ติงลิ่งติง

เป็นคำสร้อยที่ได้ยินบ่อย ๆ ในเพลงกล่อมเด็กพื้นบ้านของอีสาน แล้วก็อยู่ในเพลงดังที่ชื่อว่า อีสานม่วนงัน

เป็นคำพ้องเสียงกับThink Link Things : วิเคราะห์ เชื่อมโยง ทุกสรรพสิ่ง’ ชื่อธีมงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ปีนี้ ซึ่งแปลได้ว่า นี่เป็นเทศกาลเชื่อมโยงเรื่องราวของย่าน ผู้คน ธุรกิจดั้งเดิม และผลิตภัณฑ์โดดเด่นของท้องถิ่น ให้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเมืองด้วยรากความเป็นอีสานอย่างเกื้อกูลกัน

เป็นการเล่นคำที่ม่วนหลาย! แถมยังสื่อสารความหมายได้ดี จนอยากเอ่ยชมอีกสัก 10 ที

เราเดินทางไปขอนแก่น ตั้งใจไปศึกษาว่า CEA ขอนแก่น ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ เครือข่ายนักสร้างสรรค์ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เขาร่วมมือกันทำอะไร-อย่างไร เพื่อส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมจักสานและงานฝีมือ ซึ่งเป็น 3 กลุ่มที่โดดเด่นของภูมิภาคนี้

Isan Creative Festival 2022 จัดขึ้นในพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดขอนแก่น หลัก ๆ ได้แก่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบขอนแก่น (TCDC Khon Kaen) และย่านสร้างสรรค์ศรีจันทร์-กังสดาล ย่านเมืองเก่าและย่านธุรกิจสำคัญของจังหวัดที่เต็มไปด้วยพลวัต เป็นย่านแห่งชีวิตที่มีความเปลี่ยนแปลงท่ามกลางรากเหง้าที่ยังมีให้เห็น 

คอลัมน์ Take Me Out เก็บ 10 นิทรรศการน่าไปชม ว่าพวกเขาทำอย่างไรให้งานออกแบบไม่ใช่เรื่องไกลตัว และสะท้อนหลักการทำงานด้วยการวิเคราะห์เชื่อมโยงปัจจัยต่าง ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนา แต่บอกก่อนว่านี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกมากให้ไปเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม นี้ แล้วก็มีนิทรรศการบางส่วนที่จัดไว้บน ‘เวลาเวิร์ส’ (Velaverse) โลกเสมือนจริงหรือ Metaverse แห่งแรกของจังหวัดนครราชสีมาด้วยนะ

จังได๋ก็มาเทิงมวน เทิงได้ฮู้นำกันก่อน!

พิกัด TCDC ขอนแก่น

01 นิทรรศการ Isan Solutions
ศิลปิน CEA x Japan Foundation

มัดรวม 10 นิทรรศการม่วนซื่นที่ต่อยอดเศรษฐกิจท้องถิ่นในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565

เริ่มด้วยงานศิลปะของคนธรรมดาที่ค้นพบความงามในสิ่งของธรรมดา ทัวร์โลกหัตถศิลป์แบบบ้าน ๆ ซื่อ ๆ ที่นำเสนอความตรงไปตรงมา ‘แปนแปน’ ผ่านข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างสรรค์มาจากวิถีชีวิตที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เมื่อไม่มีเวลาปั้นปรุงของเหล่านี้ จึงใช้วิธีพึ่งพาธรรมชาติ และความสนุกสนานที่หาได้รอบตัวซึ่งอยู่ในสายเลือด มาสร้างงานหัตถกรรมที่มาจากภูมิปัญญาธรรมดาเป็นพิเศษ จนเรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่ไม่ออกแบบ

และสิ่งนี้เอง สอดคล้องกับปรัชญา ‘มินเง’ (Mingei) ของญี่ปุ่น หมายความว่าหัถตศิลป์พื้นบ้าน (Folk Art) ที่ใช้เวลาฝึกฝนยาวนานจนเกิดเป็นทักษะเฉพาะตัว สองแนวคิดเลยได้มาหลอมรวมกันในนิทรรศการ Isan Solutions นี้

02 Mudmee NFT
ศิลปิน CEA

มัดรวม 10 นิทรรศการม่วนซื่นที่ต่อยอดเศรษฐกิจท้องถิ่นในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565

ขอนแก่นได้ชื่อว่าเป็น ‘นครแห่งผ้ามัดหมี่’ แห่งแรกในเอเชีย นอกจากผืนผ้าสวย ๆ ที่นำมาจัดแสดง เราได้เห็นตัวอย่างการพาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เข้ามาต่อยอดศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม เพราะงานนี้ ศิลปิน NFT (Non-Fungible Token) จากทั่วประเทศร่วมมือกับกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ในภาคอีสาน หยิบลวดลายบนผืนผ้าและองค์ประกอบเล็กน้อย เช่น ลายสับปะรด แพตเทิร์นการทอ รวมถึงสีสัน ไปสร้างสรรค์เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลยุคใหม่ที่กำลังมาแรง เพื่อขยายตลาดผ้ามัดหมี่สู่โลกดิจิทัล และแสวงหารูปแบบการทำเงินใหม่ ๆ ให้ศิลปิน รวมถึงหยิบเอาผลงานไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้อีกมาก เจ๋งไปเลย!

03 นิทรรศการ Thai swag : จ๊าบดี
ศิลปิน แพรี่พาย-อมตา จิตตะเสนีย์ 

มัดรวม 10 นิทรรศการม่วนซื่นที่ต่อยอดเศรษฐกิจท้องถิ่นในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565

การพาผ้าอีสานกลับภูมิลำเนา ไปพร้อมกับ Modern Culture แบบฉีกกฎ ของ Pearypie หรือ แพร-อมตา จิตตะเสนีย์ ผู้หลงใหลในความงามของผ้าไทยที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเรื่องราวที่บรรพษุรุษซ่อนไว้ เธอเล่าว่าภูมิใจทุกครั้งที่สวมใส่ จึงมีไอเดียจับมาแมตช์กับการแต่งตัวสตรีทสไตล์ที่ชอบและปรับตามวิถีชีวิตประจำวัน จ๊าบดีไหมล่ะ

ทั้งผ้ามัดหมี่สีธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์ เข้าคู่กับสูทโอเวอร์ไซส์และกางเกงผ่าข้างสีดำ กางเกงสีเขียวขี้ม้าผ้ากาบบัว จังหวัดอุดรธานี ใส่กับแจ็กเก็ตตัวโคร่ง สวมเสื้อลายไฟสีนีออนข้างใน กางแกงผ้าซิ่นตีนแดง จังหวัดบุรีรัมย์ สวมแจ็กเก็ตหนังพร้อมหมวกเบเร่ต์ และผ้าไทยผืนแรกที่เปลี่ยนชีวิต อย่างผ้าไหมมัดหมี่สีเทา ตรานกยูง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเธอนำไปตัดเป็นสูทสุดเก๋ ใส่ไปเฉิดฉายชมแฟชั่นโชว์ของ Dior ที่ฝรั่งเศส จนชาวเมืองน้ำหอมแตกแตนมาแล้ว แพรี่พายเล่าแต่ละชิ้นอย่างสนุก พร้อมทิ้งท้ายไว้ว่า ‘อย่ากลัวที่จะเป็นตัวเอง’

มัดรวม 10 นิทรรศการม่วนซื่นที่ต่อยอดเศรษฐกิจท้องถิ่นในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565

ที่นำมาจัด Professional Showcase นี้มีแค่ 10 ชุดเท่านั้น ถ้าใครอยากลองใส่บ้าง ตามไปดูต่อในอินสตาแกรมของเธอได้เลย

04 นิทรรศการ มักหมัก (Isan Flavor Library) 
ศิลปิน CEA x Mirtphol x Kaen x เชฟหนุ่ม 

ภูมิปัญญาการหมักดองของอีสานอยู่ในวัฒนธรรมเรื่อยมา เป็นศาสตร์การถนอมอาหารที่น่าสนใจ เพราะทำให้เกิดความซับซ้อนและความหลากหลายของรสชาติ แล้วรสชาติอาหารหมักดองอีสานซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมการกินของท้องถิ่นจะต่อยอด หรือมองหาความเป็นไปได้ใหม่ แล้วพาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างไร ตาม เชฟหนุ่ม-วีระวัฒน์ ตริยเสนวรรธน์, เชฟ Curtis Hetland และ ทีมหมาน้อยฟู้ดแลปส์ เข้าห้องทดลองผสมรสชาติและผสานศาสตร์ด้านต่าง ๆ แห่งการหมักดอง จนเกิดเป็นรสชาติที่ต่างออกไป เช่น Oils, Vinegas, Garums, Pickles, Shoyu และ Amazake ได้ในนิทรรศการมักหมัก – Isan Flavour Library แล้วความลับก็ถูกเปิดเผย!

05 นิทรรศการ ปลูก เด็ด เฮ็ด เฮียนฮู้ (Lunch & Learn : School Yard Lunch)
ศิลปิน CEA

มัดรวม 10 นิทรรศการม่วนซื่นที่ต่อยอดเศรษฐกิจท้องถิ่นในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565

ถ้ามีงบเพียง 21 บาท เด็ก ๆ วัยประถมศึกษาจะต้องกินอะไรให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอและอิ่มท้อง

จากโครงการพัฒนาอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย ‘อิ่มท้อง สมองใส’ (Lunch & Learn) จึงนำไปสู่การพัฒนาวัตถุดิบมาทำอาหารกลางวันของโรงเรียน และต่อยอดสู่ความยั่งยืนทางอาหารใน 3 ประเด็น คือ 1) สร้างองค์ความรู้ด้านวัตถุดิบท้องถิ่น เด็ก ๆ ได้รู้จักสิ่งที่ตัวเองกำลังกิน เข้าใจและลดอคติที่มีต่อผักพื้นบ้าน 2) นวัตกรรมการเกษตรที่ช่วยบุคลากรให้สร้างการเกษตรที่ยั่งยืน ส่งต่อไปยังห้องครัวของโรงเรียนได้จริง งบน้อย ดูแลง่าย ทำได้ด้วยตัวเอง และ 3) เมนูสร้างสรรค์และครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ถูกใจผู้กิน บุคลากรบริหารจัดการได้อย่างมีคุณภาพ

ปีนี้โครงการต่อยอดทำงานร่วมกันกับเกษตรกร แม่ครัว บุคลากร และนักเรียน เกิดเป็นฟาร์มปลูกผักตามฤดูกาลที่ไม่ใช่แค่ใช้ในโรงเรียนตัวเองเท่านั้น ยังนำไปปรุงอาหารกลางวันให้โรงเรียนรอบ ๆ ได้ด้วย ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดจัดแสดงไว้แล้วในนิทรรศการนี้

พิกัด : โรงแรมสวัสดี

06 Projection mapping show : ฉายฮูป หน้าฮ้าน กลางย่านศรีจันทร์

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

โรงแรมสวัสดีปิดกิจการไปแล้ว แต่ตัวอาคารที่ยาวขนานไปกับถนนหน้าเมืองราว 100 เมตรยังคงอยู่ และเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมยุโรปแบผสมผสสานน่าสนใจ แสดงถึงความรุ่งเรืองด้านพาณิชย์ของถนนสายนี้ เหล่าศิลปินและ CEA อยากพลิกฟื้นย่านนี้ให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยการจุดประกายให้เห็นว่าอาคารเก่าร้างทำอะไรได้อีกบ้าง

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

พวกเขาเปลี่ยนฟาซาดหน้าโรงแรมเป็นอาร์ตแกลเลอรี่ ฉายฮูป เเสดงเเสง สี เสียง ผ่านเทคนิค Projection Mapping เชื่อมโยงการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ บอกเล่าความเป็นมาของเรื่องราว วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นหมอลำ องค์ความรู้ทางฮูปแต้ม จิตรกรรมฝาผนัง เล่นเพลงที่แต่งขึ้นโดย อาจารย์อ้น แคนเขียว หมอแคนแห่งแดนอีสาน ส่วนภาพเคลื่อนไหวที่ฉาย ออกแบบโดยสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย หรือ ThaiGa ซึ่งล้วนเป็น Soft Power ชั้นดี

ฉายฮูป หน้าฮ้าน กลางย่านศรีจันทร์ จัดแสดงทุกวัน วันละ 3 รอบ เวลา 19.00 น., 20.00 น. และ 21.00 น.

พิกัด : สถานีขนส่งปรับอากาศจังหวัดขอนแก่น, ห้องจำหน่ายตั๋ว

07 นิทรรศการเล่นแร่แปรผ้า (House Of Fabric-ation) 
ศิลปิน CEA

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

พลาสติก อะลูมิเนียม หนังยาว เศษผ้า เส้นใยพืชและผลไม้ ทุกสิ่งคือสิ่งทอ

เล่นแร่แปรผ้า เป็นนิทรรศการที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผสานเข้ากับการทอผ้า อัตลักษณ์ของภูมิภาค รากเหง้าที่สืบสานจากรุ่นสู่รุ่น ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น

แต่สินค้าแฟชั่นในที่นี้ ไม่ได้มีแค่ความสวยอย่างเดียว แต่ได้ช่วยชุมชนด้วยการนำวัสดุเหลือทิ้งและการทดลองทอจากสิ่งรอบตัวมารังสรรค์ผลงานบนพื้นฐานทักษะดั้งเดิม ทลายข้อจำกัดเดิม ๆ และเป็นไอเดียต่อยอดไปอีกไกล 

ที่เราชอบมากคือผ้าทุกผืนที่เห็นว่าเป็นผืนใหญ่ รวมถึงสังกะสีที่นำมาตกแต่งในนิทรรศการ จะนำไปใช้งานต่อโดยไม่ให้เหลือเป็นขยะเลยสักชิ้น

08 Made in Srichan 2
ศิลปิน CEA

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

เคสตัวอย่างการลงมือชวนนักออกแบบอีสานร่วมกันกับร้านค้า ต่อยอดสินทรัพย์อันมีคุณค่าของย่านสร้างสรรค์ศรีจันทร์ และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มชุมชน ผู้ประกอบการ และธุรกิจดั้งเดิมภายในย่าน ให้กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศรีจันทร์ อีก 10 ร้านค้า อย่างโตเกียวเบเกอรี่ น้ำเต้าหู้ร้อยปี เองเกฮึ้งโอสถ ครัวหยก สมุนไพรชุมชนพระลับ กลุ่มร่มเย็น จักสานโนนหนองวัด ชัยมหาเบเกอรี่ ชุมชนเทพารักพัฒนา

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

งานนี้พวกเขาสร้างผลิตภัณฑ์โฉมใหม่ เมนูใหม่ และการเล่าเรื่องราวแบบใหม่ ยกระดับให้กับร้านค้าให้เข้าถึงคนมากขึ้น ดูจากชื่อร้านค้าแล้วรับรองว่าสนุกทุกชิ้น อย่างน้ำเต้าหู้ร้อยปีนี่ แพ็กเกจใหม่ช่างน่าเหมา ไหนจะร่มเย็นที่ใช้ผ้าไทยมาตัดเย็บเข้าไปใหม่ส้วยสวย จักสานโนนหนองวัดที่ทำกระเป๋า Seven Days แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า ‘แก่นสาน’ ทำเอาอยากหิ้ววันละสีเลยล่ะ

พิกัด : โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน

09 นิทรรศการ Khon Kaen Urban Transit

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

ในอนาคตอันใกล้ เมืองขอนแก่นกำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา ที่ออกแบบโดยคนขอนแก่น ผลิตโดยคนขอนแก่น ใช้ก่อนใคร

Khon Kaen Urban Transit เลยเป็นนิทรรศการสื่อกลางในการเล่าเรื่องระบบการขนส่งสาธารณะของเมืองขอนแก่นที่จะเกิดขึ้น เช่น โครงการแทรมน้อยรอบสวนสาธารณะบึงแก่นนคร โครงการ LRT และโครงการ Smart สองแถว ฯ แน่นอนว่านี่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง รวมถึงเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนได้ชัดเจนที่สุด

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

งานนี้เป็นโครงการที่ บพข. จัดสรรทุนวิจัยให้กับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยมี ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมกับบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) และภาคีเครือข่าย

พิกัด : 1502 Srichan Creative Sharing Space

10 นิทรรศการ อีสานบ้านเฮา
ศิลปิน CEA x สกลจังซั่น x Korat Crafting Lab x มทส

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

นิทรรศการที่ยกภูมิปัญญา วัฒนธรรม สินทรัพย์ และความคิดสร้างสรรค์ของคนในพื้นที่สกลนครและนครราชสีมา เช่น สกลจังซั่น มหาสารคราฟต์ ผู้ปลุกปั้นให้เมืองก้าวสู่การเป็น ‘พื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ มาไว้ใน 1502 Srichan Creative Sharing Space งานนี้ใครที่พลาดไป ก็มาใช้โอกาสนี้ซ้ำได้เลย 

ภายในพื้นที่ทั้ง 3 ชั้นถ่ายทอดเรื่องราวของ ‘บ้านเฮา’ ความเป็นอีสานหลากหลายแง่มุม บวกกับการต่อยอดด้วยการออกแบบเเละนวัตกรรม ไปสู่การพัฒนาที่ไม่ลืมรากเหง้า ทั้งการทอผ้า การย้อมผ้า อาหาร ประเพณี ไปจนถึงสถาปัตยกรรมได้อย่างเห็นภาพ

พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่
พาไปซิ่ง Isan Creative Festival 2022 รู้จักอีสานในมุมสร้างสรรค์ ทั้งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

อ้อ! ก่อนกลับ อย่าลืมอุดหนุนกาแฟ Slow Bar จากร้านกาแฟดริปยิปซี ที่แปรเหล่าคนสร้างสรรค์เพื่อนบ้าน เช่น ภูคราม, Mann Craft, Wisdomative ฯลฯ มาเป็นรสชาติกาแฟเฮาส์เบลนด์ที่ไม่เหมือนใครด้วยนะ

เยี่ยมยามบ้านหมอลำ (Molam House Hopping)

ขอแถมอีก 1 กิจกรรมที่เราชอบมาก คือ เยี่ยมยามบ้านหมอลำ (Molam House Hopping) สำรวจเส้นทางวัฒนธรรมเอกลักษณ์อีสาน ‘บ้านหมอลำ’ สัมผัสประสบการณ์ วิถีชีวิต และเรื่องราวกว่าจะเป็นอาชีพเลี้ยงตัว ที่บ้านหมอลำอุดมศิลป์ แม่วันดี บ้านหมอลำพื้นแห่งแรกในขอนแก่น ซึ่งในวันรอบสื่อ เราได้ชมการแสดงจำปาสี่ต้น ตอนกำเนิดจำปาสี่ต้น (มีทั้งหมด 30 ตอน) โดย แม่วันดี พลทองสถิตย์ วัย 71 ผู้รำเรียนวิชาหมอลำพื้นจากครูพักลำจำตั้งแต่อายุ 12 ซึ่งเธออ่านไม่ออก เขียนหนังสือก็ไม่เป็น แต่ใช้วิธีการจำบทพูดบทร้องเองทั้งหมด

หมอลำพื้นหรือหมอลำผ้าขาวม้าจะแสดงคนเดียว ใช้ผ้าขาวม้าเป็นสื่อ รวมถึงกำหนดฐานะตัวละครด้วยการพับ (ไว้รอติดตามอ่านเรื่องราวของแม่ครูวันดีฉบับเต็มเร็ว ๆ นี้) ซึ่งนอกจากบ้านหมอลำอุดมศิลป์แล้ว ยังมีบ้านหมอลำกลอน แม่ราตรีศรีวิไล และบ้านหมอลำระเบียบ วาทะศิลป์ ให้ไปชมด้วย

Molam House Hopping จัดขึ้นในวันที่ 1 มีนาคม เวลา 09.00 – 17.00น. (มีค่ากิจกรรม 300 บาท) ซื้อตั๋วเดินทางได้ที่ : www.eventpop.me/e/12431

Writer

Avatar

ปาริฉัตร คำวาส

อดีตบรรณาธิการสื่อสังคมและบทความศิลปวัฒนธรรม ผู้เชื่อว่าบ้านคือตัวตนของคนอยู่ เชื่อว่าความเรียบง่ายคือสิ่งซับซ้อนที่สุด และสนใจงานออกแบบเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี (กับเธอ)

Photographer

Avatar

ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

นักเรียนวารสารศาสตร์จากมอน้ำชี ที่เชื่อว่าชีวิตต้องผ่านน้ำ เบื่อการเรียนออนไลน์ อยากเรียนจบแล้ว รักใครรักจริง