29 สิงหาคม 2018
96 K

นี่คือ เรื่องของแบรนด์มารีเมกโกะ (Marimekko) ที่สาวๆ ควรส่งให้แฟนหนุ่มอ่าน

ภายใต้ดอกป๊อปปี้ หรือที่ชาวเราเรียกขานอย่างคุ้นเคยว่า ดอกอูนิกโกะ (Unikko) ดอกโตสีสด มีเรื่องราว ความรัก ความหวัง และพลังศรัทธาซ่อนอยู่ในนั้น

ก่อนจะเป็นแบรนด์ระดับโลกอย่างทุกวันนี้ ‘มารีเมกโกะ’ เริ่มขึ้นจากสาวนักโฆษณาผู้มีความหวังจะฟื้นชีวิตชีวาให้คนรอบตัวด้วยลายผ้าสีสันสดใส

จากโรงงานพิมพ์ผ้าเล็กๆ ในเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ กลายเป็นแบรนด์แห่งชาติ

ด้วยวิธีคิดนอกกรอบ หัวก้าวหน้า ขบถ การปลดแอก ชีวิตที่อยู่อย่างรื่นรมย์กับธรรมชาติ มินิมอลสไตล์ ความเฟมินิสต์ และการพูดเรื่องความเท่าเทียม Unisex ตั้งแต่ยุค 50

ใช่แล้ว คุณกำลังอ่านไม่ผิด ดอกไม้ดอกเดียวไม่มากพอจะบอกเล่าตัวตนทั้งหมดของมารีเมกโกะได้

หญิงสาว อย่างพวกเราก็เช่นกัน

The Cloud มีนัดหมายพิเศษกับ คุณนัศรีย์ อังศุสิงห์ ‘Vice President of Brand Management Group’ จาก TANACHIRA เพื่อพูดคุยถึงปรัชญาและวิธีคิดที่เปลี่ยนโรงงานเล็กๆ ในประเทศอันหนาวเหน็บ ให้กลายเป็นแบรนด์ออกแบบลายผ้าและสินค้าไลฟ์สไตล์ระดับโลกที่สาวๆ ทุกคนตกหลุมรัก

อย่าแปลกใจ หากคุณจะพาตัวเองไปฟินแลนด์หลังอ่านบทความนี้จบ

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

01 Marimekko มีความหมายในภาษาฟินแลนด์ว่า ชุดกระโปรงเด็กผู้หญิง (Mary Dress)

02 Marimekko เริ่มต้นในวันที่ฟินแลนด์ตกอยู่ในภาวะฝืดเคือง

ในยุคที่ประเทศฟินแลนด์ถูกกดดันโดยสงครามจากประเทศรัสเซียและสวีเดนมาเป็นเวลานาน ผู้คนต่างหดหู่และโหยหาความงดงามในชีวิต อาร์มี ราเตีย (Armi Ratia) ซึ่งขณะนั้นทำงานในวงการโฆษณา คิดอยากออกแบบและผลิตสินค้าที่สวยงามแต่เปี่ยมไปด้วยฟังก์ชัน และมีคุณภาพดี ทนต่อสภาพอากาศที่โหดร้ายของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งในวันที่อากาศร้อนที่สุดอุณหภูมินั้นอยู่แค่ที่ 10 องศา

ในปี 1949 อาร์มีและ วิลิโย ราเตีย (Viljo Ratia) สามี  จึงตัดสินใจซื้อกิจการโรงงานพิมพ์ผ้าและชวนศิลปินรุ่นใหม่ใกล้ตัว 2 – 3 คนมาร่วมทีมออกแบบลวดลาย หวังคืนความมีชีวิตชีวาให้คนในประเทศ โดยใช้กระบวนการพิมพ์ลายผ้าด้วยมือทั้งหมด ก่อนจะเริ่มใช้เครื่องจักรในการผลิตในเวลา 28 ปีต่อมา

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

03 ขายหมดเกลี้ยงในงานแฟชั่นโชว์

ลายผ้าจากอาร์มีและทีมงานในนามโรงงาน Printex หรือชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็นมารีเมกโกะ เป็นที่ฮือฮาและชื่นชอบของชาวฟินแลนด์มาก แต่ไม่มีใครยอมซื้อเลยสักคนเดียว สิ่งที่อาร์มีทำคือ จัดแฟชั่นโชว์ขึ้นที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองเฮลซิงกิ และยังไม่ทันที่นางแบบคนสุดท้ายจะเดินเข้าม่านไป เสื้อผ้าทุกตัวก็ถูกจับจองจนหมดเกลี้ยง 5 วันต่อมา ชื่อของมารีเมกโกะก็ถือกำเนิดขึ้น และตามมาด้วยร้านสาขาแรกในเฮลซิงกิ

04  Marimekko  ดังในข้ามคืนเพราะ แจ็กเกอลีน เคนเนดี้ สตรีหมายเลขหนึ่งจากสหรัฐ

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มารีเมกโกะเปลี่ยนจากแบรนด์เล็กๆ ในฟินแลนด์กลายเป็นแบรนด์ระดับโลก มาจากสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาอย่าง แจ็กเกอลีน เคนเนดี้ (Jacqueline Kennedy) เลือกซื้อชุดมารีเมกโกะถึง 7 ชุด แทนชุดจากแบรนด์ดังที่ส่งมาให้จากฝั่งยุโรป ด้วยเหตุผลว่า “ไม่เห็นจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าแบรนด์ดังราคาแพงเลย เรียบๆ แบบนี้ก็สวยงาม” ก่อนจะเลือกใส่ขึ้นปกนิตยสาร Sports Illustrated เมื่อปี 1960 ทำให้มารีเมกโกะดังในชั่วข้ามคืน เป็นที่พูดถึงในนิตยสารแฟชั่นทุกสำนักทั่วอเมริกา

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

05  Marimekko    บุกเบิกชุดสำเร็จรูปในทรงปล่อยสบายแทนการผูกรัดอย่างในอดีต

มารีเมกโกะปลุกกระแสการออกแบบและแฟชั่นจากโลกที่เคร่งขรึมด้วยลวดลายขนาดใหญ่และสีสันฉูดฉาด ที่น่าสนใจไม่แพ้ลวดลายคือ ความคิดหัวก้าวหน้าของอาร์มีทำให้แนวทางการออกแบบกลายเป็นจุดแข็งของมารีเมกโกะ ขณะที่แบรนด์ใกล้เคียงอื่นๆ ไม่กล้าทำ อย่างการใช้ลาย Abstract และการให้อิสระแก่นักออกแบบเต็มที่

06  Marimekko  ตั้งชื่อลายด้วยภาษาฟินแลนด์เท่านั้น

ลวดลายจากมารีเมกโกะเกิดขึ้นจากการเลือกหยิบเอกลักษณ์ในวัฒนธรรมท้องถิ่นประยุกต์กับธรรมชาติและความสวยงามรอบตัว ทิวทัศน์ในชนบท โรงนา สร้างสรรค์จนออกมาเป็นลวดลายประจำชาติ เน้นความเรียบง่าย และตั้งชื่อด้วยภาษาฟินแลนด์เท่านั้น เช่น ลายพรมผ้า (Räsymatto, 2009) โดย ไมยา โลเวกการี (Maija Louekari) ได้แรงบันดาลใจจากการแบ่งแปลงปลูกผักและดอกไม้ในสวน

07 นักออกแบบผู้ได้รับสมญานาม Coco Chanel แห่งฟินแลนด์

ลายเส้นตรงจากแปรงทาสี (Piccolo, 1953) โดย วูอกโกะ เอสกอลิน-นูร์เมสเนียมี (Vuokko Eskolin-Nurmesniemi) (1953) นักออกแบบผู้ได้รับสมญานาม Coco Chanel แห่งฟินแลนด์ เพราะนอกจากจะพูดถึงความเท่าเทียมในที่มาของลายทางแล้ว ยังเป็นคนแรกที่ออกแบบชุดกระโปรงทรงหลวมและเสื้อเชิ้ตตัวยาวที่ใส่ได้ทั้งผู้ชายและหญิง

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

08 ลายประจำชาติ ที่ได้มาจากการฉีกกฎเหล็กของเจ้าของแบรนด์

ลายพิมพ์ดอกป๊อปปี้ หรืออูนิกโกะ (Unikko, 1964) ในตำนาน เกิดขึ้นจากการความกล้าของ ไมยา อีโซลา (Maija Isola) นักออกแบบผู้แหกกฎเหล็กของเจ้าของแบรนด์ที่ไม่อนุญาตให้ออกแบบลายดอกไม้ เพราะอยากให้ลวดลายจากมารีเมกโกะใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างเท่าเทียม รวมถึงให้เหตุผลว่า ดอกไม้สวยงามดีอยู่แล้วเมื่ออยู่ในธรรมชาติ ขณะนั่งมองดอกไม้อยู่หลังบ้านของเธอ ไมยาตัดสินใจวาดขึ้นมาทั้งๆ ที่คิดว่าอาร์มีจะปัดตก แต่อาร์มีกลับตอบรับทันที พร้อมคิดต่อว่าจะนำลายไปพิมพ์ผ้าอย่างไรบ้าง

เป็นจุดเริ่มต้นของดอกป๊อปปี้ที่ไม่เคยโรยราบนเสื้อผ้า กระเป๋า และสินค้าทุกประเภท ของมารีเมกโกะ ซึ่งได้รับความนิยมถึงปัจจุบัน และกลายเป็นลายประจำชาติไปแล้ว

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

และปีเดียวกันนั้น ไมยายังออกแบบลายบ่อน้ำ (Kaivo, 1964) ซึ่งมีที่มาจากการเคลื่อนไหวของผิวน้ำเมื่อหยดน้ำค่อยๆ หยดลงบ่อ รวมถึงเป็นเจ้าของลายคลาสสิกอื่นๆ ด้วย เช่น ลายก้อนหิน (Kivet, 1956)

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

09 ลายทาง สัญลักษณ์ของความเท่าเทียมกัน

ลายทาง (Tasaraita, 1968) ลายคลาสสิกอีกลายที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเท่าเทียมกัน หรือ Unisex ในทางแฟชั่น มาจาก อันนิกา ริมาลา (Annika Rimala) นักออกแบบสายกราฟิกผู้เปลี่ยนให้มารีเมโกะป๊อปขึ้น วัยรุ่นขึ้น ด้วยการออกแบบชุดกระโปรงทรงทันสมัยซึ่งปรากฎในนิตยสารแฟชั่นต่างประเทศมากมาย โดยจุดเริ่มต้นของเสื้อลายทางมาจากเทรนด์เสื้อผ้าเดนิมในปี 1968 อันนิกาจึงออกแบบเสื้อผ้าคัตตอนลายทางคอลเลกชันแรกแก่มารีเมกโกะ ซึ่งนอกจากลายทางแล้วอันนิกายังเป็นเจ้าของลายจุด หรือลายปัลโล (Pallo) ไอเทมฮิตของชาวฟินแลนด์ด้วย

10  การออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความสวยงามในชีวิตประจำวัน

ที่มาของเอกลักษณ์ในงานมาจากปรัชญาแห่งการออกแบบและทำงานว่า ‘Design is inspired by beautiful everyday.’ ประกอบด้วยความเชื่อว่า หนึ่ง จุดเริ่มต้นของงานดีมาจากการมองโลกให้สนุก (Joy of Everyday Life) ทำงานให้สนุก และเผยแพร่อารมณ์บวกให้คนรอบข้าง สอง การให้อิสระแก่นักออกแบบทุกคน (Freedom of Creativity) เพื่อ สาม สร้างสรรค์ลวดลายและสีสันที่โดดเด่น (Patterns and Colours)

สี่ การคิดถึงลวดลายที่ไม่มียุคสมัย (Timeless) ไม่ตามเทรนด์ เน้นความคลาสสิก ใช้ได้นานโดยไม่ต้องกลัวเชย ห้า ความจริงใจในการใช้ชีวิต (Genuineness) หรือการทำความเข้าใจและยอมรับความสวยงามที่ผ่านเข้ามา และหก ตอบโจทย์การใช้ในชีวิตประจำวัน (Functionality)

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
ขั้นตอนการทำลายพิมพ์ผ้าจากโรงงาน Marimekko ในเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

11   Marimekko  อยากให้คนจดจำว่า เป็นแบรนด์ออกแบบลายผ้า ไม่ใช่แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น

วิสัยทัศน์ของ Marimekko คือ การเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะแบรนด์ผู้ออกแบบลวดลายที่เพิ่มแรงบันดาลใจแก่ทุกคน จุดแข็งของ Marimekko คือ อัตลักษณ์ ลวดลายอันหลากหลายที่สร้างความน่าสนใจให้ตัวแบรนด์เอง

12 Marimekko ไม่ได้ขายเสื้อผ้าแฟชั่น แต่ขายวิถีชีวิต

อาร์มีเคยกล่าวว่า มารีเมกโกะไม่ได้ขายเสื้อผ้าแฟชั่น แต่ขายวิถีชีวิต และเน้นให้ความสำคัญกับการออกแบบ และมารีเมกโกะขายความคิดสร้างสรรค์มากกว่าชุดกระโปรงที่เห็น

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

13 จากออกแบบลวดลาย สู่ออกแบบไลฟ์สไตล์

เมื่อโจทย์ของมารีเมกโกะต้องการเป็นแบรนด์สร้างสรรค์ลวดลาย แล้วลวดลายที่ว่านั้นจะปรากฏอยู่ในส่วนไหนของชีวิตประจำวันได้บ้าง จึงเป็นที่มาของสินค้าไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่เสื้อผ้า กระเป๋า ข้าวของเครื่องใช้ ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร ผ้าพิมพ์ลายคุณภาพดี

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

14 ถุงผ้า Marimekko  ไม่ได้เป็นแค่ถุงผ้าแฟชั่น

ที่มาของถุงผ้า (Tote Bag) ไอเทมฮิตของคนไทย มาจากความต้องการใช้งานจริงของคนฟินแลนด์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็นิยมใช้แทนถุงพลาสติกทั้งหมด

“ชาวฟินแลนด์สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก เขาไม่ได้ใช้มารีเมกโกะเพราะแฟชั่น เป็นอีกโจทย์สำคัญหนึ่งที่เราพยายามสื่อสารกับลูกค้าว่า มารีเมกโกะไม่ได้เป็นเพียงถุงผ้าแฟชั่น” คุณนัศรีย์ เล่าเสริม

15 Originality  หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่คนทั่วโลกรักมารีเมกโกะ

นั่นคือ เอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร หรือ Originality ที่สื่อถึงความภูมิใจในท้องถิ่นผ่านลวดลายธรรมชาติ เรียบง่ายแต่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชมของนานาชาติในฐานะผู้ผลิตวัฒนธรรมผ่านการสร้างแบรนด์ออกแบบลวดลาย (Pattern Design) ที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก จากการมีร้าน 160 สาขาใน 40 ประเทศทั่วโลก

ลวดลายและวิธีคิดที่แสนเรียบง่าย สะท้อนมาจากความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และเปี่ยมไปด้วยมีวิถีชีวิตของชาวฟินแลนด์ตั้งแต่ในอดีต หลอมรวมมาเป็นความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งสืบเนื่องจากความเหน็บหนาวและความแร้นแค้นที่เคยประสบสมัยสงคราม

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

16 ไปสู่การเป็นแบรนด์ระดับโลกด้วย  Marimekko Spirit 

การจะไปสู่แบรนด์ระดับโลก มารีเมกโกะมีสิ่งที่เรียกว่า Marimekko Spirit ประกอบด้วย Living, not pretending มารีเมกโกะเชื่อในการเป็นตัวของตัวเองและการเสาะหาความสวยงามในชีวิตประจำวัน โดยสนับสนุนการใช้ชีวิตแบบไม่เสแสร้งและปรุงแต่ง อยากให้คนจดจำว่าเป็นแบรนด์ที่สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวฟินแลนด์ มากกว่าจะเข้าใจว่ามารีเมกโกะคือแบรนด์แฟชั่น

Fairness to everyone and everything คิดถึงทุกคนที่อยู่บนเส้นทางและเป้าหมายเดียวกัน สิ่งสำคัญคือควบคุมการผลิตให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น มาตรการการป้องกันไม่ให้ของเสียจากโรงย้อมผ้าไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก Common Sense ใช้งานได้จริงไม่ซับซ้อน คุณภาพต้องมาพร้อมความสมเหตุสมผลที่เรียบง่าย

Getting things done – together มีประโยคหนึ่งของฟินแลนด์กล่าวว่า ‘เราไม่ทิ้งเพื่อนไว้ข้างหลัง’ การร่วมมือกันคือกลยุทธ์ที่สำคัญ Courage, even at the risk of failure จงกล้าหาญแม้จะเสี่ยงพบกับความล้มเหลว ที่มารีเมกโกะมีวัฒนธรรมที่ทุกคนยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการทำงานได้ ทำให้พนักงานทุกคนพร้อมระเบิดความคิดสร้างสรรค์ออกมา ตัวอย่างที่ชัดเจนของเรื่องนี้คือ ที่มาของดอกอูนิกโกะ และ Joy ความสนุก

17 ความคิดสร้างสรรค์ ความเท่าเทียมกัน และการเติบโต

มารีเมกโกะ ในวันนี้กำลังพูดเรื่อง #growthstories ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้เป็นแรงบันดาลใจของมารีเมกโกะ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความเท่าเทียมกัน และการเติบโต จากเมล็ดพืชใต้พื้นดิน เติบโต และผลิบาน

Growth Stories
https://youtu.be/X59WTiNZqpA
Satu Maaranen – Grow to be creative
https://youtu.be/KJrKNao2IlY

18 Marimekko  เป็นแบรนด์ที่พูดเรื่องความเสมอภาคมาตั้งแต่ยุค 50

นำเสนอเสื้อผ้า Unisex มาก่อนกาล ตั้งแต่วันแรกเริ่ม เป็น Marimekko Spirit ที่ซ่อนอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ของมารีเมกโกะ ดังจะเห็นว่าไม่มีอะไรมากำหนดว่ากระเป๋าใบนี้เหมาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่ผู้ชายก็ใช้ได้

19 สิ่งที่ Marimekko ให้กับผู้คนคือ วิถีชีวิต

การใส่ความสุขลงไปในชีวิตประจำวัน เช่น สีสดๆ ที่ให้ อารมณ์ขันในหลายๆ ลาย ซึ่งคนทั่วโลกเข้าใจสิ่งนี้

20 ธนจิรา (TANACHIRA)  Exclusive Distributor แบรนด์ ‘Marimekko

ไม่ใช่แค่ตัวแทนจำหน่าย แต่ ‘ธนจิรา’ เป็น ‘Lifestyle Company’ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างเจ้าของแบรนด์และผู้บริโภค ผ่านการนำเสนอความหลากหลายของสินค้าที่มากคุณภาพ (Product Quality) การถ่ายทอดความเป็นแบรนด์สู่คนไทย (Brand Experience) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ดังความตั้งใจของ ธนจิรา ที่มีเป้าหมายในการนำสิ่งที่ดีที่สุดของแบรนด์มาสู่ผู้บริโภคชาวไทย ‘Bring the best of brand to the best of Thailand.’

โจทย์ของธนจิรากับการทำให้แบรนด์มารีเมกโกะเข้าไปอยู่ในใจคนไทย เริ่มจากสร้างแบรนด์ด้วยการทำความเข้าใจผู้บริโภค รู้พฤติกรรมลูกค้าชาวไทยว่าต้องการเห็นต้นแบบการจัดวางสไตล์สแกนดิเนเวีย และทางเลือกใหม่ๆ ของการเลือกหยิบสินค้า

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

“ใครจะเชื่อว่าเมื่อจับลายทางมาเจอลายดอกไม้ดอกโตแล้วจะลงตัวเข้ากันดี นี่คือความคลาสสิกหนึ่งที่มีในมารีเมกโกะเท่านั้น” นัศรีย์เล่า พร้อมหยิบจับข้าวของเครื่องใช้จัดวางให้เห็นเป็นตัวอย่าง เป็นที่มาของการออกแบบและจัดวางหน้าร้านใหม่ เปิดโอกาสให้คนที่มาเยือนสนุกกับการทดลอง หรือรับคำแนะนำจากทีมงานหน้าร้านผู้มีทักษะการออกแบบพิเศษ

สองกลยุทธ์สำคัญในการทำดำเนินธุรกิจตามสไตล์ธนจิรา ประกอบด้วย “Marketing Excellence” ซึ่งคือ จะเข้าไปมีบทบาททั้งสร้างการรับรู้แบรนด์ การขยายตลาด การให้ความรู้ลูกค้า วางระดับราคาที่เหมาะสมในจุดที่กลุ่มเป้าหมายสามารถจับต้องได้ ขยายพอร์ตสินค้าลงในเชิงลึกสู่ตลาดพรีเมียมและพรีเมียมแมส รวมทั้งมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับ Branding Experience มีการวางแผนการตลาดให้ตรงใจผู้บริโภค

และ “Operational Best Practice” คือ มีระบบการบริหารงานขายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยึดมั่นในวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้โตแบบยั่งยืน คือ เป็นสังคมการทำงานที่เกื้อกูล ทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุข

ปลายทางที่เหมือนกันของธนจิราและมารีเมกโกะ คือการมอบความสุขและไลฟ์สไตล์ที่ดีแก่ทุกคน ผ่านสินค้า และประสบการณ์ด้วยการทำให้เห็นว่าคนฟินแลนด์คิด อยู่ และมีวิถีชีวิตอย่างไร

เช่นเดียวกับร้านมารีเมกโกะ (Flagship Store) โฉมใหม่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในฟินแลนด์ ตั้งแต่หน้าร้านที่ออกแบบฟาซาด (Façade) ให้เป็นกระจกโล่ง กว้าง และโปร่งใส ด้านบนมีโลโก้ป้ายไฟสีขาววางบนไม้สนแท้ถูกแกะสลักให้เป็นแพตเทิร์นสี่เหลี่ยมวางติดๆ กัน

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA

ผสมกับกลิ่นอายอย่างสแกนดิเนเวียจากประตูทางเข้า การตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ การจัดวางสินค้าที่สร้างสมดุลระหว่างฟังก์ชัน รูปทรง สีสันและลวดลาย และจัดแสงสีขาวนวลหรือ Warm White สร้างบรรยากาศราวอยู่ในบ้านของชาวสแกนดิเนเวียช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว โดยเฉพาะห้องลองเสื้อที่ทำให้เราอยากติดอยู่ในร้านทั้งวัน เป็นการสร้าง Brand Experience ผ่านจำลองบรรยากาศ และออกแบบให้กว้างขึ้นเพื่อนำเสนอไลฟ์สไตล์มากขึ้น

รวมไปถึงจัดทำกระเป๋าผ้า Tote Bag ลายดอกอูนิกโกะคู่สีพิเศษโทนสีชมพูและเบจ โดยเฉพาะสำหรับวางจำหน่ายในประเทศไทยที่เดียวเท่านั้น เป็นการออกแบบร่วมกันของคู่แม่ลูกผู้เป็นนักออกแบบในตำนานของมารีเมกโกะ อย่างไมยาและ คริสตีนา อีโซลา (Kristina Isola) โดยปรับขนาดของลายให้ดูร่วมสมัยมากขึ้น

Marimekko, มารีเมกโกะ, ธนจิรา, TANACHIRA
Photo Credit Instagram @markcarter
 
 

Writer

นภษร ศรีวิลาศ

นภษร ศรีวิลาศ

บรรณาธิการธุรกิจ The Cloud 4.0 แม่บ้านและฝ่ายจัดซื้อจัดหานิตยสารประจำร้านก้อนหินกระดาษกรรไกร ผู้ใช้เวลาก่อนร้านเปิดไปลงเรียนตัดเสื้อ สานฝันแฟชั่นดีไซเนอร์ในวัย 33 ปัจจุบันเป็นแม่ค้าที่ทำเพจน้องนอนในห้องลองเสื้อบังหน้า ซึ่งอนาคตอยากเป็นแม่ค่ะ

Photographer

มณีนุช บุญเรือง

มณีนุช บุญเรือง

ช่างภาพสาวประจำ The Cloud เป็นคนเชียงใหม่ ชอบแดดยามเช้า การเดินทาง และอเมริกาโน่ร้อนไม่น้ำตาล