ธุรกิจ : หจก. มัลลวีร์

ประเภทธุรกิจ : เสื่อและสินค้าจากเสื่อ

ปีที่ก่อตั้ง : พ.ศ. 2513

อายุ : 52 ปี

ผู้ก่อตั้ง : ปคุณ ตั้งชัยศักดิ์

ทายาทรุ่นสอง : ผศ.ดร.กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์ และ กฤษณา อัศรัสกร

ทายาทรุ่นสาม : นนทิกานต์ อัศรัสกร และ ภูริณัฐ อัศรัสกร

เสื่อเป็นของใช้ในครัวเรือนที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

‘Agora Design Mat’ เป็นแบรนด์เสื่อที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์ เติบโตจากโรงงานเสื่อพลาสติกที่เก่าแก่ที่สุดในไทย ต่อยอดเป็นสินค้าครบวงจร และยังแตกแบรนด์เป็น ‘ลฤก’ พวงหรีดเสื่อผืนหมอนใบ  

จากเสื่อสีแป๊ดที่ทุกคนต้องเคยเห็นที่วัดและบ้านเรือน ใครจะนึกว่าแนวคิดการทำเสื่อรีไซเคิลนั้นไม่ได้เริ่มจากกระแสรักษ์โลกในยุคโซเชียล แต่เป็นไอเดียของ อากงปคุณ ตั้งชัยศักดิ์ ผู้ก่อตั้งรุ่นแรกเมื่อ 40 – 50 ปีก่อน ในสมัยที่ธุรกิจยังไม่ค่อยตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของรุ่นหนึ่ง ทำให้ธุรกิจครอบครัวมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพลาสติกและการผลิตเสื่อ เป็นรากฐานที่แข็งแรงให้ลูกหลานต่อยอดการออกแบบเป็นสินค้าจากเสื่อหลายชนิด รวมถึงสืบสานเจตนารมณ์ของอากงที่ตั้งใจทำธุรกิจแบบคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม 

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

ชวนปูเสื่อฟังเรื่องเล่าจากตัวแทนธุรกิจครอบครัว ทายาทรุ่นสอง ผศ.ดร.กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์ และ ทายาทรุ่นสาม แป้ง-นนทิกานต์ อัศรัสกร รวมถึงถอดบันทึกการทำธุรกิจและบทสัมภาษณ์ของผู้ก่อตั้งรุ่นแรก จากส่วนหนึ่งของหนังสือในครอบครัว ‘กลยุทธ์ธุรกิจ 84 ปี ปคุณ ตั้งชัยศักดิ์ จากสำเพ็งสู่การค้าระดับโลก’

ตำนานของรุ่นหนึ่ง

ปคุณ ตั้งชัยศักดิ์ 

เขาคือเซลล์แมนยุคแรกของไทยผู้มีสายตาพ่อค้ากว้างไกลและเทคนิคการขายแพรวพราว เริ่มจากเป็นเด็กส่งของในปคุณ ตั้งชัยศักดิ์ เกิดในครอบครัวคนจีนที่ถนนทรงวาด ย่านการค้าในอดีต
ก่อนก่อตั้งธุรกิจของตัวเอง เขาคือผู้ได้รับการกล่าวขวัญว่า เป็นหนึ่งใน ‘สามทหารเสือแห่งสหพัฒน์’ หรือ ผู้จัดการฝ่ายขาย 3 คนแรกของ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ผู้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้สหพัฒน์กลายเป็นผู้นำเทรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงก่อตั้ง

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์
Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

เขาคือเซลล์แมนยุคแรกของไทยผู้มีสายตาพ่อค้ากว้างไกลและเทคนิคการขายแพรวพราว เริ่มจากเป็นเด็กส่งของในย่านสำเพ็ง ปลุกปั้นจนสินค้าแจ้งเกิด ประสบความสำเร็จในการขายตรงสู่หัวเมืองต่างจังหวัดทั่วประเทศ ช่วงทำงานที่สหพัฒน์ ปคุณได้เดินทางไปติดต่อการค้าและสร้างสัมพันธ์ที่ญี่ปุ่นเป็นประจำ เพื่อนำเข้าสินค้านำเทรนด์มายังประเทศไทย เมื่อเริ่มสร้างอาณาจักรการค้าของตัวเองในนามบริษัทเวิลด์เทรดดิ้ง เขาใช้ความเชี่ยวชาญจากการนำเข้าสินค้าล้ำสมัยนานาชนิดจากญี่ปุ่น โดยยึดหลักซื่อสัตย์และกตัญญูกับบริษัทเก่า ไม่ทำการค้าแข่งกับสหพัฒน์ ก่อนเล็งเห็นธุรกิจที่มีอนาคตไกล นั่นคือ พลาสติก  

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

ด้วยสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่นนี้เอง ปคุณเล็งเห็นโอกาสนำเข้าเม็ดพลาสติกจากญี่ปุ่น ซึ่งราคาถูกกว่าโรงงานผู้ผลิตอื่น ๆ ในไทย ที่ตอนนั้นนำเข้าเม็ดพลาสติกจากบริษัทเยอรมัน จึงผันมาทำธุรกิจพลาสติกเต็มตัว เขาเป็นคนแรกที่นำเข้าเครื่องเป่าถุงพลาสติก นำเข้าท่อพีวีซีเจ้าแรก และนำเข้าเครื่องจักรสำหรับผลิตสินค้าจากพลาสติกอื่น ๆ แตกเครือข่ายกิจการอีก 10 บริษัท เขาไม่เพียงเป็นทั้งผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมนี้ในไทย แต่ยังคำนึงถึงการแก้ปัญหาขยะพลาสติกด้วยการรีไซเคิลตั้งแต่หลายสิบปีก่อน

หลักการทำธุรกิจของปคุณคือดูแลลูกค้าเสมือนญาติ เขาชอบช่วยแก้ไขปัญหาทั้งเทคนิคการผลิตและการตลาด ตั้งแต่ผสมสีพลาสติกให้สวยงามและปลอดภัย แนะนำสินค้าที่น่าผลิตให้ลูกค้า เช่น ถุง ปืนฉีดน้ำ ฮูลาฮูป ไปจนถึงซื้อเครื่องจักรบางชนิดมาผลิตสินค้าเอง นั่นคือ เสื่อ

วิธีขายเสื่อสุดแพรวพราว

โดยยอดนักขายยุคบุกเบิก

ผศ.ดร.กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์ ทายาทรุ่นสอง บุตรชายของปคุณเล่าว่า 

“พ่อผมทำธุรกิจกับญี่ปุ่นบ่อย ๆ อยู่แล้ว ตอนแรกไม่ได้จะผลิตเอง เพราะเราเป็นคนขายพลาสติก ตั้งใจให้ลูกค้าผลิต แต่ลูกค้าทำไม่สำเร็จ เลยเอาเครื่องจักรมาทำเอง จนสุดท้ายเปิดเป็นโรงงาน”  

รุ่นแรกนั้นมีอุปสรรค ต้องต่อสู้ฝ่าฟันมาเยอะ เพราะคนไม่คุ้นชินกับเสื่อพลาสติก จึงเกิดปัญหาในการขาย แต่ด้วยความเชื่อมั่นในคุณภาพของเสื่อที่มีความคงทน สีสันสวยงาม ไม่แตกง่าย ทำให้ปคุณขายเสื่อแบบสู้ไม่ถอยต่อเนื่องกว่า 20 ปีจนติดตลาด 

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

หลักคิดของปคุณคือ “การค้าขายนั้น ซื้อมาขายไปไม่สามารถคงอยู่ได้ตลอดไป ต้องมีการจูงใจ ต้องมีการโฆษณา ต้องหาจุดเด่นและเป็นที่จดจำ” เขาจึงใช้หลายกลยุทธ์ในการขาย เริ่มจากใช้โปรโมชันดึงดูดให้คนอยากซื้อ

“พอขายงานกาชาดเฉย ๆ ไม่ได้กระตุ้นคนซื้อเท่าไหร่ ผมก็มีจานเป็นแก้วมาจากอิตาลี มันตกไม่แตก โยนให้ดูเลย ผมเอาจานนี้มาผูกกับเสื่อ เสื่อ 1 ผืนแถมจาน 1 ใบ คนสนใจเยอะ ซื้อกันใหญ่ จากนั้นไปตามต่างจังหวัดก็ทำอย่างนี้ พอทำสัก 2 – 3 ปี ต่างจังหวัดเริ่มวิ่งเข้ามาหาเอง ตั้งแต่นั้นมาเสื่อก็เลยขายดี”
นอกจากงานกาชาด เขายังขายตามงานวัดทั่วประเทศและใช้กลยุทธ์การตลาดกองโจร (Guerilla Marketing) กับร้านค้าโชห่วยรายเล็ก คือให้คนเดินเข้าไปถามว่ามีเสื่อพลาสติกไหม พอร้านค้าเห็นคนถามหาเยอะ เลยจุดติดเป็นกระแสให้ร้านเหล่านี้นำมาขาย และยังใช้วิธีขายตรงแบบ Door to Door คือส่งคนไปขายตามบ้านจนเกิดการบอกปากต่อปาก

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

เสื่อที่ฮิตจนใช้กันทั่วประเทศจึงมีที่มาด้วยเหตุนี้ 

ลายดั้งเดิมมีแม่สียอดนิยมอย่างเขียว น้ำเงิน เหลือง แดง หากมีลวดลายจะเป็นลายคลาสสิก อย่างลายหงส์ ดอกไม้ เป็นลายที่คนขายเครื่องจักรทำมาให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2513

ยุคแรกผลิต 2 แบบ คือเสื่อเดี่ยวขนาดใหญ่ที่ปูพื้นวัด กับเสื่อคู่ ลูกค้าสมัยก่อนเลือกซื้อเพื่อเน้นการใช้งานเป็นหลัก ไม่เน้นดีไซน์ เลือกแค่แบบมีลายหรือไม่มีลาย แล้วซื้อคละสีสัน คละลวดลาย ทีละหลายผืน  

คุณกฤษดาบอกว่า “เราทำเป็นเจ้าแรก ไปวัดต้องเจอ มีกันแทบทุกบ้าน สมัยก่อนยังไม่มีโซฟา ผู้คนเอาเสื่อมาปูบนแคร่ ปูนอนตามบ้าน คนต่างจังหวัดใช้ ขายทั่วประเทศ ฮิตไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเมียนมา กัมพูชา ลาว” 

ตอนนี้ผู้คนก็ยังนิยมใช้ลายดั้งเดิมอยู่ โดยเฉพาะต่างจังหวัด แม้จะลดลงไปบ้างเพราะการแข่งขันในตลาดสูงขึ้นตามกาลเวลา

ใจดีสู้เสื่อ

สร้างกำไรจากขยะ

คุณกฤษดาเล่าต่อว่า ตั้งแต่รุ่นหนึ่งก็มีขยะพลาสติกเหลือทิ้งจากโรงงานเยอะจนต้องจ้างเก็บทิ้ง บ้างเป็นเศษเหลือ บ้างเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการคัดคุณภาพ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นขยะมหาศาล 

“แต่ก่อนเราขายแต่เสื่อปูพื้นผืนใหญ่ มีเศษเหลือ 1 – 2 เมตรที่ปกติเราไม่ขาย พ่อผมเห็นว่าควรเอา

ขยะพวกนี้มาใช้ประโยชน์ จึงติดต่อหาคนทำขยะพลาสติกรีไซเคิล”
เสื่อในยุคถัดมาตั้งแต่นั้นของโรงงาน จึงทำจากขยะใช้แล้ว 

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

แป้ง-นนทิกานต์ อัศรัสกร ทายาทรุ่นสามขยายความว่า พลาสติกรีไซเคิลของ Agora คือพลาสติก PP ที่มีต้นทางมาจากถุงกระสอบ ถุงปูน หลอด เป็นต้น กระบวนการเริ่มจากโรงรีไซเคิลเอาขยะไปทำความสะอาด ผ่านความร้อน บดและขึ้นรูปออกมาเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จากนั้นโรงงานทำเสื่อจึงนำเม็ดมาฉีดเป็นเส้นแล้วทอเป็นเสื่อ โดยพัฒนากระบวนการมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่รุ่นอากงจนตอนนี้รีไซเคิลได้ 100%
อย่างไรก็ตาม แป้งบอกว่าพบอุปสรรคในการรักษ์โลกตั้งแต่ต้นจนถึงปลายทาง

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

“มีความไม่แน่นอนเพราะไม่มีวัตถุดิบให้ซื้อตลอดเวลา ไทยมีอัตราการรีไซเคิลพลาสติกไม่เยอะมาก สมมติเราขายได้มาก แต่โรงรีไซเคิลอาจไม่มีวัตถุดิบให้ซื้อเยอะขนาดนั้น” 
การรีไซเคิลยังทำให้เพิ่มกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน 

แม้ขยะรีไซเคิลจะทำความสะอาดมาแล้ว แต่คุณภาพของแต่ละรอบย่อมไม่เหมือนกัน 

“บางทีสีไม่เท่ากัน สีด่าง ขาวนม ขาวขุ่น ขาวเทา จึงต้องนำสีสำเร็จมาผสมและปรับไปตามหน้างาน ดังนั้น เพื่อให้ได้สีแดงสีเดิม อาจต้องผสมสีใหม่เพื่อให้คงเฉดเดิมมากที่สุด และยังมีเรื่องความไม่แน่นอนของตัววัสดุ หากเจอความร้อนไม่เท่ากัน คุณภาพก็เปลี่ยนได้” 

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทายาทรุ่นสามบอกว่าส่งผลให้ต้นทุนและราคาขายสูงขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายในการขาย แต่ยังคงทำต่อเนื่องเรื่อยมา เพราะเป็นหัวใจสำคัญที่สร้างคุณค่าให้ธุรกิจ  

Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์
Agora - ลฤก แบรนด์รักษ์โลกของทายาทโรงงานเสื่อ บุกเบิกโดย 1 ใน 3 ทหารเสือแห่งสหพัฒน์

เสกสารพัดสิ่งจากเสื่อ

แป้งเล่าความรู้สึกตอนที่เริ่มเข้ามาช่วยทำกิจการว่า “รู้สึกเชย ตัวเรายังไม่อยากใช้สินค้าแบรนด์เราเลย”
ด้วยดีไซน์ที่มีมานานตั้งแต่หลายสิบปีก่อน ซึ่งอาจไม่เข้ากับยุคสมัยอีกต่อไป เธอจึงปรับลวดลายและเฉดสีของเสื่อให้โมเดิร์นขึ้น เน้นโทนสีคราม ขาว ดำ ครีม สรรสร้าง Mat Tone ที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ใหม่ในนาม Agora ทั้งลายคราม Indigo หินอ่อน กระเบื้อง แถบสี Two Tone และรูปทรงเรขาคณิต

“พอลายกับสีโมเดิร์นขึ้น ก็ทำให้แตกสินค้าไปได้หลายอย่าง”  

ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์

การคิดค้นสินค้าหมวดอื่น ๆ จากเสื่อของแป้งเกิดจากการอยากต่อยอดเศษพลาสติกเหลือใช้ในโรงงาน และตั้งคำถามว่า “เราจะเอาเสื่อไปทำอะไรได้บ้าง ที่ไม่ใช่แค่ปูพื้นอย่างเดียว”

สินค้าแรกที่ต่อยอดคือ กระเป๋าชายหาด แป้งศึกษาและปรับจากหน้างานด้วยตัวเอง ทางโรงงานขึ้นแพตเทิร์นเอง ปรับแก้ขนาดและเย็บเอง ต่อมาสินค้ากระเป๋ารุ่นอื่นได้เริ่มพัฒนา ปรึกษาการผลิตกับโรงงานกระเป๋าเพิ่มเติมเพื่อเก็บรายละเอียดให้เนี้ยบขึ้น เกิดเป็นสินค้าแฟชั่นหลายรุ่นที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทั้ง Tote Bag, Cross Bag, กระเป๋าสตางค์ และกระเป๋าแล็ปท็อป รวมถึงรองเท้าแตะที่ผลิตร่วมกับโรงงานรองเท้า ไปจนถึงของใช้ในบ้านหลายอย่าง เช่น กล่องเก็บความเย็น ตะกร้าจัดระเบียบ
ส่วนสินค้าคลาสสิกของแบรนด์ก็พัฒนาเป็นเสื่อปิกนิกพับได้ที่ทันสมัยขึ้น มีสายสะพาย โดยบางรุ่นนำเศษผ้าบาติกเหลือใช้มาเย็บเป็นขอบอีกด้วย 

ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์
ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์

จากการใช้งานเสื่อสมัยก่อนซึ่งนิยมปูที่วัด แป้งแตกฟังก์ชันการใช้งานให้เข้ากับยุคสมัย เป็น Floor Mat และ Wall Covering สำหรับปูตกแต่งพื้นและผนังในบ้าน คุณสมบัติของเสื่อทำให้ไม่กินฝุ่นเหมือนปูนและไม้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มลวดลายและมิติในบ้าน

ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์
ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์

สินค้าหลายหมวดเหล่านี้ทำให้ขายกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายขึ้น ทั้งลูกค้าผู้หญิงที่ชื่นชอบกระเป๋า ผู้ชายสายกิจกรรมเอาต์ดอร์ที่นิยมซื้อเสื่อปิกนิก รวมถึงลูกค้าที่อยากสั่งผลิต Made to Order ไปจนถึงสปา โรงแรม คาเฟ่ บ้านเดี่ยวที่อยากตกแต่งภายใน หันไปจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ ลดการแข่งขันสงครามราคากับเสื่อรูปแบบเดิมจากเจ้าอื่น ๆ ที่วางขายในท้องตลาด

ลฤก พวงหรีดเสื่อผืนหมอนใบ

แป้งตั้งคำถามต่อว่า “เสื่อเป็นของที่ใช้ในวัดมานาน ถ้าเพิ่มสินค้าสำหรับใช้ในวัดอย่างพวงหรีดได้ไหม” เนื่องจาก Agora ขายของใช้ที่เน้นไลฟ์สไตล์ และตลาดพวงหรีดมีกลุ่มลูกค้าจำเพาะเจาะจง จึงแยกแบรนด์ออกมาเป็น ลฤก มาจากคำว่าระลึก โดยเปลี่ยนตัวอักษรขึ้นต้นเป็น ล ลิง เพื่อสื่อถึงการละ-ลดขยะ

เธอสังเกตเห็นว่าพวงหรีดดอกไม้นั้นสวยงามแต่สร้างขยะเยอะ ในขณะที่พวงหรีดพัดลมกับพวงหรีดผ้าห่มนั้นใช้งานได้จริงแต่ไม่ค่อยสวยงาม เกิดคำถามว่า “ถ้ามีพวงหรีดที่สวยงาม ไม่เหมือนใคร แล้วไม่เป็นขยะ ใช้ประโยชน์ได้ด้วย จะเป็นยังไง”

ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์

กระบวนการออกแบบจึงตั้งใจให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด นำเสื่อมาพับจับจีบ ข้างหน้าเป็นเสื่อเต็มผืน ส่วนข้างหลังที่พวงหรีดทั่วไปเป็นโครงไม้หรือโครงฟาง หากใช้เสร็จจะกลายเป็นขยะ ก็เปลี่ยนเป็นเบาะเสื่อรองนั่ง เมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถตัดเบาะข้างหลังไปใช้เป็นอาสนะของพระสงฆ์ได้ กลายเป็นชื่อพวงหรีดเสื่อผืนหมอนใบ มีดอกไม้ประดิษฐ์และดอกไม้จันทำมือให้ลูกค้าเลือกตกแต่ง ซึ่งดอกไม้จันก็นำไปใช้ในพิธีเผาศพต่อไปได้ 

ลูกค้าส่วนใหญ่ของลฤกเป็นกลุ่มที่ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงตามที่แป้งตั้งใจ
“สำหรับลฤก เรายังแบ่งรายได้ 100 บาทต่อการขายพวงหรีด 1 พวง ให้มูลนิธิสืบนาคะเสถียรและมูลนิธิร่วมกตัญญู เพื่อให้เป็นสินค้าที่ครบวงจรทั้งเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม”  

ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์
ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์

อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของเสื่อ  

ทายาทรุ่นสองและสามสรุปบทเรียนให้ฟังว่า ความท้าทายของการทำการตลาด เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและรูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนไป 

ยุคแรกมีเซลล์แมนวิ่ง 5 – 10 คน ขายส่งตามตลาดต่างจังหวัด ออกอีเวนต์อย่างงานกาชาดทุกปี ความยากอยู่ที่การบุกเบิกสู่ตลาดเป็นเจ้าแรก สร้างความตระหนักรู้ให้คนเห็นข้อดีของสินค้าซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี 

ในขณะที่ยุคนี้เน้นทำการตลาดออนไลน์ทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก มาร์เก็ตเพลส ค่าใช้จ่ายลดลง รวดเร็วและเข้าถึงลูกค้ากว้างขึ้น มีออเดอร์จากอเมริกา ยุโรป นิวซีแลนด์ ซึ่งนิยมสั่งเสื่อปิกนิกปูเล่นตามชายหาดและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ รูปแบบการค้ายุคนี้มีข้อเสียคือ แค่ส่งรูปก็ดูลายได้ ขายเร็ว ออกเร็ว แต่ไม่ได้ดูสินค้าจริงก่อนซื้อเหมือนคนยุคก่อน 

ตำนานการขายเสื่อของ Agora ให้คนใช้ทั่วประเทศ สู่การต่อยอดเสื่อวัดเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าด้วยดีไซน์

กว่า Agora จะออกสินค้าสารพัดอย่างจากเสื่อได้นั้น ต้องผ่านการออกความคิดเห็นจากทุกเจเนอเรชัน และในความทรงจำของคุณกฤษฎา ความเป็นผู้นำของพ่อช่วยให้เขาตัดสินใจได้ง่ายขึ้น“แต่ก่อนพ่อเป็นผู้ทรงอิทธิพล บริหารธุรกิจเป็นอย่างดี มีวิสัยทัศน์ ทำให้คนเชื่อถือง่าย รุ่นถัดมาจะมีต่างคนต่างความคิดบ้าง”
สิ่งสำคัญของธุรกิจครอบครัวที่ช่วยแก้ปัญหานี้ในความคิดเห็นของทายาทต่างเจเนอเรชัน คือการสื่อสารที่รับฟังกันทั้งสองทาง อะลุ่มอล่วย มาเจอกันตรงกลางว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างคอยสนับสนุนกัน มีความเกรงใจกันแม้จะเป็นญาติพี่น้อง เข้าใจว่าแต่ละคนมีพื้นฐานแบบไหน แล้วมองที่ผลประโยชน์ส่วนรวมของบริษัทเป็นหลัก

สำหรับอนาคต ทั้งคู่บอกว่ามองโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศและการพัฒนาสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมและสังคม เน้นหัวใจสำคัญของธุรกิจคือ Green Product ที่ดีต่อโลก โดยในอนาคตอาจมีวัสดุอื่นเพิ่มเติมนอกจากเสื่อด้วยก็ได้

Writer

Avatar

รตา มนตรีวัต

อดีตสาวอักษรผู้โตมาในร้านขายหวายอายุ 100 กว่าปีย่านเมืองเก่า เป็นคนสดใสเหมือนดอกทานตะวัน สะสมแรงบันดาลใจไว้ในบล็อคชื่อ My Sunflower Thought ขับรถสีแดงชื่อ Cherry Tomato ระหว่างวันทำงานในโลกธุรกิจ เวลาว่างซาบซึ้งในศิลปะ

Photographer

Avatar

ผลาณุสนธิ์ ผดุงทศ

ช่างภาพที่โตมาจากเมืองทอง รักแมว ชอบฤดูฝน และฝันอยากไปดูบอลที่แมนเชสเตอร์