จากร้านค้าของครอบครัวชาวจีนที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 สู่เคี้ยงพานิช ร้านค้ามีชื่อที่ขายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ต่อมาดำเนินธุรกิจในชื่อ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต

เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต เกิดขึ้นในวันที่ขอนแก่นยังไม่มีร้านสะดวกซื้อ เป็นร้านค้าท้องถิ่นที่เข้าใจคนในย่านมากกว่าใคร

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนที่ทายาทรุ่นที่ 3 อย่าง แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล เปิด ‘K Mart by เคี้ยง’ ที่หลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น แถวนั้นยังมีร้านสะดวกซื้อเพียงร้านเดียว จนวันนี้ที่บริเวณเดียวกันนี้ มีร้านสะดวกซื้อหลากหลายแบรนด์มากกว่า 20 ร้าน

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

วิธีการทำธุรกิจของแบงค์นับว่าแตกต่าง แทนที่จะทำร้านคอนเซปต์เดียว ขายของแบบเดียวกัน แล้วขยายไปให้มากๆ ในย่านชุมชนตามตำรา แบงค์ทำให้ร้านทั้ง 6 สาขาไม่เหมือนกันเลย บางร้านขายของใช้ บางร้านขายของทำเบเกอรี่ 

ฟังแล้วอาจจะคิดว่าแบงค์เล่นขายของ 

หัวใจของการทำร้านเคี้ยงของแบงค์ คือการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุด เพื่อความสุขของลูกค้า ไม่ว่าคุณจะเดินเข้าเพื่อถามหาอะไรที่เคี้ยง แบงค์จะเป็นคนหามาให้ ผลก็คือ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้กลายเป็นมากกว่าร้านค้าท้องถิ่น เป็นที่พึ่งของลูกค้า และเป็นแรงบันดาลใจให้ธุรกิจท้องถิ่นอื่นๆ ว่าอย่ายอมแพ้และอย่ากลัว

คอลัมน์ทายาทรุ่นสองตอนนี้จึงเดินทางไปพูดคุยแบงค์กันถึงขอนแก่น ถึงวิธีคิดเบื้องหลังการต่อยอดของเขา มากไปกว่านั้น เราสนใจว่าขณะที่คนรุ่นใหม่อยากเริ่มต้นทำอะไรที่เท่ๆ ทำไมแบงค์กลับเลือกจะทำร้านขายของหรือโชห่วย ที่คนอาจจะมองว่ามันไม่เท่

“ผมรู้สึกว่างานนี้เป็นงานที่เท่สำหรับผมแล้ว ผมชอบมาตั้งแต่เด็ก ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นงานที่สูงหรือต่ำ แค่ได้ทำในสิ่งที่ชอบผมก็โอเคแล้ว”

ถือตะกร้าสินค้า แล้วเดินตามเรามาฟังเรื่องราวจากแบงค์พร้อมกัน

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

ธุรกิจ : เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต

ปีก่อตั้ง : พ.ศ. 2515

อายุ :  48 ปี

ประเภท : ร้านสรรพสินค้า

ผู้ก่อตั้ง : เม้ง แซ่อึ้ง ก่อตั้งร้าน อึ้งเหลียงเซ้ง (พ.ศ. 2480 – 2490)

ทายาทรุ่นสอง : เคี้ยง-นรินทร์ อภิชนตระกูล และ กฤติกา อภิชนตระกูล

ทายาทรุ่นสาม : กฤษดากร อภิชนตระกูล และ กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

เคี้ยงพานิช

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล
การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มต้นจาก อากงเม้ง แซ่อึ้ง ก่อตั้งร้านค้าชื่อ อึ้งเหลียงเซ้ง ในช่วง พ.ศ. 2480 – 2490 ดำเนินกิจการเรื่อยมา จนวันหนึ่งใน พ.ศ. 2514 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้สินค้าเสียหายทั้งหมด อากงจึงเลิกกิจการ ต่อมา คุณพ่อเคี้ยง-นรินทร์ อภิชนตระกูล ซึ่งเป็นลูกชายคนที่ 5 ตัดสินใจเปิดร้านเป็นของตัวเองในชื่อ เคี้ยงพานิช บนถนนศรีจันทร์ เริ่มต้นกิจการในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2515 แล้วเปลี่ยนชื่อจาก เคี้ยงพานิช มาเป็น เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ใน พ.ศ. 2534

ในสมัยที่ร้านสะดวกซื้อยังไม่เฟื่องฟูอย่างวันนี้ ขอนแก่นก็เหมือนทุกที่ที่เต็มไปด้วยร้านค้าท้องถิ่น เคี้ยงสร้างความแตกต่างด้วยสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ มีลูกค้าหลักคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยและคนทั่วไปที่นิยมของจากต่างประเทศ

เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นร้านค้าที่เติบโตจากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

ในช่วงที่ธุรกิจกำลังไปได้ดี เป็นช่วงเดียวกับที่มีข่าวแอลกอฮอล์ปลอมระบาดในเมือง แบงค์เล่าว่าคุณพ่อของเขาจะระมัดระวังเป็นพิเศษ หากมีใครเสนอสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าปกติ เขาจะสงสัยไว้ก่อน แล้วสั่งตรงจากบริษัท แม้จะมีราคาสูงกว่าแต่มั่นใจได้ที่สุด

“เราขายความสบายใจ ยุคที่เหล้าปลอมระบาดหนัก ถึงขั้นมีกระแสว่า ถ้าจะซื้อให้มาที่ร้านเราเพราะมั่นใจว่าไม่มีทางที่ของปลอมจะปะปนเข้ามา เวลาหัวหน้าสั่งลูกน้องให้ไปซื้อเครื่องดื่ม ก็จะกำชับเสมอว่าต้องเอาถุงร้านเคี้ยงมายืนยัน หัวหน้าถึงจะมั่นใจ” แบงค์เล่า

ความซื่อสัตย์ ซื้อใจลูกค้า จนเมื่อใดก็ตามที่ชาวขอนแก่นคิดถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เขาจะคิดถึงร้านเคี้ยงเป็นที่แรกเสมอ

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

เล่นขายของ

เวลาผ่านไป การขายแอลกอฮอล์ก็ไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน การจะหวังพึ่งยอดขายจากสินค้าประเภทเดียวมีความเสี่ยงเกินไป แบงค์ ลูกชายคนกลางผู้ชอบค้าชอบขาย ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตัดสินใจเข้ามาต่อยอดให้ร้านของครอบครัวมีสินค้าที่หลากหลายขึ้น

แบงค์เริ่มจากทำร้านเคี้ยงสาขาใหม่ ขนาด 2 ห้อง ย่านหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว

‘K Mart by เคี้ยง’ เป็นร้านโดเรมอน มีทุกอย่างที่นักศึกษาและคนในย่านจะตามหา ไม่ว่าจะเป็น ดินสอ กิ๊บ เครื่องสำอาง กางเกงชั้นใน รองเท้าแตะ เสื้อ แชมพู สบู่ ยาสีฟัน

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล
การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

“ตอนยังเป็นนักศึกษา เคยคิดว่าทำไมไม่มีร้านค้าที่ขายทุกอย่างที่ลูกค้าอยากได้อยู่เลย บ้านเราก็ทำอยู่แล้ว เราน่าจะทำได้ ตอนนั้นคิดแค่นั้นเลย ยังไม่ทันคิดถึงวิธีการจัดการบริหารว่าต้องทำอย่างไร เราเริ่มจากนำสินค้าจากสาขาในเมืองมาวางขายที่ร้าน ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคไม่เหมือนกัน ทำให้เรียนรู้ว่า สินค้าประเภทไหนขายได้ ขายไม่ได้ ของที่ขายไม่ได้ก็คืนร้านป๊าไป แล้วหาของใหม่ ทำวนไปจนสินค้าในร้านขายได้ทุกอย่าง” แบงค์เล่าบรรยากาศการทำร้านช่วงแรก

แม้พ่อและแม่จะมีประสบการณ์ทำร้านมาตั้งแต่ก่อนแบงค์เกิด ทั้งคู่กลับไม่เคยไปเยี่ยมร้านให้แบงค์เห็นเลยสักครั้ง เหมือนตั้งใจปล่อยให้ลูกชายดูแลร้าน และทดลองขายสินค้าให้เต็มกำลัง ยกเว้นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างเรื่องคน ที่แม่จะยังคงทำหน้าที่เป็นฝ่ายบุคคล คัดสรรคนมาช่วยทำงานให้ แต่เรื่องคัดสรรสินค้า เป็นงานของแบงค์ทั้งหมด

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

“สิ่งที่ทำต่างจากเด็กเล่นขายของอย่างไร” เราถาม

“แทบจะไม่ต่างจากเด็กเล่นขายของเลย เราทำด้วยความสนุก สนุกที่ได้ลองเดาใจคน เช่น คิดว่าของชิ้นนี้จะขายได้ไหม ถ้าขายได้ก็ดีใจ โดยไม่รู้เลยว่าบัญชีแต่ละเดือนนั้นกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ โชคดีที่มีแม่คอยช่วย ส่วนเรามีหน้าที่ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่าต้องการอะไร” แบงค์ตอบทันที

แบงค์เริ่มจากการหาซื้อของที่น่าสนใจจากตลาดค้าส่งในขอนแก่น โดยไม่ว่าจะเป็นของราคาเท่าไหร่ แล้วทดลองขายเป็นเวลา 1 – 2 ปี จนมั่นใจว่าขายได้แน่ๆ แบงค์จึงนำข้อมูลยอดขายไปติดต่อขอซื้อของตรงจากบริษัท ซึ่งมีข้อดีคือต้นทุนที่ถูกลง ความน่าเชื่อถือ และข้อมูลของสินค้า นอกจากนี้ยังเดินทางไปเลือกสินค้าที่กรุงเทพฯ ด้วยตัวเอง

“ขั้นตอนการเลือกซื้อของมาขาย เวลาเจอสินค้าที่น่าสนใจ ผมจะคิดถึงลูกค้าก่อน คิดอยากให้เขาได้ใช้ นอกจากนี้ผมชอบเดินงานแสดงสินค้ามากๆ นั่นทำให้ผมเจอสินค้าใหม่ๆ หรือเวลาดูรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องธุรกิจ ถ้าดูแล้วผมชอบไอเดียหรือคอนเซปต์ของธุรกิจไหน ก็จะติดต่อขอซื้อทันที ทำให้มีสินค้ามาขายก่อนคนอื่น เช่น ตอนดูแมลงทอดไฮโซ ผมเห็นแล้วรู้ทันทีว่าเราต้องมีขายก็โทรติดต่อไปเลย อาทิตย์ถัดมาก็วางขายที่ร้านแล้ว”

เป็นร้านโดราเอมอน

ร้านเคี้ยงแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไป ตรงที่ตอบสนองลูกค้าในท้องถิ่นได้รวดเร็ว เช่น ถ้าถามหาตอนเช้า ลูกค้าเตรียมรับของตอนเย็นได้เลย นั่นทำให้ร้านเคี้ยงมีชื่อเสียงเรื่องการตามหาของ สิ่งใดที่หาจากที่อื่นไม่ได้ ลูกค้าจะวิ่งมาถามที่ร้านเคี้ยงก่อน

“อย่างพวกของนำเข้า ผมชอบญี่ปุ่น ที่ร้านจึงมีสินค้าจากญี่ปุ่นเยอะ เมื่อก่อนทำได้ยากมาก สินค้าที่หามาได้มีราคาไม่สมเหตุสมผลที่จะขายในต่างจังหวัด หลายอย่างก็ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น กลุ่มอาหารและขนมจากญี่ปุ่นและเกาหลี เมื่อก่อนขายยากมาก ในขอนแก่นไม่มีคนขายเลย ผมขายเพราะคิดว่าสุดท้ายถ้าขายไม่ได้ก็เก็บไว้กินเอง แล้วอยู่ๆ วันหนึ่งบะหมี่เผ็ดก็เป็นกระแสดังไปทั่วโลก จากที่เคยขายได้เดือนละสิบซอง เราขายได้ร้อยลัง บริษัทนำเข้ายังงง เพราะมีร้านเคี้ยงร้านเดียวที่ขายได้แบบนี้ ทั้งๆ ที่ก็มีวางขายในร้านที่ใหญ่และทันสมัยกว่า แต่เขาวางแล้วขายไม่ได้เลย ผมคิดว่าเป็นเพราะเราสร้างฐานลูกค้ามานาน เขารู้ว่าจะหาสินค้าแบบนี้ได้จากที่ไหน”

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

“เมื่อก่อนผมจะอยู่หน้าร้านเอง ตอนหลังพยายามฝึกลูกน้องทุกคนให้จดบันทึกเวลามีลูกค้ามาถามหาสินค้าอะไรก็ตามที่เรามี ไม่มี หรือเคยมี” แบงค์เล่า

“แม้ลูกค้าคนนั้นจะมาถามสินค้านั้นเพียงคนเดียว ขายได้เพียงชิ้นเดียว คุณก็จะยังวุ่นวายตามหามาให้เหรอ” เราถาม

“ใช่ เมื่อก่อนเป็นแบบนั้น เราแก้ปัญหาให้เขา เวลามีคนมาถามหาสินค้าอะไร เราจะเป็นเดือดเป็นร้อนรีบหามาเลย ซึ่งนั่นทำให้เราซื้อใจลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้าคิดถึงเราก่อน ตอนนี้ไม่ทำแบบนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำคือ คนมาซื้อของชิ้นนั้นเพียงครั้งเดียว เราซื้อของมาหนึ่งโหล เพื่อขายเขาชิ้นเดียว เราจะจัดการกับอีกสิบเอ็ดชิ้นที่เหลืออย่างไร ตอนหลังจึงเรียนรู้ว่าเราไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้น เราคิดมากขึ้น

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล
การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

“หนึ่ง เขาถามลักษณะไหน มีโอกาสซื้อไปใช้เป็นประจำไหม สอง หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตว่ามีกระแสไหม คนอื่นมีโอกาสจะใช้หรือถามหาสิ่งนี้เหมือนกันหรือเปล่า ถ้าตอบสองข้อนี้เราถึงนำมาขายที่ร้าน แต่ถ้าไม่ตอบทั้งสองข้อเราก็คงต้องยอมรับ ไม่มีก็คือไม่มี ซึ่งเมื่อก่อนเราจะรู้สึกอายมากว่าเราหาให้ลูกค้าไม่ได้ เราจะรู้สึกผิดกับตัวเองมาก” แบงค์ตอบ

ใช้หลักการทำร้านแบบโดราเอมอนต่อยอดธุรกิจของครอบครัว

บริการหาสิ่งที่ต้องการให้ได้ เป็นแค่กลยุทธ์หนึ่ง แต่ไม่ใช่กลยุทธ์หลัก

สิ่งที่ทำให้ร้านเคี้ยงเป็นที่รักของชาวขอนแก่น คือความสัมพันธ์ของรัานกับคนในท้องถิ่นซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ทุกคนรู้และเชื่อมั่นว่าธุรกิจครอบครัวนี้ทำการค้าแบบไม่เอาเปรียบใครมาตลอด 50 ปี

“พอมาถึงรุ่นผม ผมไม่ใช่คนที่เก่งการเข้าสังคม แต่มาเติมเต็มส่วนที่ทำให้ร้านเราทันสมัยขึ้น ทั้งระบบการจัดการและสินค้าที่ทันยุค ทั้งหมดนี้ประกอบกัน และหล่อหลอมความเป็นเคี้ยง”

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

ปัจจุบันร้านเคี้ยงมีทั้งหมด 6 สาขา แต่ละสาขามีคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันตามชุมชนที่อยู่ ได้แก่ สองร้านแรกในเมืองอย่าง เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต (สาขาศรีจันทร์) และ เคี้ยงลิเคอร์สโตร์ (สาขาศรีจันทร์) หรือเคี้ยงมินิมาร์ท เน้นขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สาขาที่ 3 คือ เคี้ยงซุปเปอร์สโตร์ (สาขาหลังมอ-ยูพลาซ่า) เดิมตั้งชื่อว่าเคี้ยง แต่นักศึกษาชอบเรียกผิดแบงค์ก็เลยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘K Mart by เคี้ยง’ ให้คนเรียกง่ายๆ เน้นขายของใช้ในชีวิตประจำวัน ของเก๋ไก๋ที่คนในมหาวิทยาลัยจะได้ใช้ ซึ่งบางอย่างหาไม่ได้จากร้านโมเดิร์นเทรดทั่วไป ก่อนจะเปิดสาขาที่ 4 เคี้ยงซุปเปอร์สโตร์ (สาขาบึงหนองแวงตราชู) ขนาดใหญ่กว่าร้านเดิม 5 – 6 เท่าพร้อมที่จอดรถ ตามด้วยสาขาที่ 5 คือ เคี้ยงลิเคอร์สโตร์ (สาขากังสดาล)

สำหรับสาขาล่าสุด เคี้ยงซุปเปอร์สโตร์ & เบเกอร์ช็อป (สาขาเหล่านาดี) เปิดทำการเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งแบงค์ตั้งใจทำร้านที่เป็นไลน์สินค้าใหม่ เน้นขายวัตถุดิบและอุปกรณ์เบเกอรี่คุณภาพดี

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล
การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

“เรานำเสนอเนยนำเข้า แป้งชั้นดี และช็อกโกแลตดีๆ เพื่อรองรับร้านเบเกอรี่ในเมืองที่เติบโตขึ้นและมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาลำบากมาก ต้องสั่งของจากกรุงเทพฯ ไปรอรับที่ท่ารถตั้งแต่ตีสาม ตีห้า แต่พอเรามาเปิดร้านขายในราคาเดียวกับที่กรุงเทพฯ ก็ทำให้เขาสะดวก ซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ ของบางอย่างร้านโมเดิร์นเทรดก็มีนะ แต่จะไม่ครบเท่าเรา และของใช้สำหรับธุรกิจร้านเบเกอรี่ละเอียดอ่อนมาก บางอย่างมีคนใช้เพียงคนเดียว แต่เขาใช้ปริมาณที่เยอะ เขาจะไปบอกให้ร้านใหญ่มาขายคงไม่ได้ แต่เราทำได้ ใช้หลักการเดิมเลย เวลาลูกค้าถามหาสินค้า เราจะบันทึกข้อมูลไว้ จนได้รู้ความถี่ของการใช้สินค้าชนิดนั้น” แบงค์ใช้หลักการทำร้านแบบโดราเอมอนต่อยอดธุรกิจของครอบครัว

ไม่เพียงลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการเบเกอรี่ แต่โรงแรมทุกโรงแรมในขอนแก่นก็เป็นลูกค้าร้านเคี้ยง 

“วัตถุดิบพวกซอส ซีอิ๊ว น้ำปลา นอกจากเป็นเพราะบริการจัดหาสินค้า ลูกค้ากลุ่มโรงแรมยินดีสั่งจากเรา เพราะเราไปส่งด้วย มีเครดิตให้ด้วย โรงแรมสบาย โดยราคาเราอยู่ในระดับที่โอเค ซึ่งผมจะไม่บอกว่าเราถูกที่สุด เพราะไม่มีร้านไหนขายของถูกที่สุดอยู่แล้ว มันจะต้องมีของบางอย่างที่แพงหรือเท่ากับร้านอื่น เราก็เช่นกัน แต่เรายินดีมอบบริการ”

แบงค์เล่าว่า เขาตั้งใจค่อยๆ ทำไปที่ละสาขา แทนที่จะเลือกเปิดร้านหน้าตาเดียวกันในทุกย่าน เพราะเขาเชื่อว่าคาแรกเตอร์ของคนแต่ละย่านไม่เหมือนกัน การเลือกทำเลและสินค้าที่ตอบโจทย์คนกลุ่มนั้นๆ จึงสำคัญ 

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล
การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

“ขอนแก่นเป็นเมืองต่างจังหวัดที่การเดินทางไม่สะดวกแบบเมื่อก่อน ที่จะไปไหนก็ถึงได้ภายในห้าถึงสิบนาที วันนี้ใครอยู่ย่านไหนโซนไหน เขาก็จะซื้อของในย่านนั้น ไม่ได้อยากจะเดินทางเข้าเมืองให้เสียเวลา หรือคิดว่าร้านนั้นถูกกว่าห้าบาท ขับรถไปซื้อที่ร้านนั้นดีกว่า แต่กลายเป็นว่าตรงนี้ใกล้บ้าน ฉันก็ซื้อตรงนี้ ดังนั้นการจะเปิดแต่ละสาขาเราทำการบ้านเยอะมาก นั่นทำให้เราได้เรียนรู้ ซึ่งสินค้าบางอย่างเราสั่งมาเพื่อขายสาขานี้สาขาเดียวหรือสองสาขา ทั้งๆ ที่เรามีร้านหกสาขา”

เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต จึงเป็นร้านท้องถิ่นที่มีความเป็นมิตรและเป็นกันเองสูง เป็นร้านค้าของคนเมืองในต่างจังหวัด มีความบ้านๆ แต่ไม่บ้านๆ

ธุรกิจท้องถิ่นที่สร้างแรงบันดาลใจว่า อย่ายอมแพ้และอย่ากลัว

แม้จะเป็นทายาทรุ่นสามที่โตมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจร้านค้าในชุมชนมานานถึง 80 ปี มีประสบการณ์ทำร้านมา 20 ปี แบงค์บอกว่าเขาไม่เคยบอกใครว่าเคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นร้านเจ้าใหญ่ในตลาด การคิดเสมอว่าตัวเองเป็นธุรกิจเจ้าเล็กๆ ทำให้เขาพร้อมปรับตัวตลอด 

“เราอาจจะไม่ได้เป็นร้านที่มีเครื่องเขียนครบทุกแบบหรือมีเครื่องสำอางครบ แต่เรามีทุกอย่าง มียา มีเครื่องสำอาง ข้อได้เปรียบของร้านแบบนี้ คือทุกคนเข้าได้ทุกวัน และวันละอาจจะหลายครั้ง คุณอาจจะไม่ได้เข้าร้านเครื่องสำอางทุกวัน แต่มาร้านเรา วันนี้ซื้อน้ำ วันนี้ซื้อมาม่า ข้าว ปลากระป๋อง คุณได้เห็นอย่างอื่น และได้หยิบสิ่งนั้นกลับไปด้วย”

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

แบงค์เล่าว่า ที่ร้านเคี้ยงซุปเปอร์สโตร์ (สาขาหลังมอ-ยูพลาซ่า) มีร้านขายยาและร้านเครื่องเขียนขนาดใหญ่มาเปิดติดกัน แต่คนก็เลือกมาซื้อยากับร้านเคี้ยงก่อน ถ้าไม่มีเขาถึงไปถามกับร้านขายยา หรือถ้ามาซื้อเครื่องเขียนก็จะเดินเข้ามาที่เคี้ยงก่อน ถ้าไม่มีสิ่งที่ต้องการถึงจะเดินไปร้านข้างๆ

“ผมก็สงสัยนะ ร้านผมอาจจะดูเข้าง่ายกว่า เป็นร้านสะดวกซื้อ เราก็เลยคิดว่านี่แหละโอกาสของเรา เพราะคนเขามาหาเราก่อน”

ตลอดการสนทนา แบงค์บอกเสมอว่าเขาเข้ามาทำร้านเพื่อความสนุก มากกว่าคิดถึงเงินและผลกำไร ทุกครั้งที่ได้ยินลูกค้าพูดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของร้านว่า “โฮ ที่นี่มีขายอันนี้ด้วยเหรอเนี่ย” เขาจะมีความสุขมากๆ 

“เวลาได้ยินใครพูดอย่างนั้นมันเติมเต็มเรามากๆ เลย รู้สึกใช่มากๆ นี่แหละสิ่งที่อยากได้ยิน มากกว่านั้นคือการที่ลูกค้ามาแล้วได้ของที่เขาต้องการ หรือได้ของที่เกินกว่าที่เขาต้องการ” แบงค์ทิ้งท้าย

การต่อยอดของทายาทรุ่นสาม เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำอายุกว่า 80 ปีที่อยู่คู่ขอนแก่น, แบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล

Writer

นภษร ศรีวิลาศ

นภษร ศรีวิลาศ

บรรณาธิการธุรกิจ The Cloud 4.0 แม่บ้านและฝ่ายจัดซื้อจัดหานิตยสารประจำร้านก้อนหินกระดาษกรรไกร ผู้ใช้เวลาก่อนร้านเปิดไปลงเรียนตัดเสื้อ สานฝันแฟชั่นดีไซเนอร์ในวัย 33 ปัจจุบันเป็นแม่ค้าที่ทำเพจน้องนอนในห้องลองเสื้อบังหน้า ซึ่งอนาคตอยากเป็นแม่ค่ะ

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล