เมื่อฝนเริ่มทิ้งช่วง ลมหนาวเริ่มค่อยๆ ปะทะผิวหน้า เป็นสัญญาณของการเข้าสู่ฤดูหนาวที่น่าจะเป็นฤดูโปรดของใครหลายคน การเริ่มต้นเปิดปฏิทินหาวันหยุดยาวเพื่อออกเดินทางไปสัมผัสลมหนาวทางเหนือของประเทศน่าจะเป็นคำตอบของใครหลายๆ คน 

แน่นอน เราก็เช่นกัน 

ทุกปีเราจะต้องคำนวณวันลาพักร้อนที่เหลือ และดูวันหยุดยาวที่สามารถพาตัวเองนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ จุดประสงค์ของเราอาจแตกต่างกับคนอื่นตรงที่การนั่งรถไฟคือเป้าหมายหลัก และเชียงใหม่คือเป้าหมายรอง

อันนี้พูดจริง คนอื่นอาจจะคิดว่าการนั่งรถไฟคือการแบกตัวเองจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับเรานั้น มันคือการเที่ยวตั้งแต่วินาทีที่เท้าเหยียบสถานีรถไฟ และเวลาไปเชียงใหม่หลายคนจะเลือกขบวนที่ออกเย็นถึงเช้า ออกหัวค่ำถึงสาย 

นั่นไม่ใช่สำหรับข้าพเจ้า ขบวนที่เราจิ้มนิ้วเลือกทุกครั้งคือขบวนนอกสายตา ขบวนเก็บตก ขบวนที่ออกดึกไปถึงเที่ยง และนั่นคือรถด่วนขบวนสุดท้าย

เพราะมันเหมาะกับการเที่ยวบนรถไฟที่สุดยังไงล่ะ 

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

รถด่วนขบวน 51 คือรถด่วนมุ่งหน้าไปเชียงใหม่ขบวนสุดท้ายของทุกค่ำคืน มันออกจากกรุงเทพฯ 4 ทุ่มตรงและถึงเชียงใหม่เที่ยงวัน แน่นอนว่ามันคือตัวเลือกสุดท้ายของใครหลายๆ คน ด้วยเวลาปลายทางที่สุดแสนจะสาย เจ้ารถไฟความยาวแบบมินิมอลที่สมควรเรียกว่ารถด้วนมากกว่ารถด่วนมีส่วนผสมของตู้นั่งชั้นสามพัดลม ตู้นั่งชั้นสองพัดลม และตู้นอนชั้นสองแอร์ นอกจากมีหน้าที่เป็นยานพาหนะในการเดินทางแล้ว มันยังทำหน้าที่เสริมเป็นเหมือนแกลเลอรี่เคลื่อนที่ ซึ่งแสดงภาพศิลปะผ่านหน้าต่างบานใหญ่ของตู้โดยสารแต่ละตู้

เหล่าคนชอบรถไฟเกือบทุกคนนั้นต้องนั่งสักครั้งในชีวิต จนถูกขนานนามว่า ‘รถด่วนในตำนาน’ แบบว่าถ้าคุณเป็นแฟนรถไฟแล้วยังไม่เคยนั่งขบวนนี้ถือว่าเป็นบาปมาก

จากกรุงเทพฯ ถึงอุตรดิตถ์ คือช่วงที่รถไฟวิ่งผ่านราตรีเกือบ 500 กิโลเมตร และจากอุตรดิตถ์ถึงเชียงใหม่เพียงแค่ประมาณ 200 กิโลเมตร มันคือห้องจัดแสดงภาพธรรมชาติ เพราะเจ้าด่วน 51 ได้เผยโฉมหน้าของเส้นทางรถไฟสายเหนือที่ซ่อนความสวยงาม ซึ่งการนั่งรถยนต์หรือเครื่องบินนั้นให้ไม่ได้

 การถ่ายรูปสองข้างทางจากหน้าต่างขบวน 51 จึงเป็นกิจกรรมที่สนุกมากเมื่อคุณเดินทางกับมัน ภาพถ่ายแต่ละภาพร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าได้มากมาย และไม่น่าเชื่อว่าทุกครั้งที่เดินทางเราก็จะถ่ายภาพมุมเดิมๆ ที่เดิมๆ วิวเดิมๆ ซึ่งมันไม่เคยเหมือนกันเลยสักครั้ง

และนี่คือแกลเลอรี่ของขบวน 51 ที่เรารวบรวมจากการเดินทางกับขบวนนี้มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

แกลเลอรี่ห้องที่ 1

ยามเช้าที่เขาพลึง

‘สถานีศิลาอาสน์’ เป็นนาฬิกาปลุกในยามเช้าหลังจากที่ด่วน 51 วิ่งห้อตะบึงมาทั้งคืน ศิลาอาสน์จึงเป็นจุดเติมพลังงานของเจ้ารถจักรผู้แข็งขัน ก่อนที่จะใช้พละกำลังอีกมากไต่ภูเขาอีกหลายร้อยกิโลเมตรเพื่อมุ่งหน้าไปเชียงใหม่ นอกจากรถไฟแล้ว คนที่นั่งมาก็เลือกเติมพลังจากอาหารอร่อยๆ ที่มาขายถึงชานชาลาได้ด้วย

จากอุตรดิตถ์ไปจนถึงแพร่นั้นมีภูเขาพืดหนึ่งขวางเอาไว้ มันชื่อว่า ‘เขาพลึง’ จริงๆ แล้วเขาพลึงไม่ใช่กำแพงที่สูงมากนัก ระยะเวลา 1 ชั่วโมงจากสถานีศิลาอาสน์ไปถึงเด่นชัยนับได้ว่าเป็นแค่อาหารเรียกน้ำย่อยของการเดินทาง ทุ่งนาสองข้างทางเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลทองล้อกับแสงแดดตอนเช้า สลับกับภาพของบ้านเรือนและชุมชนริมทางรถไฟที่เริ่มมีชีวิตชีวาขึ้นในช่วงเช้า

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘สถานีปางต้นผึ้ง’ คือสถานีรถไฟแรกก่อนขึ้นเขา สถานีที่ซุกตัวอยู่ในโค้ง เมื่อมองตรงไปจะเห็นทางรถไฟค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นเนินสูงขึ้นเบื้องหน้า ไอหมอกจางๆ ตัดกับสีเขียวของต้นไม้ กระตุ้นความตื่นตัวให้อยากจะสอดส่องสายตาไปทุกที่ ยิ่งช่วงหน้าหนาวยิ่งรู้สึกดีขึ้นไปอีกที่ใบหน้าได้ปะทะกับลมเย็นจัดจนหนาวหูและกลิ่นจางๆ ของน้ำค้างบนยอดหญ้า 

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘ปางตูบขอบ’ อุโมงค์แรกที่ต้อนรับเราสู่รถไฟสายเหนือ ความยาวของมันแค่อึดใจ ลอดและผ่านไปในความมืดไม่เกิน 30 วินาที เจ้าอุโมงค์นี้เป็นถ้ำลอดที่สั้นที่สุดของประเทศ ด้วยไซส์ที่มินิมอลดูน่ารักน่าชัง ทำให้เจ้าอุโมงค์นี้เมื่อมองจากท้ายขบวนรถจึงดูเหมือนเป็นช่องอะไรสักอย่างที่ดูตะมุตะมิอย่างบอกไม่ถูก

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘บ้านหนองน้ำเขียว’ ที่ซุกตัวอยู่ใต้ระดับทางรถไฟ จริงๆ ต้องบอกว่ามันคือหมู่บ้านในหุบเขาที่ถูกล้อมไว้ด้วยภูเขาทั้ง 4 ทิศ ฝั่งหนึ่งคือทางรถไฟที่สูงเหนือหลังคาบ้าน อันนี้บอกไม่ได้จริงๆ ว่าถ้าเราอยู่ในหมู่บ้านนี้จะมีความรู้สึกอย่างไร หรือจะเห็นภาพรถไฟเป็นแบบไหน แต่ที่แน่ๆ จินตนาการมันพาไปถึงภาพกลางคืนในวันที่ดาวเต็มฟ้า มีอากาศเย็นๆ ปะทะตัว เสียงเครื่องยนต์ดังสนั่นค่อยๆ เพิ่มเสียงขึ้นจากหลืบเขา และปรากฏรถไฟขบวนยาวเหยียดเป็นแสงไฟเส้นยาวเคลื่อนตัวอยู่มุมสูงในความมืดนั้น ก่อนที่จะค่อยๆ หายไปพร้อมกับเสียงแห่งราตรีที่เข้ามาแทนที่ขบวนรถไฟนั้น 

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘เขาพลึง’ ไม่ทันได้เก็บกล้องจากบ้านหนองน้ำเขียว ตามธรรมชาติคนนั่งรถไฟที่ชมวิวย่อมต้องมองออกไปด้านนอกอยู่แล้ว ยิ่งเข้าโค้งก็ยิ่งชอบดูหัวรถไฟผ่านหน้าต่างนั้น จู่ๆ รถไฟก็วิ่งเลี้ยวเข้าไปในหลืบเขาที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ แล้วหายเข้าไปในช่องอุโมงค์ที่อยู่เบื้องหน้า นั่นคืออุโมงค์เขาพลึงที่ยาวเป็นอันดับ 3 ในประเทศ ความมืดภายในอาจดูลุ้นว่าเมื่อไหร่จะถึงปลายอุโมงค์อีกฝั่ง แต่บอกเลยว่าอยากให้ลองสังเกตภายในอุโมงค์ดูว่ามันแตกต่างกับอุโมงค์แรก ตรงที่ผนังของอุโมงค์เขาพลึงมีความเป็นเนื้อหินตะปุ่มตะป่ำอย่างเห็นได้ชัด

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘จากยอดเขาสู่ที่ราบ’ เมื่อออกจากอุโมงค์เขาพลึงแล้วคงรู้สึกได้ว่าเสียงสนั่นของเครื่องยนต์เบาลง เสียงล้อเหล็กที่บดกับรางเหล็กได้ยินชัดเจนขึ้น นั่นเป็นเพราะว่านี่คือทางลงเขาแล้ว ระหว่างทางไม่ได้มองเห็นหน้าผาหรือสันเขาอะไรเหมือนกับขาขึ้น มองไปรอบๆ จะเห็นความเป็นธรรมชาติอยู่รอบตัวสลับกับสิ่งปลูกสร้าง ถนนสาย 11 ที่วิ่งคู่ไปกับรถไฟให้เห็นเป็นระยะๆ หมู่บ้านกลางป่าที่ห้วยไร่ สถานีรถไฟแม่พวกที่เหลืออาคารไม้ 2 ชั้นให้เราเห็นอดีตสถานีที่เคยใช้งานมา ก่อนท่ามกลางป่าต้นสักที่อุดมสมบูรณ์ เผลอแป๊บเดียวรถด่วน 51 ก็พาเรามาถึงสถานีเด่นชัยที่รอต้อนรับเราหลังโค้งแคบๆ ที่เต็มไปด้วยสายหมอก

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

แกลเลอรี่ห้องที่ 2

จาก (แม่น้ำ) ยมถึง (แม่น้ำ) วัง

‘แก่งหลวง’ จากเด่นชัยออกไปไม่กี่กิโลเมตรมีโตรกเขาหนึ่งที่ดึงดูดใจเป็นอย่างมาก เขาฝั่งหนึ่งเต็มไปด้วยต้นไม้หนาทึบ อีกฝั่งหนึ่งเป็นภูเขาที่มีทางรถไฟคดเคี้ยวผ่าน ตรงกลางคือแม่น้ำยมซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ที่ก้นแม่น้ำนั้นมีแก่งหินขวางไว้ ทำให้น้ำไหลเชี่ยวเสียงดังแข่งกับเสียงรถไฟ 

โชคดีที่ฤดูหนาวได้มอบสิ่งที่สวยงามให้กับที่นี่ นั่นคือม่านหมอกหนาที่เป็นฟิลเตอร์ให้กับแสงอาทิตย์ของเวลา 7 โมงเช้าสาดเข้ามาจนทั่วบริเวณเป็นสีทองไปทั่วบริเวณ ภาพที่หน้าต่างคือรถไฟที่วิ่งไปทางเดียวกับสายน้ำ งูยักษ์ตัวใหญ่ลัดเลาะไปตามสันเขาเรื่อยๆ จนถึงสถานีแก่งหลวง ทางรถไฟกับแม่น้ำยมก็แยกออกจากกันไปคนละทาง

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘บ้านปิน ฝรั่งกลางป่า’ สถานีรถไฟหน้าตาแปลกไม่เหมือนที่ไหนในประเทศ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมจากฟากยุโรปในรูปแบบเฟรมเฮาส์ สไตล์บาวาเรียน เอามาผสมผสานกับเรือนปั้นหยาแบบไทยได้อย่างลงตัว โดดเด่นและชวนมองจากหน้าต่างรถไฟ สภาพแวดล้อมรอบๆ สถานีนี้เป็นป่าที่ห้อมล้อมด้วยเทือกเขาและต้นไม้ต้นใหญ่กระจายไปทั่วบริเวณ คงเป็นเพราะความแปลกตาของสถานีรถไฟนี้ด้วยมั้ง ถึงได้มีคนเรียกสถานีนี้ว่า ‘ฝรั่งกลางป่า’

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘ห้วยแม่ลาน’ รถไฟที่ผละออกจากบ้านปินมุ่งหน้าเข้าเทือกเขาที่พืดยาวที่สุดในเส้นทาง สองข้างทางเต็มไปด้วยป่าและต้นไม้หนาทึบที่นานๆ ทีจะเห็นบ้านคนเข้ามาในสายตาสักหลังหนึ่ง ถ้าให้สังเกตข้างทางรถไฟ เราจะเห็นว่ามีลำธารสายเล็กๆ ขนานไปเรื่อยๆ นั่นคือห้วยแม่ลาน เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำยมและมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาพืดยาวที่กั้นแพร่กับลำปางไว้ แต่สิ่งที่เรารอคอยคือ ‘อุโมงค์ห้วยแม่ลาน’ ที่ยาวกว่าปางตูบขอบไม่มาก 

เมื่อรถไฟทั้งขบวนลอดพ้นไปอีกฝั่ง การมองย้อนไปด้านหลังเพื่อดูท้ายขบวนออกจากอุโมงค์ที่ปากถ้ำก่ออิฐเป็นรูปสามเหลี่ยม พร้อมๆ กับการมองไปหัวขบวนที่สาดโค้งจนเห็นหัวรถจักรชัดเจน มันเป็นภาพที่สวยไม่ใช่น้อยเลย

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘นครลำปาง’ จากแม่น้ำยม เรามาถึงแม่น้ำวัง ที่นี่คือสถานีนครลำปาง ตัวสถานีผสมผสานกันระหว่างความเป็นไทยแบบล้านนากับความเป็นยุโรป อาคาร 2 ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ที่เราจะได้เห็นซุ้มโค้งที่ชานชาลาและห้องขายตั๋ว ชั้นบนส่วนไม้มีรั้วระเบียงและวงกบฉลุไม้เป็นลายแจกันดอกไม้แบบล้านนา ชานชาลาสถานีเป็นมิตรกับธรรมชาติ ด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกเป็นแนวไปตลอดให้ความร่มเย็นโดยไม่จำเป็นต้องมีหลังคา และที่นี่เป็นสถานีเดียวในประเทศไทยที่ปลูกต้นไม้บนชานชาลา

อ้อ ที่นครลำปาง เรามีเวลาลงมายืดเส้นยืดสายข้างล่างได้เกือบ 10 นาที ลองมาเดินดูลายฉลุไม้สวยๆ ที่สถานีได้นะ

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘สะพานดำ’ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำวังที่พาดผ่านกลางเมือง คำว่า ‘สะพานดำ’ เป็นชื่อเรียกลำลองของสะพานเหล็กทั่วประเทศที่ทาด้วยสีดำ นั่นไม่ใช่สีที่ทามาแบบไร้ความหมาย มันคือสีกันสนิมซึ่งสะพานเหล็กต้องพ่นถึง 6 ชั้นด้วยกัน ตั้งแต่สีน้ำตาล 3 ชั้น สีขาว 1 ชั้น สีเทา 1 ชั้น และปิดนอกสุดด้วยสีดำอีก 1 ชั้น เลยทำให้ที่ไหนๆ ก็เรียกว่าสะพานดำเต็มไปหมด แต่สะพานดำที่นี่มีความพิเศษตรงที่เป็นผู้รอดชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะที่สะพานใหญ่อื่นๆ โดนระเบิดบึ้มบั้มพังทลาย แต่สะพานดำข้ามแม่น้ำวังรอดเพราะพลาดเป้า เราเลยได้เห็นแค่บาดแผลเป็นรูสะเก็ดระเบิดเล็กๆ บนเนื้อเหล็กบนสะพานเท่านั้น

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

แกลเลอรี่ห้องที่ 3

จากเขลางค์นครสู่นครพิงค์

‘แม่ตานน้อย’ ด่านสุดท้ายก่อนรถไฟจะไต่เขาที่ลาดชันที่สุดตั้งแต่วิ่งมาจากกรุงเทพฯ แม่ตานน้อยเป็นสถานีรถไฟที่ตั้งอยู่กลางโค้งรูปตัว S กลางป่าในหมู่บ้านที่สงบเงียบและน่ารัก ออกจากแม่ตานน้อยไป ภาพที่เห็นนอกหน้าต่างรถไฟคือเทือกเขาของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลที่ขวางหน้าเอาไว้ มองวิวไปเพลินๆ รู้ตัวอีกทีทางรถไฟก็อยู่สูงกว่าพื้นข้างๆ แล้ว 

ยินดีต้อนรับสู่จุดสตาร์ทของทางรถไฟที่สูงที่สุดในประเทศ

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘สะพานหอสูง’ ถ้าให้อุโมงค์ขุนตานเป็นเมนคอร์ส สะพานข้ามเหวคงเป็นออเดิร์ฟ 3 จานร้อนที่ต้อนรับเรา ถ้าใครกลัวจนไม่กล้ามองลงไปด้านล่างที่รถไฟแล่นเหนือยอดไม้ก็ให้มองออกไปไกลๆ ภาพที่เห็นมันจรรโลงใจมากพอๆ กับการจินตนาการว่าเรากำลังบินอยู่เหนือยอดไม้ ถึงแม้ว่าทั้งสามสะพานวิวจะคล้ายๆ กัน แต่ความสูงที่มองลงไปด้านล่างมันต่างกัน อันนี้ต้องลองด้วยตัวเอง

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘ขุนตาน’ เมนคอร์สของเส้นทางรถไฟสายเหนือที่แท้จริง ระยะเวลาเกือบ 5 นาทีที่รถไฟวิ่งเข้าและออกอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย (ณ พ.ศ. นี้) เราจะอยู่ในความมืดที่น่าพิศวงว่าเมื่อไหร่จะถึงปลายอุโมงค์อีกฝั่ง ภาพความสนุกมันอยู่ตรงที่ขาเข้า เมื่อรถไฟวิ่งเข้าอุโมงค์แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความมืดคือเสียงร้อง “หูววว” ของคนในขบวน ตามมาด้วยเสียงดังของล้อเหล็กที่ดังก้องในอุโมงค์เป็นจังหวะเหมือนดนตรี ไม่กี่อึดใจในความมืด แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อีกฝั่งก็ค่อยๆ ทอแสงสว่างขึ้น พร้อมลมเย็นภายนอกที่ปะทะหน้าในช่วงเวลาเดียวกับที่รถไฟโผล่พ้นอุโมงค์ ภาพนอกหน้าต่างคือธรรมชาติล้วนๆ ของสถานีรถไฟที่น่ารักบนจุดสูงสุดเหนือระดับน้ำทะเล 500 กว่าเมตรของสถานีขุนตาน

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

‘ทาชมภู’ ถ้าขุนตานคือเมนคอร์ส ทาชมภูก็คือของหวานปิดอาหารมื้อนี้ สะพานทาชมภูที่เป็นสะพานโครงคอนกรีตเสริมเหล็กที่สวยงามที่สุดในประเทศ ด้วยองค์ประกอบของตัวสะพานเองและทัศนียภาพที่เป็นฉากหลัง จึงไม่แปลกใจว่าทำไมสะพานแห่งนี้ถึงได้ลุกขึ้นมาจากการเป็น Hidden Place สู่สถานที่ต้องมาเยือน 

แต่ถ้าอยู่บนรถไฟ เราจะได้สัมผัสสะพานนี้เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เพียงไม่ถึง 10 นาทีจากสถานีขุนตาน เมื่อเราเริ่มเห็นพื้นดินของที่ราบกลางหุบเขาเด่นชัดขึ้นพร้อมๆ กับความเร็วของรถไฟที่เริ่มเพิ่มขึ้น หลังจากที่คลานต้วมเตี้ยมบนภูเขามาชั่วโมงกว่าๆ ให้จดจ้องด้านขวามือของขบวนไว้ดีๆ ภาพที่สวยที่สุดจะปรากฏขึ้นเมื่อรถไฟพ้นโค้งสุดท้ายที่ตีนดอย เป็นภาพของหัวรถจักรวิ่งเข้าไปบนสะพานรถไฟสีขาว ที่พื้นหลังเป็นภูเขาสีเขียวตัดกับฟ้าสีน้ำเงินเข้มและสีขาวของปุยเมฆ

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

แกลเลอรี่ปลายทาง

นครพิงค์

แม้ว่ารถไฟจะมาถึงสถานีเชียงใหม่ในเวลาเที่ยงที่หลายๆ คนอาจมองว่ามันเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่สำหรับนักเดินทางด้วยรถไฟแล้ว มันเป็นการเติมเต็มประสบการณ์มากมายระหว่างทาง นับตั้งแต่แสงอาทิตย์แรกเริ่มทอแสงที่อุตรดิตถ์ ผ่านสถานที่ต่างๆ ภูเขาลูกแล้วลูกเล่า แม่น้ำสายเล็กสายน้อย จนตะวันตรงกลางหัวพอดีที่รถไฟขบวนนี้สิ้นสุดการเดินทางที่สถานีเชียงใหม่ 

มันเต็มอิ่มแล้วจริงๆ ขบวนรถด่วนเที่ยวสุดท้ายขบวนนี้ไม่ใช่แค่รถไฟที่พาใครต่อใครมาถึงเชียงใหม่ แต่มันก็ยังเป็นแกลเลอรี่ชั้นดี เป็นห้องเรียนที่ดี และเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี แม้ว่ามันจะไม่ใช่ขบวนยอดนิยมหรือเป็นขบวนที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครันเท่ากับขบวนรถด่วนพิเศษอุตราวิถีที่ใหม่เอี่ยมอ่อง 

แต่เราก็รู้สึกว่า ด่วน 51 ทำหน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์จริงๆ

ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ
ขึ้นรถด่วนขบวน 51 แกลเลอรี่เคลื่อนที่เหนือทางรถไฟสายเหนือ ไปรับลมหนาวที่เชียงใหม่, ขึ้นรถไฟไปเหนือ

เกร็ดท้ายขบวน

  1. รถด่วนขบวนที่ 51 ให้บริการทุกวัน ในขบวนมีรถนั่งชั้นสามพัดลม รถนั่งชั้นสองพัดลม และรถนอนชั้นสองแอร์ ราคาจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ เริ่มต้นที่ 271 บาท และแพงสุดอยู่ที่ 821 บาท สำหรับตู้นอน
  2. ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเก็บภาพจากขบวน 51 คือช่วงเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงมีนาคม 
  3. เฉพาะช่วงศิลาอาสน์ถึงเด่นชัย ฝั่งที่สวยที่สุดคือฝั่งซ้าย นอกนั้นฝั่งขวามือคือทิวทัศน์ที่วิเศษที่สุด

Writer & Photographer

Avatar

วันวิสข์ เนียมปาน

มนุษย์ผู้มีรถไฟไทยเป็นเพื่อนสนิท และอยากแนะนำเพื่อนให้ชาวบ้านสนิทด้วย รักการเดินทางและชอบเดินเป็นชีวิตจิตใจ