Imagineer คือชื่อตำแหน่งคนทำงานสร้างสรรค์ ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ

เป็นคำเฉพาะที่จดทะเบียนและใช้เรียกพนักงานของบริษัท Walt Disney Imagineering ทีมสร้างสรรค์ วิจัย และพัฒนา เครื่องเล่นแก่บริษัทแม่อย่าง Walt Disney

ฟังดูอาจจะไม่คุ้นหู แต่ที่ต่างประเทศ Imagineer ถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจที่สุดในช่วง 4 – 5 ปีนี้ รองจากอาชีพบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวและอินฟลูเอนเซอร์ในเฟซบุ๊ก

เดล ชีฮาน (Dale Sheehan) Imagineer จาก Walt Disney

The Cloud มีนัดหมายพิเศษกับ คุณเดล ชีฮาน (Dale Sheehan) Imagineer จาก Walt Disney Imagineering เพื่อพูดคุยกันสั้นๆ ถึงตำแหน่งงานชื่อเท่ และการอยู่เบื้องหลังงานออกแบบสร้างสรรค์เครื่องเล่นทั้งในอดีตและปัจจุบันของดิสนีย์แลนด์ ก่อนจะแยกย้ายกันไปเข้าร่วมงานเปิดตัวและเป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ได้ลองเล่น ‘Ant-Man and The Wasp: Nano Battle!’ เครื่องเล่นใหม่ล่าสุดของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์

คุยกับนักออกแบบเครื่องเล่นของดิสนีย์แลนด์ ผู้เชื่อในพลังของเรื่องเล่าจาก ‘จริงตนาการ’
คุยกับนักออกแบบเครื่องเล่นของดิสนีย์แลนด์ ผู้เชื่อในพลังของเรื่องเล่าจาก ‘จริงตนาการ’

นอกไปจากเรื่องการทำงานเบื้องหลังเครื่องเล่นของดิสนีย์แลนด์

สารภาพตามตรงถึงประสบการณ์การเที่ยวดิสนีย์แลนด์ครั้งแรกเมื่ออายุ 30 ที่เปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับปราสาทและสวนสนุกไปตลอดกาล ‘ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์’ ไม่ได้เป็นสถานที่ที่เหมาะกับแค่คู่รัก เด็กและครอบครัวเท่านั้น แต่เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ใหญ่ตอนต้นถึงปลายที่อยากหนีออกจากพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว

ขอแนะนำ ‘อาร์ซีเรสเซอร์’ เจ้ารถเหาะแล่นบนรางด้วยความเร็วสูงตามแรงดึงดูดของโลก ‘บิ๊ก กริซลีย์ เมาท์เทน รันอะเวย์ ไมน์ คาร์ส’ รถรางของเหมืองที่วิ่งเข้านอกออกในเมือง อลังการระดับระเบิดภูเขาเผากระท่อม โดยเฉพาะ ‘ไฮเปอร์สเปซ เมาท์เทน’ รถไฟเหาะพุ่งทะยานสู่ใจกลางกาแลกซีเหมือนอยู่ในจักรวาลสตาร์วอร์จริงๆ อย่างน้อยที่สุดเราจะเห็นขีดจำกัดความกลัวและยอมรับความกล้าในตัวเอง

อ่านจบแล้วใครค้นพบความฝันของตัวเอง จะเป็นนักออกแบบเครื่องเล่นมืออาชีพหรือนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่น ก็ขอให้ส่งข่าวบอก The Cloud กันด้วยนะ

คุยกับนักออกแบบเครื่องเล่นของดิสนีย์แลนด์ ผู้เชื่อในพลังของเรื่องเล่าจาก ‘จริงตนาการ’

You may say that I’m a dreamer

โดยหน้าที่แล้ว ตำแหน่ง Imagineer ของเดลใน Walt Disney Imaginering ก็คือ Creative Producer หรือผู้อยู่ในทุกกระบวนการสร้างสรรค์เครื่องเล่น ตั้งแต่หาไอเดียตั้งต้น พัฒนาและสร้างสรรค์จนถึงวันเปิดตัวเครื่องเล่นสู่สาธารณะ ซึ่งกว่าจะเป็นเครื่องเล่นสักเครื่องในสวนสนุกนั้น นอกจากจะเป็นงานที่ใหญ่มากแล้วยังมีทีมที่เกี่ยวของมากมายอยู่เบื้องหลัง ทั้งทีมออกแบบและสร้างสรรค์ที่กำหนดเรื่องราวที่จะเล่า ทีมการแสดง ทีมดูแลโครงการ ทีมโครงสร้างวางแผนตำแหน่งอาคารเครื่องเล่น

ในขั้นตอนแรกสุดของการทำงาน หรือที่ชาว Imagineer เรียกว่า Blue Sky นั้น เป็นกระบวนการเสาะหาไอเดีย นำทีมโดยทีมเล่าเรื่องและทีมเทคโนโลยีมาร่วมกันหารือเรื่องที่จะเล่า และความเป็นไปได้ของเครื่องเล่นนั้น ก่อนสรุปภาพรวมของไอเดียและรายละเอียดย่อยเท่าที่จำเป็นต่อการพัฒนาต่อ ตกผลึกจนทุกคนเห็นร่วมกันว่านี่เป็นเรื่องเล่าที่ดีแล้วจึงแยกย้ายกันทำงานในส่วนที่ต่างฝ่ายต่างถนัด

“เรามีทีมวิจัยและพัฒนาเพื่อหาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้คาแรกเตอร์นั้นๆ สมจริงมากยิ่งขึ้น มีกลไกหรือระบบที่สนับสนุนการเล่าเรื่องของคาแรกเตอร์นั้นให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น” เดลเล่า

Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก

But I’m not the only one

เมื่อเราถามถึงหลักการคัดเลือกเรื่องและตัวละครมาสร้างเครื่องเล่น

เดลก็รีบตอบทันทีว่า จุดแข็งของดิสนีย์คือ การมีคาแรกเตอร์เป็นของตัวเองเยอะ ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าหยิบมาสร้างสรรค์ต่อมากมายเต็มไปหมด

“ทุกเรื่องที่คุณพอจะจินตนาการออกเลย ในการทำงาน หลังจากเลือกคาแรกเตอร์แล้ว มีเรื่องที่อยากเล่าและรู้ว่าจะเล่าอย่างไรแล้ว พวกเราจะทำการศึกษาตลาดของสาขาที่ตั้งดิสนีย์แลนด์หรือรีสอร์ตในเครือ วิเคราะห์ว่าเรื่องราวหรือประสบการณ์แบบไหนที่คนในพื้นที่น่าจะชอบ อะไรคือเรื่องที่พวกเขาไม่ควรพลาด และใหม่มากพอ เราจะเล่าเรื่องนั้น จากนั้นกลับมาดูว่าเราเล่าเรื่องแบบไหนได้ดี ส่วนเรื่องเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยเล่าเรื่องที่ทำไม่ได้เมื่อ 10 ปีก่อน แต่วันนี้เราทำได้แล้ว ทั้งหมดนี้คือหลักการ ดังนั้น พวกเราจะจินตนาการเป็นอะไรก็ย่อมได้” เดลเล่าถึงดีเอ็นเอที่มีอยู่ในตัวนักจินตวิศวกรทุกคน

Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก

Attraction please, attractions.

จากอดีตนักออกแบบการแสดงและโรงละคร ที่ต่อมามีโอกาสฝึกงานที่ Walt Disney Imagineer และเริ่มต้นงานที่นี้อย่างจริงจังเรื่อยมา เดลเล่าประสบการณ์จากโรงละครที่นำมาใช้กับงานออกแบบเครื่องเล่นให้ฟังว่า

“การทำงานในละครเวทีสอนวิชาบริหารจัดการพื้นที่บนเวทีให้มัดใจและสร้างความตราตรึงแก่ผู้ชมทั้งโรงละคร ผ่านการทำงานเป็นทีมของฝ่ายสร้างสรรค์และนักแสดง การออกแบบเครื่องเล่นก็เช่นกัน เพราะทั้งไม่เพียงบอกเล่าเรื่องผ่านประสบการณ์ ยังต้องการสร้างความทรงจำที่ตราตรึง”

และถ้าคุณถามเขา ถึงเป้าหมายของการออกแบบเครื่องเล่นแต่ละครั้ง คงไม่มีคำตอบใดอธิบายความตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวที่ดีของคาแรกเตอร์นั้นไปสู่ทุกคนอย่างครบถ้วน

เดลบอกเราว่าเขาภูมิใจแค่ไหนที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความทรงจำจากการใช้เวลาร่วมกันของคนรักและครอบครัว ซึ่งตลอดการสนทนาระหว่างเรา เดลพูดซ้ำๆ ว่าตัวเขาโชคดีเพียงใดที่ได้ทำงานร่วมกับทีมเก่งๆ

Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก

นอกจากความสนุกและประสบการณ์จากการได้มาทำงานที่ต่างเมือง ต่างถิ่น ต่างวัฒนธรรม เพื่อสร้างสรรค์เครื่องเล่นพิเศษ หนึ่งในงานที่เดลภูมิใจคือ การออกแบบ ‘Stitch Encounter’ ให้แก่โตเกียวดิสนีย์แลนด์เมื่อ 2015 ซึ่งเขาต้องอยู่ญี่ปุ่นร่วมเดือนเพื่อศึกษาตลาด ผู้ชม แคสติ้งตัวละคร ไปจนถึงทำงานร่วมกับทีมต่างๆ เพื่อให้เรื่องราวที่ต้องการสื่อพิเศษและสมบูรณ์แบบ

“การมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลต่อการทำงานออกแบบเครื่องเล่นอย่างไรบ้าง” เราถาม

“เรื่องสำคัญที่สุดของงานออกแบบเครื่องเล่นคือ การทำหน้าที่นักเล่าเรื่อง ระหว่างที่เล่นเครื่องเล่น คุณไม่ได้เห็นเทคโนโลยี แต่คุณเห็นเรื่องราวที่อยู่ในนั้น และเทคโนโลยีก็ทำให้เรื่องที่เราอยากเล่าชัดเจนขึ้น เช่น การสร้างเกมที่ทำให้เกิดการโต้ตอบระหว่างผู้เล่น (Interactive Game)” เดลตอบ ก่อนจะเสริมว่าเขาได้แรงบันดาลใจการออกแบบเครื่องเล่นมาจากเรื่องรอบๆ ตัว

Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก

เช่น Ant-Man and The Wasp: Nano Battle! ที่เขาได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ที่ชอบดูตอนเด็กเรื่อง Honey, I Shrunk the Kids (1989) เรื่องของวัยรุ่นที่บังเอิญเข้าไปในโลกที่ทุกอย่างมีขนาดใหญ่ไปหมด ทำให้เดลอยากลองสร้างเครื่องเล่นที่ทำให้ผู้เล่นอยู่ในสถานการณ์ตัวเล็กลงเท่ามดดูบ้าง

The day after tomorrowland

Ant-Man and The Wasp: Nano Battle! เป็นเครื่องเล่นใหม่ล่าสุดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง Hong Kong Disneyland, Walt Disney Imagineering และ Marvel Studio ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการเตรียมพร้อมเพื่อเป็นศูนย์กลางมาร์เวลของเอเชีย

โดยเครื่องเล่นนี้จะพาเราย่อส่วนจนเล็กเท่ากับมดเพื่อปฏิบัติภารกิจสู้เคียงข้างแอนท์แมน และ เดอะวอสพ์ ด้วยการขับ The Dagger ยานลำใหม่ของหน่วยชีลด์ พร้อมอาวุธปืนล่าสุด EMP Blaster เพื่อสู้กับฝูงบอทของไฮดร้า

Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก
Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก

ทั้งยังเป็นภาคต่อของเครื่องเล่น Iron Man Experience เครื่องเล่นสี่มิติที่จำลองการสู้รบระหว่างไอรอนแมนและกองกำลังไฮดร้า ด้วยภาพและเสียงเทคนิคพิเศษที่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังบินอยู่จริงๆ ซึ่งหลังลองเล่นทั้งสองเครื่องเล่นแล้วรู้เลยว่าจะถูกใจแฟนๆ มาร์เวลอย่างแน่นอนเพราะไม่ต้องบินไกลถึงต่างทวีปก็สัมผัสฮีโร่ที่รักได้อย่างใกล้ชิด

Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก

“เป็นครั้งแรกของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ที่เราใช้เครื่องเล่น 2 เครื่องเล่าเรื่องๆ เดียวกัน โดยเชื่อมกันไว้ด้วยภารกิจ ครึ่งเรื่องแรกอยู่ใน Iron Man Experience อีกครึ่งอยู่ใน Ant-Man and The Wasp: Nano Battle!” เดล บอกเราซ้ำๆ ถึงเหตุผลที่ไม่ควรพลาดเครื่องเล่นใหม่ของทูมอร์โรว์แลนด์ ซึ่งใครอยากจะเล่นเก็บให้ครบทั้งสองเครื่องเล่น รวมถึงเครื่องเล่นในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ภายใน 1 วัน เราแนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อวางแผนรอบเวลา

ในฐานะสื่อมวลชนจากประเทศไทยที่ได้เข้าชมชั้นใต้ดินของเครื่องเล่น Iron Man Experience นี้ เห็นเบื้องหลังของความสนุกที่ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังอยู่บนยานลำจริงก็ทึ่งมากๆ ดีใจที่ได้เห็นว่าเครื่องเล่นของส่วนสนุกระดับโลกนั้นทันสมัยและปลอดภัยไว้ใจได้แค่ไหน เพราะไม่เพียงเป็นเครื่องเล่นที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมากๆ ด้วยการทดสอบเปิดซ้อมเครื่องเล่นกว่า 5,000 รอบก่อนให้บริการจริง และแม้ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์จะเปิดตัว Iron Man Experience มาตั้งแต่ 2017 แล้ว ก็ยังมีคนเข้าแถวรอเล่นอย่างหนาแน่นที่สุด

Imagineer คือนักสร้างสรรค์ที่ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และจินตนาการ และตำแหน่งงานในฝันของนักเล่นเครื่องเล่นมือสมัครเล่นทั่วโลก

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้…สึก

“จนถึงวันนี้วิธีการทำงานออกแบบเครื่องเล่นเปลี่ยนไปจากอดีตยังไงบ้าง” เราถาม

เดลรีบตอบทันทีว่า วิธีการไม่เปลี่ยนโดยสิ้นเชิงอย่างที่ใครเข้าใจ แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เครื่องไปได้ไกลกว่าเดิม เพราะการสร้างโลกของมาร์เวลสตูดิโอที่ทำให้แฟนๆ รับรู้ถึงความสมจริงจากเรื่องราวของภาพยนตร์ที่ผูกต่อกับเป็นจักรวาลมาร์เวล

การสร้างเครื่องเล่นมาร์เวลจึงท้าทาย โดยเฉพาะการรักษาความรู้สึกร่วมนั้น ตัวอย่างความรู้สึกของการที่ตัวหดลงกลายเป็นมนุษย์มด เป็นโอกาสให้เดลและทีมงานได้พัฒนาเครื่องมือและค้นหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์คนเล่าเรื่องผ่านเครื่องเล่นอย่างพวกเขาต่อไป

เดล ชีฮาน (Dale Sheehan) Imagineer จาก Walt Disney
www.hongkongdisneyland.com

Writer

นภษร ศรีวิลาศ

นภษร ศรีวิลาศ

บรรณาธิการธุรกิจ The Cloud 4.0 แม่บ้านและฝ่ายจัดซื้อจัดหานิตยสารประจำร้านก้อนหินกระดาษกรรไกร ผู้ใช้เวลาก่อนร้านเปิดไปลงเรียนตัดเสื้อ สานฝันแฟชั่นดีไซเนอร์ในวัย 33 ปัจจุบันเป็นแม่ค้าที่ทำเพจน้องนอนในห้องลองเสื้อบังหน้า ซึ่งอนาคตอยากเป็นแม่ค่ะ