“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” 

สำหรับเด็กสักคนที่ยังไม่มีคำตอบให้ตัวเอง คงอยากรู้ว่าโตขึ้นไปแล้วจะเป็นอะไรได้บ้าง การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เห็นความเป็นไปได้ในหลายๆ ด้าน และเติบโตขึ้นมาในเส้นทางที่เขาต้องการจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใกล้-ไกล หรือที่ใดก็ตาม

บนดอยสูงเหนือสุดแดนสยาม หนึ่งพื้นที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อเด็กและเยาวชน ในชื่อ ‘ศูนย์เด็กใฝ่ดี (โครงการพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กและเยาวชน)’ ในที่แห่งนี้พวกเขาจะได้เป็นตัวของตัวเอง ทั้งร้อง เล่น กีฬา หรือไม่ว่ามีความถนัดแบบไหน พวกเขาจะได้เรียนรู้และทดลองทำกิจกรรมมากมายเพื่อค้นหาตัวเอง และศูนย์เด็กใฝ่ดียังเปิดสาธารณะให้ทั้งครอบครัวมาใช้เวลาร่วมกันได้ อีกนัยหนึ่งที่สำคัญของการมีแหล่งให้รวมตัวกันฝึกฝนอาชีพ และมองเห็นอนาคตตัวเองได้เช่นนี้ ยังช่วยให้เยาวชนก้าวหนีจากยาเสพติดไปแบบไม่เห็นฝุ่น

ฟังแล้วคอลัมน์ Public Space อยากยกให้เป็นต้นแบบพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์อีกหนึ่งแห่ง ที่ทั้งคุณพ่อคุณแม่และเด็กๆ ใฝ่ฝันหา เราเลยนัดหมายพูดคุยกับหัวหน้าแก๊งของเด็กๆ จากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิสิษฐ์อร รัชตะนาวิน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ ถึงเบื้องหลังพื้นที่เล็กๆ ให้เด็กๆ ได้ปล่อยพลัง

วิสิษฐ์อร รัชตะนาวิน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

เด็กเอ๋ยเด็กดี

เมื่อถามถึงที่มาที่ไป คงต้องเท้าความไปถึงโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เดิมพื้นที่แห่งนี้มีปัญหาเรื่องการปลูกฝิ่น ยาเสพติด ไปจนถึงการตัดไม้ทำลายป่า จึงจัดตั้งโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ขึ้นมาเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพอย่างหลากหลาย ให้คนในพื้นที่ไม่ต้องทำเช่นเดิมอีก 

แต่ด้วยโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ปัญหาและความต้องการของชุมชนก็เปลี่ยนแปลง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงลงสำรวจพื้นที่ 29 หมู่บ้านครบทุกชนเผ่า เพื่อพูดคุยกับทั้งกลุ่มผู้นำ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจในหมู่บ้าน เพื่อหาว่าอะไรคือปัญหาและความต้องการของพวกเขา

ตัวแทนทีมงานที่ได้ลงไปคุยกับน้องๆ จริงๆ และยังเป็นคนในพื้นที่ (ชนเผ่าไทใหญ่) อย่าง อรอุมา นามย่วก ผู้ช่วยผู้จัดการส่วนงานพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่วนงานพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่และค่ายเด็ก มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เล่าหนึ่งในปัญหาที่พบเรื่องเด็กและเยาวชน ว่ามีเด็กบางกลุ่มไม่สนใจการเรียนแล้วออกไปรวมกลุ่มกัน ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

“พวกเขาไม่มีสถานที่ให้มารวมตัวกันหรือปล่อยพลัง อีกอย่างคือไม่มีกิจกรรมเจ๋งๆ คูลๆ ให้เขาได้ดู จนอาจทำให้พวกเขาใช้เวลาว่างในทางที่ไม่ดีได้”

วิสิษฐ์อรเล่าถึงเสียงสะท้อนจากทั้งฝั่งผู้ปกครองและเยาวชนในวันที่ลงพื้นที่ ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนสำคัญในการพัฒนาอันยั่งยืนของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนในดอยตุงโดยเฉพาะเด็กๆ 

 “การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้คนไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ต้องให้ทุกคนในชุมชนช่วยกันพัฒนาพื้นที่ต่อ โดยเฉพาะการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในผู้นำรุ่นต่อๆ ไป เพราะฉะนั้น ต้องเริ่มที่เด็กและเยาวชน เราเลยใช้พื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกหมู่บ้านมาสร้างประโยชน์”

ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะบนดอย ให้เยาวชน 29 หมู่บ้านเล่นสนุกและค้นหาอาชีพในฝัน
ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะบนดอย ให้เยาวชน 29 หมู่บ้านเล่นสนุกและค้นหาอาชีพในฝัน

ศูนย์เด็กใฝ่ดี

เมื่อคุยกับผู้ปกครอง คุณครู และผู้นำชุมชนแล้วว่าจะสร้างพื้นที่ร่วมกัน จากนั้นพี่ๆ ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงปรับโฉมอาคารเก่าขนาด 5 ไร่ของศูนย์ฝึกอาชีพสำหรับคนทอผ้า ซึ่งถูกทิ้งร้างหลังมีศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ แล้วยกให้เป็นพื้นที่สำหรับเด็กๆ

“เราพาเด็กๆ มาที่นี่สามถึงสี่ครั้ง มาวัดพื้นที่จริง ตีตาราง แล้วระดมความคิดกันว่าพวกเขาต้องการอะไร อยากได้กิจกรรมแบบไหน แล้วถ้ามีอาคารที่เป็นของพวกเขาอยากให้มีอะไร จากนั้นทีมงานก็นำไปคุยกับผู้ใหญ่และนักออกแบบต่อไป ว่าเราดัดแปลงหรือทำอะไรกับสิ่งที่มีได้บ้าง”

อาคารใหม่ 2 หลังในชื่อ ศูนย์เด็กใฝ่ดี จึงถือกำเนิดขึ้นให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตและพัฒนาตนเองของเด็กๆ ในพื้นที่

“ดอยตุงโชคดีอย่างหนึ่งคืออากาศค่อนข้างเย็นตลอดปี เลยออกแบบให้อาคารโปร่งโล่ง มีหน้าต่างเยอะเพื่อให้อากาศถ่ายเท ใช้สีโทนสว่างเพื่อลดการใช้แสง โดยการออกแบบตัวห้องในช่วงแรก เรายึดตามกิจกรรมถาวรที่มีอยู่” วิสิษฐ์อรเล่า ก่อนเน้นว่าการออกแบบศูนย์แห่งนี้พึ่งพาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และแบ่งฟังก์ชันการใช้สอยตามใจเด็กๆ 

ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะบนดอย ให้เยาวชน 29 หมู่บ้านเล่นสนุกและค้นหาอาชีพในฝัน

“พอเราดัดแปลงจากอาคารที่มีอยู่แล้ว อิงโครงสร้างจากตึกเดิม แม้มีห้องกิจกรรมถาวร แต่ถ้าบางห้องไม่มีใครใช้งาน เราก็จะผลัดใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป” อรอุมาเสริมถึงการใช้อาคารในส่วนอื่นๆ

ที่นี่ประกอบไปด้วย 9 ห้องหลัก อย่างห้องเต้น ทำเป็นเหมือนสตูดิโอ มีกระจกรอบด้าน จอทีวี และระบบเสียงครบครัน

ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะบนดอย ให้เยาวชน 29 หมู่บ้านเล่นสนุกและค้นหาอาชีพในฝัน

ห้องทำอาหารของ Junior Chef เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบในพื้นที่

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

แถมยังมีชมรม Faidee Cafe ให้น้องๆ ได้ฝึกทำเครื่องดื่มโดยเฉพาะ

ห้องกิจกรรมของชมรมคราฟต์ พัฒนามาจากชมรมช่างไม้ มีกิจกรรมใหม่ให้ลงมือทำผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

นอกจากห้องชมรมที่สัมพันธ์กับการฝึกอาชีพแล้ว ยังมีพื้นที่เปิดให้เด็กๆ เข้ามาใช้ได้ อย่างห้องสมุดและ Co-working Space ที่จะนั่งทำรายงานหรือทำกิจกรรมกับที่ไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ก็ได้ และยังมีห้องดนตรี ห้องทำอาหาร ห้องศิลปะ โรงหนัง ห้องกิจกรรม ห้องธนาคาร และห้องสำนักงานอยู่ภายใต้พื้นที่เดียวกันนี้ด้วย

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น
จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น
จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

สำหรับสนามหญ้าด้านนอกอาคาร มี Faidee Academy หรือชมรมฟุตบอลให้ใช้ซ้อมแข่งขันของทีมเยาวชน ซึ่งเคยลงสนามจริงและคว้าถ้วยรางวัลมาแล้ว

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

ส่วนสวนและต้นไม้ใหญ่ที่เห็น ก็ตั้งใจรักษาไว้และเปิดเป็นห้องเรียนธรรมชาติ ให้เจ้าตัวเล็กมาใช้เวลาเรียนรู้ใต้ร่มไม้

เล่น รู้ ลอง

เห็นศูนย์เด็กใฝ่ดีอายุราว 2 ปีกว่าสีสันสดใสแบบนี้ วิสิษฐ์อรเล่าติดตลกให้ฟังว่า เมื่อก่อนมีผู้ปกครองหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าที่นี่เป็นศูนย์เด็กเล็กหรือเนอสเซอรี่ ทีมงานเลยลงไปประชาสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อบอกว่าไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโตก็มาทำกิจกรรมที่นี่ได้ 

สำหรับเด็กต่ำกว่า 8 ขวบ มาใช้สนามเด็กเล่นได้ แต่ควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง ส่วนเด็กที่พอรู้เรื่อง ก็มีหลักสูตรให้พวกเขาได้เรียนรู้อาชีพต่างๆ ในสนามจำลองอาชีพ

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

“เด็กอายุแปดถึงสิบสองปี จะอยู่ภายใต้กิจกรรมหลักสูตรสิบอาชีพให้เขาได้ค้นหาตัวเอง ว่าชอบหรือสนใจอะไร อาชีพที่เราเลือกมา อิงจากศักยภาพของพื้นที่ดอยตุงและความต้องการของตลาด นอกจากช่วยให้รู้จักตัวเองแล้ว เด็กก็จะได้เห็นคุณค่าของพื้นที่ไปในตัว” อรอุมา หนึ่งในทีมงานอธิบายถึงหลักสูตรที่ช่วยกันพัฒนาขึ้น 

วิธีการที่พวกเขาจัดสรรเป็นกิจกรรม ล้วนผ่านการปรึกษากับผู้ที่ทำอาชีพนั้นหรือผู้เชี่ยวชาญจริงก่อนมาสอน และไม่ลืมดูความต้องการของโลกยุคปัจจุบัน เลยทำให้ในหนึ่งปีมีถึง 10 – 12 อาชีพหมุนเวียนมาให้เด็กๆ ได้ทดลองเล่น 

อย่างหลักสูตรบาริสต้า จัดตั้งขึ้นเพราะดอยตุงเป็นแหล่งผลิตกาแฟ ทีมงานได้ไปขอความรู้จากพี่ๆ บาริสต้า คาเฟ่ดอยตุง รวมถึงพาเด็กๆ ออกนอกพื้นที่ไปเปิดประสบการณ์กับวิสาหกิจชุมชน รวมถึงร้านกาแฟในเชียงราย

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน ก็ได้คุณหมอช่วยคิดหลักสูตรสั้นๆ จนได้เห็นเด็กๆ แต่งชุดกาวน์แล้วฝึกปฐมพยาบาลกันอย่างสนุกสนาน

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น
จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

สำหรับเด็กโตระดับมัธยมศึกษาที่เริ่มรู้แล้วว่าตัวเองต้องการอะไร ก็มีหลักสูตรเสริมประสบการณ์หรือชมรมให้มาจับกลุ่มรวมตัวกัน เพื่อทำสิ่งที่พวกเขารักใน 8 ชมรม ได้แก่ ชมรมบาริสต้า ทำอาหาร ดนตรี เต้นและแสดง ฟุตบอล มัคคุเทศก์ ชมรมคราฟต์ และถ่ายภาพ

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

เจนนี่-สุมิษา คำมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่จันวิทยาคม ตัวแทนน้องจากชมรมเต้น เล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้ หลังเลิกเรียนเธอได้แต่อยู่บ้าน ก่อนพบว่าที่ศูนย์เปิดให้ตั้งกลุ่มชมรมที่ชอบ เธอรู้ว่ามีชมรมเต้นจึงเป็นกลุ่มแรกๆ ที่มาฝึกซ้อม และดึงเพื่อนๆ เข้ามาได้อีกหลายสิบคน

เมื่อเด็กโตฝึกซ้อมกันอย่างเต็มที่ ศูนย์เด็กใฝ่ดีแห่งนี้ก็มีเวทีให้ได้ลองปล่อยของ อย่างงานสีสันแห่งดอยตุงที่จัดขึ้นประจำทุกปี น้องชมรมเชฟที่ผ่านการคัดเลือก จะมาออกร้านค้าขายจริงในงาน ส่วนน้องชมรมเต้นก็ได้มาแสดงการเต้นประจำชนเผ่าและเต้นคัฟเวอร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนคิดและออกแบบกันเองทั้งสิ้น

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น
จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

“พี่ๆ ให้เรามีส่วนร่วม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำตั้งแต่แรก เราเลยมีพื้นที่ที่ได้เจอคนที่ชอบสิ่งเดียวกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เหมือนตัวเราเองก็ได้เรียนรู้และโตขึ้นด้วย” สาวน้อยนักเต้นเล่าตาหยี

ที่สำคัญ กิจกรรมในชมรมต่างๆ อย่างการนำเที่ยวในฐานะมัคคุเทศก์เด็กหรือออกบูทขายอาหาร ยังสร้างรายได้เป็นค่าขนมให้พวกเขา ทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ว่ากิจกรรมเหล่านี้กลายเป็นอาชีพในอนาคตได้

พัฒนาต่อไปไม่หยุดยั้ง

แต่กว่าที่นี่จะประสบความสำเร็จจนได้เห็นเด็กๆ แสดงความสามารถ และมีเด็กเกือบ 1,000 คน เข้ามาเป็นสมาชิกทั้งวิสิษฐ์อรและอรอุมาบอกว่าการสร้างศูนย์บนดอยสูงแห่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย

“ความท้าทายแรกคือ จะทำยังไงให้น้องๆ มองว่าอาชีพเหล่านี้เป็นเรื่องสนุก ชวนให้พวกเขาค้นหาคุณค่าของตัวเอง ให้พวกเขามีสิ่งยึดเหนี่ยวแทนการยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และต้องเป็นสิ่งที่ต่อยอดได้จริงในอนาคต ซึ่งเราก็คอยอัปเดตให้ทันกับความต้องการของเด็กอยู่เสมอ” อรอุมาบอกถึงเรื่องยากของการพัฒนาหลักสูตร ก่อนวิสิษฐ์อรเสริมถึงอุปสรรคอีกข้อที่พบ

“เรื่องที่ตั้งของศูนย์ก็เป็นอีกข้อหนึ่ง เพราะสำหรับเด็กๆ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เดินทางมาลำบาก อย่างหมู่บ้านติดชายแดนเขาก็อยากมาแต่มาไม่ได้ เราเลยแก้ปัญหาด้วยการจัดรถรับส่งวันเสาร์-อาทิตย์ให้พวกเขา”

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

ไม่มีปัญหาใดแก้ไขไม่ได้ การก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ เกิดจากการรับฟังข้อเสนอและผลตอบรับในทุกระยะที่ดำเนินโครงการ มากไปกว่านั้น สิ่งที่ช่วยให้ศูนย์เด็กใฝ่ดีก้าวสู่ปีที่ 3 อย่างมั่นคงและแตกต่างจากที่อื่นๆ คือการมีส่วนร่วมของชุมชน 

“โชคดีที่เรามี Stakeholder (ผู้มีส่วนได้เสีย) ที่แน่นอนอย่างคนในพื้นที่ดอยตุง เพราะฉะนั้น เราได้เรียนรู้การทำพื้นที่จากเด็กๆ เอง แล้วเราก็รู้จักทั้งผู้ปกครองและผู้นำชุมชน เลยชวนทุกคนมาช่วยกันคิด ช่วยกันทำได้ สิ่งนี้เป็นตัวเสริมให้ศูนย์เด็กใฝ่ดีเป็นพื้นที่สาธารณะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจริงๆ” วิสิษฐ์อรกล่าวย้ำถึงข้อสำคัญ ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นของทุกคนบนดอยตุงอย่างแท้จริง

จากอาคารส่งเสริมการทอผ้าเก่าบนดอยตุง สู่ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่สาธารณะที่ให้เด็กๆ มาสนุกกับการค้นหาสิ่งที่อยากเป็น

สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ก็คุ้มค่า และตรงวัตถุประสงค์โครงการที่ตั้งใจไว้

ตัวแทนฝ่ายเด็กๆ อย่างน้องเจนนี่ก็ดีใจที่ได้มีพื้นที่เป็นของตัวเอง จนค้นพบความฝันว่า วันหนึ่งอยากจะเป็นนักแสดงในระดับต่างประเทศให้ได้ รวมถึงอยากกลับมาช่วยน้องๆ ในพื้นที่ดอยตุงซึ่งเป็นบ้านเกิดของตัวเอง สานต่อความฝัน 

ส่วนผู้ปกครองเองก็ลงความเห็นว่า ดีใจที่ได้เห็นลูกหลานใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์ แถมยังได้มีบทสนทนากับเด็กๆ มากขึ้น สำหรับผู้นำชุมชน มองว่าเป็นกิจกรรมที่เสริมเวลาว่างได้ดี เกิดเป็นความร่วมมือขยายกว้างขึ้น และถ้าหากมีกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนในแง่มุมอื่น ศูนย์เด็กใฝ่ดีจะเป็นที่แรกที่พวกเขาคิดถึงและเข้ามาใช้งาน

เมื่อเราถามถึงก้าวต่อไปของศูนย์เด็กใฝ่ดี ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน

วิสิษฐ์อรว่าสำหรับเป้าหมายระยะสั้น จะเป็นการปรับปรุงหลักสูตรให้หลากหลายขึ้น จนเด็กๆ ค้นพบเส้นทางของตัวเอง ส่วนในระยะยาว จะทำให้เยาวชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน ช่วยกันดูแลและพัฒนาพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนให้พวกเขาได้ประกอบอาชีพอย่างที่ตั้งใจได้จริง

ก่อนจบบทสนทนา วิสิษฐ์อรทิ้งท้ายว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อเด็กๆ คือการฟังเสียงของพวกเขา

“ฟังเด็กให้เยอะๆ ว่าพวกเขาต้องการอะไร ใช้ความคิดของพวกเขาเป็นตัวตั้ง รวมถึงเราต้องไม่ลืมผู้ปกครอง คุณครู ไปจนถึงผู้นำชุมชนที่ต้องฟังให้ครบ แล้วก็พัฒนาต่อไปอย่าหยุดยั้ง”

ภาพ : ศูนย์เด็กใฝ่ดี

ศูนย์เด็กใฝ่ดี (โครงการพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กและเยาวชน) จังหวัดเชียงราย (แผนที่)

เปิดวันอังคาร – อาทิตย์ 

เวลา : 08.00 – 17.00 น.

โทรศัพท์ : 08 1724 1636

Facebook : ศูนย์เด็กใฝ่ดี

Writer

ฉัตรชนก ชโลธรพิเศษ

ฉัตรชนก ชโลธรพิเศษ

ชาวนนทบุเรี่ยน ชอบเขียน และกำลังฝึกเขียนอย่างพากเพียร มีความหวังจะได้เป็นเซียน ในเรื่องขีดๆ เขียนๆ สักวันหนึ่ง

Photographer

Avatar

มงคลชัย ไชยวงค์

ออกเดินทาง เพื่อเข้าใจความเป็นมนุษย์ ผ่านวิถีชาติพันธุ์ ผู้หลงรักความเป็นวัฒนธรรมต่างถิ่น