ต่างหูเรียบๆ คู่นี้ ใช้เทคนิคเดียวกับการวาดลายตกแต่งดาบซามูไร

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ภาพ : www.karafuru.jp

ส่วนสร้อยคอไข่มุก 3 เส้นนี้ เลือกใช้สีโบราณของญี่ปุ่น

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ภาพ : www.karafuru.jp

ทั้งกล่องไม้ ทั้งต่างหูด้านล่างนี้ มีที่มาจากลวดลายญี่ปุ่นและสีโบราณของญี่ปุ่นเช่นกัน

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ภาพ : www.karafuru.jp

ทั้งหมดนี้ คือสินค้าของแบรนด์ ‘KARAFURU’

มาจากคำว่า Colorful ซึ่งแปลว่า สีสันสดใส หากสลับคำเล็กน้อย จะกลายเป็น ‘ฟุรุคาระ’ ซึ่งแปลว่า ตั้งแต่อดีต อีกด้วย

สิ่งที่ KARAFURU สร้าง มิใช่แค่เครื่องประดับที่สีสันสดใสเพียงอย่างเดียว แต่แบรนด์นี้เกิดขึ้นเพื่อมากอบกู้ชีวิตช่างฝีมือญี่ปุ่นไม่ให้หายไป

ยุกิ คุโรดะ อดีตคอลัมนิสต์ผู้หลงใหลในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เห็นปัญหาเรื่องช่างฝีมือรุ่นก่อนเริ่มมีอายุมากขึ้น ไม่มีผู้สืบทอด ขณะเดียวกันตลาดก็เล็กลงทุกวัน

เนื่องจากคนรุ่นใหม่ไม่สนใจของโบราณเหล่านี้ เธอจึงตัดสินใจสร้างแบรนด์เล็กๆ เพื่อช่วยช่างฝีมือ

ด้วยการเป็นตัวเชื่อมระหว่างช่างฝีมือญี่ปุ่น ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญาโบราณกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้

สินค้าชิ้นแรกของ KARAFURU คือชุดเดรสที่ใช้วิธีการย้อมผ้าแบบโบราณของเกียวโต

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ภาพ : https://greenz.jp

แต่ละชุดจะมีลวดลายสีสันที่แตกต่างกัน ในวันออกแสดงผลงานนั้น มีผู้สื่อข่าวและบริษัทเอกชนให้ความสนใจมาก แต่คุโรดะกลับรู้สึกว่า สินค้าชิ้นนี้เป็นความล้มเหลวของเธอ

“คุณภาพงานดีมาก มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่นี่ไม่ใช่สินค้าที่ดีค่ะ ช่างฝีมือได้ทำทุกกระบวนการเอง ไม่ว่าจะเป็นการมัดย้อม การเย็บผ้า แถมเราสั่งผลิตน้อย ทำให้สินค้าชิ้นหนึ่งมีราคาสูงมาก แม้เราจะทำสินค้าดี แต่หากราคายังแพงเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะซื้อไหว ก็คงไม่ต่างอะไรกับการทำธุรกิจเพื่อตอบสนองความสุขของตัวเองฝ่ายเดียว และไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้กับสังคมเลย”

หากสินค้าราคาแพงเกินไป ขายไม่ได้ ช่างฝีมือก็ไม่มีรายได้ สุดท้ายไม่เกิดประโยชน์อะไรอยู่ดี

ขณะที่คุโรดะยังไม่รู้ว่าจะทำสินค้าอะไรขายดีนั้น วันหนึ่งเพื่อนชวนเธอไปพิพิธภัณฑ์ปิ่นปักผมโบราณในโตเกียว คุโรดะได้ไอเดียว่าปิ่นปักผมสมัยโบราณใช้ศิลปะญี่ปุ่นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การแกะสลัก ตลอดจนการฝังลายเคลือบทอง

หากปิ่นปักผมเป็นเครื่องประดับของคนสมัยก่อน อะไรคือเครื่องประดับของคนสมัยนี้

สินค้ารุ่นถัดมาของ KARAFURU จึงกลายเป็นสร้อยคอ ต่างหู นั่นเอง

สินค้าชิ้นเล็กๆ แม้ผลิตน้อยก็ไม่กระทบกับต้นทุนมาก

คุโรดะสนใจเทคนิคที่ใช้ในเครื่องประดับโบราณอย่างหนึ่ง คือเทคนิคมาซาเอะ หรือการแกะสลักไม้เป็นลวดลาย ลงยา แล้วโรยผงทองเพื่อให้สีติดลวดลายที่สลักไว้

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ตัวอย่างสินค้าที่ใช้เทคนิคมาซาเอะ
ภาพ : http://buyee.jp

คุโรดะเห็นว่าหากใช้เทคนิคนี้ทำเครื่องประดับสีดำลงลายสีทองจะดูโบราณเกินไป สีที่น่าจะเหมาะกับสีทองอีกสี คือสีขาวไข่มุก เครื่องประดับ KARAFURU น่าจะสวยโดนใจคนรุ่นใหม่ทีเดียว

ทว่าไอเดียนี้ทำให้เกิดปัญหาประการหนึ่ง คือช่างฝีมือไม่สามารถวาดลายและลงยาบนไข่มุกได้ คุโรดะปรึกษาช่างฝีมือหลายคน จนเจอท่านหนึ่งที่สนใจไอเดียของเธอ เขาลองแก้ปัญหาด้วยการเคลือบไข่มุกด้วยน้ำยาพิเศษ แล้วจึงค่อยวาดลาย

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ภาพ : https://greenz.jp

นอกจากนี้ คุโรดะยังขอความร่วมมือจากช่างออกแบบลาย หากใช้ลายโบราณ เช่น ลายดอกไม้ เครื่องประดับอาจดูเชย นักออกแบบจึงออกแบบลายทรงเรขาคณิตเพื่อให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ภาพ : www.karafuru.jp

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

แหวน (ราคาประมาณ 15,000 บาท)
ภาพ : www.karafuru.jp

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

ต่างหูที่ใช้เทคนิคการฝังมุก
ภาพ : www.karafuru.jp

KARAFURU แบรนด์เครื่องประดับสีสันสดใสที่ช่วยกอบกู้ชีวิตช่างฝีมือโบราณญี่ปุ่น

แม้แต่กล่องใส่เครื่องประดับก็ดูมีสีสัน ขณะเดียวกันยังคงความเป็นญี่ปุ่น
ภาพ : www.karafuru.jp

แบรนด์ KARAFURU ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นด้วยความน่ารัก

คุโรดะรู้สึกดีใจมากเมื่อมีเด็กสาววัยรุ่นมาดูสินค้าและบอกว่า “เทคนิคโบราณมาซาเอะเหรอคะ แต่แบบนี้น่ารักจังเลย”

หรือเด็กสาววัยสิบกว่าปีบางคนก็บอกว่า “หนูจะพยายามเก็บเงินแล้วมาซื้อให้ได้นะคะ”

ผู้บริโภคมีความสุขเนื่องจากได้รับสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ เต็มไปด้วยความใส่ใจและความประณีตของช่างฝีมือญี่ปุ่น

ตัวช่างฝีมือเองก็ได้เห็นศักยภาพของฝีมือพวกเขา และได้ค้นพบการประยุกต์ศิลปะโบราณให้เข้ากับความต้องการของคนรุ่นใหม่

เทคนิคโบราณต่างๆ เหล่านี้จึงยังสืบทอดต่อไปได้ แม้จะเปลี่ยนรูปแบบก็ตาม

KARAFURU และคุโรดะ กำลังค่อยๆ ส่งมอบภูมิปัญญาจากโบราณสู่อ้อมกอดของคนรุ่นใหม่ได้อย่างกลมกลืน

Writer

Avatar

เกตุวดี Marumura

อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นผู้หลงใหลในการทำธุรกิจแบบยั่งยืนของคนญี่ปุ่น ปัจจุบัน เป็นอาจารย์สอนการตลาดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย