หมุดหมายปลายทางของเราวันนี้อยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ ต้องนั่งรถกันต่อ ไกลออกไปประมาณ 70 กิโลเมตร

เราไปสุรินทร์ เพราะที่นั่นมีเรื่องเล่าการพัฒนาชุมชนที่สำเร็จจนต้องบอกต่อ ชื่อว่า ‘โคก หนอง นา โมเดล’ สนับสนุนงบประมาณโดย ‘เซ็นทรัล ทำ’ (Central Tham) มี พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) ลงมือลงแรงผลักดันงานให้เป็นจริงด้วยแพสชันที่อยากสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ผนวกกับมันสมองของ ไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ที่รู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี โครงการดีๆ แบบนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อพี่น้องเกษตรกรชาวสุรินทร์โดยตรง

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

เกริ่นสั้นๆ ก่อนได้ว่า ‘โคก หนอง นา โมเดล’ คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ เป็นโปรเจกต์ที่พานักวิชาการ และเกษตรกร มาเจอกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยกันออกแบบและขุดสระน้ำเพื่อการเพาะปลูก และแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรอันเป็นปัญหาหลักของจังหวัดสุรินทร์

เมื่อมีน้ำ เกษตรกรก็เพาะปลูกได้ทุกฤดูกาล ชุมชนที่เข้มแข็งจึงเริ่มวางแผนการผลิต ปลูกผักและผลไม้ดีๆ หลายชนิดให้ตรงกับปริมาณความต้องการของคนซื้อ ท้ายที่สุด Local Food อย่างพวกผักผลไม้และของกินอร่อยๆ ที่ยังสดจะถูกส่งตรงมาขายตลอดทั้งปีที่จริงใจ Farmers’ Market ในราคาย่อมเยา ผู้ผลิตเองก็ได้เจอกับผู้บริโภคโดยตรง แก้ปัญหาการต้องขนส่งอาหารระยะไกลอีกด้วย 

ต่อไปนี้ คือเรื่องเล่าเส้นทางการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน ที่ตั้งใจเปลี่ยนแปลงพื้นที่แห้งแล้งในจังหวัดสุรินทร์ให้กลับมาทำการเกษตรได้ และพวกเขาก็ได้เอาแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาบรรจบกับวิถีชาวบ้าน จนเกิดเป็นความยั่งยืนที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ในที่สุด

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

ทำให้ดีขึ้น

เดิมทีจังหวัดสุรินทร์ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตรมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่ว่าไม่มีน้ำ แต่ไม่มีระบบกักเก็บน้ำให้เพียงพอกับความต้องการตลอดปี เมื่อท่านผู้ว่าไกรสรย้ายมาประจำการที่จังหวัดสุรินทร์ และคลุกคลีกับชาวบ้านจนเล็งเห็นว่าพวกเขาควรพัฒนาแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญกับชาวไร่ชาวนามากที่สุด ท่านผู้ว่าจึงอยากผลักดันโครงการ โคก หนอง นา โมเดลให้เกิดขึ้น โดยจับมือกับคุณพิชัยที่เคยทำงานพัฒนาชุมชนกันมาอยู่ก่อนแล้ว เป็นคู่หูนักพัฒนาชุมชนเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาหลายปี

“ท่านไกรสรเนี่ย เราเจอกันมาหลายจังหวัดแล้ว แต่ละจังหวัดก็จะมีปัญหาเรื่องเกษตรกรและเรื่องน้ำ เราพยายามแก้ปัญหาเรื่องท้องที่แล้วก็ทำไร่ปลอดสารพิษออร์แกนิก และทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวถ้าเป็นไปได้ ท่านผู้ว่าไกรสรก็มีความตั้งใจมากๆ ในเรื่องนี้ พอท่านได้เข้าไปดูแลในแต่ละจังหวัด ท่านก็เกิดไอเดียในการพัฒนา จากนั้นทางกลุ่มเซ็นทรัลก็ไปช่วยซัพพอร์ต” คุณพิชัยเริ่มต้นบทสนทนา เล่าถึงที่มาที่ไปของการทำงาน

การทำงานในช่วงแรกนั้นค่อนข้างทุลักทุเลพอสมควร เป็นช่วงที่ต้องพยายามเรียนรู้และปรับความเข้าใจกับคนในพื้นที่ให้มากที่สุด 

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

“ปัญหาของชาวบ้านคือปีหนึ่งได้เงินอยู่ครั้งเดียว แต่กินทุกวัน วันละสามมื้อ ถามว่าเขาขี้เกียจหรือเปล่า มันก็ไม่ใช่ มันไม่มีน้ำ ให้ตายยังไงเขาก็เดินต่อไม่ได้ เพราะน้ำคือชีวิต น้ำคือคำตอบ เราจะทำยังไงให้ชาวบ้านมีรายได้มากกว่าปีละครั้ง มันก็ต้องตั้งต้นด้วยน้ำ 

“ผมทำกับกลุ่มเซ็นทรัลมาหลายโปรเจกต์ เน้นว่าทำยังไงให้ชาวบ้านมีรายได้มากกว่าปีละครั้ง หรืออย่างน้อยก็ไม่ต้องซื้อของกิน โชคดีที่ว่าสมัยก่อนตอนกลุ่มเซ็นทรัลกำลังออกมาทำ CSR แล้วก็มาเจอผมพอดี เราก็จะเน้นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ตั้งใจลดละเลิกการใช้สารเคมีเพื่อตัวเขาเอง เพื่อสิ่งแวดล้อม แล้วก็เพื่อผู้บริโภค” ท่านผู้ว่าไกรสรเล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นการทำงานกับกลุ่มเซ็นทรัล

จากบันทึกสมัยรัชกาลที่ 6 บอกไว้ว่า สมัยก่อนชาวบ้านแถบภาคอีสานจะถูกเกณฑ์แรงงานไปสร้างถนน สร้างสะพานทุกๆ 3 – 6 เดือน ถ้าใครไม่อยากไปต้องจ่ายเงินเป็นจำนวน 4 บาท และการจะได้เงินขนาดนั้นก็ต้องหาบเป็ดไก่หลายร้อยตัวไปขายที่โคราช 

 “จากประวัติศาสตร์สมัยก่อน คนอีสานไม่มีตังค์นะ พอเสร็จหน้านาถ้าอยากมีตังค์ต้องไปทำงานที่อื่น คนสุรินทร์เลยไปเขมร ไปทำงานแล้วเอาตังค์กลับบ้าน ผมอยากให้คนภูมิใจในบ้านเกิด คนอีสานเคยมีความน้อยเนื้อต่ำใจจากประวัติศาสตร์ที่มันกดทับ ถามต่อว่าในสมัยก่อนถ้าไม่มีเงินแล้วอยู่กันได้ไง คำตอบคืออยู่ได้ สมัยก่อนชาวบ้านขอแค่มีข้าวกิน ถ้าอยากกินปลาก็ลงห้วยลงหนอง บริโภคอาหารตามฤดูกาล ต่างกับสมัยนี้ ต่างจากตอนนี้ที่ความสามารถในการพึ่งตนเองมันลดลง” ผู้ว่าไกรสรเล่าเสริมถึงเรื่องราวความลำบากของชาวอีสานให้เราฟัง 

คุณพิชัยกับผู้ว่าไกรสรตั้งใจพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เลยสร้างโครงการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ชื่อว่า เซ็นทรัล ทำ โดยมีแนวคิด ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’ ในพื้นที่เป้าหมาย มีแผนขุดสระน้ำจำนวน 15 สระ ปัจจุบันขุดเสร็จไปแล้วจำนวน 4 สระ โดยดึงนักวิชาการเก่งๆ มาร่วมทำงานกับชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรในตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

“ก่อนผมมาสุรินทร์ ที่นี่มีปัญหาน้ำแห้งหมดเลย เรามาดูว่ามันแล้งจริงรึเปล่า ถ้ามันแล้งจริงก่อนหน้านั้นที่อุบลฯ มันน้ำท่วม น้ำมาจากไหนล่ะ น้ำก็จากสุรินทร์ จากโคราช เพียงแต่เราไม่เก็บกัน 

“คนสุรินทร์ต้องการน้ำอีกห้าร้อยล้านคิว พูดให้เห็นภาพคือห้วยเสนงยี่สิบสามแห่ง ถามว่าเอาพื้นที่ที่ไหนทำ ถ้าไม่มีพื้นที่ใหญ่ๆ ก็ต้องทำที่มีอยู่ให้มันดี ชาวบ้านเขายินยอมให้ขุดสระน้ำได้ไหม แต่ก่อนขุดสระน้ำไร่นาเป็นเรื่องใหญ่นะ ผืนนาดีๆ จะขุดสระทำไม ผมเข้าใจ เพราะถ้ามันพลาดแล้วต้องถมคืน แต่เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเขาเข้าใจนะ เขาดูตามยูทูบเรื่องสระน้ำไร่นา เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสานกสิกรรมธรรมชาติ ชาวบ้านเขาเข้าใจมากขึ้น” ท่านผู้ว่าเจาะประเด็นถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้น

จนถึงตอนนี้ได้ดำเนินการขุดสระเสร็จเรียบร้อยไปแล้วจำนวน 4 สระ บนพื้นที่ของเกษตรกร 4 รายในตำบลหนองสนิท และจะทยอยขุดสระที่เหลือหลังช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งคุณพิชัยบอกว่าตนเองรู้สึกตื่นเต้นมากกับความสำเร็จ เลยอยากพาเรามาดูผลงานให้เห็นกับตาในทริปนี้

ทำให้มีน้ำ

‘โคก หนอง นา โมเดล’ หรือโครงการ ‘สระน้ำไร่นาประชารัฐสามัคคี เกษตรอินทรีย์ วิถีสุรินทร์ 4.0’ เป็นการบริหารการใช้ที่ดินทำกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือแบ่งพื้นที่สัดส่วน 30.30.30.10 เป็นแหล่งน้ำ ที่นาปลูกข้าว ปลูกพืชผัก สมุนไพร ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ส่วน 10 เปอร์เซ็นต์สุดท้ายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์

‘โคก’ ทางภาคอีสานคือป่าเต็งรัง ป่าผสม มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ มีการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารป่า เห็ด หน่อไม้ ผลไม้ท้องถิ่น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของทางอีสานเท่านั้น

‘หนอง’ แปลว่าที่ลุ่ม ที่รับน้ำ

‘นา’ ที่ว่านี้คือไร่นาปลูกข้าว อาชีพเลี้ยงปากท้องของเกษตรกรในพื้นที่

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham
โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เริ่มต้นสร้างสรรค์โครงการนี้จากการสำรวจความต้องการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในไร่นาของเกษตรกร จากนั้นกลุ่มเซ็นทรัลก็เข้ามาสนับสนุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ส่วนพื้นที่สำหรับขุดสระน้ำก็เป็นของเกษตรกรที่สมัครใจ

สระน้ำหนึ่งบ่อจุน้ำได้ 14,400 ลบ.ม. ขุดลึกลงไปประมาณ 5 เมตรจนเจอสะดือน้ำเพื่อให้น้ำผุดขึ้นมา น้ำในบ่อจึงเป็นน้ำฝนผสมกับน้ำใต้ดิน มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง มวลดินชั้นบนที่เป็นหน้าดินอินทรีย์จะเอาไว้ปลูกพืชอย่างหลากหลายบนแปลง ส่วนดินชั้นล่างสุดซึ่งเป็นดินอินทรีย์วัตถุต่ำก็เอามาถมเป็นโคก ไว้ปลูกไม้ยืนต้นเป็นป่าใช้สอยต่อไป

เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างแก่สังคม เกษตรกรที่ได้รับสระน้ำในไร่นาจะต้องพัฒนาพื้นที่ของตัวเองให้เป็นศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานเป็นระยะเวลา 5 ปีด้วย

“สมมติเขามีพื้นที่เจ็ดไร่ ตามหลักการต้องมีพื้นที่น้ำสามสิบเปอร์เซ็นต์ ก็มีอาจารย์มาช่วยดีไซน์ ดีไซน์ตามเจ้าของต้องการ เพราะฉะนั้นสระน้ำแต่ละที่จึงไม่เหมือนกัน เลย์เอาต์พื้นที่ไม่เหมือนกัน โชคดีที่ว่ามีรุ่นลูกรุ่นหลานที่เรียนจบวิศวะกลับมาช่วยที่นี่ด้วย เราเลยมีรุ่นใหม่ที่เขาเก่ง” คุณพิชัยเล่า

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

เราเดินทางกันต่อมาที่สวนเกษตรของ คุณป้าระเบียบ อยู่เย็น บ้านสำโรง ตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกแปลงเกษตรที่ขุดสระน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีโรงเรือนปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ไข่และวัวควาย บรรยากาศวันนี้มีฝนตกลงมามาก นั่นทำให้อากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก

เราเดินลอดซุ้มบวบไปตามทางยาว เข้าไปในสวนของคุณป้าระเบียบ ที่แห่งนี้เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาจำนวน 6 ไร่ มีพื้นที่เก็บกักน้ำจำนวน 1.8 ไร่ ความจุบ่อรับน้ำอยู่ที่ 14,400 ลบ.ม. เป็นสระน้ำสี่เหลี่ยมที่มีการปลูกพืชไว้รอบๆ สระ เช่น ต้นมะม่วง ต้นมะเขือ มีต้นกล้วยหอมไว้เป็นพืชพี่เลี้ยงอยู่ข้างกัน

หลักของการบริหารสวนแห่งนี้เรียบง่ายมาก คือพยายามทำให้เกษตรกรมีรายได้เป็นแบบรายวัน รายเดือน และรายปี จากการขายผลผลิตอันหลากหลายในแปลง

ปลูกพืชอายุสั้นเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายได้ก่อน เพราะหากปลูกแค่พืชเชิงเดี่ยวจะกินเวลานานกว่าจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตไปขาย เกษตรกรจะเก็บไข่ไปไปขายเป็นเงินรายวัน มีวัวควายเลี้ยงไว้ไถนาหรือจะขายเป็นเงินรายปีในอนาคตก็ได้ ส่วนไม้ยืนต้นต่างๆ ก็ปลูกไว้ตัดขายเป็นเงินหลังเกษียณ

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham
โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

“เราทำโคก หนอง นา โมเดลหกไร่ ทำนาอีกสิบไร่ตามธรรมดาเกษตรกรอย่างเราทำโคก หนอง นา โมเดลแบบนี้ไม่ได้เพราะว่ามันต้องลงทุนมาก ค่าปรับปรุงสถานที่ ค่าต้นไม้ ทางนี้เขาก็สนับสนุน รถขุดสองคันมาจาก อบจ.แล้วก็ทางหัวหน้าเกษตรก็ช่วยทางพืชผักต่างๆ ทางปศุสัตว์ก็ให้ไก่มาเลี้ยง เราได้รับการสนับสนุนทุกหน่วยงานราชการ ก็ดีใจค่ะ 

“เราทำนามายี่สิบปี ผลประโยชน์ที่เราเก็บเกี่ยวก็อยู่แค่ในนา พอราชการกับเซ็นทรัลเข้ามาเปลี่ยน เราก็อยากวางแผนการผลิตให้ดีขึ้น คนเราความคิดเปลี่ยนมันก็เปลี่ยน ถ้าอยู่ที่เดิมมันก็อยู่ที่เดิม 

“ตอนนี้ใครๆ ก็รู้จักโคก หนอง นา ของนางระเบียบ อยู่เย็น เป็นวิถีนำร่องให้กับชีวิตตนเองและคนอื่น เป็นความภาคภูมิใจ จากเกษตรกรที่ไม่มีอะไร ถือว่าต้องขอบคุณท่านที่ให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร เรามีความสุขขึ้นมาก” เราคุยกับป้าระเบียบเล็กน้อยระหว่างเดินชมสวนแปลงนี้ โดยมีไร่นาเขียวขจีเป็นฉากหลัง

ต่อจากนี้ ป้าระเบียบจะมีน้ำสำหรับทำการเกษตรทุกฤดูกาล ซึ่งสำหรับป้าแล้วคงเป็นเรื่องที่น่าชื่นใจอยู่ไม่น้อย และอีกไม่นาน ผลผลิตในพื้นที่แห่งนี้ ทั้งผักและผลไม้ดีๆ ก็จะถูกส่งตรงมาขายถึงมือผู้บริโภคให้เราได้ซื้อไปกินต่อตลอดทั้งปีด้วย

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

ทำการค้าอย่างจริงใจ

นอกจากเยี่ยมชมแปลงเกษตรของชาวบ้านแล้ว เราก็มีโอกาสได้มาเยี่ยมชมผลผลิตสดๆ ที่วางขายใน ตลาดจริงใจ Farmers’ Market บริเวณหน้าท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่โรบินสัน สาขาสุรินทร์ และถ้าเกษตรกรมีความพร้อมมากขึ้นและมีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาด กลุ่มเซ็นทรัลก็จะนำผลผลิตเข้าไปจำหน่ายใน ที่ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาอื่นๆ และธุรกิจในเครือของกลุ่มเซ็นทรัล 

ตลาดจริงใจเกิดขึ้นเพราะต้องการให้ช่วยเหลือเกษตรกรที่อยู่ในชุมชน ตอบโจทย์การลด Food Mile ไม่ต้องขนย้ายหรือนำเข้าผักในระยะไกล เป็นตลาดของชุมชน สร้างขึ้นมาเพื่อให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เน้นหนักในส่วนของผักและผลไม้ที่อยู่ในพื้นที่พืชผักปลอดภัย และมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่น อีกทั้งรณรงค์ลดการใช้พลาสติก โดยการนำวัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นหีบห่อ จะบอกว่าเป็นทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในที่เดียวกันก็ได้ 

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham
โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

นี่คือการผลักดันศักยภาพของเกษตรกรไทย ชูโรงผลผลิตดีๆ จากโลคอลให้คนรับรู้ในวงกว้าง ไม่ใช่แค่เม็ดเงินที่กระจายสู่ชุมชน แต่มันคือการสร้างความภาคภูมิใจอย่างเต็มเปี่ยมแก่ผู้ผลิต หลักฐานคือรอยยิ้มอันมีความสุขของเกษตรกรพี่น้องชาวสุรินทร์ที่เรามีโอกาสได้พูดคุยในวันนี้

ในบรรดาแผงผักผลไม้ที่ตั้งเรียงรายตรงหน้า เราสังเกตเห็นผลเมล่อนน่ากินวางกองสูงอยู่ในหัวมุมหนึ่ง มีพี่สาวใจดีเจ้าของสวนเกษตรสมบูรณ์ชื่อว่าจิ๊บจ๊อย กำลังยืนพูดเชื้อเชิญให้ลูกค้าชิมผลเมล่อนของตัวเองอยู่

“สำหรับส่วนเกษตรสมบูรณ์เป็นสวนเกษตรผสมผสาน ปลูกผักผลไม้ตามฤดูกาลและทำมีปศุสัตว์ในพื้นที่ทั้งหมดห้าไร่ สำหรับโรงเรือนเราได้รับรองมาตรฐานเรียบร้อยในการปลูกผักผลไม้ ไฮไลต์ของสวนก็จะมีเมล่อน ฟักทองบัตเตอร์นัท มะเขือเทศเชอร์รี่ และผักต่างๆ ที่ปลูกสลับกันไป

“เราเองเป็น Young Smart Farmer เมื่อก่อนทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้วกลับบ้านมาทำเกษตร เพราะเป้าหมายของเราคือกลับมาอยู่บ้าน ทีนี้การกลับมาอยู่บ้านเนี่ยเราก็ต้องคิดว่าเราจะทำอะไรดี ซึ่งอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราชอบอยู่แล้ว ก็เลยไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ไปหาปราชญ์ชาวบ้านเพื่อไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปหาแนวความคิด แล้วก็เอามาปรับปรุงในพื้นที่ของเรา ตอนนี้เพิ่งทำได้สามปี กับน้องชายแค่สองคน 

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham
โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

“เราอยากมาพัฒนาบ้านเกิด เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านในท้องที่เขาเห็นเพราะว่าทำ เรามีพื้นที่เล็กๆ ไม่ได้ใหญ่ ใช้แรงงานกันแค่สองคนพี่น้อง ตอนนี้ที่เราทำเป็นพื้นที่เกษตรผสมผสานห้าไร่ เริ่มจากเริ่มจากศูนย์เลย เป็นแค่พื้นที่รกร้าง แล้วเราก็ค่อยๆ ปรับพื้นที่มาเรื่อยๆ ค่อยๆ ทำทีละนิดตามกำลังของเรา ตอนนี้กำลังจะเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้แล้วค่ะ” เธอเล่าด้วยเสียงสดใส

จิ๊บจ๊อยให้เราชิมเมล่อนเนื้อหอมหวาน แถมยังแนะนำให้เรารู้จักกับลูกตะกูนาที่วางอยู่ข้างๆ เธอว่าลูกตะกูนาเป็นไม้พื้นถิ่นของจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันหายากมากแล้ว ออกผลมาให้กินแค่ปีละครั้ง ลักษณะเป็นขนๆ เนื้อจะเป็นสีส้ม รสชาติมีความหวานอมเปรี้ยว เอาไว้ทานจิ้มกับพริกเกลือ

ส่วนข้างๆ ลูกตะกูนาคือฟักทองฟักทองบัตเตอร์นัท เอาไปทำเมนูได้หลากหลาย เนื้อมีความละเอียด มีความหวานในตัว แค่เอาไปนึ่งหรืออบก็อร่อยแล้ว โดยปกติจะนิยมเอามาทำเป็นซุปหรือไม่ก็อบชีส

“เรารู้สึกดีใจว่าได้เอาผลผลิตที่ปลูกเองกับมือมาส่งมอบให้กับลูกค้าโดยตรง ซึ่งเราก็จะได้บอกลูกค้าได้เต็มปากเลยว่า สิ่งที่เราเอามาเนี่ยเราใส่ใจนะ เราให้ด้วยใจ เรากินยังไงเราอยากให้ลูกค้ากินอย่างนั้น เป็นของดีจริงๆ ที่เราคัดเลือกมาแล้ว

“เมล่อนวันนี้จะอยู่ที่หนึ่งกิโลกรัมครึ่งถึงสองกิโลกรัมกว่าๆ เกือบสามกิโลกรัม เราดูแลเป็นพิเศษ ใส่ใจทุกขั้นตอนของการผลิต เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเตรียมดินก่อนปลูกเพื่อความพร้อมเบื้องต้น ใส่ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก แล้วก็ในการปลูก ทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโตของเขาจนถึงเก็บเกี่ยว ใส่ใจหมดทุกขั้นตอน สวนเราเองก็ผ่านการรับรองมาตรฐานเรียบร้อยนะคะ” จิ๊บจ๊อยว่า

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham
โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

ปัจจุบันจิ๊บจ๊อยและน้องชายส่งเมล่อนขายทั่วประเทศ และเปิดเพจ สวนเกษตรสมบูรณ์ ไว้พบปะกับลูกค้าออนไลน์ สามารถอินบ็อกซ์มาสอบถาม สั่งซื้อสินค้า หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ 

ร้านถัดมาที่เราไปเยี่ยมชม คือร้านขายผักปลอดภัยจากสารพิษบ้านแบกจาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 50 รายแห่งตำบลสังขะ รวมตัวกันปลูกผักปลอดสารพิษส่งขายให้กับท้องตลาด พวกเขาปลูกผักกันหลายชนิด เช่น ผัดกาด ผักกะหล่ำ ขึ้นฉ่าย ชะอม โหระพา กะเพรา รวมถึงผักหากินยากที่เติบโตในป่าชุมชน ซึ่งพวกเขาขายผักดีๆ ในราคาเริ่มต้นเพียงกำละ 10 บาทเท่านั้น

ผักสดตั้งเรียงรายตรงหน้า เป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ด้านอาหารของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เช่น ผักติ้วหรือผักแต้ว รสชาติออกเปรี้ยว นิยมกินสดๆ เอามาจิ้มกินกับลาบ ผักไชยารสชาติอร่อย ผัดกินกับน้ำมันหอยมัน รสชาติจะออกหวาน เป็นผักเพื่อสุขภาพช่วยเรื่องของความดันโลหิต

ส่วนอีกผักที่คนชื่นชอบที่สุดคือผักปลัง กำละ 10 บาทเท่านั้น ผักปลังมีรสชาติหวาน นิยมเอาไปลวกจิ้มกินกับน้ำพริกหรือเอาไปผัดน้ำมันหอยก็ได้ เป็นผักเพื่อสุขภาพ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ผู้สูงอายุกินดี 

นอกจากผักและผลไม้สดๆ แล้ว ตลาดแห่งนี้ยังมีอาหารพร้อมรับประทานขายอีกด้วย เมนูของแต่ละร้านคือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกยกระดับและต่อยอดด้วยรุ่นลูกหลานชาวสุรินทร์ เช่น น้ำพริกแม่การุณ น้ำพริกปลาย่างสูตรดั้งเดิมที่ดังไกลไปจนถึงหลายประเทศในแถบยุโรป บะหมี่เห็ดฮักธม บะหมี่เส้นเห็ดอบแห้งที่ทำมาจากเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดนางนวล และอีกเมนูหนึ่งที่แสนอร่อย คือไก่บ้านย่างอบสมุนไพร Praorak’s Grill จากโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นบ้านครบวงจรจังหวัดสุรินทร์

“เดี๋ยวนี้อยู่บ้านนอกก็มีตังค์ คนสุรินทร์ภูมิใจในตัวเองมากขึ้น เขารู้สึกว่าห้างเซ็นทรัลระดับนี้ยังยอมรับผลผลิตเขาเลย เขาไม่เคยคิดว่าจะได้ไปคุยกับ Modern Trade ไม่เคยคิดว่าของเขาจะได้ขึ้นห้าง มันก็เป็นความภาคภูมิใจหนึ่งนะ ตอนนี้ลูกหลานที่อยู่กรุงเทพฯ พอกลับมาบ้านก็จะซื้อผักสมุนไพรกลับไปฝากเพื่อนกันแล้ว

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham
โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

“เราก็เห็นความจริงใจของท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม กลุ่มเซ็นทรัลมีเงื่อนไขว่าต้องทำงานกับที่ยึดมั่นในเรื่องหลักธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมีให้มากที่สุด พอผมมาเป็นผู้ว่าก็พบว่าเกษตรกรไม่เคยรวมกลุ่มเลย อำนาจการต่อรองก็ไม่มี ชาวบ้านตัวเล็ก เสียงเบา จะสร้างอำนาจการต่อรองต้องเอาของที่ผลิตได้มารวมกันเพื่อสร้างความต่อเนื่อง มันจึงเกิดอาคารโรงคัดและบรรจุสินค้าของเซ็นทรัล ผมชื่นชมเซ็นทรัลนะที่ทำโรงคัดและบรรจุ แล้วไม่ได้ขายให้ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต อย่างเดียวนะ ขายให้ใครก็ได้ที่จะมาซื้อ ถือว่าใจกว้างมาก” ท่านผู้ว่าไกรสรบอกกับเราด้วยความภูมิใจในแววตา

ทำให้ชุมชนยั่งยืน

คุณพิชัยบอกกับเราว่าสิ่งที่ทำมาทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายคือลดความเหลื่อมล้ำ

เกษตรกรรายบุคคลมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร ชุมชนท้องถิ่นก็ลืมตาอ้าปาก มีสินค้าชุมชนดีๆ มาขาย และกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผักบ้านหนองสนิท คือตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดขึ้น

ฝรั่งหวานพิรุณ ฝรั่งกิมจูเนื้อแน่น แก้วมังกรสีม่วง มะพร้าวน้ำหอม ผักสดนานาชนิด รวมถึงข้าวต้มมัด และน้ำสมุนไพร 4 เกลอ คือสิ่งที่ชาวบ้านยกมาต้อนรับเราจนอิ่มท้องและอิ่มใจ

พวกเขาเริ่มต้นจากเกษตรกร 40 คนร่วมทำโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน จนมีคนในชุมชนมาสนใจมากขึ้นเลยจัดตั้งเป็นสหกรณ์อย่างเป็นทางการ

จากนั้นพวกเขาก็ปรับเปลี่ยนการบริหารที่ดิน จากเดิมทีที่ทำนาอย่างเดียว มาทำตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ คือมีแหล่งน้ำ มีที่นา ไร่นาสวนผสม ปศุสัตว์ และที่อยู่อาศัย ผสมผสานกับแนวคิดภูมิสังคม คือการพัฒนาต้องเป็นไปตามภูมิประเทศและนิสัยใจคอของคน

กลุ่มสหกรณ์จะแบ่งสมาชิกออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้าทีมกำกับดูแล เพื่อให้การผลิตผักผลไม้เป็นตามแผน เริ่มตั้งแต่การเพาะ การปลูก การเก็บ และการขายในตลาด โดยมีอาจารย์จากทางมหาวิทยาลัยในพื้นที่มาช่วยออกแบบร่วมกับชาวบ้านว่าจะแบ่งปลูกพืชพันธุ์อะไรกันบ้างเพื่อให้ผลผลิตออกมาไม่ชนกัน ได้แก่ ผักกินใบ ผักกินผล อย่างคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ต้นหอม ผักชี ขึ้นฉ่าย และผักแห้ง เช่น หอมกับกระเทียมที่เก็บไว้ได้นาน

พื้นที่หนองสนิทมีแหล่งน้ำดั้งเดิมค่อนข้างเยอะ ช่วงหน้าฝนจะมีน้ำหลากมาจากทางทิศตะวันออกลงมายังพื้นที่ของชุมชน พอได้แนวคิด ‘โคก หนอง นา โมเดล’ ชาวบ้านเลยอยากขุดแหล่งน้ำต่อ ขุดให้ลึกเพื่อมีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ในฤดูแล้ง

เมื่อมีแหล่งน้ำ ขั้นต่อไปคือการมองงานในภาพรวมเป็นทั้งหมด 6 มิติ คือให้ความสำคัญกับดิน น้ำ ป่า พลังงาน เกษตร และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะใช้น้ำเป็นตัวจัดการพื้นที่ โดยมีหน่วยงานราชการเป็นองค์กรพี่เลี้ยง ดูแลชาวบ้านอีกแรง ชุมชนหนองสนิทจึงประสบความสำเร็จในการทำเกษตรยั่งยืน

“เรามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่อันดับเจ็ดสิบกว่าของประเทศ ดัชนีชี้วัดการพัฒนาก็เจ็ดสิบกว่า ความเปราะบางทางสาธารณสุข หรือทางเศรษฐกิจก็อันดับเจ็ดสิบกว่า เพราะมันเป็นสังคมชายขอบ สุรินทร์มีสิ่งดีๆ เยอะมาก เรามีจำนวนปราสาทเก่าแก่เยอะที่สุด มีผ้าไหมเยอะที่สุดจำนวนกว่าหนึ่งพันสี่ร้อยกว่าหมู่บ้าน ข้าวหอมมะลิก็ขึ้นชื่อ ผมเชื่อว่าถ้าทำได้อย่างนี้ได้ในวงกว้าง การพัฒนาของจังหวัดเพิ่มขึ้นแน่นอน” ภาพจุดหมายการพัฒนาของท่านผู้ว่าไกรสรเป็นแบบนี้

โคก หนอง นา โมเดล โมเดลพัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน อิงหลักการพื้นที่และสังคมอีสาน เพื่อเกษตรกรชาวอีสานโดยเฉพาะ, เซ็นทรัล ทำ, Central Tham

Writer

Avatar

นิภัทรา นาคสิงห์

ตื่นเช้า ดื่มอเมริกาโน เลี้ยงปลากัด นัดเจอเพื่อนบ่อย แถมยังชอบวง ADOY กับ Catfish and the bottlemen สนุกดี

Photographer

Avatar

อิสรีย์ อรุณประเสริฐ

จบ Film Production ด้าน Producing & Production Design แต่ชอบถ่ายภาพและออกแบบงานกราฟิกเป็นงานอดิเรก มีครัว การเดินทาง และ Ambient Music เป็นตัวช่วยประโลมจิตใจจากวันที่เหนื่อยล้า