ครั้งแรกที่เราเห็นหมวก Madmatter ในงานตลาดนัดสุดฮิต เราก็รู้เลยว่าแบรนด์นี้เป็น ‘แบรนด์ที่มีของ’ เลือกเลยค่ะ มีครบทุกสี มีครบทุกไซส์ พร้อมส่งทุกเมื่อ ไม่สิ! เราหมายถึง มีของที่แปลว่าไม่ธรรมดา

เราเชื่อว่าใครหลายคนคงเคยผ่านตา ลองจับของจริง หรือเคยได้ฟังเรื่องราวของ Madmatter มาบ้างแล้ว ว่าเป็นแบรนด์ที่เปลี่ยนแจ็กเก็ตหรือเสื้อผ้ามือสองญี่ปุ่นให้กลายเป็นหมวกและกระเป๋าสตางค์ดีไซน์สวย คอนเซปต์ดีจนน่าประทับใจ

หลังจากเฝ้ามองการเติบโตของแบรนด์นี้มาระยะหนึ่ง เราติดต่อ Madmatter ในวันที่ Five Patch Cap หมวกที่เป็นลายเซ็นของแบรนด์ได้รับรางวัล DEmark Award 2017 ชวน แท็ป-ปธานิน งามกิจเจริญลาภ และ แจ๊ส-ธนิสรา โพธิ์นทีไท สองหนุ่มสาวผู้ก่อตั้งแบรนด์พูดคุยตั้งแต่ เรื่องโจทย์ของแบรนด์ที่ไม่ใช่เรื่อง Eco อย่างที่หลายคนเข้าใจ เรื่องการสร้างแบรนด์ที่ท้าทายตัวเองด้วยคำว่า Sustainable Design เรื่องความจริงของการตลาดที่มักทำนักเรียนออกแบบปวดใจ เรื่องรางวัลด้านการออกแบบที่เราสงสัยว่าจะส่งผลต่อยอดขายในภายภาคหน้าไหม ไปจนถึงคู่สีใหม่ที่ใช้ความคิดสร้างไสยต่อยอดแบรนด์ให้สนุกกว่าที่เคย

Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า

จุด…ธูปสามดอก แล้วตั้งนะโมสามจบ

จุด…เริ่มต้นของทั้งคู่มาจากความหลงใหลในเสื้อผ้ามือสองจากญี่ปุ่น แต่เนื่องจากอากาศบ้านเราร้อนเกินกว่าจะมิกซ์แอนด์แมตช์เป็นแฟชั่นฤดูหนาวได้ แท็ปและแจ๊สจึงได้แต่เก็บสะสมเสื้อผ้าเหล่านี้ไว้เป็นจำนวนมาก จนวันหนึ่งที่ทั้งคู่เกิดความตั้งใจที่จะโชว์ศักยภาพของผ้ามือสองว่าสามารถแปลงเปลี่ยนเป็นสินค้าอื่นได้หลากหลาย

จึงออกมาเป็นหมวกในแบบ 6 กลีบมาตรฐาน และแบบ 5 กลีบที่ตัดเย็บด้วยเทคนิคการต่อผ้าจากชิ้นส่วนเล็กๆ หรือ patchwork จนเป็นลายเซ็นเฉพาะของแบรนด์ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องขนาดชิ้นส่วนผ้าเก่าที่ได้จากการเลาะแจ็กเก็ตผ้าวูลเนื้อหนา แล้วต่อยอดเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์อื่นๆ ได้แก่ รองเท้า และกระเป๋าทรงต่างๆ

จนเมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี จากแบรนด์ที่เป็น Design Based ค่อยๆ คิดถึงเรื่องการทำธุรกิจมากขึ้น เรียนรู้จากคู่ค้าที่เป็นนักธุรกิจ ปรับและเปลี่ยนโจทย์ตั้งต้นที่อยากทำสินค้าจากผ้ามือสอง 100% กลายเป็นลดทอนสัดส่วนของผ้ามือสองลง และใช้ผ้าค้างสต็อกโรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อจัดการการผลิตให้พอกับความต้องการของคู่ค้า พร้อมกับเริ่มใช้คอนเซปต์ waste to worth สร้างมูลค่าใหม่ให้กับสิ่งที่คนไม่เห็นคุณค่า

Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า

Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า

ศักดิ์สิทธิ์-able design

แจ๊สเล่าว่า คนทั่วไปมักเข้าใจว่า Madmatter เป็นแบรนด์เพื่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราพบว่าความเข้าใจนี้ถูกต้องเพียงแค่ส่วนเดียวเท่านั้น

จากพื้นฐานของนิสิตภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม จากคณะสภาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้ทั้งคู่รู้และอยู่เทรนด์เรื่อง Eco มาโดยตลอด แต่แทนที่จะติดป้ายรักษ์โลกอย่างแบรนด์ดีไซน์ทั่วไป สิ่งที่แท็ปและแจ๊สทำก็คือ ตั้งโจทย์ที่จะทำของ Eco ให้ดูไม่ Eco อย่างที่เคย

“ทุกครั้งที่เราเดินเข้าร้านขายของ Eco เรามักจะมีคำถามในหัวว่า ‘ทำไมมันต้องหน้าตาแบบนี้’ เราก็เข้าใจว่าของมันรักษ์โลก แต่เราไม่อยากใช้ เราอาจจะมีรสนิยมอีกแบบ เราจึงพยายามทำในสิ่งที่เราอยากใช้ เพราะถ้าคุณตั้งใจจะออกแบบของเพื่อบอกว่ารักโลกแต่หน้าตาไม่ดึงดูดความสนใจ สุดท้ายคนก็ไม่ซื้อและมันก็กลายเป็นขยะอยู่ดี” แจ๊สรีบเล่า ก่อนที่แท็ปจะสรุปสิ่งที่ Madmatter เป็นให้ฟังว่า

“เราเป็น Sustainable Design”

พลังของหนุ่มสาวที่ประกาศเสียงดังฟังชัดถึงเจตนารมณ์นี้ทำให้เราแอบใจชื้น เพราะน้อยครั้งที่จะเจอคนรุ่นใหม่สนใจ ศึกษา และลงลึกในรายละเอียดในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ไม่ได้สนใจแต่เรื่องการขายที่ต้องมีรายได้ แต่คิดถึงมุมคนผลิต มุมของคุณภาพสินค้า และมุมของผู้บริโภค

ในมุมโรงงานผลิต สิ่งแรกที่แท็ปและแจ๊สเรียนรู้คือเรื่องการทำความเข้าใจโรงงาน

“ด้วยความที่เป็นเสื้อผ้ามือสอง ผ้าที่ได้จากการเลาะจึงมีชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับความเข้าใจเดิมของเราที่คิดว่าทุกโรงงานต้องปรับตัวการผลิตให้ได้ตามที่เราต้องการได้สิ เราเป็นเจ้าของแบรนด์เล็กๆ ที่ไม่ได้สนใจข้อจำกัดว่าเรากำลังไปรบกวนขั้นตอน 1 – 10 ที่มีอยู่แล้ว” แท็ปเล่า

ทั้งคู่จึงเรียนรู้ว่าต้องเข้าใจขั้นตอนที่โรงงานมี แล้วออกแบบกระบวนการของเราให้เหมาะสม ซึ่งการผลิตที่ง่ายไม่ซับซ้อนเป็นอีกหนึ่งวิธีการผลิตอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน ขณะที่ในมุมผู้บริโภค แจ๊สมองว่าลูกค้าควรได้รับสิ่งที่มีคุณค่าและสัมผัสสิ่งเหล่านั้นได้ ซึ่งหากสังเกตดีๆ ลูกค้าจะเห็นลายมือขยุกขยิกเล็กๆ ที่ป้ายมุมขวาล่างของกระเป๋า นอกจากจะบอกสัดส่วนของผ้าเก่าที่ใช้ ยังบอกลำดับหมายเลขของกระเป๋าที่ผลิตด้วย

Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า

Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า

เมตตามหานิยม

แม้ทั้งคู่จะผ่านกระบวนการตั้งแต่การเริ่มต้นโจทย์ การหาช่วงว่างในตลาด การศึกษาความต้องการผู้บริโภค และการตลาดเบื้องต้นมาบ้างแล้ว แต่ในโลกความเป็นจริง โจทย์ที่ดีอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ

“เดิมเราคิดว่าลูกค้าของเราได้แก่ชาวต่างชาติและคนไทยที่อยู่ในวงการสร้างสรรค์ เราพบความจริงไม่เป็นอย่างที่เราคิด คนกลุ่มหลังนั้นเล็กมาก ชื่นชอบแบรนด์เราจริงๆ แต่ไม่ซื้อด้วยเหตุผลของราคาที่สูงเกินไป แต่ก็ยังมีกลุ่มลูกค้าคนไทยที่อยู่วงการอื่นๆ แต่สนใจในงานออกแบบหรือมีความเชื่อในสิ่งที่เราทำ ต่อมาเราจึงปรับแผนทำตลาดแรกให้แข็งแรง โดยมีลูกค้าจากทั้ง wholesale ของประเทศสิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และอื่นๆ” แจ๊สและแท็ปผลัดกันเล่าบทเรียนการขายอย่างสนุกสนาน

การได้รับรางวัล DEmark Award 2017 ส่งผลต่อยอดขายอย่างไรบ้าง เราถาม

แท็ปบอกว่า ในมุมที่ดีคือเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ แต่ด้วยธรรมชาติของสินค้าไลฟ์สไตล์ที่คนเลือกซื้อเพราะอารมณ์มากกว่าเหตุผล รางวัลด้านการออกแบบจึงไม่ได้มีผลต่อยอดขายใดๆ

ไม่เป็นไร ค่ะ ไม่เป็นไร ของซื้อของขาย เราเอาฤกษ์เอาชัยกันใหม่ได้ คอลเลกชันใหม่ของ Madmatter จึงเป็นที่ฮือฮาด้วยคู่สีดีมีมงคล จับคู่ดวงชะตาเสริมบารมีกันให้ครบทั้ง 7 วัน มาในขนาดกระเป๋าที่ผู้หญิงก็ใช้ได้ ผู้ชายก็ใช้ดี

เอาฤกษ์เอาชัยกันตั้งแต่แบบทรงของกระเป๋าที่มีแรงบันดาลใจจากสัดส่วนทองคำ ตามด้วยการจับคู่สีสนุกสนาน เริ่มจาก สีน้ำเงินให้โชคมนตรี มีผู้อุปถัมภ์ เหมาะกับใช้ประชุมงานวันจันทร์ ส่วนวันอังคารจัดสีแดงเข้าใส่เสริมดวงอุปถัมภ์ให้งานลุล่วง วันพุธลองกระเป๋าสีเหลือง วันพฤหัสบดีเป็นคู่สีเขียวตัดน้ำเงินให้โชคทั้งเดช อำนาจ และมนตรี วันศุกร์สดใสใส่สีส้มตัดคู่สีชมพูอ่อนเพิ่มโชคด้านลาภเงินทอง วันเสาร์จะมงคลต้องชมพูคู่สีฟ้า วันอาทิตย์เรียบๆ คูลๆ ด้วยคู่สีน้ำตาลและดำให้โชค

วันกันว่าเรื่องดวงดาวและดวงชะตาสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกันไม่มากก็น้อย ปัญญาชนคนแฟชั่นอย่างเราก็แค่มี Mongkol bag ให้อุ่นใจเท่านั้น ไม่มีอะไรจริงๆ เสียดายถ้ามีสีไหนใช้แล้วความรักเบิกบาน จะขอเหมามาให้หมด

 Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า  Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า

โชคลาง-ของขวัญ

“ให้โชคดี โชคดี สุขเกษมเปรมปรีดิ์ ขอให้รวย ขอให้รวย”

ใครบางคนอาจจะโชคดีได้ทำธุรกิจจากสิ่งที่รักและสิ่งนั้นไปได้ดี แท๊ปบอกว่า เมื่อยังเป็นเด็ก เขาคิดแค่ว่าทำอะไรก็ได้ตราบเท่าที่อยากทำ เมื่อโตขึ้นในโลกความจริงสอนให้เขารู้จักความยืดหยุ่น

“ทุกคนมักคิดว่าการทำแบรนด์มันง่าย จริงๆ มันก็ง่ายแหละ แต่ทำให้ยั่งยืนมันยากมากเลยนะ ความท้าทายคือเราจะพยายามทำสิ่งนี้ให้ยั่งยืน” แท็ปนิ่งคิดแล้วจะตอบคำถามสุดท้ายเรื่องบทเรียนที่ได้รับ ก่อนที่แจ๊สจะเสริมทิ้งท้ายไว้ว่า

เราเรียนรู้ว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจเราไม่ควรเริ่มต้นทำในสิ่งที่มาจากความชอบของเราเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อคนอื่นต้องเสียเงินซื้อจากเรา เราจึงควรเริ่มต้นด้วยการคิดถึงคนอื่น”

Madmatter แบรนด์ไทยที่ใช้ความคิดสร้างไสย (ศาสตร์) ปลุกเสกหมวกและกระเป๋าทรงเท่ Madmatter, หมวก, แบรนด์, กระเป๋า

*หมายเหตุ

บทความข้างต้นนี้เต็มไปด้วยความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

โบราณท่านว่า ไม่เชื่อให้ลบหลู่ ใครจะขอท้าพิสูจน์ความโชคด้วยกระเป๋าสักใบสองใบ อย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังเรื่องความศักดิ์สิทธิ์บ้างนะคะ

 

ภาพ: มณีนุช บุญเรือง และ Madmatter

The Rules

  1. รักษาสมดุลในชีวิต เช่น พยายามนัดเจอเพื่อน 1 วันต่อสัปดาห์
  2. คิดถึงคนอื่นมากกว่าตัวเอง
  3. มีทัศนคติที่ดี

 

www.madmatterstore.com

Facebook : Madmatter

Instagram : madmatterstore

Writer

นภษร ศรีวิลาศ

นภษร ศรีวิลาศ

บรรณาธิการธุรกิจ The Cloud 4.0 แม่บ้านและฝ่ายจัดซื้อจัดหานิตยสารประจำร้านก้อนหินกระดาษกรรไกร ผู้ใช้เวลาก่อนร้านเปิดไปลงเรียนตัดเสื้อ สานฝันแฟชั่นดีไซเนอร์ในวัย 33 ปัจจุบันเป็นแม่ค้าที่ทำเพจน้องนอนในห้องลองเสื้อบังหน้า ซึ่งอนาคตอยากเป็นแม่ค่ะ

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล