14 สิงหาคม 2021
18 K

สถานการณ์ปัจจุบันทำให้หลายคนมีเวลาอยู่ติดบ้านมากขึ้น บางคนปลูกผัก บางคนทำกับข้าวกินเองอยู่บ่อยๆ

พอพูดถึงเรื่องปลูกผัก ก็จะคิดถึงอันดับแรกๆ เวลาที่จะต้องทุ่มเทฟูมฟักมาดูแลผัก เรื่องต่อมาคือจะปลูกอะไรดี แล้วต้องให้รอดด้วย

กว่าจะได้กินผัก ต้องเพาะเมล็ด บำรุงปรุงดิน แถมยังต้องสู้รบแมลงที่จะรุมแย่งกินผักของเราอีก สำหรับคนเมืองมือใหม่มือร้อน คงคิดไม่ตกจนล้มเลิกความคิดไป แต่ลุงรีย์อยากแนะนำให้เลือกปลูกอะไรที่ อึด ถึก ทน ปลูกครั้งเดียวกินไปได้เรื่อยๆ เก็บไว้ใช้ได้นานๆ

เลยจะชวนปลูกต้นไม้ที่กินได้ เด็ดกินก็อร่อยดี ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างผักไชยา คะน้าต้น 

ผักไชยามาจากคาบสมุทรยูกาตัน ประเทศเม็กซิโก ทวีปอเมริกาใต้ แพร่ขยายไปประเทศกัวเตมาลา ยาวไปถึงอเมริกา 

ตอนแรกก็นึกว่าเป็นผักพื้นบ้านเราที่มาจาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ชวนทำผงโรยข้าวรสอูมามิ จากผักไชยา คะน้าต้น ปลูกง่าย ตากยาก

แต่‘ไชยา’ น่าจะเรียกเพี้ยนมาจาก ชายา (Chaya) เป็นภาษาถิ่นเม็กซิโก ที่รากศัพท์มาจากภาษามายัน 

เกริ่นมาขนาดนี้ ท่าทางจะต้องเป็นผักที่เยียวยาความหิวของเราช่วงนี้ได้ดีแน่ๆ

ชื่อเสียงเรียงนามของไชยา คะน้าต้น Tree Spanach (Cnidoscolus chayamansa) พอเข้าประเทศไทยแล้วก็สุดแต่จะเรียกตามใจชอบ ผักไชยา ผักชายา คะน้าเม็กซิโก ผักโขมต้น มะละกอกินใบ (วงศ์ Euphorbiaceae) ส่วนใหญ่จะเรียกชื่อไปตามลักษณะเด่นที่เห็นชัด อย่างส่วนใบดูคล้ายๆ ใบมะละกอ ส่วนรสชาติก้านคล้ายๆ ต้นคะน้า

ชวนทำผงโรยข้าวรสอูมามิ จากผักไชยา คะน้าต้น ปลูกง่าย ตากยาก

ผักไชยา พุ่มสูง อายุยืน อาจมีสับสนบ้างกับใบต้นมัน ใบต้นสบู่ดำ หรือใบฝิ่นที่ใบมีหยักมีแฉกคล้ายคลึงกันไปหมด ที่โดดเด่นที่สุดของไชยาคือมีรสกลมกล่อม อูมามิ จนใครๆ ต่างเรียกว่า ‘ต้นผงชูรส’

ส่วนคุณค่าทางอาหารไม่เบาเลย อาจมากกว่าผักสีเขียวทั่วไป 2 – 3 เท่าตัวเลยทีเดียว แจกแจงออกมาเป็นผักที่มีน้ำ 85.3 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 4.2 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 5.7 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 0.4 เปอร์เซ็นต์ เส้นใยอาหาร 1.9 เปอร์เซ็นต์

ในด้านธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

แคลเซียม 421.0 มิลลิกรัม

โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส 39.0 มิลลิกรัม

เหล็ก 11.4 มิลลิกรัม

วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม

วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม

ส่วนด้านสรรพคุณทางยา นักวิจัยพบว่ามีส่วนช่วยในการมองเห็นได้ดีขึ้น บำรุงสายตา บำรุงสมองต้านอาการอักเสบ ช่วยรักษาไขข้ออักเสบ เพิ่มแคลเซียมในกระดูก รักษาอาการกระดูกพรุน มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน ปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดการอักเสบในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยต้านพยาธิ ช่วยลดไตเสื่อม และล้างพิษตกค้างที่อยู่ในตับ 

และสรรพคุณที่จะทำให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นในช่วงนี้ คือป้องกันการไอจาม อาการหอบหืด และมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อ ฆ่าเชื้อในปอด

ก่อนจะกินผักไชยา มาดูการเตรียมและข้อควรระวังกันก่อน อุปสรรคอย่างแรก แม้จะเล็กน้อยแต่ต้องบอกไว้ก่อน เวลาจะเด็ดใบมากินจะเจอยางสีขาว ให้ระวัง อย่าให้สัมผัสโดยผิวหนัง หากใครที่แพ้จะมีอาการคันๆ เดี๋ยวจะหมดอารมณ์ทำอาหารไปซะก่อน

ชวนทำผงโรยข้าวรสอูมามิ จากผักไชยา คะน้าต้น ปลูกง่าย ตากยาก

ถ้าเด็ดใบแก่ใบใหญ่ทำอาหารก็พอได้ แต่นิยมเด็ดใบอ่อนจะอร่อยกว่า ส่วนที่เป็นก้านให้ตัดออก แช่น้ำล้างยาง ล้างฝุ่นให้สะอาด สะเด็ดน้ำเล็กน้อย ก่อนจะนำไปประกอบอาหาร

ชวนทำผงโรยข้าวรสอูมามิ จากผักไชยา คะน้าต้น ปลูกง่าย ตากยาก

 ถ้าจะปลูกต่อให้เหลือยอดไว้หน่อย เลือกกิ่งติดยอดยาวสัก 1 คืบ หรือ 1 ไม้บรรทัดก็ได้ทั้งนั้น ตัดเฉียง 45 องศา เพื่อง่ายกับการเอากิ่งปักดิน และจะได้ไม่หลงด้วยว่าฝั่งไหนเป็นหัวเป็นท้ายเมื่อต้องตัดหลายๆ ท่อน วางไว้ที่แสงรำไร 7 วัน รากงอกดีเมื่อไร ให้ปลูกลงดินในกระถางแล้วนำออกแดด ก็จะได้ต้นใหม่ 

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

สำหรับการปลูก ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ถ้ายังไม่ว่างปลูกให้แช่น้ำไว้ก่อน รอให้กิ่งแตกรากอ่อนแล้วนำลงดิน เมื่อเริ่มแข็งแรง สูงขึ้นอีกสัก 2 เท่าตัว ค่อยเริ่มเด็ดใบอ่อนไปประกอบอาหาร กินได้ต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งตัดยิ่งแตกกิ่งก้าน พอถึงหน้าฝนทีไร ต้องรีบปลูกไชยาให้ได้ จะเติบโตได้ดีมาก เป็นผักอวบน้ำ สูงได้ถึง 6 เมตรเลยทีเดียว แต่ส่วนตัวชอบย่อขนาดด้วยการปลูกในกระถางเล็ก คล้ายๆ การทำบอนไซ สวยงามด้วย ตัดกินสะดวกด้วย

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

ยอดใบผักไชยาไม่แนะนำกินสด เพราะมีคลูโดไซด์ ซึ่งจะปล่อยสารไซยาไนด์อ่อนๆ ควรทำให้สุกด้วยความร้อน ด้วยการต้มหรือลวกน้ำเดือดประมาณ 5 นาที บางคนนิยมเอาน้ำต้มผักไชยามาดื่มคล้ายๆ น้ำชา บางตำราก็มีเข้าสูตร ปั่นรวมเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ แต่ข้อควรระวังคือ เลี่ยงการต้มในภาชนะที่เป็นอะลูมิเนียม จะทำให้น้ำต้มเป็นพิษได้ 

 อย่างไรก็ตาม เราควรกินผักให้หลากหลาย ไม่กินอะไรซ้ำๆ ติดต่อกันนาน มีประโยชน์ก็มีโทษได้เช่นเดียวกัน

พื้นฐานของใบของผักไชยามีกรดอะมิโนสูงมาก เป็นผักกินใบไม่กี่ชนิดที่มีกรดอะมิโนมากกว่าใบหม่อน เป็นที่มาของรสกลมกล่อมหรืออูมามินั่นเอง คนนิยมนำใบไชยามาเป็นส่วนประกอบในการหมักซีอิ๊ว

ไชยากินได้ตั้งแต่ใบจรดถึงก้าน ส่วนจะนำมาทำอะไรกิน ผมอยากแนะนำคร่าวๆ แบบกลั่นออกมาจากประสบการณ์ที่เคยนำมาทำอาหารกินล้วนๆ

ใบใหญ่ใบแก่ ถ้าผัดหั่นให้ชิ้นเล็กลงหน่อยจะกินง่าย ก่อนสะดุ้งด้วยไฟแรงๆ ถ้าโดนความร้อนจากการชุบแป้งแล้วทอด จะไม่เหนียวและลืมความเหม็นเขียวไปเลย

ใบเล็กลงมา ใช้แกงตามสะดวก ยอดอ่อนเล็กๆ มีความสวยงามคล้ายใบเมเปิ้ล มีความมันเป็นพิเศษ

ส่วนที่เป็นกิ่งก้านแข็งๆ เลือกกิ่งที่อ่อนหน่อยมีสีเขียว ปอกเปลือกออก ด้านในกิ่งอ่อนจะมีความฉ่ำกรุบกรอบ ซ่อนความอร่อยไว้ จะเป็นส่วนที่มีความหวานเฉพาะตัวซึ่งหลายคนมองข้ามไป หั่นแฉลบเป็นแว่น หน้าตาจะคล้ายยอดผักคะน้า ลวกน้ำร้อนเบาๆ น็อกน้ำแข็งเย็นๆ เสิร์ฟเป็นผักสดติดบ้านได้ดีเลย เอามากินเคียงกับยำสารพัดส้มตำ รสชาติชั้นหนึ่งลืมยอดคะน้า ใช้แทนแตงกวา ความหวานความกรอบมาครบ หน้าตาดีอีกด้วย

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

หากเราใช้ใบผักไชยาไม่หมดก็ไม่ต้องเสียดาย ประเดี๋ยวลุงรีย์ชวนเข้าครัว ทำผงโรยข้าวติดบ้าน จากผักไชยาไปด้วยกัน

อุปกรณ์

  1. ใบไชยา
  2. หม้ออบลมร้อน (ถ้ามี)
  3. ครกหรืออุปกรณ์บด
  4. ตะแกรง
  5. งาดำ งาขาว พริกป่น สาหร่าย มะแขว่น หรือส่วนผสมอื่นๆ ตามชอบ
  6. ขวดหรือกระปุกเล็กๆ

ขั้นตอนการทำผงโรยข้าวผักไชยา

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

1. นำใบไชยาที่ล้างน้ำสะอาดแล้วเคล้าดอกเกลือให้ทั่ว ใช้เกลือดึงน้ำออกจากใบผักไชยาให้อ่อนตัวลง ทิ้งไว้ 30 นาที

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร
สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

2. เมื่อใบไชยาอ่อนตัวลง ใช้มือขยำใบไชยาแรงๆ พร้อมฉีกใบให้เล็กลง รีดน้ำออกให้ได้มากที่สุด

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร
สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

3. คลี่ผักไชยาที่ไล่น้ำออกเป็นชิ้นเล็กๆ เตรียมนำไปตากแดดหรืออบในเตาอบลมร้อน ไล่ความชื้นอบจนแห้งกรอบ

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร
สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

4. นำใบไชยาที่อบแห้งแล้วมาบดให้เป็นผง ความหยาบ-ละเอียดตามใจชอบ ร่อนผ่านตะแกรง จะได้ผงโรยข้าวไชยา

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

5. หากต้องการเพิ่มรสชาติ กลิ่น และสัมผัสที่ซับซ้อนขึ้น ใส่งาดำ งาขาว พริกป่น สาหร่าย มะแขว่น ตามใจชอบ 

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

6. หาขวดเล็กๆ หรือกระปุกขนาดถนัดมือ ใส่วัสดุดูดความชื้นไว้ จะเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

ได้ผงโรยข้าวจากต้นผงชูรสหรือผักไชยาติดบ้านไว้ เพิ่มสีสัน เพิ่มสารอาหาร เพิ่มรสชาติ ให้ข้าวเปล่ากินสนุกขึ้น แถมยังใช้ปรุงอาหารได้อีกด้วย ผักไชยาปลูกก็ง่าย ทำผงโรยข้าวก็อร่อยไม่ยาก ลองทำตามกันได้เลย

สอนปลูกผักไชยา และวิธีทำผงโรยข้าวง่ายๆ ไว้เพิ่มรสอูมามิให้อาหาร

Writer & Photographer

Avatar

ลุงรีย์

เกษตรกรฮิปปี้ เมืองกรุง เป็นคนขี้เสียดาย ทำงานเกี่ยวกับการจัดการขยะเศษอาหาร ชอบเลี้ยงไส้เดือน และเป็นพ่อบ้านใจกล้า