หวาน-ธรรมทิพย์ อิรนพไพบูลย์ อดีตล่ามแปลภาษา ปัจจุบันเป็นคุณแม่เต็มเวลาและทอผ้าบ้างเป็นบางเวลา เธอเป็นเจ้าของเพจและอินสตาแกรม Pien9960 มีความหมายน่ารักว่า ‘ความเพียรพยายามนั่งทอผ้าอยู่ที่บ้าน’ 

9960 เป็นเลขที่บ้านของเธอ และความเพียรพยายามนั่งทอผ้าอยู่ที่บ้าน เป็นสิ่งที่เราอยากชวนคุณทำความรู้จักงานอดิเรกของคุณแม่มือใหม่ ที่ค้นพบตัวเองและเจอสิ่งที่เธอบอกว่า ‘ตรงจริต’ ก็ตอนลูกสาวกำลังนอนหลับ

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

“มันเกิดขึ้นตอนเราเลี้ยงลูก เด็กอ่อนเขาจะนอนเยอะมาก หนึ่งวันจะนอนสามรอบ ทุกครั้งที่ลูกนอนเราจะเล่นมือถือ จนมันคิดขึ้นได้เองว่าเสียเวลา เรานอนเล่นมือถืออยู่หกเดือน ก็เริ่มมองอะไรที่พอทำได้ตอนลูกนอน”

เธอเริ่มต้นจากการปักผ้า แต่ทำอยู่สองครั้งก็เลิก จนเจอสิ่งที่คล้ายกันจากการยิงโฆษณา คือการทอผ้า

“การทอผ้ามันตรงกับเงื่อนไขที่เราตั้งเอาไว้คือ หนึ่ง ทำได้ที่บ้าน สอง ไม่เสียงดัง เพราะทำตอนลูกหลับ สาม ต้องอยู่ใกล้ลูกได้ ครั้งแรกเราเริ่มจากกี่ตะปู ทำแล้วชอบเลย มันตรงจริต เราว่างานอดิเรกอาจจะเลือกเราก็ได้นะ 

“นิตติ้ง โคร์เช เราทำเป็น แต่ทำไมเราไม่ Keep Doing ทำไมเรา Start The New Things การเริ่มต้นทำอะไรครั้งแรก ยากนะ แต่พอเรามีความรู้สึกอยากทำสิ่งนี้ให้ได้ อยากเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ มันกลายเป็นการพัฒนาตัวเอง”

Let’s Start

หวานศึกษาวิชาทอผ้าเองทั้งหมด ด้วยการค้นคว้าจากยูทูบ หนังสือ ข้อมูลอินเทอร์เน็ต คอร์สเรียนทอผ้าออนไลน์ และไขทุกข้อสงสัยของตัวเองด้วยการลงพื้นที่หาคำตอบกับแม่ช่างทอผ้าตีนจกระดับชั้นครูที่แม่แจ่ม

“ตอนนั้นเราอุ้มลูกไปด้วย พอไปถึงก็บอกเขาว่าเราสงสัยตรงนี้ แต่ถ้าลูกเราร้องไห้เมื่อไหร่เราต้องกลับ” 

เมื่อมนุษย์แม่ต้องทำสองหน้าที่ไปพร้อมกัน เรื่องเล่าของเธอก็เรียกรอยยิ้มจากเราได้ไม่น้อย หวานยังเล่าอีกว่าเธอจะทอผ้าเฉพาะเวลาลูกหลับ เวลาตี 4 – 7 โมงเช้าเป็นเวลาทองของเธอ การแบ่งเวลาของเธอน่าสนใจ

“เราจะสร้างนาฬิกาของเราขึ้นมา My Time เป็นเวลาที่เราจะให้กับสิ่งที่เรารัก เป็นสิ่งแรกที่เราอยากทำมากที่สุดและอยากทำมันให้ดีที่สุด เราจะตื่นมาทำตอนเช้า เพราะไม่เหนื่อย มีแรงทำ มีความคิดสร้างสรรค์ และเงียบ

“ทอเสร็จก็เตรียมอาหารเช้าต่อ แม่เป็นงานที่ลำบากที่สุดตั้งแต่เราทำงานมาทั้งชีวิต” เธอเล่าเจือเสียงหัวเราะ

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

Keep Doing

หลังจากก้าวเข้าวงการด้วยกี่ตะปู พัฒนาเป็นกี่เฟรม จนปัจจุบันเธอใช้กี่หลังใหญ่ในการทอ สิ่งที่ทำให้เราสะดุดตาในผลงานของคุณแม่มือใหม่ คือการทอลวดลายกราฟิกแปลกตา ไม่ใช่การทอลายวิจิตรบรรจงอย่างผ้าไทย หวานบอกว่าเป็นผลพวงจากหนังสือและความรู้ที่เธอเสพ เธอทอผ้าแบบสวีดิช เน้นรูปทรง สี และลวดลาย

หวานเป็นคนชอบทดลองและเรียนรู้ การทอผ้าของเธอก็เหมือนผืนผ้าใบที่เธอจะระบายสีนู้น วาดภาพแบบนี้ จนเกิดลูกเล่นและลายใหม่ แถมเธอยังรวมหลายเทคนิคของการทอผ้าเอาไว้ในผืนเดียวกัน เส้นใยที่เธอเลือกใช้ก็หลากหลาย ทั้งเส้นไหม วูล (ขนแกะ) ไหมพรม ฝ้ายปั่นมือ ฯลฯ ทำให้ผ้าแต่ละผืนของเธอไม่เหมือนใคร

“เราชอบกระบวนการก่อนทอผ้า ตอนออกแบบและจินตนาการว่าอยากทอแบบนี้ ต้องขึ้นเส้นยืนแบบไหน เวลาขึ้นเส้นยืนใหม่ มันเหมือนเราได้เริ่มต้นใหม่ทุกครั้ง ตื่นเต้นตลอดเวลา ถ้าขึ้นเส้นยืนได้หลายสี ยิ่งทำให้งานเราแปลก มีลูกเล่น มันยากนะ แต่ท้าทาย ตอนนี้เราทอผ้ามาสองปี ตั้งใจไว้ว่าจะทอให้ได้เดือนละหนึ่งโปรเจกต์”

ระหว่างสนทนา เธอก็คว้าผ้าทอมาโชว์ ผืนเดียวลายไม่ซ้ำกันเลยก็มี เก๋มาก หวานยิ้มรับด้วยความภูมิใจ และเธอก็หันหลังหยิบผ้าผืนนู้น ผืนนี้มาอวดอย่างต่อเนื่อง พร้อมบอกว่า “ไม่เคยให้ใครดูมาก่อนเลย The Cloud ที่แรก”

แล้วหัวใจสำคัญของการทอผ้าคืออะไร ต้องทอให้แน่นหรือเปล่า เราถามด้วยความสงสัย

“ช่วงแรกเราคิดแบบนั้น ยิ่งแน่นยิ่งสวย ความจริงไม่ใช่เลย หัวใจสำคัญของการทอผ้าสำหรับเรา คือวัตถุประสงค์ของการทอผ้า เราจะทอสิ่งนั้นไปใช้ทำอะไร ถ้าทำกระเป๋าต้องใช้เส้นใยที่หนาและแข็งแรง ทอต้องแน่น ถ้าทอเพื่อสวมใส่ อาจจะใช้เส้นใยที่เล็กลง ดูนุ่มนิ่ม ผ้าทอต้องบาง ทอให้มีระยะห่าง จะใส่สบาย”

เธอปันความเห็น จนเราปรับมุมมอง

Like Mother, Like Daughter

“เราตั้งใจว่าจะไม่ซื้อเสื้อผ้า ถ้าเป็นเสื้อตัวใหม่ต้องมาจากการทอของเราเท่านั้น”
จากงานอดิเรกกลายเป็นความรัก ทุกกระบวนการทอผ้าทำให้เธอเห็นความยากลำบาก กว่าเส้นด้ายจะกลายมาเป็นผ้าหนึ่งผืน กว่าผ้าหนึ่งผืนจะกลายมาเป็นเสื้อผ้าให้เราสวมใส่ หวานเชื่อว่าเสื้อผ้าทุกตัวมีเรื่องราวเบื้องหลังที่มาพร้อมกับคุณค่า เธออยากใช้มันให้คุ้มค่ามากที่สุด เป็นเหตุผลขนาดสั้นที่เธอบอกเราเมื่อถามถึงความตั้งใจในปีนี้

“การทอผ้าทำให้มุมมองชีวิตเราเปลี่ยน จากเดิมเราให้คุณค่ากับข้าวของแบรนด์เนม เดี๋ยวนี้คือไม่เลย คุณค่าของสิ่งของในความคิดของเราเปลี่ยนไปมาก บอกเลยว่า Gucci หรือแบรนด์ไหนก็สู้ของที่ Mommy ทำเองไม่ได้”

(น่ารัก)

หากมองในมุมของมนุษย์แม่ เธอกำลังใช้การทอผ้าเป็นเครื่องมือสอนให้ลูกเห็นคุณค่าของสิ่งของ

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

“ของไม่ได้มีคุณค่าเพราะราคาแพง แต่ของมีคุณค่าเพราะกระบวนการเบื้องหลัง การเดินไปบอกลูกว่า กว่าจะได้เสื้อมันยากนะ ต้องใช้อย่างรู้คุณค่า เขาได้ยิน แต่ไม่เกิดอะไร คนเป็นแม่รู้ดีว่าลูกจะไม่เชื่อในสิ่งที่แม่กำลังพูด แต่เขาจะทำตามในสิ่งที่แม่กำลังทำ เราเอาการทอผ้ามาสอนลูก เขาอยู่กับเราทุกวัน เห็นแม่ขึ้นเส้นยืน ช่วยแม่กรอกระสวย แม่พุ่งเส้นยืน ลูกมานั่งด้วย เขาได้เห็นและลงมือทำกับตัวเอง ภาพต่อไปเขาจะเห็นว่าแม่ไม่ซื้อเสื้อผ้าเลย 

“ถ้าอยากสอนให้เขาเห็นคุณค่าของอะไร เราต้องเห็นคุณค่าของสิ่งสิ่งนั้นก่อน แม่เป็นยังไง ลูกเป็นแบบนั้น”

ปีใหม่ผ่านพ้นเข้ากลางปี คุณแม่คุณลูกได้สวมเสื้อผ้าทอสีสันสดใสของตัวเองเรียบร้อย หวานกระซิบว่าเธอกำลังทอเพื่อตัดเป็นเสื้อตัวที่สอง เป็นเสื้อคลุมสีน้ำตาลตัดกับสีดำ เราอดใจรอไม่ไหวที่จะได้ชมผลงานเสื้อคู่!

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

You’re My Sunshine

“พอมีลูก เรารู้สึกว่าการสร้างผลงานหรือสร้างสิ่งสิ่งหนึ่งขึ้นมา เป็นเรื่องสวยงามและยิ่งใหญ่ ลูกเป็นแรงบันดาลใจให้เราทอผ้า ถ้าไม่มีเขา เราคงทำงานประจำอยู่ อาจไม่ได้เริ่มทอผ้าเลยก็ได้ เพราะเรามีเขา เราเลยมองหางานอดิเรกทุกอย่างที่เราทำ ลูกเห็น เขาเห็นว่าความมุ่งมั่นพยายามคืออะไร เขาเรียนรู้ผ่านสิ่งที่เราทำ เราเห็นเขาเติบโตและงานผ้าของเราก็เติบโตไปพร้อมกับเขาด้วย” เธอเงียบครู่หนึ่ง “คำตอบเราเป็นมนุษย์แม่มากเลย” เธอยิ้ม

อีกหนึ่งความตั้งใจของหวานที่เป็นคุณแม่เต็มเวลาและทอผ้าบ้างเป็นบางเวลา เธออยากให้คนเปลี่ยนมุมมองต่อการทอผ้าว่าเป็นเรื่องยาก ความจริงทุกคนทอผ้าได้ เพียงต้องให้เวลากับมันสักหน่อย หวานเลยอยากชวนทุกคนลองหยิบไหมพรมม้วนเก่าหรือเศษผ้าไม่ใช้แล้ว มาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษลัง มาลองทำพร้อมกันนะ

อุปกรณ์

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

กระดาษลังหรือกระดาษแข็ง

ด้าย ไหมพรม เศษผ้า

กรรไกร

ไม้บรรทัด

เข็มสำหรับไหมพรม

หวี

เส้นไหมพรมสำหรับทำเป็นพู่จำนวน 16 เส้น ยาวเส้นละ 20 เซนติเมตร

วิธีทำ

1. วิธีทำกี่ทอผ้าจากกระดาษลัง

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

ตัดกระดาษลังขนาดกว้าง 6 ซม. ยาว 20 ซม.

วาดเส้นตรงจำนวน 8 เส้น แต่ละเส้นห่างกัน 0.5 ซม.

(ปรับขนาดของกี่ทอผ้า จำนวนเส้นตรงและความห่างได้ตามความชอบ)

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

ใช้กรรไกรตัดตามเส้น ทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อใช้เป็นรูเกี่ยวเส้นด้ายสำหรับขึงแนวดิ่ง (เส้นยืน)

2. วิธีทำอุปกรณ์ช่วยในการทอผ้า

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

กระสวย ตัดกระดาษลังตามภาพ ใช้สำหรับพันเส้นไหมพรมที่ใช้ทอทำที่คั่นหนังสือ

ไม้ขัด ตัดกระดาษลังยาว 8 ซม. กว้าง 1 ซม. ใช้กด-ยกเส้นยืน เพื่อความสะดวกในการทอ

เขา ตัดกระดาษลังยาว 8 ซม. กว้าง 2 ซม. ขีดเส้นตรง 4 เส้น ห่างกัน 1 ซม. ตัดปลายด้านล่างให้พอมีร่อง

3. วิธีขึ้นเส้นยืน

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า
หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

มัดปมด้ายแล้วขึงเส้นยืนให้ตรงเสมอกัน เริ่มจากด้านบน สลับด้านล่าง จนด้ายเส้นสุดท้ายอยูด้านบนของกี่

4. เตรียมทอ

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

สอดไม้ขัดเพื่อยกด้ายเส้นที่ 2, 4, 6, 8 ขึ้น

แล้วดันไม้ขัดขึ้นด้านบนสุด วางไว้เป็นแนวราบ

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

ผูกเขา เพื่อยกด้ายเส้นที่ 1, 3, 5, 7 ขึ้น

5. วิธีทอ

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

เลื่อนไม้ขัดลงมาตรงกลาง ยกตั้งขึ้น แล้วพุ่งกระสวยที่มีไหมพรมใส่เข้าไป (เส้น 2, 4, 6, 8 ยกขึ้น)

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

ยกเขาขึ้นแล้วพุ่งกระสวย (เส้น 1, 3, 5, 7 จะยกขึ้น)

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

ทำทั้งสองขั้นตอนสลับกันไปมาจนเกิดการขัดสานออกมาเป็นผืนผ้า

6. วิธีทำพู่

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

ทำพู่โดยใช้เส้นไหมพรมที่ตัดเตรียมไว้จำนวน 16 เส้น แบ่งออกเป็น 4 ชุด ชุดละ 4 เส้น

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

ใช้ไหมพรม 4 เส้น พับครึ่ง แล้ววางทับลงบนเส้นยืนลำดับที่ 1 และ 2

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

สอดปลายไหมพรมเข้าไปข้างใต้เส้นยืนลำดับที่ 1 และ 2

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

ค่อยๆ เลื่อนลงจนเกิดเป็นพู่

(ทำซ้ำทั้งหมดจนพู่ครบทุกอัน)

7. วิธีเก็บชิ้นงาน

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า

ด้านล่าง เกี่ยวปลายเส้นยืนออกมาได้เลย

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ
หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

ด้านบน ตัดปลายออกมาแล้วมัดทีละคู่ จากนั้นปลายที่เหลืออยู่ใช้เข็มไหมพรมช่วยเก็บได้

หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ
หยิบไหมพรมมาทอเป็นที่คั่นหนังสือด้วยกี่กระดาษทำเอง และสอนลูกด้วยการทอผ้า, กี่กระดาษ, ทอผ้าด้วยตัวเอง, วิธีทอผ้า, วิธีทำที่คั่นหนังสือ

Writer

สุทธิดา อุ่นจิต

สุทธิดา อุ่นจิต

กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ สู่ ลาดพร้าว - สุขุมวิท , พูดภาษาพม่าได้นิดหน่อย เป็นนักสะสมกระเป๋าผ้า ชอบหวานน้อยแต่มักได้หวานมาก

Photographer

Avatar

ชัยวัฒน์ ทาสุรินทร์

โด้เป็นช่างภาพดาวรุ่งจากสาขาศิลปะการถ่ายภาพ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่รักของเพื่อนๆ และสาวๆ ถึงกับมีคนก่อตั้งเพจแฟนคลับให้เขา ชื่อว่า 'ไอ้โด้ FC'