ในชื่อใหม่คือ Norm Market จากแนวคิดการริเริ่มทำความชอบให้เป็นเรื่องปกติ และยังคงมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ทั้งฉายหนัง วงดนตรี ผลงานศิลปะ สินค้าที่ดีต่อโลกและดีต่อใจ เพื่อให้ให้ศิลปินอิสระหรือผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์ได้มีพื้นที่สำหรับเผยแพร่และจัดแสดงผลงาน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ร้านโอ้กะจู๋เชิญชวนคุณนุ้ย เกี่ยวกับการให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ปลูกผักอินทรีย์ส่งมาที่นี่แลกกับทุนการศึกษา ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่ตอบโจทย์ตรงใจคุณนุ้ยเรื่องพื้นที่ที่สนับสนุนด้านศึกษาอีกด้วย

Market Park แห่งนี้จึงเป็นมากกว่าธุรกิจและสวนสาธารณะ เพราะสำหรับฉันโครงการ ‘ดาดฟ้า’ เหมือนต้นความฝันของคุณนุ้ย ที่กำลังรดน้ำพรวนดินอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย ‘ความรัก’ และฉันเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ารอชื่นชมดอกผลจากต้นฝันที่บรรจงปลูกมันด้วยความรักในพื้นที่ของโครงการ ‘ดาดฟ้า’ แห่งนี้

ดาดฟ้า, ดาดฟ้า Dadfa, คอมมูนิตี้มอลล์ สุขุมวิท, ร้านโอ้กะจู๋

Writer

Avatar

ธัญญารัตน์ โคตรวันทา

มนุษย์ที่กำลังเติบโตในทุกๆ ด้าน ยกเว้นความสูง ชอบเดินเป็นงานอดิเรก หลงรักเสียงเพลงและเป็นแฟนหนังสือมูราคามิ

Photographers

Avatar

ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

เรียนวารสาร เที่ยวไปถ่ายรูปไปคืองานอดิเรก และหลงใหลช่วงเวลา Magic Hour ของทุกๆวัน

Avatar

ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข

ช่างภาพ นักออกแบบกราฟิก นัก(หัด)เขียน โปรดิวเซอร์และผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์ และอื่นๆอีกมากมายแล้วแต่ว่าไปเจออะไรน่าทำ IG : cteerapan