เครือข่ายต้นไม้ในเมือง คือกลุ่มคนที่รักต้นไม้และอยากเห็นเมืองร่มรื่น เขียวชอุ่ม ด้วยการตัดแต่งต้นไม้อย่างถูกวิธี จากการสร้างภาพจำให้คนในเมืองตระหนักถึงต้นไม้ในฐานะสินทรัพย์อันล้ำค่าและควรค่าแก่การอนุรักษ์ พวกเขาทำหน้าที่ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลต้นไม้ เพื่อฟื้นฟูต้นไม้ประวัติศาสตร์และต้นไม้โบราณทั่วกรุง โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นตะเคียน หลังวัดราชบพิธฯ คลองคูเมืองเดิม ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เป็นต้นไม้ที่รัชกาลที่ 1 ทรงปลูก อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุมากที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ของกรุงรัตนโกสินทร์ 

จากความร่วมมือที่เกิดขึ้น ขยายผลให้เครือข่ายต้นไม้ในเมืองร่วมกับ BIG Trees กลุ่มคนเมืองที่ต้องการสร้างความเข้าใจให้คนในเมืองมีส่วนร่วมและรู้คุณค่าของการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนให้กับเมือง และกระทรวงกลาโหม จัดทำโครงการ ‘การฟื้นฟูต้นมะขามและมะฮอกกานี บริเวณกระทรวงกลาโหม’ เพื่อแก้ไขปัญหาระบบรากต้นไม้ที่เข้าขั้นวิกฤต รวมทั้งป้องกันอันตรายก่อนต้นไม้จะหักโค่นลงมาสู่คนทั่วไปที่สัญจรอยู่ 

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'
ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของเหล่าคนรักต้นไม้ที่มีจุดหมายเดียวกัน คือการดูแลต้นไม้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องบนพื้นฐานของความเข้าใจ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนให้กับเมือง และต่อยอดไปสู่การดูแลต้นไม้ในเมืองทั่วประเทศ 

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

01

เมื่อย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารคในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อเดือนพฤษภาคม จึงเกิดความร่วมมือของเหล่านักอนุรักษ์ขึ้น เพื่อฟื้นฟูต้นไม้ประวัติศาสตร์ในบริเวณพระราชพิธี รวมถึงต้นไม้สำคัญ เช่น ต้นตะเคียน หลังวัดพระราชบพิธฯ ให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่ารัชกาลที่ 1 ทรงให้ปลูกเพื่อใช้ในการสร้างเรือ ผลจากการดูแลต้นคุณปู่ตะเคียนมาเป็นเวลา 1 ปี ทำให้คุณปู่ตะเคียนออกจากห้องไอซียูได้แล้ว สร้างความอิ่มเอมใจและกำลังใจให้เหล่าคนรักต้นไม่น้อย

จากความร่วมมือที่ผ่านมา ขยายผลให้เกิดความร่วมมืออนุรักษ์ฟื้นฟูต่อยอดมาจนถึงต้นไม้ในย่านเดียวกัน คือ ต้นมะขามและมะฮอกกานีหน้ากระทรวงกลาโหมที่เรากำลังยืนอยู่นี้

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

02

เรากำลังอยู่ในพื้นที่การฟื้นฟูต้นมะขามและมะฮอกกานีบริเวณกระทรวงกลาโหม เสียงค้อนทุบพื้นฟุตพาทริมถนนดัง ‘ตุบ’ กับภาพที่เห็นคือพื้นรอบโคนต้นไม้ใหญ่กำลังแตกเป็นเสี่ยงๆ ในขณะเดียวกันฉันเห็นกลุ่มคนกำลังใช้เสียมขุดดินอันแข็งดั่งหิน ลึกลงไปยังพื้นที่รอบโคนต้นไม้นั่นทำให้ฉันรู้ได้ในทันทีเลยว่า ที่ตรงนี้ได้มีการนำพื้นฟุตพาทออกไปแล้ว ภารกิจใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นหน้าบริเวณกระทรวงกลาโหมแห่งนี้  

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ พิมพ์-พรนภา ศิริบุญญฤทธิ์ หนึ่งในทีมฟื้นฟูต้นมะขามและมะฮอกกานี บริเวณกระทรวงกลาโหม บริษัทรุกขกรวิสาหกิจเพื่อสังคม สังกัด BIG Trees ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลต้นไม้อย่างถูกวิธีหรือที่เราเรียกว่า ‘ศาสตร์รุกขกรรม’ เปรียบเสมือน ‘อารักษ์’ ให้เหล่าคุณต้นไม้นั่นเอง 

พิมพ์เล่าให้เราฟังว่า ต้นมะขามหน้ากระทรวงกลาโหมเหล่านี้ เมื่อลองตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานของต้นไม้ตั้งแต่รากจนถึงใบ พบว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคงจะเป็นเรื่องระบบรากไม่ทำงาน สาเหตุมาจากดินข้างใต้ขาดสารอาหารอีกทั้งเป็นดินที่ผสมกับเศษอิฐ หิน และทราย รวมถึงโครงสร้างพื้นฟุตพาทที่บีบอัดแน่นจนเกินไป ทำให้ดินแข็ง ส่งผลให้รากหาอาหารไม่ได้ หนทางแก้คือต้องเร่งฟื้นฟูระบบรากของต้นไม้ให้กลับทำงานได้ปกติ ด้วยวิธีการดังนี้

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'
ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

1) การฟื้นฟูระบบรากด้วยการเปิดพื้นปูนเดิมออก

2) ใช้นวัตกรรมการฟื้นฟูต้นไม้ โดยเปลี่ยนดินที่เสื่อมสภาพด้วยการใช้เสียมขุด เอาดินเดิมออกโดยไม่ทำให้รากต้นไม้เสียหาย

3) เติมและบำรุงดินด้วยปุ๋ยและไบโอชาร์ (ถ่านชีวภาพ) ถ่านคุณภาพสูงที่มาจากการเผากิ่งไม้ที่มาจากการตัดแต่งต้นไม้เมื่อผสมกับดินและปุ๋ยให้กับต้นไม้ ไบโอชาร์จะกักเก็บสารอาหารแล้วค่อยๆ ปล่อยออกมาให้กับต้นไม้เป็นเวลานาน และเป็นการกักเก็บคาร์บอนลงในดิน

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

4) ผสมดินโครงสร้าง (Structural Soil) ซึ่งเป็นดินผสมหินขนาดเล็กใส่บริเวณโคนต้นไม้ เพื่อเพิ่มช่องว่างในดินไม่ให้ดินถูกบดอัดมากไป และอากาศจะแทรกอยู่ทำให้กระบวนการหายใจของรากเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5) ปูด้วยบล็อกพรุน (Porous Block) อากาศและน้ำจึงซึมผ่านลงไปยังรากได้

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

พอได้ฟังแล้วเราครุ่นคิดได้ทันทีเลยว่า ‘หากเปรียบต้นไม้เป็นมนุษย์ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอุดรูจมูกไว้ เราคงอึดอัดและหายใจลำบากไม่น้อย’ 

03

เสียงเจื้อยแจ้วของเหล่าอาสาสมัครคนรักต้นไม้สอดประสานกันอยู่ริมถนน ช่างเป็นภาพหนึ่งนี่น่าประทับใจอย่างมาก ใบหน้าที่ยิ้มแย้มกับการกระทำที่คอยหยิบจับจอบเสียม ผสมดินและถ่านชาร์โคลให้กับต้นมะขาม ก่อนปิดทับด้วยบล็อกพรุน ในขณะที่ฉันกำลังเดินสนทนาอยู่กับ ปุ้ม-อรยา สูตะบุตร และ โช-สุนทร การินทร์ จากทีมคนรักต้นไม้ที่ร่วมฟื้นฟูต้นไม้มาแล้วทั่วกรุงจาก BIG Trees

“หนึ่งในสิ่งที่เป็นความกังวลจากการทำงานอนุรักษ์ต้นไม้มาแล้ว คือเราพบว่าคนทั่วไปไม่เข้าใจธรรมชาติของต้นไม้ ทุกวันเราขับรถผ่านท้องถนนที่เต็มไปด้วยต้นไม้อยู่ตามข้างทาง แต่เราไม่เคยรู้เลยว่าต้นไม้เหล่านั้นมีปัญหาอะไร เห็นใบมีสีเขียวแสดงว่าต้นไม้ยังสมบูรณ์อยู่ แต่แท้จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้นแต่เราแค่ไม่รู้” ปุ้มพูดขึ้น

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

การลงมือปฏิบัติการฟื้นฟูต้นไม้ในเมืองโดยทีมเหล่าอาสาสมัคร จึงต้องเผยแพร่การทำงานสู่สาธารณะ เพื่อให้คนทั่วไปที่สัญจรผ่านไปมาได้เห็นการทำงานเกี่ยวกับต้นไม้และฉุกคิดถึงเรื่องของต้นไม้ขึ้น ไม่เพียงต้นไม้ในที่สาธารณะเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงต้นไม้ในบ้านเรือนด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเหมือนกัน ถือเป็นการสร้างความเข้าใจในเรื่องต้นไม้ทางอ้อมแก่คนทั่วไป โดยที่ไม่ต้องป่าวประกาศหรือจัดอมรมให้เอิกเกริก

ตลอดระยะเวลา 8 ปี ของกลุ่ม BIG Trees ที่ได้ดูแลต้นไม้ในเมืองไปจำนวนไม่น้อย และได้สร้างเครือข่าย แผ่ขยายรัศมีออกไปสู่สาธารณชน เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมชัดสุดคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการฟื้นฟูคุณปู่ตะเคียนให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์นั่นเอง  

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

“หากฟื้นฟูต้นมะขามทั้งหมดสิบเอ็ดต้นหน้ากระทรวงกลาโหมนี้เสร็จ และได้เห็นมันเติบโตขึ้นอีกหลายปีต่อจากนี้ เราก็รู้สึกภูมิใจที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์ต้นไม้กับเหล่าคนรักต้นไม้เหมือนกับเรา” โชพูดปิดท้าย

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

04

บทส่งท้าย

‘ตู๊ด ตู๊ด ตู๊ด’ เสียงลอดออกมาจากโทรศัพท์ ฉันกำลังจะได้คุยกับ อุ๊-ช่อผกา วิริยานนท์ บุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดโครงการฟื้นฟูต้นมะขามและมะฮอกกานี บริเวณกระทรวงกลาโหม ฉันถามคุณอุ๊ถึงความคาดหวังเกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นไม้ในเมืองที่อยากจะเห็นในสังคม

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

“ทุกครั้งที่เราสร้างต้นแบบการฟื้นฟูระบบราก แปลว่าเรากำลังผ่าทางตันว่าในวิธีดูแลต้นไม้แบบเก่า คุณเคยกระทำการใดๆ ต่อรากต้นไม้ด้วยความจำเป็นมากมาย บัดนี้เราต้องเปลี่ยนการกระทำเหล่านั้น มันคือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน ซึ่งไม่ง่ายเลย มันจะส่งผลกระทบมากมาย และการเริ่มต้นสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ คือโมเดลต้นแบบที่เอาไปประยุกต์และขยายผลต่อไปได้ในอีกหลายพื้นที่

“สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือต้องทำให้สังคมไทยมีชีวิตที่ร่มรื่นและปลอดภัยในการอยู่กับต้นไม้ ไปพร้อมๆ กับการเติบโตของต้นไม้ เพราะเรามีความเชื่อมั่นว่าต้นไม้ในเมืองคือสินทรัพย์ของคนในเมือง เราอยากให้กรุงเทพฯ และประเทศไทยสร้างต้นไม้ในเมืองและใช้ประโยชน์จากต้นไม้ได้อย่างมหาศาลต่อไป” คุณอุ๊ทิ้งท้ายถึงความหวังในการอยู่ร่วมกันของต้นไม้ในเมืองต่อไป

ภารกิจใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมของ BIG Trees ผู้มองเห็นว่า 'ที่จริงแล้วต้นไม้ในเมืองมันมีปัญหาทั้งนั้น'

Writer

Avatar

พิชญาภัค เจริญวัง

ชอบอ่านเรื่องความรัก ชอบคิดเรื่องเพ้อฝัน ชอบเขียนคำคมและบทกลอน วันว่างๆ ชอบวาดรูปธรรมชาติเก็บไว้เป็นไดอารี่ของตัวเอง

Photographer

Avatar

The Cloud

นิตยสารออนไลน์ที่เล่า 3 เรื่องหลักอย่าง Local, Creative Culture และ Better Living ส่งเนื้อหารายวัน แต่เสิร์ฟความประณีตแบบนิตยสารรายเดือน