วิกฤตอาหารกลายเป็นหัวข้อใหญ่ที่หลายสื่อนำมาพาดหัว เมื่อ 14 ประเทศประกาศยกเลิกการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร อย่างข้าวสาลี ถั่วเหลือง และน้ำมันพืช โดยบอกเป็นนัย ๆ ว่าแต่ละประเทศเริ่มกักตุนอาหาร เพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศของตนเอง

คำว่า ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ นี้ แปลว่าอะไรกันแน่

และเราในฐานะคนที่ยังต้องกินอาหาร ควรจัดการความมั่นคงทางอาหารของเราอย่างไร

ความมั่นคงทางอาหาร คำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกช่วงหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะชาวโลกเริ่มตระหนักว่าอาหารจะไม่พอต่อปริมาณคนในโลก แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งล่าสุดเมื่อปี 2001 FAO ประกาศไว้ที่กรุงโรมว่า

กลับตัวยังทัน เมื่อความพยายามทำให้อาหารเพียงพอสำหรับทุกคนบนโลกอาจมาผิดทาง

“A situation that exists when all people, at all times, have physical, social and economic access to sufficient, safe and nutritious food that meets their dietary needs and food preferences for an active and healthy life”

แปลแบบให้เข้าใจง่าย

ความมั่นคงทางอาหาร คือ โลกที่ผู้คนเข้าถึงอาหารได้ และอาหารที่ได้มายังมีคุณภาพ ปลอดภัย เพียงพอ เพียบพร้อมไปด้วยสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ เรายังเข้าถึงอาหารตามธรรมเนียมประเพณีของแต่ละคน เข้าถึงอาหารตามความเชื่อและความชอบ เพื่อให้ดำเนินชีวิตไปสู่หนทางที่มีสุขภาพแข็งแรงได้

กลับตัวยังทัน เมื่อความพยายามทำให้อาหารเพียงพอสำหรับทุกคนบนโลกอาจมาผิดทาง
กลับตัวยังทัน เมื่อความพยายามทำให้อาหารเพียงพอสำหรับทุกคนบนโลกอาจมาผิดทาง

จริง ๆ ก็เข้าใจได้ไม่ง่ายเท่าไหร่นัก สงสัยเขาเขียนเป็นภาษาอิตาลี แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกที ก็เลยมีการขยายความต่อ โดยทำเป็นข้อไว้ดังนี้

  1. การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) – อาหารมี ‘คุณภาพ’ ที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ สม่ำเสมอ ซึ่งอาจได้มาจากการผลิตภายในประเทศ การนำเข้า หรือความช่วยเหลือด้านอาหาร
  2. การเข้าถึงอาหาร (Food Access) – ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรภายใต้กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ
  3. การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) – การบริโภคอาหารเพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภค เน้นการมีสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี อาหารในแง่นี้รวมถึงการมีน้ำดื่มที่สะอาด ถูกสุขลักษณะด้วย
  4. การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) – เกี่ยวข้องกับ ‘การมี’ และ ‘การเข้าถึง’ คือทุกคนเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา ไม่มีความเสี่ยงเรื่องอาหารขาดแคลนจากวิกฤตใด ๆ ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ วัฏจักรตามฤดูกาล หรือสภาพภูมิอากาศ

(ข้อมูลจาก : www.sdgmove.com/2021/05/11/sdg-vocab-food-security)

สรุปแบบไม่ต้องแปลได้ว่า ชาวโลกทุกคนต้องมีอาหารที่มีสารอาหารครบ ปลอดภัยต่อการบริโภค เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่จะทำให้สุขภาพแข็งแรงตลอดเวลา

ดูเหมือนว่าความมั่นคงทางอาหารนี้ ถ้าไม่เป็นยูโทเปีย ก็เป็น โค-ต-ร มาร์กซิสม์

คำถามแรกคือ อาหารนี้มาจากไหน ใครผลิต ใครแจกจ่าย

คำถามที่สอง แล้วชาวโลกธรรมดาอย่างเราจะมีสิทธิ์เข้าถึงอาหารเหล่านี้ไหม ถ้าเราไม่มีสตางค์เพียงพอ

คำถามที่สาม คือ เราจะเข้าถึงอาหารเหล่านี้ได้ตลอดเวลาไหม

คำตอบแบบแนวคิดที่ทุกอย่างเป็นไปได้ คือ ได้ ถ้าเรามีที่ทำกิน และผลิตอาหารของตัวเอง เรามีเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ต้องหาซื้อมา เราเลือกไม่ใช้สารเคมีในแปลงผลิตของเรา เรามีทักษะและความรู้ในการผลิตอาหาร เราเลือกปลูกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เราเลี้ยงไก่ หมู และวัว แถมยังมีทักษะในการเชือด และเราเข้าใจฤดูกาล อีกทั้งเรายังเก็บและถนอมอาหารข้ามปีเป็น 

กลับตัวยังทัน เมื่อความพยายามทำให้อาหารเพียงพอสำหรับทุกคนบนโลกอาจมาผิดทาง
กลับตัวยังทัน เมื่อความพยายามทำให้อาหารเพียงพอสำหรับทุกคนบนโลกอาจมาผิดทาง
กลับตัวยังทัน เมื่อความพยายามทำให้อาหารเพียงพอสำหรับทุกคนบนโลกอาจมาผิดทาง
กลับตัวยังทัน เมื่อความพยายามทำให้อาหารเพียงพอสำหรับทุกคนบนโลกอาจมาผิดทาง

แต่มันฟังดูอุดมคติเข้าไปอีก เพราะความมั่นคงทางอาหารดูจะโลกสวยไปไกลเลย เพราะไม่ใช่ทุกคนจะมีที่ดิน (Land Right and Land Grabbing Problem) ไม่ใช่ทุกคนจะมีเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เพาะปลูกและเก็บพันธุ์ไว้สำหรับฤดูกาลต่อไปได้ (CPTPP และ UPOV) และไม่ใช่ทุกคนจะมีทักษะการผลิตอาหารให้กับตัวเอง ไม่เพียงแค่ผลิต แต่ทักษะการทำอาหารยังค่อนข้างยาก และทักษะการเก็บอาหารข้ามฤดูเป็นสิ่งที่หลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน

ก็เพราะชาวโลกทุกคนทำแบบนั้นไม่ได้ เราจึงเลือกให้คนอื่น ๆ ผลิตอาหารให้เราแทน เราจึงเชื่อการเข้าถึงทรัพยากรอาหารภายใต้กฎหมาย และปรัชญาเศรษฐกิจที่ชาวโลกเห็นพ้องต้องกัน

และทางเลือกของเรา ทำให้เราเผชิญหน้ากับสถานการณ์วิกฤตอาหารโลก รวมไปถึงความไม่มั่นคงทางอาหารทั้งระดับประเทศและระดับปัจเจกบุคคล 

ถ้าเรามองภาพใหญ่ว่าอาหารบนโลกจะพอเลี้ยงทุกคนไหม ด้วยกำลังการผลิตและเทคโนโลยีแบบที่เป็นผลมาจากการปฏิวัติเขียว ลงทุนในงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืช เทคโนโลยีเครื่องจักรกลในการเกษตร ทำทุกทางที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรอย่างพอดี ๆ และมีการแจกจ่ายที่สมดุลเป็นธรรมกับชาวโลก เราก็คงมีอาหารเหลือเฟือ แต่เราได้ผลิตและผลิตอีก ผลิตให้ได้มากที่สุด ล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหาร โดยมิได้คำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพองค์รวมของผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

การพยายามผลิตอาหารแบบที่เราทำได้ประมาณ 50 ปี ไม่เพียงแต่หยุดความหิวโหยไม่ได้ แต่ยังสร้างปัญหาตามหลังมามากมาย อย่างวิกฤตสภาพอากาศ การตกค้างของสารเคมีในการเกษตร ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลทั่วโลก การบุกรุกผืนป่าที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก การสร้างอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และที่สำคัญ การผลิตอาหารแบบที่เราผลิต การบริโภคแบบที่เราบริโภคอยู่ ได้สร้างความไม่มั่นคงทางอาหารให้กับโลกของเรา

ความมั่นคงทางอาหาร : เมื่ออุตสาหกรรมอาหารไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการมีอาหารเพียงพอกับทุกคนบนโลก
ความมั่นคงทางอาหาร : เมื่ออุตสาหกรรมอาหารไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการมีอาหารเพียงพอกับทุกคนบนโลก

หรืออาจเป็นไปได้ ถ้าเราจัดการวิกฤตสภาพอากาศได้ หยุดยั้งการบุกพื้นที่ป่าได้ ใช้พลังงานทางเลือกที่ไม่พึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลาสติกจากปิโตรเคมี ทำการเกษตร ปศุสัตว์ และประมงอย่างเป็นธรรมชาติและยั่งยืน มีกฎหมาย ข้อตกลง และนโยบายของโลก ที่เอื้อต่อการทำทั้งหมดด้านบนอย่างเข้าใจบริบทของแต่ละประเทศ และมีผู้นำที่ตระหนักเรื่องความยั่งยืนทางอาหาร โดยใช้ความเป็นมนุษย์เป็นที่ตั้ง และสร้างการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียม แจกจ่ายแบ่งปันอาหารแบบที่ควรจะเป็น

เพราะทุกอย่างเริ่มต้นได้ที่เรา และเราเป็นที่พึ่งแห่งตน เราเริ่มสร้างความยั่งยืนให้กับความมั่นคงทางอาหารของเราได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากการกินพืชเศรษฐกิจและปลาเศรษฐกิจให้น้อยลง แล้วหันมาลองกินผลผลิตทางการเกษตรพื้นบ้าน พื้นถิ่น อย่างหลากหลายทางชีวภาพ ที่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย หันมาเข้าใจฤดูกาลและเกื้อกูลธรรมชาติ กินน้อยแต่กินอย่างมีคุณภาพ เราจะได้ไม่สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาผลิตอาหารไปโดยสิ้นเปลือง

มหาตมะ คานธีเคยกล่าวไว้ว่า

“There’s enough on this planet for everyone’s needs but not for everyone’s greed” 

บนโลกใบนี้มีทรัพยากรพอสำหรับความจำเป็นของทุก ๆ คน แต่ไม่พอสำหรับความตะกละตะกลาม โลภมากของเราทุกคน

Writer

Avatar

ดวงพร ทรงวิศวะ

ดวงพร ทรงวิศวะ เกิดและโตที่กรุงเทพฯ จบการศึกษาทางด้านโภชนศาสตร์จากประเทศออสเตรเลีย อาหาร ประวัติศาสตร์ นโยบายการเมือง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำเกษตร และเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่เชฟโบสนใจและนำมาประยุกต์ใช้กับการปรุงอาหารที่โบ.ลาน เชฟโบได้รับเกียรติเป็นเชฟหญิงที่ดีที่สุดของเอเชีย เมื่อปีพุทธศักราช 2556 หลังจากเปิดโบ.ลานได้ 4 ปี ทุกวันนี้เชฟยังมีความสุขกับการค้นหาสูตรอาหารที่คนหลงลืม ชิมรสชาติของพืชผักพื้นบ้าน และตีความอาหารไทยไปในทิศทางต่างกันตามแต่ละกรณี

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล