ตอนนี้เหล่า Cafe Hopper ต่างพูดถึงอาคารหลังใหม่ของ Whispering Cafe ที่จังหวัดนครปฐมกันอย่างคึกคัก ผู้คนมากมายต่างเดินทางมาดู มาถ่ายรูป ทั้งที่มันยังสร้างไม่เสร็จ

ที่นี่คือคาเฟ่ออร์แกนิกของ คุณปิ๋ม-ศิริลักษณ์ ริ้วบำรุง ซึ่งออกแบบและจัดสวนโดย คุณวิทย์-ศิริวิทย์ ริ้วบำรุง

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

ปีที่ผ่านมา คุณวิทย์นำเข้าต้นมะกอก และปั้นจนกลายเป็นต้นไม้ยอดฮิตแห่งปี

ก่อนหน้านั้นเล็กน้อย เขาคือนักจัดสวนผูุ้เชี่ยวชาญเรื่องไม้ใบ และเป็นหนึ่งในผู้ปลุกให้เกิดกระแสการปลูกไม้ใบในห้อง ช่วงปีที่ผ่านมา

ย้อนหลังกลับไปเกือบ 10 ปี คุณวิทย์และคุณปิ๋มทำให้ Little Tree Garden ร้านอาหารและสวนในซอยลึกที่จังหวัดนครปฐม กลายเป็นจุดหมายที่คนเมืองมากมายอยากมาเที่ยว รวมไปถึงมาถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง และจัดงานแต่งงาน

เราอาจจะรู้จักสองพี่น้องคู่นี้ในฐานะของผู้ที่จัดสวน ขายต้นไม้ ทำร้านอาหาร และจัดค่ายธรรมชาติ แต่น้อยคนจะรู้ว่า พวกเขาคือทายาทรุุ่นที่ 4 ของครอบครัวชาวสวนผลไม้ในจังหวัดนครปฐม

ผู้ต่อยอดอาชีพเกษตรกรและพื้นที่สวนของครอบครัว ให้กลายมาเป็นสถานที่สุดที่รักของผู้คนมากมาย

01

ลูกชาวสวน

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

คุุณวิทย์และคุณปิ๋มเป็นทายาทของ คุณพ่อเสวก ริ้วบำรุง กับ คุณแม่บังอร ริ้วบำรุง ทั้งคู่เติบโตมาในครอบครัวชาวสวนผลไม้ซึ่งมีบ้านอยู่ติดกัน เห็นกันมาตั้งแต่เด็ก

ครอบครัวคุณเสวกทำสวนมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ โชคร้ายที่คุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่ม คุณเสวกและพี่ชายจึงต้องเป็นกำลังหลักในการทำสวนของครอบครัวตั้งแต่เด็ก คุณเสวกเรียนหนังสือถึงแค่ชั้น ป.4 แต่เรียนรู้การปลูกต้นไม้ด้วยตัวเองจนมีฝีมือเก่งกาจเป็นที่เลื่องลือตั้งแต่ยังเยาว์ เขาปลูกอะไรก็งาม ขยายพันธุ์อะไรก็ง่าย ถึงขนาดปลูกองุ่นจนโดนตำรวจจับ ข้อหาลักลอบนำเข้าองุ่นจากต่างประเทศ เพราะไม่เชื่อว่าจะปลูกองุ่นที่นครปฐมได้งามขนาดนี้

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

ครอบครัวคุุณบังอรรุ่นคุณปู่ทำอาชีพค้าขาย พอมาถึงรุุ่นพ่อก็ทำสวนส้มโอ สวนพุุทรา และได้สัมปทานทำโพงพางจับสัตว์น้ำริมแม่น้ำท่าจีน หน้า Little Tree ในปัจจุบัน บ้านคุณบังอรจึงคึกคักไปด้วยคนที่มาซื้อขายสัตว์น้ำ และขึ้นชื่อเรื่องการหมักกะปิ หมักน้ำปลา รวมถึงมีฝีไม้ลายมือในการทำอาหาร

โชคร้ายที่มีคนมาแกล้งตัดโคนต้นไม้ในสวนผลไม้ ครอบครัวของคุณบังอรจึงสูญเงินทั้งหมดที่ลงไป สมาชิกในครอบครัวเกือบทั้งหมดเลยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ส่วนคุณบังอรในวัย 18 ปี ซึ่งเรียนจบแค่ชั้น ป.4 เลือกแต่งงานกับคุุณเสวกผู้มีอายุมากกว่า 7 ปี ท่ามกลางความเห็นชอบของผู้ใหญ่ที่มั่นใจว่า หนุ่มสาวคู่นี้จะช่วยกันทำมาหากินได้

02

ทำธุรกิจตามแนวทางของตัวเอง

แรกเริ่มคุุณเสวกและคุุณบังอรทำสวนของครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก พอแต่งงานคุณเสวกก็ย้ายมาอยู่บ้านคุณบังอร (ซึ่งอยู่ติดกัน) เขาเริ่มมองหาธุรกิจใหม่ของตัวเอง จนมาลงตัวที่สวนกล้วยไม้ ‘เสวกออคิด’ ซึ่งถือว่าเป็นสวนแรกๆ ของย่านนั้นใน พ.ศ. 2514

ในระหว่างทำสวนกล้วยไม้ ทั้งคู่ลองเลี้ยงหมููและเลี้ยงปลา แต่ว่าล้มเหลวจนต้องเลิกไป ส่วนเรื่องการทำสวนกล้วยไม้ เขาถือเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงที่ชาวสวนกล้วยไม้ทั่วนครปฐมต่างยอมรับในฝีมือ จากที่ปลููกกล้วยไม้แค่หน้าบ้าน คุณเสวกขยายกิจการเพิ่มพื้นที่ทั้งซื้อและเช่าจนมีขนาดเกือบ 20 ไร่ มีทั้งขายดอก ขายกล้า ขายต้น และขายต้นไม้ชนิดอื่นควบคูู่ไปด้วย ครบวงจรแตกต่างจากสวนกล้วยไม้อื่นๆ

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

วันนี้คุณเสวกไม่ได้ทำสวนกล้วยไม้แล้ว เขาหันมาเพาะพันธุุ์ไม้ใบหายากขายในชื่อ Little Tree Garden & Nursery เขาเป็นนักเพาะต้นไม้ระดับมือรางวัล ต้นไม้ที่เขาขายมีหลากหลายประเภทเริ่มที่ราคาเบาๆ ตั้งแต่หลักร้อย หลักพัน ไปจนถึงหลักหมื่น และหลักแสนบาท และไม่ใช่ต้นไม้หายากที่มีแค่ต้นเดียว เพราะคุณเสวกสามารถขยายพันธุ์ให้มีขายกี่ต้นก็ได้ นั่นคือทักษะที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้

แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ แนวคิดในการทำธุรกิจของเกษตรกรผู้จบชั้น ป.4 คนนี้ ที่ฟังแล้วจะตกใจว่า นี่คือแนวคิดของชาวสวนเมื่อ 30 ปีก่อนจริงหรือ นึกว่าเป็นตัวอย่างของธุรกิจสมัยใหม่ในคลาสบริหารธุรกิจเสียอีก

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

03

คิดแบบเสวก

นี่คือหลักคิด 10 ข้อในการทำสวนของคุุณเสวก

1. เล่นตัวที่ยังไม่ดัง

คุณเสวกเริ่มปลูกกล้วยไม้จาก 3 พันธุุ์ ซึ่งวันนั้นยังไม่เป็นที่รู้จัก ในมุุมหนึ่ง อาจขายดอกยาก แต่อีกมุมถ้าตาถึงพอ เขาจะกลายเป็นผูู้นำเทรนด์ใหม่และเจ้าตลาดทันที คุณเสวกใช้เวลาไม่นานทำให้กล้วยไม้ 3 พันธุ์ที่เขาเลือกมาปลูกดังจนคนปลูกตามกันทั้งย่าน

2. เลือกแบบมีหลัก

ไม่ว่าคุุณเสวกจะซื้อต้นไม้อะไรมาปลูก เขาต้องมั่นใจว่า เงินที่จ่ายไปจะคุุ้มค่า สวนกล้วยไม้ในยุคนั้นอาจเลือกพันธุ์แค่สีสันและความสวยงาม แต่คุณเสวกดูลึกถึงกลีบดอก ขนาดดอก ความดก ความทน ขนาดช่อ ความยากง่ายในการเลี้ยง ความต้องการของตลาด และอีกมากมาย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนจะนิยมปลูกตามคุณเสวก เพราะผ่านการคัดสรรชั้นยอดมาแล้ว

3. เร็วและกล้ากว่าคนอื่น

คุณเสวกมีสายตาในการเลือกต้นไม้ที่คมกริบ มีทักษะในการขยายพันธุ์ที่ไม่เป็นรองใคร ดังนั้นเขาจึงชอบเล่นต้นไม้พันธุุ์ใหม่เอี่ยมที่เพิ่งเข้ามาในตลาด ด้วยความใหม่และมีปริมาณที่น้อยทำให้ราคาสูงลิ่ว จนสวนอื่นไม่กล้าแตะ เพราะไม่มั่นใจว่าจะได้ทุุนคืน แต่คุณเสวกไม่กลัว ถ้าเขาคิดว่ามันจะมา ราคาเท่าไหร่ก็ยอมจ่าย เพราะซื้อมาต้นเดียวเขาก็ขยายให้เป็นสิบเป็นร้อยเป็นพันต้นได้

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

4. กล้าขายแม่พันธุ์

ไม่แปลกที่สวนกล้วยไม้เกือบทั้งหมดจะห่วงแม่พันธุ์ของตัวเอง เพราะการขายเปรียบได้กับการยื่นดาบให้คู่แข่ง แต่คุณเสวกทำในสิ่งตรงข้าม เขามีความสามารถพิเศษในการขยายพันธุ์แบบที่สวนอื่นไม่มี เขาขยายพันธุ์ได้เร็วและทำจำนวนได้มาก ถ้าเขาซื้อพันธุ์มาพร้อมกับสวนข้างๆ ในจำนวนเท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน สวนข้างๆ ยังคงมีจำนวนต้นเท่าเดิม เพราะซื้อมาปลูกเอาดอก แต่คุณเสวกขยายพันธุ์ต้นกล้ามาขายได้เพิ่มอีกหมื่นต้น ทั้งขายให้ชาวสวนด้วยกันและส่งออก ถอนทุนค่าต้นพันธุ์คืนและฟันกำไรเรียบร้อย โดยที่ตัดดอกขายไปพร้อมๆ กันด้วย

5. อยากได้เงินมากกว่า ก็ต้องขยันกว่า

ปกติคุณเสวกขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยการผ่าหน่อด้วยตัวเอง แต่หากต้องการปริมาณมากเป็นล้านต้นเพื่อส่งออก เขาก็ต้องจ้างแล็บปั่นเนื้อเยื่อให้ สิ่งที่ได้รับจากแล็บกลับมาคือต้นกล้าจิ๋วที่ปลูกในวุ้นในขวดขนาดเล็ก เวลาขายให้ลููกค้า 1 ขวดคือ 1 ต้น แต่ในความเป็นจริง หนึ่งขวดอาจมีมากกว่า 1 ต้น เขาและลูกๆ จึงนั่งหลังขดหลังแข็งเอาลวดเขี่ยต้นกล้าที่เกิน แยกออกมาปลูกใหม่ ตอนเอาต้นกล้าออกไปปลูกในภาชนะขนาดใหญ่ สวนอื่นใช้วิธีทุบขวดเพราะง่ายและเร็วที่สุุด แต่เขากลับใช้วิธีเขี่ยออกมา เพื่อที่จะล้างขวดกลับไปขายคืนแล็บ

ถ้าสงสัยว่าทำแบบนี้แล้วคุ้มหรือ คุณเสวกบอกว่า ตรงนี้ทำกำไรได้เยอะมาก เขาว่าช่วงพีกๆ เมื่อ 30 ปีก่อน ทั้งการตัดดอกและขายต้นกล้าด้วยวิธีแบบนี้ เขาปลูกบ้านราคา 7 ล้านบาทได้แบบสบายๆ

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe
ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

6. ราคาของทุกอย่างมีขึ้นมีลง

คุณเสวกตั้งราคาขายต้นไม้ไม่สูงมาก แค่พอได้ทุนคืน ไม่ต้องได้ราคาสูงสุดก็ได้ เขามีหลักว่า ขายห้าผ่าสิบ (ขาย 5 ต้น ขยายพันธุ์เพิ่ม 10 ต้น) ดังนั้นถ้าได้ราคาที่พอใจ ก็ขายเลย โดยไม่เสียดาย ขอถอนทุนคืนก่อน เพราะถ้าราคาตกหรือคนไม่เล่นแล้วจะไม่เหลืออะไรเลย

เขารู้ว่า วันนี้คนที่รับไม้ใบจากเขาไปขายต่อในออนไลน์ตั้งราคาสูงกว่าเขาเท่าตัว แต่เขาก็ไม่คิดจะขึ้นราคาหรือจะขายแข่ง เพราะเขาได้ราคาที่พอใจแล้ว ลูกค้าจะเอาไปปล่อยต่อเท่าไหร่ก็เรื่องของเขา ถ้าลูกค้ากำไรเยอะก็ยิ่งดี จะได้กลับมาซื้ออีกบ่อยๆ

7. หาจังหวะทิ้ง แล้วเปลี่ยนไปเล่นตัวใหม่

คุณเสวกกล้าขายพันธุ์ ไม่กลัวคนปลููกแข่ง เพราะเขารู้ว่า ตัวเองจะไม่ปลูกพันธุ์เดียวทั้งชีวิต เมื่อผ่านจุุดพีกไปแล้ว เขาจะขายทิ้งเพื่อเปลี่ยนไปเล่นตัวใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นแทน ดังนั้นในวันที่กล้วยไม้พันธุ์หนึ่งพ้นจุดพีกแต่ยังฮิตอยู่ และยังมีราคา เขาจะชิง Exit ก่อน ด้วยการขายต้นทิ้งทั้งสวน ให้สวนอื่นเอาไปปลูกต่อ จึงได้เงินก้อนใหญ่ทิ้งท้าย ในขณะที่บางสวนไม่ปรับตัว ก็ต้องทิ้งต้นไปเปล่าๆ เพราะไม่มีออเดอร์พันธุุ์นี้แล้ว

บางครั้งเขาก็ไม่ได้ขายพันธุ์ทิ้ง แต่ใช้วิธียกให้คนอื่นฟรีๆ ด้วยเหตุุผลว่า เขาต้องการที่ว่างเพื่อปลูกพันธุุ์ใหม่ซึ่งราคาดีมาก แค่เคลียร์ที่ให้ว่างพร้อมปลูกได้ ก็คุ้มแล้ว

8. กระจายความเสี่ยง

ชาวสวนกล้วยไม้แทบทุุกสวนปลูกแค่กล้วยไม้ แค่คุณเสวกคิดต่าง เขาเป็นสวนแรกๆ ที่ปลูกเฟิร์นใบมะขามกับเฟิร์นบอสตันควบคู่ไปด้วย โดยใช้พื้นที่บริเวณพื้นด้านล่างกล้วยไม้ พอปลูกเฟิร์นแล้ววัชพืชก็ไม่มี เมื่อก่อนตอนเช้าตัดกล้วยไม้ ตอนบ่ายกำจัดวัชพืช พอปลูกเฟิร์นช่วงบ่ายก็เปลี่ยนมาตัดใบเฟิร์นขายปากคลองตลาดและส่งออกแทน บางฤดูกาลเฟิร์นทำเงินได้มากกว่ากล้วยไม้เสียอีก

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

04

ลูกขอให้หยุดทำสวน

คุณเสวกและคุณบังอรก็เหมือนคุณพ่อคุณแม่อีกมากมายที่ไม่อยากให้ลูกๆ ลำบากเหมือนตัวเอง จึงส่งลูกให้เรียนสูงที่สุุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลูกสาวคนโต คุณเปิ้ล-ศิรินภา ริ้วบำรุง ได้ไปเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกา คุณปิ๋มหลังจากเรียนจบจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน English Study ที่ออสเตรเลีย ส่วนคุณวิทย์ไม่ค่อยชอบเรียนเท่าไหร่นัก พอเรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ก็ไม่ยอมไปเรียนต่อต่างประเทศเหมือนพี่ๆ

เมื่อลูกทุุกคนเรียนจบกลับมา คุณปิ๋มขอร้องให้คุณพ่อคุุณแม่หยุดทำสวนกล้วยไม้ เพราะต้องคลุกคลีกับสารเคมีนานาประเภทเยอะมาก แม้ว่าจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยอมเลิกตามที่ลูกขอ ส่วนหนึ่งเพราะทนสารเคมีไม่ไหวจริงๆ อีกเหตุผล คุุณเสวกพบว่า เขาเปลี่ยนไปปลูกเฟิร์นกับหน้าวัวใบขายได้ พืช 2 กลุ่มนี้ไม่ต้องใช้ยาเลย และยังมีคนทำไม้พวกนี้ขายไม่เยอะ การขายเฟิร์นสไบนางได้กระถางละ 35,000 บาท เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ทำให้คุณเสวกยอมทิ้งสารเคมีแล้วหันมาเอาดีกับการทำไม้ใบพวกนี้แทน

05

เปลี่ยนสวนเป็นโรงเรียน

คุณปิ๋มทำงานเกี่ยวกับการแปลแถวสีลมได้ไม่ถึงปีก็ทนชีวิตในเมืองไม่ไหว ลาออกกลับมาอยู่บ้าน จากนั้นเธอก็เลือกทำสิ่งที่เธอรักคือ สอนภาษาอังกฤษ ท่ามกลางบรรยากาศที่เธอรักและผูกพัน ก็คือเรียนในสวน แม้จะไม่ได้ตั้งใจเสียทีเดียว แต่นี่คือการที่เอาสวนของที่บ้านมาต่อยอดเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย นั่นก็เป็นเปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและศิลปะชื่อ บ้านภาษาและศิลปะ เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน

ช่วงแรกคนที่เรียนคือลูกหลานของคนละแวกนั้น แต่สักพักก็บอกกันปากต่อปากจนคนจากกรุงเทพฯ ยอมขับรถพาลูกมาเรียนภาษาอังกฤษที่นครปฐม เพราะคุณปิ๋มสอนภาษาด้วยวิธีที่แตกต่างในยุคนั้นคือ เรียนผ่านการเล่นเกม ร้องเพลง ทำอาหาร พายเรือ โดยมีฉากหลังเป็นบ้านสวน ท้องร่อง และแม่น้ำท่าจีน

เมื่อลูกของคุุณปิ๋มโตขึ้น เธอเลือกสอนลูกแบบ Home School จึงมีเวลาและสมาธิให้โรงเรียนสอนภาษาลดลงเรื่อยๆ จะจ้างคนอื่นมาสอนแทนก็ไม่อยาก สุุดท้ายเธอก็ปิดโรงเรียน แล้วเปลี่ยนไปสอนผ่านการจัดค่ายเด็กในช่วงปิดเทอมแทน ในชื่อ Little Tree House of Learning

06

เปิดร้านอาหาร

การเปิดโรงเรียนสอนภาษาที่บ้าน ทำให้ครอบครัวพบธุรกิจใหม่ที่สร้างชื่อให้พวกเขาอย่างมากในเวลาต่อมา นั่นก็คือร้านอาหาร

เนื่องจากโรงเรียนนี้อยู่กลางสวน พอถึงเวลาเที่ยงผู้ปกครองที่นอนเปลรอลูกๆ และนักเรียนจึงไม่สะดวกออกไปหาอาหารรับประทาน คุณปิ๋มจึงชวนคุณแม่และ คุณแป๊ะ-จาตุรงค์ ขุนกอง แฟนของคุณวิทย์ มาช่วยทำอาหารแบบง่ายๆ บริการผู้ปกครอง เช่น ข้าวผัด ข้าวไข่เจียว หลังจากนั้นร้านอาหารก็เริ่มจริงจังขึ้นตามจำนวนนักเรียนที่มากขึ้น พอคุณวิทย์เปิดร้านขายต้นไม้ และสวน Little Tree ได้รับรางวัล ก็มีคนเดินทางมาที่นี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีลููกค้าเข้าร้านอาหารมากขึ้น

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

คุณบังอรกับคุณแป๊ะจึงทำอาหารกันจริงจังมากขึ้น โดยตั้งใจให้ความรู้สึกเหมือนมากินข้าวบ้านญาติ ไม่ใช่ร้านแบบสวนอาหาร เมนูหลายอย่างคือเมนูที่กินกันในบ้าน เช่น หมูต้มเค็มคุณยาย แกงจื๊อปลาช่อนทอด ปลาทูราดพริกขี้หนูสวน ส่วนคุุณแป๊ะก็เข้ามาช่วยเติมเมนูใหม่ๆ หลายอย่าง เพราะเขามีทักษะการทำอาหารจากร้านขายข้าวแกงของที่บ้าน และการเรียนจากโรงแรมโอเรียนเต็ลกับดุสิตธานี

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

ช่วงหลัง พอมีดอกไม้ในสวนมากขึ้น ก็เพิ่มเมนูที่นำดอกไม้เหล่านี้มาใช้ เช่น เมี่ยงดอกไม้ ยำหมูย่างดอกไม้ รวมไปถึงการทำเบเกอรี่เพิ่มด้วย

จากที่ร้านอาหารเคยเป็นเพียงจุดให้ความสะดวกกับผู้มาเยือน ช่วงหลังกลับกลายเป็นคนตั้งใจมาที่นี่เพื่อกินอาหาร แล้วเดินสวนเป็นผลพลอยได้

คุณปิ๋มเรียกสวนแห่งนี้และร้านอาหารรวมกันว่า Little Tree Garden

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

07

เปิดร้านขายต้นไม้

หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย คุณวิทย์ไปเรียนต่อหลักสูตรการโรงแรมของโอเรียนเต็ล (OHAP) 1 ปี นั่นทำให้เขามีทักษะพื้นฐานจำนวนมาก ที่นำมาใช้ในการจัดเลี้ยงที่ Little Tree Garden ในเวลาต่อมา

คุณวิทย์สะสมต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก เวลาที่เขาตามคุณพ่อไปตามงานประกวดต้นไม้หรือไปบ้านเพื่อนคุณพ่อ เขามักจะได้ต้นไม้พันธุ์แปลกๆ ติดมือกลับมาด้วยเสมอ ซื้อบ้าง ขอบ้าง ทั้งกล้วยไม้ เดฟ โฮยา เฟิร์น รวมไปถึงฟิโลเดนดรอน และไม้ใบน่าสะสมอีกมากมาย

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

คุณวิทย์ก็เหมือนนักสะสมต้นไม้ทั่วไป ที่อยากเห็นต้นไม้ของตัวเองเติบใหญ่และมีฟอร์มที่สวยงาม แต่คุณพ่อไม่เห็นด้วยนัก คุณพ่อจึงแอบเอาต้นไม้ของคุณวิทย์ไปตัดแบ่งขยายพันธุ์ทำจำนวน จากหนึ่งต้นให้กลายเป็นหลายต้น

แล้วคุณวิทย์ก็เห็นประโยชน์ในสิ่งที่คุณพ่อทำ ในวันที่นักสะสมต้นไม้คนหนึ่งมาที่บ้านแล้วเห็นต้นไม้แปลกๆ เยอะ จึงชวนเข้าสูุ่วงการซื้อขายแลกเปลี่ยน ถ้าคุณวิทย์มีแค่พันธุ์ละต้นคงขายหรือแลกกับใครไม่ได้ เมื่อเขารู้ข่าวว่า ร้านต้นไม้เจ้าประจำที่บางบัวทองกำลังจะย้ายออก เขาเลยตัดสินใจเข้าไปเช่าที่ต่อ แล้วเปิดร้านขายต้นไม้ เป็นการทำงานแบบที่มีรายได้ครั้งแรกของเขา ชื่อร้าน Little Tree

ร้านของเขาลงสื่อและโด่งดังด้วยความรวดเร็วเพราะมีต้นไม้แปลก มีการจัดไม้กระถางมาขาย และแต่งร้านสวยมาก แต่ด้วยความที่เขาต้องเฝ้าร้านเองทุกวัน พอทำไปได้เกือบปี เขาก็รูู้สึกเหมือนพี่สาวคือ อยากกลับไปอยู่บ้าน ก็เลยย้ายไปเปิดร้านขายต้นไม้ที่บ้านแทน

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe
ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

08

กลายเป็นนักจัดสวน

คุณวิทย์ออกสื่อครั้งแรกจากการส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในโครงการ ‘สวนจัดเอง’ ของนิตยสาร บ้านและสวน เมื่อสวนที่บ้านซึ่งเขาจัดเองได้รางวัลท ีมงานก็เดินทางมาถ่ายภาพสวน Little Tree ลงในนิตยสาร บ้านและสวน จากนั้นก็ตามไปถ่ายร้านขายต้นไม้ของเขาที่บางบัวทองและผลงานอื่นๆ ของเขาด้วย

บ้านแรกที่คุณวิทย์มีโอกาสได้ออกแบบคือ บ้านของคุุณแป๊ะ แม้จะไม่ได้ร่ำเรียนมาทางด้านสถาปัตยกรรม แต่ด้วยความสนใจและสายตาอันเฉียบคม เขาก็ออกแบบบ้านไม้สีขาว ใต้ถุนสูง สไตล์บ้านหัวหินของคุณแป๊ะได้อย่างลงตัว จนได้ลงนิตยสารหลายเล่ม

จากนั้นเขาก็มีโอกาสจัดสวนให้เพื่อน เขาเลือกทำสวนอังกฤษเพราะได้รับพลังและแรงบันดาลใจอย่างเต็มปรี่ ตอนที่ไปเยี่ยมคุณเปิ้ลซึ่งไปแต่งงานมีชีวิตครอบครัวอยู่ที่อังกฤษ การจัดสวนในเมืองไทยช่วงนั้นกำลังฮิตสวนบาหลี และสวนเขตร้อน สวนอังกฤษของคุณวิทย์จึงเป็นของใหม่ที่มีคนสนใจเยอะมาก เขาทำสินค้าแต่งสวนอังกฤษมากมายออกมาขาย เช่น เก้าอี้ยาว อ่างอาบน้ำนก ปูนปั้นรูปสัตว์ ที่เห็นกันบ่อยสุดคือ เป็ด เป็นสินค้าที่ไร้คู่แข่ง ใครอยากได้ต้องมาซื้อที่ Little Tree ช่วงพีกๆ เขาทำรายได้จากสินค้าพวกนี้ได้วันละเป็นแสนบาท

เขามีโอกาสได้ทำบ้านให้เจ้าของบริษัทออร์แกไนเซอร์ท่านหนึ่ง เมื่อรู้จักมักคุ้นเห็นฝีมือกัน ก็เลยได้ทำงานจัดต้นไม้ให้ห้างสรรพสินค้าดังๆ หลายแห่ง รวมไปถึงการจัดต้นไม้ตามงานอีเวนต์เปิดตัวทั้งหลายด้วย

คุณวิทย์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสวนอังกฤษและการจัดสวน ในชื่อ Little Tree Landscape เขารับบทบาทวิทยากรอบรมนับครั้งไม่ถ้วน และมีผลงานหนังสือเกี่ยวกับการจัดสวนตามมาอีก 4 เล่ม

09

ที่ถ่ายพรีเวดดิ้ง

การจัดสวนให้เพื่อนยังมีข้อดีที่คาดไม่ถึงอีกอย่างคือ เพื่อนคนนั้นขอมาดูตัวอย่างสวนที่บ้านคุณวิทย์ เมื่อมาถึงก็ประทับใจจนขอมาถ่ายรูปพรีเวดดิ้งที่นี่ เมื่อมีคนเห็นก็ขอมาถ่ายตาม จนที่นี่กลายเป็นหนึ่งในจุดถ่ายพรีเวดดิ้งที่โด่งดังที่สุด ช่วงพีกๆ มีมาถ่ายวันละ 8 – 9 คู่ ซึ่งก็ต้องแย่งคิวกับกองถ่ายละคร โฆษณา และมิวสิกวิดีโอ

ช่วงก่อน COVID-19 ยังมีคนมาถ่ายพรีเวดดิ้งวันละ 2 – 3 คู่ ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ไม่รับแล้ว เพราะไม่สะดวกเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวมาก ใครเคยไปถ่ายงานประเภทนี้ในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร คงพอจะทราบว่า ค่าเช่าสถานที่อยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

แต่ที่นี่ ช่วงแรกคุณวิทย์คิดเงินคู่ละ 1,500 บาท แล้วขยับมาเป็น 2,500 บาท เหตุที่ไม่ขยับขึ้นมากกว่านี้เพราะกลัวคนจะหาว่า พอดังแล้วขึ้นราคา ถ้าคิดว่าเขาหวังรายได้จากค่าอาหารของกองถ่ายมาทดแทนก็คงไม่ใช่ เพราะหลายกอง คู่บ่าวสาวไม่ได้เลี้ยงข้าวทีมงาน ที่หนักกว่านั้น กองถ่ายจำนวนมากยังใช้วิธีซื้อข้าวกล่องจากข้างนอกเข้ามากินด้วย

คุณวิทย์คิดไม่ต่างจากคุณพ่อของเขา หากได้ราคาที่พอใจ เขาก็มีความสุขแล้ว ไม่เห็นต้องไปเทียบกับใครให้ปวดหัวว่า ที่ไหนคิดราคาแพงหรือถูกกว่าเขา

ในวันที่รุุ่นน้องคนสนิทขออนุญาตมาจัดงานแต่งงานที่นี่ เขาก็รับปาก พร้อมกับสั่งโต๊ะเก้าอี้มาใหม่ 200 – 300 ชุดเพื่องานนั้น เป็นการบริการรุ่นน้องอย่างเต็มที่ โดยไม่ได้คิดว่าหลังงานจะจัดการกับโต๊ะเก้าอี้เหล่านี้ยังไง และแน่นอนว่า ค่าเช่าที่เขาคิด ก็ไม่ได้รวมค่าโต๊ะเก้าอี้พวกนี้

สุดท้ายงานก็ออกมาดีมาก มีคนเห็นและคนชื่นชมมากมาย เลยทำให้ Little Tree ได้ธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างโดยไม่คาดฝัน ก็คือรับจัดงานแต่งงาน ซึ่งถึงตอนนี้ได้ให้บริการบ่าวสาวไป 100 กว่าคู่แล้ว

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

10

Whispering Land

คุณวิทย์บอกว่าสิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากคุณพ่อคือ ห้ามหยุดอยู่กับที่ ต้องหมั่นทำอะไรใหม่ๆ ออกมาเสมอ เมื่อ 3 ปีก่อน เขาจึงปรับพื้นที่สำหรับจัดค่ายเด็กของคุณปิ๋มให้กลายเป็นสวนสุดสวย ชื่อ Whispering Land และสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อใช้เป็นที่หลบฝนหลบแดด เมื่อมีอาคาร ก็มีความคิดเรื่องการขยายร้านอาหารตามมา

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe
ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

คุณปิ๋มสนใจเรื่องออร์แกนิกแบบจริงจังมายาวนาน เธอพบว่าร้านอาหารที่ Little Tree Garden เป็นร้านอาหารรสมือแม่ที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่น ซึ่งไม่สามารถเรียกได้ว่าร้านออร์แกนิก เพราะผักและวัตถุุดิบส่วนหนึ่งก็ซื้อจากตลาดทั่วไป หรืออาหารหลายเมนูก็เน้นรสชาติ เลยอาจจะไม่ถือว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพมากนัก

เพื่อความชัดเจน คุณปิ๋มเลยแยกออกมาเปิดร้าน Whispering Cafe ซึ่งมีโลโก้เป็นรูปช่อมะกอกกับดอกโสน ขายอาหารเมดิเตอร์เรเนียนกับอาหารไทยที่ปรุงจากวัตถุดิบในสวนซึ่งปลูกแบบปลอดสารเคมี สิ่งที่ซื้อหามาจากข้างนอก ล้วนมาจากผู้ผลิตออร์แกนิกชื่อดังระดับประเทศ รู้ที่ไปที่มาทุุกอย่าง แม้กระทั่งวัตถุดิบอย่างหอม กระเทียม พริก ก็ยังเลือกแบบที่เป็นออร์แกนิก คนที่ไม่ชอบน้ำตาลฟอกขาว ก็มีทางเลือกอย่าง น้ำตาลช่อดอกมะพร้าว ไซรัปกล้วย ไซรัปมะพร้าวให้

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

Whispering Cafe โด่งดังด้วยความรวดเร็ว เพราะนอกจากอาหารอร่อยที่ปลอดภัยแล้ว ยังมีกาแฟที่ดี และลูกค้ายังได้เดินเล่นในสวนขนาดใหญ่ด้วย ช่วงแรกลูกค้าเป็นกลุ่มวัยรุ่น ต่อมาเริ่มกลายเป็นคอกาแฟ เป็นกลุ่มคนรักครอบครัว และคนรักสวน วันเสาร์อาทิตย์มีลูกค้าล้นร้านจนที่นั่งไม่พอ พวกเขาจึงคิดจะสร้างอาคารหลังใหม่เพิ่ม

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

11

อาคารใหม่

ทายาทชาวสวนรุ่น 4 ผู้เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe

ด้วยความที่เกรงใจลูกค้าซึ่งเดินทางมาไกลแล้วไม่มีที่นั่ง คุณวิทย์จึงสร้างอาคารหลังใหม่เพิ่ม รองรับคนได้ถึงเกือบ 200 คน เป็นอาคารสไตล์โปรวองซ์ที่มีเสน่ห์แบบชนบท อบอุุ่น สะอาดสะอ้าน ตกแต่งแบบมินิมอลก็ได้ เอางานศิลปะไปจัดแสดงเยอะๆ ก็ได้ แล้วก็พร้อมใช้จัดงานเลี้ยงรับรอง

คุณวิทย์ออกแบบให้ตัวอาคารสูงโปร่งเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของอากาศ วางอาคารขวางทางลม แล้วเจาะช่องประตูหน้าต่างจำนวนมากเพื่อให้ลมพัดผ่าน รวมถึงทำผนังสองชั้นที่ช่วยเป็นฉนวนกันความร้อนอย่างดี

ทายาทชาวสวนผู้เปลี่ยนสวนเก่าของที่บ้านให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe ร้านอาหาร คาเฟ่ออร์แกนิก ธรรมชาติ และชุมชนคนรักต้นไม้
ทายาทชาวสวนผู้เปลี่ยนสวนเก่าของที่บ้านให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe ร้านอาหาร คาเฟ่ออร์แกนิก ธรรมชาติ และชุมชนคนรักต้นไม้

ด้านหน้าปลูกต้นมะกอก ต้นไม้ที่คุณวิทย์นำเข้าและปั้นจนกลายเป็นไม้ประดับที่คนพูดถึงมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อาคารหลังนี้เสร็จล่าช้ากว่ากำหนดไปหลายเดือน คุณวิทย์โพสต์ภาพความคืบหน้าของอาคารหลังนี้ทุกวันในอินสตาแกรม จนทำให้เพื่อนพ้อง เหล่าบล็อกเกอร์ และแฟนๆ ของร้าน ต่างเดินทางมาเยี่ยมกันไม่ขาดสายในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จนเรียกได้ว่าเป็นคาเฟ่ที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่ตอนยังสร้างไม่เสร็จมากที่สุุด ล่าสุดพวกเขาบอกว่า อาคารใหม่หลังนี้จะพร้อมเปิดให้บริการลูกค้าในวันที่ 14 มีนาคมนี้

12

Little Tree

เย็นวันหนึ่งปลายเดือนมกราคม อาคารหลังนี้ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ก็มีนักท่องเที่ยวมากมายแวะมาถ่ายรูปกันแบบคึกคักจนน่าตกใจ หลังจากที่เราถ่ายภาพหมู่ของครอบครัวริ้วบำรุงกับอาคารหลังใหม่เสร็จ คุณแม่ก็บอกว่า เขาแอบเดินมาดูอาคารหลังนี้ทุกวัน เขาภูมิใจในตัวลููกๆ มากที่เนรมิตสวนและอาคารสวยๆ ขึ้นมาได้บนที่ซึ่งเคยเป็นสวนผลไม้อันแสนจะธรรมดาของครอบครัว ยิ่งเห็นคนตั้งใจเดินทางมาที่นี่ไม่ขาดสาย เขาก็ยิ่งมีความสุขกับผลงานของลูกๆ

คุณพ่อวัย 77 ปี บอกว่า เขาไม่ค่อยได้ชมลูกๆ ต่อหน้าสักเท่าไหร่ แต่เขายืนยันว่า คุณวิทย์มีพรสวรรค์และความสามารถในการทำเรื่องต้นไม้ไม่น้อยไปกว่าเขาเลย ความสำเร็จที่คุณวิทย์ได้รับในฐานะนักจัดสวน ไม่มีความบังเอิญ มาจากความสามารถล้วนๆ วันนี้คุณพ่อเลยได้แต่ยืนยิ้มเป็นกองหนุนช่วยขยายพันธุ์ต้นไม้ให้อยู่เบื้องหลัง เพราะงานเบื้องหน้า คุณวิทย์จัดการได้แบบดีเยี่ยมอยู่แล้ว

ทายาทชาวสวนผู้เปลี่ยนสวนเก่าของที่บ้านให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe ร้านอาหาร คาเฟ่ออร์แกนิก ธรรมชาติ และชุมชนคนรักต้นไม้

แล้วคุณพ่อก็พูดถึงคุณวิทย์และคุณปิ๋มว่าเป็นคนที่มีหัวสร้างสรรค์ ไอเดียดี ไม่ว่าจะทำอะไรก็เชื่อมกันไปหมด ทั้งงานที่เป็นความสนใจของลูกและงานเดิมของพ่อแม่ พวกเขาเชื่อมทั้งหมดให้เป็นเรื่องเดียวกันได้

“ต้นไม้” คุณปิ๋มพูดถึงสิ่งที่เชื่อมทุุกงานของบ้านริ้วบำรุงไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวน ขยายพันธุ์ต้นไม้ ทำค่ายธรรมชาติ และทำอาหารจากธรรมชาติ

“เราใช้ชื่อ Little Tree เพราะต้นไม้ทุกต้น เริ่มจากเป็นต้นเล็กมาก่อน เหมือนเราที่เป็นคนโนเนมที่เพิ่งต้นทำอะไรบางอย่าง แล้วเราก็ชอบหนังสือเรื่อง Little Tree ด้วย” คุณปิ๋มขยายความต่อว่า หนังสือเล่มนี้เป็นวรรณกรรมเยาวชนของเผ่าเชโรกีที่ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ แล้วเธอก็พูดถึงความหมายสุดท้ายของชื่อ Little Tree ซึ่งเป็นความหมายที่ใหญ่ที่สุุด

“ชื่อนี้สะท้อนว่า พวกเราคือชาวสวน”

และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของครอบครัวที่ภูมิใจในความเป็นชาวสวนของตัวเอง นอกจากจะไม่ทิ้งมันไปแล้ว พวกเขายังต่อยอดมันให้กลายเป็นสิ่งที่พวกเขาชาวทายาทรุ่นสี่รัก และที่พิเศษกว่านั้นก็คือ เขาทำให้คนอีกมากมายหันมารักในสิ่งเดียวกับพวกเขาได้ด้วย

ทายาทชาวสวนผู้เปลี่ยนสวนเก่าของที่บ้านให้เป็น Little Tree Garden และ Whispering Cafe ร้านอาหาร คาเฟ่ออร์แกนิก ธรรมชาติ และชุมชนคนรักต้นไม้

Writer

ทรงกลด บางยี่ขัน

ทรงกลด บางยี่ขัน

ตำแหน่งบรรณาธิการโดยอาชีพ เป็นนักเดินทางมือสมัครเล่น แบ่งเวลาไปสอนหนังสือโดยสมัครใจ และชอบจัดทริปให้คนสมัครไป

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล