22 ธันวาคม 2018
19 K

เนิ่นนานมาแล้ว เมื่อโลกยังบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ของตนเองไว้บนเปลือกแผ่นของมัน และยังไม่มีมนุษย์คนใดลืมตาขึ้นมาดูโลกและบันทึกเหตุการณ์นี้ ขณะที่ท้องฟ้ากำลังสร้างสรรค์ผืนป่าแห่งหนึ่งขึ้นมาด้วยหยาดฝนและน้ำค้างจากเมฆหมอกทีละหยดลงบนจุดสูงสุดของไทย ที่เรารู้จักกันต่อมาว่าคือ ป่าเมฆแห่งยอดดอยอินทนนท์

เท่าที่มีตำนานเล่าขานต่อกันมาในหมู่คนพื้นถิ่น มนุษย์เก่าแก่ที่สุดที่ได้มาพบเจอป่าเมฆแห่งนี้คือ บรรพบุรุษของชาวปกาเกอะญอ ที่เดินทางมายังพื้นที่ป่าของดอยอินทนนท์เพื่อหาถิ่นอาศัยใหม่ให้กับพี่น้องของตน และทำพิธีปักไม้เท้าลงดิน 7 ครั้ง เพื่อพบว่าดินสามารถท่วมไม้เท้าที่ปักจนเต็มทั้ง 7 ครั้ง เป็นสัญญาณบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินที่นี่ แล้วจึงนำสิ่งที่ตนค้นพบไปบอกกล่าวต่อพี่น้องให้มาตั้งถิ่นฐานอาศัยกัน และเรียกขานที่นี่ในภาษาปกาเกอะญอว่า ‘เกอะเจ่อโดะ’ ที่มีความหมายว่า ภูเขาใหญ่

เวลาเปลี่ยนผ่าน จากคำบอกกล่าวของบรรพบุรุษปกาเกอะญอต่อพี่น้องสู่ลูกหลาน กลายเป็นเรื่องเล่า เป็นตำนาน ที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา ผู้คนจำนวนมากที่ได้ทราบเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของป่าแห่งนี้จึงเริ่มต้นเดินทางเข้ามาเพื่อสัมผัสกับมันด้วยตนเอง กระทั่งปัจจุบันเมื่อเหมยขาบเริ่มต้นเกาะบนใบของพันธุ์ไม้บนดอยอินทนนท์ ที่กลายเป็นอีกตัวชี้วัดบอกถึงการมาเยือนของฤดูหนาวในประเทศไทย เมื่อนั้นถนนเกือบทุกสายของนักท่องเที่ยวก็จะหันหน้ามาที่ดอยอินทนนท์ เพื่อที่จะได้ชมปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้พร้อมกับสัมผัสลมหนาวก่อนใครบนจุดสูงสุดของประเทศ และทำให้ป่าเมฆแห่งนี้ได้ต้อนรับแขกที่สัญจรเข้ามาจำนวนมากทุกปี

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

เส้นทางศึกษาธรรมชาติแห่งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อให้คนได้สามารถเข้ามาสัมผัสและเรียนรู้เรื่องราวธรรมชาติของป่าเมฆอย่างใกล้ชิด โดยไม่ไปรบกวนวิถีทางธรรมชาติของมัน อีกทั้งยังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของดอยอินทนนท์และตัวธรรมชาติเอง

เมื่อถ่ายรูปคู่กับป้ายจุดสูงสุดแดนสยามจนหนำใจแล้ว เราจึงอยากชักชวนให้ทุกคนได้ลองเดินต่อเข้ามาในป่าเมฆบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติแห่งนี้

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

เส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยอินทนนท์ทอดตัวยาวเข้าไปในป่าเมฆเป็นระยะทาง 150 เมตร มีอากาศหนาวทั้งปี และมีหมอกกับฝนตกชุก เป็นคุณลักษณะพิเศษของป่าเมฆที่ทำให้เกิดระบบนิเวศเฉพาะตัวอย่างไม่มีป่าไหนเหมือน ภายในเส้นทางคุณจะได้พบกับพระสถูปของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ผู้ให้ความสำคัญกับป่าไม้เป็นอย่างมาก ถึงขั้นรับสั่งให้นำพระอัฐิของพระองค์เมื่อถึงแก่พิราลัยมาประดิษฐานไว้บนยอดดอยหลวง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อตามพระนามของพระองค์เป็น ‘ดอยอินทนนท์’

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

คุณจะได้พบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหมุดระบุพิกัดความสูงของดอยอินทนนท์ ซึ่งเกิดขึ้นจากพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่โปรดฯ ให้ตั้งกรมแผนที่ทหารขึ้นมาเพื่อสำรวจพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ทำให้ทราบความสูงของดอยอินทนนท์จนปรากฏเป็นหลักฐานหมุดฝังที่คุณจะได้เข้าไปสัมผัสใกล้ๆ

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

ด้วยสภาพอากาศที่หนาวตลอดปีและยังมีฝนกับหมอกจัด ทำให้ป่าแห่งนี้ไม่ค่อยได้รับแสงแดด ดินจึงมีความเป็นกรดสูง พันธุ์ไม้ภายในป่าแห่งนี้จึงมีเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถอยู่ในสภาพดินฟ้าแบบนี้ได้ ต้นไม้ในป่าเมฆจะแตกกิ่งมากและคดหยักกว่าปกติ มีก้านใบสั้น แตกใบเป็นกระจุก และตัวใบมีขี้ผึ้งเคลือบกันน้ำระเหย อย่างไรก็ตาม หากแหงนหน้าขึ้นมองจะพบว่าการแตกกิ่งของแต่ละต้นนั้นแม้จะมีมากก็จริง ทว่าไม่ได้รบกวนกัน และมีการเว้นระยะต่อกันอย่างเอื้ออาศัย

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

อีกสิ่งที่คุณจะสังเกตได้ก็คือต้นไม้ภายในป่าเมฆเป็น ‘ต้นไม้ห่มผ้า’ ไม่ใช่ว่าเพราะต้นไม้หนาวแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะสภาพอากาศที่ชื้นและเย็นซึ่งเหมาะกับการเติบโตของมอสและไลเคนจำนวนมาก จึงทำให้บนลำต้นและกิ่งก้านของไม้ใหญ่อย่างต้นทะโล้เต็มไปด้วยเจ้าพืช 2 ชนิดนี้ ที่มีการปรับตัวให้มีลำต้นยาวเป็นสายห้อยลงมาจากกิ่งของต้นไม้ต่างๆ เพื่อดักจับความชื้นในหมอกและสังเคราะห์แสง และหากคุณพบเห็นต้นที่มีลักษณะเป็นเส้นๆ สีเหลืองอ่อนรวมเป็นกลุ่มห้อยรับลมอยู่บนกิ่งไม้ ยินดีด้วย เพราะว่านั่นคือ ‘ต้นฝอยลม’ ไลเคนชนิดหนึ่งที่สามารถทำหน้าที่เป็นดัชนีชี้วัดว่าอากาศบริเวณที่มันเติบโตได้นั้น มีความบริสุทธิ์ให้คุณได้สูดหายใจรับเข้าไปเต็มปอด

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์
ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

ต้นเฟิร์นในบริเวณป่าเมฆเองก็มีการปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาพอากาศเช่นนี้ เราจะเห็นว่ามีเฟิร์นกระจายเกาะอยู่ตามลำต้นของต้นไม้ภายในป่าเมฆจำนวนมาก แทนที่จะเติบโตบนดินเช่นปกติ อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะไม่มีพืชเติบโตบนดินเลย ในป่าเมฆมีพืชอยู่ 2 ชนิดที่สามารถเติบโตได้บนดินเป็นอย่างดี นั่นคือต้นผักปราบเครือ ที่มีใบเป็นรูปหัวใจ ซึ่งระยะแรกสร้างตัวเป็นลำต้นตรงก่อนจะเปลี่ยนเป็นไม้เลื้อยไปตามลำต้นไม้ใหญ่อื่นๆ และต้นแข้งไก่ ซึ่งปรับตัวด้วยการสร้างสีเขียวเข้มที่ใบด้านบนเพื่อจะสามารถสังเคราะห์แสงได้แม้ในแสงรำไร ขณะที่ใต้ใบเป็นสีเขียวนวลเพื่อช่วยสะท้อนแสงแดดให้กับใบข้างเคียง แม้แต่ลำต้นก็ยังเป็นสีเขียว เราจึงพบเห็นพืชชนิดนี้เยอะจนเป็นพรมของป่าเมฆ ไม่ว่าจะหันไปทางใดจึงมีแต่ความเขียวขจีให้สดชื่นตลอดเส้นทางเดิน

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์
ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

ด้วยสภาพอากาศที่หนาวและชื้นตลอดทั้งปีทำให้เส้นทางศึกษาธรรมชาติแห่งนี้มีความทรุดโทรมและผุพังไปไม่น้อย มูลนิธิไทยรักษ์ป่า องค์กรสาธารณกุศลซึ่งก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานโดยบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป่าต้นน้ำที่สำคัญของประเทศให้เกิดความยั่งยืน จึงเข้ามาร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ปรับปรุงเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอย โดยเริ่มต้นปิดเส้นทางเพื่อปรับปรุงตั้งแต่ปี 2559 โดยเชิญ อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกจากป่าเหนือ สตูดิโอ มาเป็นผู้ออกแบบเส้นทาง บนแนวคิดที่ทุกฝ่ายตกลงร่วมกันว่าให้กลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุดและรบกวนระบบนิเวศน้อยที่สุด

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

การออกแบบเส้นทางมีการคำนึงถึงเรื่องนี้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางรากฐานของเส้นทางใหม่ แทนที่จะใช้การถาง จึงใช้วิธีการแหวก โดยใช้เท้าเหยียบต้นไม้ให้แหวกออกจากเส้นทาง ซึ่งต้นไม้จะสามารถฟื้นและโน้มกลับมา

ด้านวัสดุ เส้นทางฯ นี้ใช้ไม้สักถูกกฎหมายจากแปลงปลูกขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ด้วยคุณลักษณะที่แข็งแรงและนำมาเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์
ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

ขณะเดียวกันแทนที่จะใช้เครื่องมือไฟฟ้าในการทำงาน กลับเลือกที่จะไปตามหาช่างผู้เชี่ยวชาญหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า ‘สล่า’ มาเพื่อที่จะให้เขาใช้มีดและขวานถากไม้ที่เลือกมา ปรากฏเป็นริ้วรอยบนเนื้อไม้ที่สามารถนำเสนอความเป็นท้องถิ่น อีกทั้งยังให้ความรู้สึกกลมกลืนกับธรรมชาติมากกว่าการใช้เครื่องจักรไฟฟ้า

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

ด้านการออกแบบราวกันตก มีการถอดภูมิปัญญาการเข้าลิ่มไม้ในการสร้างเรือนแบบไทลื้อโบราณมาใช้ นอกจากรักษาความเป็นท้องถิ่น การเข้าลิ่มยังช่วยให้การซ่อมแซมสามารถทำได้ง่าย เพียงถอดลิ่มแล้วนำไม้สำรองมาประกอบเข้าไปใหม่ ส่วนของทางเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยนั้นมีความลาดชันพอสมควร จึงออกแบบใหม่ให้เป็นขั้นง่ายๆ และแทบไม่รู้สึกถึงความเหนื่อยขณะเดินบนเส้นทางที่มีความชันแตกต่างกันถึง 6 เมตร

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์
ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์

ส่วนของป้ายสื่อความหมายตามจุดต่างๆ ระหว่างทางเดินก็ได้ อาจารย์นพรัตน์ นาคสถิตย์ นักสื่อความหมายธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศ มาเป็นผู้ช่วยถ่ายทอดให้เข้าใจได้อย่างง่ายดายและน่าสนใจ เส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยอันใหม่จึงเสร็จสมบูรณ์ และส่งมอบให้กับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา พร้อมเปิดเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยอีกครั้งให้คนทั่วไปได้เข้ามาเดินในป่าเมฆ และรอให้คุณได้เข้าไปสัมผัสด้วยตนเอง พร้อมเรียนรู้แหล่งธรรมชาติต้นน้ำสำคัญแห่งหนึ่งที่อยู่บนจุดสูงสุดเสียดฟ้าของประเทศ

“การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติคือการนำคนเข้ามาอยู่ในธรรมชาติ ให้ได้สัมผัส และเกิดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากกว่าที่ตามองเห็น เพื่อจะรู้และร่วมกันรักษาธรรมชาติ โดยเฉพาะป่า        ต้นน้ำที่เป็นต้นกำเนิดของทุกชีวิต อย่างเข้าใจ” คุณมานนีย์ พาทยาชีวะ เลขาธิการมูลนิธิไทยรักษ์ป่ากล่าวทิ้งท้าย

ชวนเดินป่าเรียนรู้เรื่องราวของ 'ป่าเมฆ' และดู 'ต้นไม้ห่มผ้า' บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สูงที่สุดของไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์
 

Writer & Photographer

Avatar

อนิรุทร์ เอื้อวิทยา

นักเขียน และ ช่างภาพอิสระ ปัจจุบันชนแก้วอยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูงที่เชียงใหม่